ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ

1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

ถึงแม้ว่าคำว่า รัฐ มักจะรวมถึงสถาบันรัฐบาลหรือการปกครอง ทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ ระบบรัฐสมัยใหม่มีลักษณะหลายประการ และคำดังกล่าวมักถูกใช้ในความหมายถึงระบบการเมืองสมัยใหม่เท่านั้น

คำว่า "ประเทศ" "ชาติ" และ "รัฐ" มักจะถูกใช้ในความหมายที่สามารถทดแทนกันได้ แต่การเลือกใช้คำจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้:

รัฐ (State) เป็นคำที่ใช้สำหรับเรียกหน่วยของสถาบันการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสังคมและประชาชนผ่านการวางกฎระเบียบต่างๆ และคอยจัดสรรทรัพยากรภายใต้พื้นที่จำกัด (Kurian, 2011: 1594-1597) โดยรัฐจะมีหน้าที่หลักอยู่ 4 ประการ ดังนี้ หน้าที่ในการปกครองและควบคุมสังคม หน้าที่ในการเป็นหน่วยเดียวของสังคมที่สามารถใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรม หน้าที่ในการจัดการทรัพยากรภายในรัฐ ทั้งในด้านการเก็บภาษีและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หน้าที่ในด้านของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มา ในทางรัฐศาสตร์ นิยามของรัฐที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ นิยามของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) (อ้างใน Haralambos and Holborn, 2004: 541) ที่กล่าวว่า รัฐ คือ องค์กรทางการเมืองที่มีอำนาจบังคับและมีความต่อเนื่องในการผูกขาดการใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรมด้วยการบังคับใช้ระเบียบและกฎหมาย จากนิยามดังกล่าวจะเห็นว่ารัฐเป็นหน่วยทางการปกครองที่มีเป้าหมายในการรักษาระเบียบ (social order) ทั้งในทางสังคมและการเมือง นักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลจากนิยามดังกล่าว จนสามารถสร้างผลงานทางรัฐศาสตร์ที่โด่งดัง คือ เธดา สค๊อกโพล (Theda Skocpol) (1979: 29-32) หนังสือชื่อ States and Social Revolutions ที่กล่าวว่า “รัฐ” มีหน่วยงานในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ภายในเขตแดนอย่างชอบธรรม (legitimacy) เพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเอง คือการรักษาระเบียบ (maintains order) และทำการแข่งขันกับรัฐอื่นในด้านศักยภาพของรัฐ เช่น การทหาร เป็นต้น โดยอุดมคติแล้ว รัฐจึงมีหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน และภาคส่วนต่างๆ โดยกำกับให้การดำเนินกิจกรรมใดๆ ในรัฐ เกิดประโยชน์โดยรวมต่อสาธารณะอย่างสมดุล ในเชิงปฏิบัติ “รัฐ” เป็นคำศัพท์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายและมีความหมายที่หลากหลายในตัวของมันเอง โดยสามารถจำแนกการใช้คำว่ารัฐออกเป็น 3 ความหมาย กล่าวคือความหมายแรก “รัฐ” คือ พื้นที่ทางการเมืองในการต่อสู้ต่อรองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ในการเข้าไปมีอิทธิพลจัดสรรทรัพยากรสาธารณะ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่กลุ่มของตนมากที่สุด ความหมายที่สอง “รัฐ” คือ รัฐบาล ที่ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศและมุ่งหวังสร้างคะแนนเสียงเพื่อให้ได้รับคัดเลือกกลับเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้ง รัฐในความหมายนี้จึงไม่รวมถึงฝ่ายค้านในรัฐสภาและข้าราชการอื่นๆ และความหมายที่สาม “รัฐ” คือ องค์การทางการเมือง หมายรวมถึงหน่วยงานทั้งหมดที่เป็นของภาคสาธารณะ ทั้งรัฐบาล ข้าราชการ ศาล และทหาร ซึ่งอาจถูกแทนด้วยคำว่าเจ้าหน้าที่รัฐ (the authorities) ได้ ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย สำหรับความหมายในสังคมไทย ในงานของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2534: 25) ได้พยายามจำแนกการพิจารณาความหมายของรัฐออกเป็น 4 แนวทาง คือ 1) รัฐในฐานะที่เป็นรัฐบาล (the state as government) ซึ่งหมายถึงกลุ่มบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจในสังคมการเมือง 2) รัฐในฐานะที่เป็นระบบราชการ (the state as public bureaucracy) คือเครื่องมือทางการบริหารที่เป็นปึกแผ่นและมีระเบียบทางกฎหมายรองรับ 3) รัฐในฐานะที่เป็นชนชั้นปกครอง (the state as ruling class) และ 4) รัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางอุดมการณ์ (the state as normative order) ฉะนั้น ในการนิยามความหมายของรัฐ อาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้คำ ว่าจะให้คำว่า “รัฐ” หมายแทนสิ่งใด อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ คำว่า “รัฐ” กลับพบปัญหาในการนำมาใช้อย่างมาก เพราะตามแบบเรียนของการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยไม่ได้บอกว่ารัฐคืออะไร แต่กลับกล่าวเพียงแค่รัฐประกอบไปด้วย 4 หน่วยหลัก คือ ประชาชน เขตแดน อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล ซึ่งต้องครบองค์ประกอบดังกล่าวเท่านั้นจึงถูกเรียกว่ารัฐ การนิยามรัฐเช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นการท่องจำ และไม่ได้เชื่อมโยงกับความหมายในเชิงวิชาการทั้งในระดับภายในประเทศและระดับสากล สำหรับการใช้คำว่า “รัฐ” ในสังคมไทย มักถูกผูกโยงเข้ากับเรื่องของ “อำนาจ” และ “เจ้าหน้าที่” เสมอ กล่าวได้ว่ารัฐเป็นหน่วยการปกครองหนึ่งที่มีเจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้อำนาจรัฐกับประชาชน และมีความหมายเชิงลบอยู่ในตัวเอง เพราะการใช้คำว่า “อำนาจรัฐ” มีนัยไปถึงการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจปกครองกับประชาชนอย่างไม่ชอบธรรม หรือใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงประชาชนที่สามารถอยู่ด้วยกันภายในสังคมหรือชุมชนของตัวเอง “รัฐ” ในสังคมไทยจึงเป็นคำที่มีระยะห่างกับ “ประชาชน” และ “สังคม” มากพอสมควร และรัฐมักจะมีภาพลักษณ์ในด้านลบ เช่น เมื่อกล่าวถึงรัฐ คนมักจะนึกถึง การแย่งชิงอำนาจ การทุจริตคอร์รัปชั่น และความเชื่องช้าของระบบราชการในภาครัฐ ข้อสังเกตที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม จะเห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับ “รัฐ” มีความหมายกว้างขวางมากที่สุดแนวคิดหนึ่ง และสามารถถูกใช้ได้ในหลายบริบทและหลายความหมาย จึงเป็นไปได้ยากในการนิยามคำว่ารัฐให้กระชับหรือถูกต้องเพียงความหมายเดียว แนวคิดว่าด้วยรัฐจึงอาจแยกพิจารณาโดยสังเขปได้ว่า รัฐในความหมายของพื้นที่ รัฐในความหมายของรัฐบาล และรัฐในความหมายของระบบราชการ ประเด็นที่สังคมไทยต้องพยายามทำความเข้าใจคือ รัฐอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าที่หลายคนตระหนัก ฉะนั้น บทบาทของรัฐจึงกระทบต่อชีวิตประจำวันและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน้าที่ของรัฐที่สำคัญ นอกจากจะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมแล้ว รัฐต้องสร้างหลักประกันว่าจะพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม และรัฐมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการประกันอิสรภาพและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล กล่าวได้ว่า ในสังคมประชาธิปไตย บทบาทของรัฐที่พึงปรารถนาคือ รัฐที่ช่วยพัฒนาอิสรภาพและเสรีภาพของประชาชนที่ด้อยโอกาสให้สามารถกระทำตามเจตนารมณ์ของเขาได้ รัฐที่กระจายทรัพยากรและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้แก่คนทุกกลุ่ม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และกระจายความเท่าเทียมกันของคนในสังคม ในประเด็นหลัง บทบาทของรัฐในหลายประเทศจึงผูกโยงอยู่กับการจัดสรรสวัสดิการสังคม (โปรดดู Social Welfare) ดูเพิ่มใน ‘Social Order’ & ‘Vertical / Horizontal Order’ และ ‘Social Welfare’

รัฐ เป็นแนวความคิดหรือมโนทัศน์ที่ย่อลงมาจากการเมือง (Politics) ในลักษณะที่รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นจากการจัดระเบียบและการสร้างแบบแผนอย่างเป็นทางการของการเคลื่อนไหวหรือพลวัตของการเมือง โดยที่รัฐประกอบไปด้วยประชากรและ.สิทธิหน้าที่ต่าง ๆ สถาบัน และกระบวนการยุติธรรม หลักการและอำนาจ ซึ่งเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์แบบโครงสร้าง ส่วนในมโนทัศน์อย่างแคบ รัฐหมายถึง รัฐบาลที่ทุกรัฐจะต้องมีเป็นของตนเอง รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการปกครองในนามของรัฐ (Leslie Lipson 2002, 46)

ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้กล่าวถึงความหมายของรัฐตามทัศนะของ เบนจามินและดูวาล (Roger Benjamin and Raymond Duvall) ซึ่งได้เสนอว่า มีแนวคิดเกี่ยวกับรัฐอยู่ 4 แนวทาง คือ รัฐในฐานะที่เป็นรัฐบาล (The state as government) ซึ่งหมายถึง กลุ่มบุคคลที่ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจในสังคมการเมือง และ รัฐในฐานะที่เป็นระบบราชการ (The state as public bureaucracy) หรือเครื่องมือทางการบริหารที่เป็นปึกแผ่นและเป็นระเบียบทางกฎหมายที่มีความเป็นสถาบัน ทั้งสองความหมายนี้เป็นการมองรัฐตามแนวคิดของนักสังคมศาสตร์ที่มิใช่มาร์กซิสต์ รัฐในฐานะที่เป็นชนชั้นปกครอง (The state as ruling class) เป็นความหมายในแนวคิดของมาร์กซิสต์ และ รัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางอุดมการณ์ (The state as normative order) ซึ่งเป็นแนวคิดของนักมานุษยวิทยา

เนทเทิล (J.P.Nettle) ในบทความ “ State as Conceptual Variable” และ “World Politics (1968 อ้างถึงในชัยอนันต์ สมุทวณิช 2535, 25-27) เห็นว่า รัฐ หมายถึง

ก) องค์กรที่รวมศูนย์การทำหน้าที่และโครงสร้างไว้เพื่อปฏิบัติการได้อย่างทั่วด้าน แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบดั้งเดิมที่เน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยและรัฐอธิปไตย ว่า รัฐมีฐานะสูงกว่าองค์กรอื่น ๆ ในสังคม อำนาจของรัฐเป็นอำนาจตามกฎหมาย แนวคิดนี้จึงเชื่อมโยงรัฐกับกฎหมาย กับระบบราชการและกับรัฐบาล

(ข) รัฐในฐานะที่เป็นหน่วยงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหมายถึง การที่รัฐมีอิสระในการดำเนินกิจการต่าง ๆ กับรัฐอื่น ๆ แนวคิดนี้ก็อาจเป็นแนวคิดเดิมเรื่องรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน หากรัฐมีอิสระในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศ ก็จะมีความเป็นรัฐ (Stateness) สูง แนวคิดนี้ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ลักษณะสองด้านของรัฐคือ รัฐเป็นหน่วยอำนาจอธิปไตยในความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายในสังคม (intrasocial) ด้านหนึ่ง กับรัฐเป็นหน่วยหนึ่งในความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกสังคม (extrasocial) อีกอย่างหนึ่ง

(ค) รัฐในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว แนวคิดนี้ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนที่เป็นเรื่องของรัฐกับส่วนที่เป็นเรื่องของเอกชน เช่น ระบบการศึกษาของรัฐ กับระบบการศึกษาภายใต้การดูแลของเอกชน รัฐวิสาหกิจและภาครัฐบาล กับอุตสาหกรรมของภาคเอกชน เป็นต้น

(ง) รัฐในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม-วัฒนธรรม อย่างหนึ่ง แนวคิดนี้ใช้ในการศึกษาวิวัฒนาการของรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

รัฐ ดูจะเป็นคำที่มีคุณลักษณะทางนามธรรมหรือเป็นมโนทัศน์เชิงความคิด บนพื้นฐานความเชื่อความเข้าใจของมนุษย์มากกว่าที่จะเป็นตัวตนอันสามารถจับต้องได้ ความเชื่อความเข้าใจต่อนามธรรมนี้ นอกจากจะเป็นการสำเหนียกในอำนาจรัฐซึ่งกระทบต่อชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังได้รับการตอกย้ำให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นโดยอาศัยสัญลักษณ์ที่หลากหลายซึ่งเกี่ยวข้อง แสดงหรือบ่งชี้ถึงความเป็นชาติ อาทิ ธงชาติ เพลงชาติ เครื่องแต่งกายประจำชาติ ตำนาน/ความเชื่อถึงความเป็นชาติ โดยเฉพาะคำเรียกขานและกระบวนการหรือแบบพิธีต่าง ๆ (discursive practices) ซึ่งกำหนดให้รัฐเป็นตัวแสดง (Actor) ในการเมืองระหว่างประเทศหรือการเมืองโลก (ธีระ นุชเปี่ยม 2541, 46-47) ด้วย นอกเหนือไปจากรัฐในฐานะที่เป็นหน่วยพื้นฐานทางการเมือง (fundamental unit of politics) ซึ่งมีความหมายและผูกพันกับบุคคลในรัฐ กระทั่งทำให้ปริมณฑลความรับรู้ของมนุษย์เข้าใกล้ตัวตนของรัฐมากขึ้น

ตามอนุสัญญามอนเตวิโอ ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของรัฐ (The Montevio Convention on the Rights and Duties of State) ค.ศ. 1933 มาตรา 1 รัฐมีองค์ประกอบคือ ประชากรที่อยู่รวมกันอย่างถาวร ดินแดนที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน รัฐบาลและ ความสามารถที่จะสถาปนาความสัมพันธ์กับต่างรัฐได้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า หากขาดไปเสียซึ่งองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งดังที่กล่าวไปนี้ ย่อมไม่ถือว่าเป็นรัฐในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือแม้แต่ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่บัญญัติกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองของรัฐ รัฐจึงเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อนมีรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุดังนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าการที่ผู้ปกครองในดินแดนซึ่งออกกฎหมายในลักษณะที่เป็นรัฐธรรมนูญ แต่สภาพของดินแดนนั้นไม่ครบองค์ประกอบที่จะเรียกเป็นรัฐ เช่นอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยรัฐต่างประเทศ เช่น อิรัก ในช่วงปี ค.ศ. 2004 ที่คณะผู้บริหารตั้งขึ้นโดยอำนาจของสหรัฐอเมริกา โดยนัยนี้ อิรักจึงมิอาจถือว่าเป็นดินแดนรัฐเอกราช เช่นนี้ กฎหมายที่ออกมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในการปกครองนั้นจะเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ตัวอย่างคำถามนี้ เป็นประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนในการพิจารณาความเป็นรัฐหากเทียบกับบริบทอื่น

รัฐแม้จะมีฐานะเป็นบุคคล แต่ก็มีฐานะเป็นบุคคลในเชิงนามธรรม (abstract) หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มิได้มีชีวิตจิตใจเช่นบุคคลธรรมดา แต่มีสิทธิหน้าที่ตามที่กฎหมายหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันผูกพันรัฐไว้กับกรณีหนึ่งกรณีใด แต่ความเป็นนามธรรมของรัฐนี้ มิได้ไกลห่างจากความรู้สึกหรือความสามารถในการรับรู้ได้ของประชาชนแต่ประการใด นักวิชาการรัฐศาสตร์ไทยบางท่านกล่าวว่า การกล่อมเกลาทางการเมืองที่รัฐให้แก่บุคคล ได้มีส่วนทำให้ความคิดและการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องรัฐของบุคคลมีมากขึ้นตามอายุ หรือกล่าวได้ว่ายิ่งบุคคลเติบโตขึ้นเพียงใด เขาจะยิ่งรับรู้หรือรูสึกถึงอำนาจของรัฐที่มีต่อตัวเขามากขึ้น โดยอำนาจของรัฐปรากฏอยู่ในหลายลักษณะ ขณะที่ตัวตนของรัฐมิได้เป็นสิ่งที่สัมผัสได้เลย ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงต้องมีบุคคลคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง ซึ่งมีตัวตน เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ในการปกครองแทนรัฐหรือในนามของรัฐ บุคคลที่ใช้อำนาจแทนรัฐหรือในนามของรัฐนี้ ภาษาในกฎหมายมหาชนเรียกว่า องค์กรของรัฐ (Organ of State)

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สามารถจัดแบ่งลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนได้ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย (วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน 2545, 10)

โดยที่วิวัฒนาการของรัฐและการปกครองนับแต่สมัยกรีกโดยเฉพาะนครรัฐเอเธนส์ถือว่าชาวกรีกเป็นพลเมืองที่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรง แต่เมื่อประชาชนมีจำนวนมากขึ้น รูปแบบการปกครองได้เปลี่ยนโดยเป็นการให้อำนาจกับผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาด ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยจักรวรรดิ์โรมันแล้วเข้าสู่ยุคกลางที่ถูกครอบงำโดยศาสนจักร ต่อมาพวกปัญญาชนก็พาออกจากยุคกลางหรือยุคมืดสู่ยุคฟื้นฟูและยุคแห่งแสงสว่าง เมื่อเกิดรัฐ-ชาติ (nation-state) ขึ้นในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้อำนาจในการปกครองรัฐได้เปลี่ยนมือจากสันตะปาปา (pope) มาสู่กษัตริย์ (king) ซึ่งลักษณะการปกครองแบบนี้ฐานะของผู้ปกครองมีเหนือกว่าและสำคัญกว่าผู้ถูกปกครองเป็นอย่างมาก ผู้ปกครองเป็นผู้ชี้นำให้ประชาชนในฐานะผู้ถูกปกครองต้องปฏิบัติตามถ้าผู้ปกครองทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นที่ตั้งก็ได้ชื่อว่าเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย (absolute monarchy) ในทางตรงกันข้าม หากการปกครองเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการปกครองแบบทรราชย์ (tyranny) ระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแทบไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองเลย

หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญๆ ได้แก่ การปฏิวัติในอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1688 การปฏิวัติในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1776 และการปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 มีผลทำให้กระแสของลัทธิประชาธิปไตยได้แพร่หลายไปยังรัฐต่างๆ ในทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลทำลายศูนย์กลางการควบคุมและการผูกขาดอำนาจรัฐของบุคคลหรือคณะบุคคล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนแบบ ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง เปลี่ยนมาเป็นแบบการปกครองระบอบผู้แทน (Representative Government)

สาระสำคัญของความสัมพันธ์แบบการปกครองโดยผู้แทน คือ อำนาจรัฐที่เรียกกันว่า “อำนาจอธิปไตย” (sovereignty) นั้น เป็นของประชาชน (popular sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรงดังเช่นสมัยนครรัฐเอเธนส์ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากขึ้น จึงต้องมีการมอบอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนให้กับตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจแทนประชาชน จึงเรียกว่า “ผู้แทนราษฎร” ลักษณะสำคัญของการปกครองโดยผู้แทน ประกอบด้วย ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ ตัวแทนไปใช้แทนตน การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการ “เลือกตั้ง” (election) ภายใต้ระบบการแข่งขัน (competition) ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอกขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการ หรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกอำนาจคืนได้

อย่างไรก็ดี การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทนที่เกิดขึ้นในสังคมต่างๆ มีข้อบกพร่องและจุดอ่อนอยู่หลายประการ มีการวิพากษ์ถึงความไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขาดความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน อาทิเช่น มีคำกล่าวว่าเป็นการปกครองของนายทุน คนกลุ่มน้อยสามารถผูกขาดอำนาจ เป็นต้น

ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น “ตัวแทน” แล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ โดยสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ลักษณะ คือ

3.1 การเรียกคืนอำนาจโดยถอดถอน/ปลดออกจากตำแหน่ง (recall) เป็นการควบคุมการใช้อำนาจของผู้แทนของประชาชนในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนประชาชน หากปรากฏว่า ผู้แทนของประชาชนใช้อำนาจในฐานะ “ตัวแทน” มิใช่เป็นไปเพื่อหลักการที่ถูกต้อง หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมที่แท้จริง ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยทุจริต หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถเรียกร้องอำนาจที่ได้รับมอบไปนั้นกลับคืนมาโดย การถอดถอน/ปลดออกจากตำแหน่งได้

3.2 การริเริ่มเสนอแนะ (initiatives) เป็นการทดแทนการทำหน้าที่ของผู้แทนของประชาชน หรือเป็นการเสริมการทำหน้าที่ของตัวแทนประชาชน ประชาชนสามารถเสนอแนะนโยบาย ร่างกฎหมาย รวมทั้งมาตรการใหม่ๆ เองได้ หากว่าตัวแทนของประชาชนไม่เสนอหรือเสนอแล้วแต่ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน

3.3 การทำประชาพิจารณ์ (public hearings) เป็นการแสดงออกของประชาชนในการเฝ้าดูตรวจสอบและควบคุมการทำงานของตัวแทนของประชาชน ในกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเตรียมออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายหรือมาตรการใดๆ ก็ตามอันมีผลกระทบต่อต่อชีวิตความเป็นอยู่หรือสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถที่จะเรียกร้องให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงและผลดีผลเสีย ก่อนการออกหรือบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย หรือมาตรการนั้นๆได้

4. การแสดงประชามติ (Referendum หรือ Plebisite) ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญ หรือการออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก เช่น การขึ้นภาษี การสร้างเขื่อนหรือโรงไฟฟ้า ฯลฯ ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถเรียกร้องให้รัฐรับฟังมติของประชาชนเสียก่อนที่จะตรากฎหมาย หรือดำเนินการสำคัญๆ โดยจัดให้มีการลงประชามติเพื่อถามความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่อันเป็นการตัดสินใจขั้นสุดท้าย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301