ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (อังกฤษ: political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง

กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง , การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation)

รัฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่มีมโนทัศน์หลักในการศึกษาคือการเมือง อย่างไรก็ตามความเข้าใจเรื่องนิยามของการเมืองระหว่างคนทั่วๆไป กับผู้ศึกษาวิชารัฐศาสตร์จะมีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปนั้นสิ่งที่เรียกว่าการเมืองมักถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องกิจการของรัฐ, รัฐบาล, พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์นั้นจะมองการเมืองบนฐานของมโนทัศน์เรื่อง "อำนาจ" (power) เป็นหลัก

หนังสือความเข้าใจมโนทัศน์ "การเมือง" เบื้องต้น (Politics : the basic) ของสตีเฟน เทนซีย์ (Stephen D. Tansey) ได้อธิบายถึงความเข้าใจแง่มุมของ "การเมือง" ไว้ว่า

จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมาจากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตางกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฎหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร

หลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีกโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฏิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)

การปฏิวัติทางความคิดทางศาสนาคริสต์ การเติบโตขึ้นของแนวคิดมนุษย์นิยม (humanism) ทำให้การศึกษาการเมืองในยุคนี้มีการพูดถึงการเมืองของมนุษย์มากขึ้น โดยปรากฏชัดในงานเขียนเรื่อง "เจ้าผู้ปกครอง" (the prince) ของมาคิอาเวลลี ที่สอนการปกครองอย่างตรงไปตรงมา และในบางเรื่องดูจะโหดร้าย และน่ารังเกียจหากมองด้วยสายตาของผู้ที่เคร่งครัดในจารีตทางความเชื่อแบบมีศีลมีธรรมแบบยุโรป

การปฏิวัติทางความคิดวิทยาศาสตร์ยุคแรก (the scientific revolution) ส่งผลให้ในยุโรปเกิดกระแสการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาการเมือง โดยปรากฏอย่างชัดเจนในงานเรื่อง เลอไวธัน (Levithan) ของ ฮอบส์ ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมว่าไม่ต่างจากระบบกลไล ที่รัฐคือองคาพยพใหญ่ และมนุษย์คือฟันเฟือง ในขณะเดียวกันงานของรุสโซก็สร้างข้อถกเถียงที่สำคัญว่าการศึกษาการเมืองนั้นจะใช้วิทยาศาสตร์หรือปรัชญาดี อิทธิพลทางความคิดดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดทางการเมืองในยุคสมัยใหม่ตอนปลาย และช่วงสงครามเย็นนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง

เป็นยุคที่วิชา รัฐศาสตร์มีการศึกษาที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยศึกษา และเรียกการศึกษาการเมืองว่า "รัฐศาสตร์" (political science) เป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ในคณะประวัติศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ตราจารย์คนแรกของวิชารัฐศาสตร์คือฟรานซ์ ลีแบร์ (Francis Lieber) นักปรัชญาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

การศึกษาวิชาในยุควิทยาศาสตร์นี้ได้สร้างวิธีการศึกษาการเมืองขึ้นมา นั่นคือการศึกษาการเมืองผ่านการสร้าง ทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่านักทฤษฎีการเมืองจะมองว่าทฤษฎี คือเครื่องมือทำความเข้าในสภาพการเมืองโดยรวม ซึ่งผลิตผลของการศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าวจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์สร้างตัวแบบ (model) เพื่ออธิบายความจริง (fact) ที่เกิดขึ้น ในยุคนี้ยังเชื่อว่าการศึกษาการเมืองโดยใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเรื่องพ้นสมัย การศึกษาการเมืองในยุคนี้จึงเน้นศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง แล้วนำมาวัดประเมินค่าในเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ จึงเรียนรัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรกว่า สำนักพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)

อย่างไรก็ตามในเวลาช่วง ทศวรรษที่ 1970 - 1980 นักรัฐศาสตร์จำนวนมากก็ตั้งข้อกังขาว่าการเมืองนั้นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้หรือไม่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดในวงวิชาการอเมริกัน อันนำไปสู่การปฏิวัติการศึกษาการเมืองที่พยายามดึงเอาปรัชญา และประวัติศาสตร์กลับมาอีกครั้ง เรียกว่านักรัฐศาสตร์สายหลังพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism)

การศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 กระแส กระแสแรกคือสายที่ยังศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์ คือเชื่อมั่นว่าการศึกษาการเมืองผ่านตัวเลข และสถิติมีความมั่นคงเชื่อถือได้ ส่วนอีกกระแสคือสายที่พยายามกลับไปใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา รัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะสาขาวิชาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) สูงมากสาขาวิชาหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากการที่ความคิดตระกูลหลังสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อแวดวงวิชาการในทศวรรษที่ 1980 ทำให้วิชารัฐศาสตร์ก็หลีกหนีแนวนิยมนี้ไม่พ้น

ปัจจุบันการศึกษารัฐศาตร์มิได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่อธิบายสถาบัน และกระบวนการสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความเข้าใจ “การเมือง” ที่เปลี่ยนแปรไป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของตระกูลทางความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (post – structuralism) หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดเรื่อง “เทคโนโลยีแห่งอำนาจ (technologies of power)” ของมิแชล ฟูโกต์ นักคิดชาวฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องอำนาจ และการศึกษาการเมือง ปัจจุบันการศึกษาการเมืองจึงไม่ต่างจากการศึกษาแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่นักรัฐศาสตร์เห็นว่ามีปฏิบัติการณ์ทางอำนาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง “วินัย และ การลงโทษ : การกำเนิดขึ้นของเรือนจำ (Discipline and Punish: The Birth of the Prison)” ได้เสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งที่เรียกว่าการเมือง และอำนาจอย่างมหาศาล

การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่าง ๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือ รปศ.) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแห่งที่สาม คือ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ข้อสังเกตคือในยุคเริ่มแรกนั้นรัฐศาสตร์ไทยนั้นเน้นผลิตบัณฑิตเข้าสู่วงราชการ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาจึงเป็นที่มาของการใช้ตราสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา[ต้องการอ้างอิง] และอีกส่วนหนึ่งคือการเรียนการสอนรัฐศาสร์ไทยในยุคแรก อันที่จริงเป็นการเรียนการสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพื่อสร้างข้าราชการป้อนให้กับรัฐไทย หรือก็คือสอนวิชาบริหารจัดการสาธารณะภายได้ชื่อรัฐศาสตร์ทำให้ในเวลาต่อมาเกิดความสับสนในวงวิชาการว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตามในสังคมไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์กระแสหนึ่งซึ่งเริ่มมีอิทธิพลขึ้นมากหลัง พ.ศ. 2526 เรียกว่ารัฐศาสตร์ทวนกระแส ซึ่งโดยภาพรวมก็ไม่ต่างแนวหลังพฤติกรรมศาสตร์ในตะวันตก อ่านเพิ่มเติม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301