ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ราชนาวีไทย

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., อังกฤษ: Royal Thai Navy คำย่อภาษาอังกฤษ: RTN) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม

กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.)

กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ตลอดจนหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล

กองทัพเรือมีกำเนิดควบคู่มากับการสร้างอาณาจักรไทยนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กองทัพไทยในสมัยเดิมนั้นมีเพียงทหารเหล่าเดียวมิได้แบ่งแยกออกเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ อย่างเช่นในสมัยปัจจุบัน หากยาตราทัพไปทางบกก็เรียกว่า ทัพบก หากยาตราทัพไปทางเรือก็เรียกว่า ทัพเรือ การจัดระเบียบการปกครองบังคับบัญชากองทัพไทยในยามปกติยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ในยามศึกสงครามได้ใช้ทหารทัพบกและทัพเรือรวมๆ กันไป ในการ ยาตราทัพเพื่อทำศึกสงครามภายในอาณาจักรหรือนอกอาณาจักร ก็มีความจำเป็นต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการลำเลียงทหารและเครื่องศัสตราวุธ เรือนอกจากจะสามารถลำเลียงเสบียงอาหารได้คราวละมากๆ แล้ว ยังสามารถลำเลียงอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่ ไปได้สะดวกและรวดเร็วกว่าทางบกด้วย จึงนิยมยกทัพไปทางเรือจนสุดทางน้ำแล้วจึงยกทัพต่อไปทางบก กิจการทหารเรือดำเนินไปเช่นนี้จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2394 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกมาชัดเจน และแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับทหารเรือวังหลวง หรือทหารมะรีนสำหรับเรือรบ ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม โดยทหารเรือวังหน้ามีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสาจาม และกองทะเล (บางทีเรียกว่ากองกะลาสี) ส่วนกรมอรสุมพลมีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสามอญ และกรมอาสาจาม ซึ่งทหารทั้งสองหน่วยนี้เป็นอิสระจากกัน

พ.ศ. 2408 ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองประเทศยังเป็นระบบจตุสดมภ์อยู่โดยมีกรมพระกลาโหมว่าการฝ่ายทหาร ในขณะนั้นกิจการฝ่ายทหารเรือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า หรือทหารเรือฝ่ายพระราชวังบวร ขึ้นตรงกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) และทหารเรือวังหลวง หรือกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม

พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ได้ทรงปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 9 หน่วย โดยทหารเรือวังหลวง คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง (เวสาตรี) และกรมอรสุมพล

พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จทิวงคต ทหารเรือวังหน้าได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ทหารเรือในขณะนั้นมี 2 ส่วน คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม

8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั่วไปในกรมทหาร (Commander-in-chief) ตาม โบราณราชประเพณี เพื่อให้เกิดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยทหารต่างๆ พร้อมกับประกาศจัดการทหาร โดยจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกองทหารบกและกองทหารเรือเอาไว้ด้วยกัน ทั้งหมด ขึ้นตรงกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร แต่ในระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร สำหรับกองทหารเรือทรงตั้งนายพลเรือโทพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy) มีหน้าที่ คือ ให้จัดการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อบังคับทหารเรือ จำนวนผู้คนในทหารเรือ การฝึกหัดทหารเรือ เรือรบหลวง และพาหนะทางเรือ

1 เมษายน พ.ศ. 2433 ได้มีการยกเลิกประกาศจัดการทหาร พ.ศ. 2430 และได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการขึ้นแทน โดยให้เรียกกรมยุทธนาธิการใหม่ว่ากระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) แบ่งออกเป็น 2 กรม คือ กรมทหารบกและกรมทหารเรือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโทพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ (Chief Staff of the Navy) และแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมกลาง กองบัญชีเงิน กรมคลังพัสดุทหารเรือ กองเร่งชำระ กรมคุกทหารเรือ กรมอู่ กรมช่างกล โรงพยาบาลทหารเรือ ทหารนาวิกโยธิน เรือรบหลวงและเรือพระที่นั่งประจำการ

พ.ศ. 2435 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ และยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ กำหนดให้มีกระทรวงในราชการ โดยกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองบรรดาหัวเมืองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นผลให้กระทรวงกลาโหม ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการปกครองทางหัวเมือง คงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทหารอย่างเดียว จึงได้โอนกรมทหารเรือมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม

11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ประกาศแต่งตั้งจอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นามกระทรวงกลาโหม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เป็นผลทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ทำให้ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำ จำเป็นต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้ เป็นผลทำให้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใหม่ด้วย โดยแต่งตั้งให้นายพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงทหารเรือเดิมเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ กองทัพเรือถูกลดฐานะเป็นเพียงกรมทหารเรือเช่นเดิม กรมต่างๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือเท่านั้น นอกจากนั้นส่วนราชการของทหารเรือบางส่วนซึ่งได้เอาไปรวมกับฝ่ายทหารบกก็กลับมาสังกัดอยู่ในกรมทหารเรือตามเดิม

30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือเป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบกว่ากองทัพบก และขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ กรมเสนาธิการทหารเรือ กองเรือรบ สถานีทหารเรือกรุงเทพ กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์

พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกองทัพเรือออกเป็น 25 หน่วย ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 นอกจากนั้นเพื่อความสะดวก ทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง 25 หน่วยขึ้นเป็น 5 ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษา และส่วนกิจการพิเศษ

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเพิ่มกรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 35 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา

1 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552. โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 36 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษาและวิจัย ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ ในส่วนบัญชาการ ได้เปลี่ยนชื่อกรมสื่อสารทหารเรือเป็นกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ และสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเป็นสำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ รวมทั้งจัดตั้งส่วนราชการใหม่เพิ่มเติม คือ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ และสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ ในส่วนกำลังรบ ได้ยุบกองเรือป้องกันฝั่ง และจัดตั้งส่วนราชการใหม่ คือ ทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 รวมทั้งปรับลดฐานทัพเรือสงขลาและพังงาจากหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือไปเป็นหน่วยขึ้นตรงทัพเรือภาคที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ในส่วนยุทธบริการ ได้ย้ายสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือไปอยู่ในส่วนการศึกษาและวิจัยแทน และให้กรมอุทกศาสตร์มาอยู่ในส่วนยุทธบริการ สำหรับในส่วนการศึกษาและวิจัย ได้มีการยุบสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

เมื่อครบกำหนดช่วงอายุตามชั้นยศแล้ว จะปลดเป็น นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ และ นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ ไปตามลำดับ

แท่นยิงตอร์ปิโด45ซ.ม. 2แท่น 6ท่อยิง จากญี่ปุ่น เรือยังต่อไม่เสร็จ ถูกอิตาลียึดไปใช้งานในสงครามโลกครั้งที่ 2

เรือรบขนาดใหญ่ที่ประจำการในกองทัพเรือไทยจะต่อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ สเปน หรือ เยอรมนี ในขณะที่เรือรบซึ่งมีขนาดเล็กหรือเป็นเรือที่ไม่ใช่เรือรบหลัก ส่วนใหญ่จะต่อจากอู่ภายในประเทศทั้งอู่ของเอกชนและอู่ของกรมอู่ทหารเรือเอง เช่น เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือยกพลขึ้นบก เรือระบายพล เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง เรือสำรวจ เป็นต้น

อากาศยานของกองการบินทหารเรือสร้างจากต่างประเทศทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีจาก สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ บราซิล และ แคนาดา ทั้งนี้อากาศยานจำนวนประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง เป็นอากาศยานที่ได้รับการออกแบบให้สามารถปฏิบัติการจากเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือได้ คือ จากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือฟริเกต เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หรือเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นอากาศยานที่ต้องปฏิบัติการจากสนามบินบนฝั่ง

ในส่วนกองบัญชาการกองทัพเรือไทย มีที่ตั้งหลักอยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และริมชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 3 แห่ง คือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ พื้นที่ภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกในจังหวัดสงขลาและนราธิวาส และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือทั้งกองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติการ

ในส่วนกองบัญชาการทัพเรือภาค มีหน้าที่จัดการและควบคุมพื้นที่ทางน้ำ สั่งการปฏิบัติการใช้กำลังรบของกองทัพเรือ มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 แห่ง คือ ทัพเรือภาคที่ 1 อ่าวไทยตอนบน ทัพเรือภาคที่ 2 อ่าวไทยตอนล่าง และทัพเรือภาคที่ 3 ทะเลอันดามัน และมีผู้บัญชาการทัพเรือภาคชั้นยศพลเรือโท

ในส่วนฐานทัพเรือมี 4 แห่งตามพื้นที่เช่นกัน คือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ สัตหีบ สงขลา และพังงา ตามลำดับ โดยฐานทัพเรือสัตหีบจะมีสถานะใหญ่กว่าอีก 3 แห่งที่เหลือ ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือโดยตรง และมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือชั้นยศพลเรือโท ส่วนฐานทัพเรือกรุงเทพ สงขลา และพังงา มีสถานะรองลงไป ขึ้นตรงต่อทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ และมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือชั้นยศพลเรือตรี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406