ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รัฐปาเลสไตน์

รัฐปาเลสไตน์ (อาหรับ: ???? ??????? Dawlat Filas?in?) เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967 และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสรเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967

การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน" องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์ แม้จะมีคำวินิจฉัยนี้ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย

ในข้อตกลงกรุงออสโลปี 1993 อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า "เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ กรยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย" ผลคือ ในปี 1994 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

ในปี 2007 การยึดฉนวนกาซาโดยฮะมาส แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดยฟะตะห์ของมาห์มูด อับบาสยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์ ขณะที่ฮะมาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011 พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามข้อตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น

จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2012 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 131 รัฐ จาก 193 รัฐ (67.9%) ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์ กระนั้นหลายประเทศที่มิได้รับรองรัฐปาเลสไตน์ก็รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับอำนาจจากสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ดำเนินหน้าที่รัฐบาลในรัฐปาเลสไตน์

ส่วนหนึ่งของดินแดนนี้ที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เคยถูกเรียกว่า "ดินแดนคะนาอัน" (Canaan) ในช่วงที่อยู่ใต้การปกครองของอียิปต์ ในภายหลังได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองส่วน ส่วนทางใต้กลายเป็นราชอาณาจักรยูดาห์ ส่วนทางเหนือคือราชอาณาจักรอิสราเอล

ในปี ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย และให้กรุงเยรูซาเลมอยู่ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศ ซึ่งมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย

ในปี ค.ศ. 1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย รัฐอิสราเอลถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นยามเฝ้าน้ำมันในตะวันออกกลางของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อิสราเอลมีหน้าที่หลักในการเป็นพันธมิตรของตะวันตกเพื่อสกัดกั้นและไล่กัดกระแสชาตินิยมอาหรับที่ต้องการควบคุมน้ำมันเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่ แทนประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติตะวันตก รัฐอิสราเอลเป็นรัฐเหยียดเชื้อชาติเพราะเป็นรัฐที่กีดกันคนที่ไม่ใช่ชาวยิว และที่สำคัญคือถูกสร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดด้วยความรุนแรงโหดร้ายทารุณ บ่อยครั้งมีการเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อฆ่าชายหญิงและเด็ก ซึ่งเป็นวิธีสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวปาเลสไตน์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ชาวปาเลสไตน์หมดกำลังใจในการต่อสู้ และหลบหนีออกจากพื้นที่จนกลายเป็นผู้ลี้ภัยถาวรในค่ายรอบๆ อิสราเอล

ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 กองทัพซีเรีย ทรานส์จอร์แดน อิรัก เลบานอน และอียิปต์ ก็ข้ามพรมแดนปาเลสไตน์เข้าตะลุมบอนกับกองทัพอิสราเอล ซึ่งมีอายุได้เพียงวันเดียว ตามทางการแล้วสงครามกระทำกันในเวลา 8 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 1948 จนถึงวันที่ 7 มกราคม 1949 การหย่าศึกครั้งที่หนึ่ง วันที่ 11 มิถุนายน 1948 เมื่อสหประชาชาติ (เคานต์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ตัวแทน) ให้มีการหยุดยิงเป็นเวลา 1 เดือน ในระหว่างการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายถูกห้ามมิให้นำอาวุธเข้ามา และฝ่ายไกล่เกลี่ยสหประชาชาตินำทหารเข้าไปเพื่อควบคุมฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน ความจริงทั้งฝ่ายอาหรับและยิวใช้เวลาหยุดยิง 4 สัปดาห์ เตรียมจัดหน่วยและเสริมกำลังทั้งด้านกำลังพล ยุทธสัมภาระและวางกำลังใหม่ พอครบหนึ่งเดือน เริ่มขึ้นตอนเที่ยงคืนของวันที่ 11 กรกฎาคม กินเวลาเพียงสิบวันเท่านั้น การหยุดยิงครั้งที่สองเริ่มวันที่ 19 กรกฎาคม 1948 การหยุดยิงครั้งที่สองมิได้กำหนดเวลาไว้ คาดว่าจะนำไปสู่การหยุดยิงตลอดไป โดยคาดว่ากรณีพิพาทจะตกลงกันได้โดยวิถีทางการทูต จากความช่วยเหลือของผู้ไกล่เลี่ยสหประชาชาติ คือ เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ อย่างไรก็ตาม ความเป็นศัตรูกันเริ่มขึ้นอีกในวันที่ 10 ตุลาคม 1948 นับว่าเป็นขั้นสุดท้ายของสงครามนำด้วยเหตุการณ์ที่น่าเศร้า เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1948 เคาน์ โฟล์ก แบร์ นาดอตต์ ถูกผู้ก่อการร้ายฆ่าตาย

การสู้รบสิ้นสุดลงในวันที่ 7 มกราคม1949 และในเดือนกุมภาพันธ์ อียิปต์ลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับอิสราเอล, เดือนมีนาคม รัฐบาลอาหรับอื่น ๆ ทำตามอียิปต์ นอกจากรัฐบาลอิรัก และเลบานอน, เดือนเมษายน จอร์แดน และเดือนกรกฎาคม ซีเรีย อิรักเพียงแต่ถอนทหารออกจากปาเลสไตน์โดยไม่ลงนามในสัญญาหยุดยิง

หลังสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ได้มีข้อตกลงสงบศึกใน ค.ศ. 1949 กำหนดให้แบ่งดินแดนออกเป็น 3 ส่วน ให้กับอิสราเอล และชาติอาหรับในบริเวณนั้นอีก 2 ชาติ คือ อียิปต์และจอร์แดน

อิสราเอลได้เนื้อที่ไป 26% คือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ส่วนจอร์แดนได้ไป 21% คือเวสต์แบงก์ โดยกรุงเยรูซาเลมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนให้กับทั้งอิสราเอลและจอร์แดน ส่วนอียิปต์ได้บริเวณฉนวนกาซา เมื่อการแบ่งดินแดนกันเรียบร้อย ก็เกิดการอพยพของชาวยิวและชาวอาหรับเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตแดนของตน

ได้มีการประกาศเป็น รัฐปาเลสไตน์ในปี 1988 โดยสหประชาชาติ โดยมีดินแดนบางส่วนใน เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

มีรัฐบาลฟะตะห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ ส่วนรัฐบาลฮะมาสก็ได้รับเลือกเป็นรัฐบาลในฉนวนกาซาในปี 2006 ซึ่งรัฐบาลฟะตะห์เน้นสันติ แต่รัฐบาลฮะมาสเน้นใช้ความรุนแรง แต่ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2014 ฟะตะห์จับมือฮะมาสเป็นพันธมิตรตั้งรบ.ผสมปาเลสไตน์ ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศรายงานาว่ากลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐบาลปาเลสไตน์ได้บรรลุข้อตกลงยุติความขัดแย้งและเป็นพันธมิตรกับกลุ่มฮะมาส ซึ่งถือเป็นการบรรลุครั้งใหญ่ของอดีตกลุ่มก่อการร้ายสองฝ่ายของปาเลสไตน์โดยทั้งสองฝ่ายประกาศว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับชาวปาเลสไตน์ ที่จะสามารถยุติยุคแห่งความขัดแย้งและความแตกแยกของปาเลสไตน์ และกลุ่มคาดหวังว่า การบรรลุข้อตกลงนี้ จะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมเอกภาพภายใน 5 สัปดาห์ข้างหน้า ผ่านการลงมติไว้วางใจจากรัฐสภาปาเลสไตน์ และการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีก 5 เดือนข้างหน้า โดยปัจจุบัน กลุ่มฟะตะห์มีประธานาธิบดีมาห์ มุด อับบาส เป็นผู้นำ และกลุ่มฮะมาส มีนายอิสเมล์ ฮานิยาห์ เป็นผู้นำ อย่างไรก็ตาม ด้านสหรัฐแสดงความวิตกเป็นพันธมิตรของสองกลุ่มการเมืองปาเลสไตน์ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มก่อการร้ายว่าอาจขัดขวางต่อความพยายามที่ปาเลสไตน์จะบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอล โดยย้ำว่า ทั้งสองกลุ่มจะต้องยึดต่อหลักการไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล ไม่เช่นนั้นการบรรลุสันติภาพของปาเลสไตน์และอิสราเอลจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

ในวันที่ 23 กันยายน 2011 ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ได้ยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเสมือนเป็นการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยยูเนสโกเป็นองค์การชำนาญพิเศษของยูเอ็นแห่งแรกที่ปาเลสไตน์ได้เป็นสมาชิกเต็ม

ในวันที่ 31 ตุลาคม 2011 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงมติรับรองสถานภาพสมาชิกแก่ปาเลสไตน์โดยสมบูรณ์ โดยชาติสมาชิกทั้งหมด 173 ประเทศ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานภาพเป็นสมาชิกยูเนสโกเต็มตัว โดยมีชาติสมาชิกสนับสนุน 107 ประเทศ คัดค้าน 14 ประเทศ และงดออกเสียง 52 ประเทศ ซึ่งถือเป็นมติรับรองปาเลสไตน์เกินกว่า 2 ใน 3 ที่ทำให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกภาพของยูเนสโกในลำดับที่ 195 ในขณะที่สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ โหวตค้านการรับรองปาเลสไตน์ ส่วนบราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และฝรั่งเศส ต่างโหวตสนับสนุน ขณะที่อังกฤษและอิตาลีของดออกเสียง

ยูเอ็นได้ลงมติยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ เทียบเท่ากับสถานะของนครรัฐวาติกัน ซึ่งทางยูเอ็นลงมติด้วยคะแนน 138 ต่อ 9 เสียง เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ใช่สมาชิกยูเอ็น โดยนายอับบาสระบุว่ามติของยูเอ็นเปรียบได้กับใบแจ้งเกิดที่จะนำไปสู่การยอมรับความเป็นรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต แม้ว่าเส้นทางการต่อสู้ไปสู่เสรีภาพที่แท้จริงยังอีกยาวไกล แต่การยอมรับสถานะรัฐปาเลสไตน์จะช่วยกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพร่วมกับปาเลสไตน์อีกครั้ง หลังความพยายามในการเจรจาต่อรองหยุดชะงักมานานกว่า 2 ปี ส่วนนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงประณามคำปราศรัยของอับบาสว่าเป็นยาพิษที่ส่งผลมอมเมาประชาคมโลก ขณะที่กองกำลังติดอาวุธฮะมาสในดินแดนฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ได้ร่วมแสดงความยินดีต่อชัยชนะของรัฐบาลปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ด้วย

รัฐปาเลสไตน์มีกำลังทหารที่เรียกว่ากำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์ (Palestinian National Security Forces) และยังมีกองกำลังย่อยอยู่อีก เช่น ฟอร์ซ 14 (กองทัพอากาศ), กองทัพตำรวจพลเรือนปาเลสไตน์ นอกจากนี้ยังมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์อื่นๆอีก เช่น กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นต้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406