รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ”
การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน
“สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์
รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว์
อันดอร์รากึ่งรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรและต่อมาสหอำนาจกับฝรั่งเศสมาตั้งแต่ ค.ศ. 1607 (พระมหากษัตริย์และต่อมาประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประมุขของอันดอร์รา ประมุขอีกองค์หนึ่งคือพระสังฆราชของสังฆมณฑลอัวร์เกลล์ของกาตาลุญญาในสเปน)
ในปี พ.ศ. 1921 (ค.ศ. 1378) อาณาจักรอยุธยารุกรานอาณาจักรสุโขทัยและผนวกเข้าเป็นรัฐบริวารของตน หลังจากที่พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1981 (ค.ศ. 1446) โดยปราศจากรัชทายาท สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงส่งพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1991 (ค.ศ. 1448) พระราเมศวรได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานามว่า "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" ทำให้ทั้งสองอาณาจักรถูกรวมเข้าไว้ใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในด้านการปกครอง ทั้งสองอาณาจักรยังคงดำรงรัฐบาลของตนแยกออกจากกัน โดยรัฐบาลกรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับรัฐบาลกรุงศรีอยุธยาตลอดช่วงรัชกาลของพระบรมไตรโลกนาถ และหลังจากที่พระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2031 (ค.ศ. 1488) รัฐบาลกรุงสุโขทัยจึงถูกรวมกลับมาไว้ ณ กรุงศรีอยุธยา และแต่งตั้งเสนาบดีผู้มีความใกล้ชิดกับอยุธยามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล
ภายหลังที่กรุงสุโขทัยถูกกรุงหงสาวดีตีแตกและกลายเป็นรัฐบริวารของพม่าในปี พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งขุนพิเรนทรเทพในขณะนั้นขึ้นเป็นกษัตริย์หุ่น กรุงศรีอยุธยาจึงถูกรวมเข้าไว้ใต้การปกครองของกรุงหงสาวดีในปี พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) ขุนพิเรนทรเทพทรงถูกบังคับให้ปกครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช โดยมีพระมหาอุปราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต พระเจ้านันทบุเรงไม่ไว้พระทัยพระเจ้ากรุงสุโขทัยและทรงรุกรานอาณาจักรไทยอีกครั้งในศึกแม่น้ำสะโตงในปี พ.ศ. 2126 (ค.ศ. 1583) ซึ่งหลังจากศึกครั้งดังกล่าว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงโยกย้ายผู้คนจากอาณาจักรสุโขทัยไปรวมกับอาณาจักรอยุธยา ทำให้อาณาจักรทั้งสองถูกรวมเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์
รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับดัชชีแห่งปรัสเซีย ระหว่าง ค.ศ. 1618 เมื่ออัลเบร็คท์ เฟรเดอริค ดยุคแห่งปรัสเซียเสียชีวิตโดยไม่มีรัชทายาทชายและลูกเขยโยฮันน์ ซิจิสมุนด์ อีเล็คเตอร์แห่งบรานเดนบวร์กกลายเป็นประมุขของทั้งสองราชอาณาจักร แต่บรานเดนบวร์กและปรัสเซียต่างก็มีรัฐบาลที่เป็นเอกเทศ และที่ตั้งเมืองบริหารอยู่ของราชอาณาจักรอยู่ที่เบอร์ลิน และเคอนิกสบวร์กตามลำดับมาจนถึง ค.ศ. 1701 เมื่อสมเด็จพระเจ้าฟรีดิชที่ 1 ทรงรวมสองรัฐบาลเข้าด้วยกันเป็นรัฐบาลเดียว
รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปรตุเกสภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรที่ 1 แห่งบราซิล (สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 4 แห่งโปรตุเกส) เป็นสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และ อัลการ์เวส ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1826 จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1826 ปีเตอร์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าฟ้าหลวงแห่งโปรตุเกส, บราซิล และ อัลการ์เวส และเมื่อพระองค์ทรงประกาศอิสรภาพจากโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 พระองค์ก็เป็นพระจักรพรรดิองค์แรก และเมื่อสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกสพระราชบิดาเสด็จสวรรคตสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ก็เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสด้วยแต่ก็เพียงไม่กี่สัปดาห์ เมื่อทรงสละราชสมบัติให้แก่พระราชธิดาเจ้าหญิงมาเรีย กลอเรีย
รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับเบลเยียม ระหว่าง ค.ศ. 1885 จนถึง ค.ศ. 1908 เมื่อคองโกเป็นอาณานิคมของเบลเยียม
ราชอาณาจักรโครเอเชีย และราชอาณาจักรฮังการีรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1102 ภายใต้พระมหากษัตริยฮังการี รายละเอียดของการรวมตัวระบุในข้อตกลงสหภาพ (Pacta conventa) ที่ระบุการก่อตั้งโครเอเชียเป็นรัฐเอกเทศที่บริหารโดยซาบอร์ (สภาขุนนางโครเอเชีย) และอุปราช นอกจากนั้นขุนนางโครเอเชียก็ยังคงรักษาที่ดินและทรัพย์สิน และ ตำแหน่งที่มีอยู่ได้ การรวมตัวของฮังการีและโครเอเชียในยุคกลางเกิดขึ้นจาก “รัฐร่วมประมุข” และดำเนินต่อมาจนถึงยุทธการโมเฮ็คส์ในปี ค.ศ. 1526 เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1527 ขุนนางโครเอเชียมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรียและผู้สืบเชื้อสายจากพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และรัชทายาท แต่โดยทางการแล้วสหราชอาณาจักรฮังการี-โครเอเชียก็มีอยู่ต่อมาจนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ สนธิสัญญาไทรอานอน
ในฐานะเป็นอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ปกครองโดยซาร์แห่งรัสเซียในฐานะแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1809 จนถึง ค.ศ. 1917 ตามความเห็นของชาวฟินแลนด์ลักษณะของการรวมตัวคล้ายกับ “รัฐร่วมประมุข”[ต้องการอ้างอิง] ตามสนธิสัญญาเฟรดริคสฮัมน์ (Treaty of Fredrikshamn) ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย และได้พระราชทานฐานะให้เป็นเขตปกครองตนเองโดยสมเด็จพระเจ้าซาร์ แต่สิทธินี้ก็มาถูกเพิกถอน (Russification of Finland) เป็นการชั่วคราวต่อมา
ข้อสังเกต: ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัญหาที่ก่อให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนคือความหวาดระแวงของการสืบราชบัลลังก์สเปนที่ระบุโดยกฎหมายสเปน ที่มีผลทำให้หลุยส์ผู้เป็นรัชทายาทของฝรั่งเศสอยู่แล้วจะได้ครองสเปนด้วยโดยสิทธิ “รัฐร่วมประมุข” ซึ่งเป็นการทำให้เสถียรภาพของมหาอำนาจในยุโรปขาดความสมดุล (ฝรั่งเศสขณะนั้นมีอานุภาพทางทหารมากกว่าผู้ใดในยุโรปและสเปนก็เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุด)
ดัชชีแห่งแซ็กซ์-ไวมาร์ และ แซ็กซ์-ไอเซ็นนาครวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรระหว่าง ค.ศ. 1741 เมื่อราชวงศ์ที่ปกครองแซ็กซ์-ไอเซ็นนาคมาสิ้นสุดลง จนถึง ค.ศ. 1809 เมื่อรวมตัวกันเป็นดัชชีเดียวกันเป็นแซ็กซ์-ไวมาร์-ไอเซ็นนาค
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กดำรงตำแหน่งเป็นดยุคแห่งชเลสวิก และ โฮลชไตน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1460 จนถึง ค.ศ. 1864 (โฮลชไตน์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่ชเลสวิกเป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์ก) สถานะการณ์ยิ่งเพิ่มความสับสนเมื่อบางครั้งดัชชีทั้งสองถูกแบ่งระหว่างสาขาต่างๆ ของราชวงศ์โอลเดนบวร์ก (ราชวงศที่ปกครองเดนมาร์กและชเลสวิก-โฮลชไตน์) นอกจากดัชชี "หลัก" แห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-กลึคชตัดท์ที่ปกครองโดยพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ก็ยังมีรัฐที่มีดินแดนอื่นที่อยู่ในดัชชีทั้งสองด้วย ที่สำคัญก็ได้แก่ดยุคแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-กอททอร์พ และดยุคที่ขึ้นอยู่กับดยุคแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-กอททอร์พ -- ดยุคแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-เบ็ค, ชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดนบวร์ก-ออกัสเตนบวร์ก และ ชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดนบวร์ก-กลึคบวร์ก