รัฐล้มเหลวหรือรัฐล่มสลาย (อังกฤษ: failed state) หมายถึง รัฐที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้
คำว่า Failed State ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้หลายครั้งโดยประเทศที่เรียกตัวเองว่า รัฐที่เจริญแล้ว (Enlightened State) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง โดยอ้างว่าทำไปเพื่อปกป้องประชาชนของรัฐที่ล้มละลาย รัฐอันธพาล (Rogue State) หรือรัฐก่อการร้าย (Terrorist State) โดยวิธีการที่อาจจะผิดกฎหมายแต่ก็มีความชอบธรรม (Illegal but Legitimate)
ศูนย์วิจัยรัฐที่อยู่ในช่วงวิกฤต (Crisis States Research Centre) ได้นิยามความหมายของ “รัฐที่ล้มเหลว” ว่าเป็นสถานการณ์ของ “รัฐที่พังทลาย” โดยที่รัฐนั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลความมั่นคงขั้นพื้นฐาน และพัฒนาหน่วยงานภายใน รวมทั้งยังไม่มีอำนาจในการปกครองพื้นที่หรือเขตแดนอีกด้วย
ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาสหรัฐอเมริกา กองทุนเพื่อสันติภาพ และนิตยสาร Foreign Policy ได้ตีพิมพ์รายงานประจำปีที่เรียกว่า “Failed States Index” ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถานะของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่ได้ถูกนำเสนอในรายงานนั้นจะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเท่านั้น สำหรับเขตการปกครองซึ่งไม่ถูกจัด หรือมีสถานภาพได้รับการรับรองโดยองค์การสหประชาชาติ จะไม่ถูกเข้ามาพิจารณาในรายงานนี้ เช่น ไต้หวัน ปาเลสไตน์ นอร์ทเทิร์นไซปรัส คอซอวอ และเวสเทิร์นซาฮาร่า เป็นต้น การจัดอันดับจะอาศัยคะแนนรวม ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก 12 ตัวชี้วัด แต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 10 คะแนนเป็น 0 หมายถึงมีระดับความรุนแรงต่ำสุด (มีเสถียรภาพที่สุด) และ 10 หมายถึง มีระดับความรุนแรงสูงสุด (ไร้เสถียรภาพที่สุด) มีคะแนนรวมเท่ากับ 120 คะแนน จาก 12 ตัวชี้วัด โดยมีช่วงคะแนนตั้งแต่ 0-120
ตัวชี้วัดจะประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านสังคม 4 ตัว ทางด้านเศรษฐกิจ 2 ตัว และทางด้านการเมือง 6 ตัว แล้วนำมาสรุปจัดลำดับว่าประเทศใดมีการบริหารจัดการที่ดี (สีเขียว) ปานกลาง (สีเหลือง) มีคำเตือน (สีส้ม) และล้มเหลว (สีแดง)
ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 35 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 88 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 40 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ
ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 37 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 92 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 13 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ
ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 38 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 93 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 33 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ
ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 35 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 92 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 35 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 15 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งรวมถึงแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2007) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ
1. โซมาเลีย (+2)
2. ซูดาน (-1)
3. ซิมบับเว (+1)
4. ชาด (+1)
5. อิรัก (-3)
6. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (+1)
7. อัฟกานิสถาน (+1)
8. โกตดิวัวร์ (-2)
9. ปากีสถาน (+3)
10. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
11. กินี (-2)
12. บังกลาเทศ (+4)
13. Burma (+2)
14. เฮติ (-3)
15. เกาหลีเหนือ (-2)
16. เอธิโอเปีย (+2)
17. ยูกันดา (-1)
18. เลบานอน (+10)
19. ไนจีเรีย (-1)
20. ศรีลังกา (+5)
นอร์เวย์ (177) มีการบริหารจัดการดีที่สุดมาสองปีแล้ว ส่วนประเทศที่ล้มเหลวที่สุด คือ โซมาเลีย สำหรับประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 89 ส่วนประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันปรากฏว่าที่แย่ที่สุดอยู่ในกลุ่มสีแดง คือ พม่า (12) กลุ่มสีส้มมี ลาว (40) กัมพูชา (48) อินโดนีเซีย (55) ฟิลิปปินส์ (59) เวียดนาม (60) ไทย (89) มาเลเซีย (118) ส่วนสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มสีเหลืองโดยอยู่ในลำดับที่ 159 ซึ่งไม่มีประเทศใดในกลุ่มอาเซียนได้สีเขียว
ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 32 ประเทศ กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 97 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 33 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 15 ประเทศ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2006) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ
1. ซูดาน
2. อิรัก (+2)
3. โซมาเลีย (+4)
4. ซิมบับเว (+1)
5. ชาด (+1)
6. โกตดิวัวร์ (-3)
7. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (-5)
8. อัฟกานิสถาน (+2)
9. กินี (+2)
10. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (+3)
11. เฮติ (-3)
12. ปากีสถาน (-3)
13. เกาหลีเหนือ (+1)
14. Burma (+4)
15. ยูกันดา (+6)
16. บังกลาเทศ (+3)
17. ไนจีเรีย (+5)
18. เอธิโอเปีย (+8)
19. บุรุนดี (-4)
20. ติมอร์-เลสเต (N/A)
ผลการสำรวจจาก 146 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 28 ประเทศ กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 78 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 27 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 13 ประเทศ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2006) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ
1. ซูดาน (+2)
2. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
3. โกตดิวัวร์ (-2)
4. อิรัก
5. ซิมบับเว (+10)
6. ชาด (+1)
7. โซมาเลีย (-2)
8. เฮติ (+2)
9. ปากีสถาน (+25)
10. อัฟกานิสถาน (+1)
11. กินี (+5)
12. ไลบีเรีย (-3)
13. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (+7)
14. เกาหลีเหนือ (-1)
15. บุรุนดี (+3)
16. เยเมน (-8)
17. เซียร์ราลีโอน (-11)
18. Burma (+5)
19. บังกลาเทศ (-2)
20. เนปาล (+15)
เป็นปีแรกที่กองทุนเพื่อสันติภาพได้นำเสนอผลการจัดอันดับ ซึ่งผลการสำรวจจาก 76 ประเทศ ที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 33 ประเทศ และกลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 43 ประเทศ (สำหรับกลุ่มที่ดีกว่ากลุ่มสีส้มยังไม่มีการนำเสนอในปีนี้) โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้
1. โกตดิวัวร์
2. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
3. ซูดาน
4. อิรัก
5. โซมาเลีย
6. เซียร์ราลีโอน
7. ชาด
8. เยเมน
9. ไลบีเรีย
10. เฮติ
11. อัฟกานิสถาน
12. ปากีสถาน
13. เกาหลีเหนือ
14. โคลอมเบีย
15. ซิมบับเว
16. กินี
17. บังกลาเทศ
18. บุรุนดี
19. สาธารณรัฐโดมินิกัน
20. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง