ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รักแห่งสยาม

รักแห่งสยาม เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, มาริโอ้ เมาเร่อ และ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก และการค้นหาตัวตน ผ่านมุมมองของเด็กชายสองคน โดยมีสยามสแควร์เป็นสถานที่เชื่อมโยงเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งการถ่ายทำเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากสยามสแควร์เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่านเป็นอุปสรรคถ่ายทำ

การประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ก่อนการออกฉาย นำเสนอว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับความรักใส ๆ ของวัยรุ่นหญิงชาย แต่เมื่อภาพยนตร์ออกฉายจริง กลับมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสับสนในจิตใจของวัยรุ่นชาย รวมถึงมีฉากล่อแหลม ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ส่วนเสียงตอบรับในด้านกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์นั้นก่อให้เกิดข้อถกเถียงทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

ภาพยนตร์ออกฉายเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทำรายได้ในสัปดาห์แรก 18.5 ล้านบาท และปิดรายได้รวมที่ 42 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีการฉายในฉบับ “Director's Cut” มีความยาวประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ ที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ อาร์ซีเอ และจากกระแสตอบรับที่ดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงมีกิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบและทีมงาน เช่น รอบพิเศษ ที่โรงภาพยนตร์สกาลา สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และ การจัดคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชื่อว่า "Nokia Music Presents The Love of Siam Special Greeting" ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

รักแห่งสยามสามารถคว้ารางวัลใหญ่ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก 5 สถาบันหลักคือ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์, รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง, สตาร์พิกส์อวอร์ด, คมชัดลึก อวอร์ด และสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส รวมทั้งรางวัลอื่นอีกมาก

โต้งและมิวเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเด็ก โดยบ้านของทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน มิวอยู่กับอาม่าเพราะพ่อและแม่ของเขาต้องไปทำงานที่ต่างจังหวัด ส่วนโต้งอยู่กับกร และ สุนีย์ พ่อและแม่ของเขา รวมถึงแตง พี่สาว ต่อมากรต้องไปทำงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงถือโอกาสพาครอบครัวไปเที่ยวด้วย แต่แตงขอไปเที่ยวต่อกับเพื่อน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้แตงหลงไปในป่าและหายตัวไป กรจึงรู้สึกเสียใจและเริ่มดื่มเหล้าอย่างหนักมาตั้งแต่บัดนั้น ไม่นานต่อมาครอบครัวของโต้งซึ่งเหลือเพียงสามคนได้ย้ายบ้านออกไป และไม่กี่เดือนหลังจากนั้น อาม่าของมิวได้ล้มป่วยลงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

เวลาผ่านไป โต้ง เด็กชายชั้น ม.6 ได้คบโดนัท เป็นแฟน แต่ด้วยความห่างไกลกัน โดนัทจึงเริ่มสงสัยว่าโต้งอาจไม่รักเธอแล้ว ในขณะที่ มิว เด็กชายวัยเดียวกัน ผู้มีพรสวรรค์ทางดนตรีก็กำลังทุ่มเทความรักให้กับเสียงเพลงและวงดนตรีออกัสของตัวเอง มิวไม่เคยได้สัมผัสกับความรักมานานแสนนาน ตั้งแต่อาม่าตายจากไป แม้เพลงแรกของวงจะเป็นที่รู้จัก แต่เมื่อพี่อ๊อด โปรดิวเซอร์ได้เสนองานให้แต่งเพลงรัก จึงเป็นเรื่องยากเหลือเกินที่มิวต้องแต่งเพลงนี้เพื่อนำไปเสนอกับค่ายเพลงใหญ่ ในเวลาเดียวกับที่ หญิง เพื่อนบ้านของมิวก็คอยให้กำลังใจและแอบมองมิวอยู่ห่าง ๆ แต่มิวก็ไม่เคยรับรู้ความรู้สึกที่หญิงมีต่อตัวเองเลย

วันหนึ่ง ขณะที่โต้งกำลังหาซื้อซีดีวงออกัสที่ร้าน ดี.เจ.สยาม เขาได้พบกับมิวอีกครั้ง หลังจากที่ขาดการติดต่อกันมานาน ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มก่อตัวขึ้น มิวแนะนำโต้งให้รู้จักกับ จูน คนดูแลวงดนตรีของมิวที่หน้าตาและบุคลิกเหมือนกับแตง พี่สาวของโต้งที่หายตัวไป โต้งจึงคิดแผนให้แม่จ้างจูนปลอมตัวเป็นแตงเพื่อมารักษาอาการติดเหล้าให้กับพ่อ

การเข้ามาของจูนทำให้ครอบครัวโต้งดีขึ้น ในขณะที่เพลงรักของมิวก็เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ความฝันของวงออกัสที่จะได้ออกอัลบั้มเริ่มใกล้เข้ามาทุกที แต่เมื่อสุนีย์จัดงานเลี้ยงต้อนรับการกลับมาของแตง ทำให้ความสัมพันธ์ของมิวและโต้งใกล้ชิดมากขึ้นจนเกินเลย จนถึงขั้นจูบกัน สุนีย์เห็นพอดี วันต่อมาจึงต้องเข้ามาตักเตือนมิว และห้ามไม่ให้โต้งไปบ้านมิวอีก เมื่อกรรู้เรื่องเข้า ทำให้เขากับสุนีย์ต้องทะเลาะกัน

ด้วยปัญหาข้างต้น โต้งจึงเริ่มหันไปสูบบุหรี่ กินเหล้ากับเพื่อน ในขณะที่มิวหายตัวไปในวันออดิชั่น สร้างความเสียหายให้กับวง จนโปรดิวเซอร์ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนนักร้องนำ เพราะได้จองคิวคอนเสิร์ตในวันคริสต์มาสไว้แล้ว แต่เอกซ์ เพื่อนสนิทของมิวได้เสนอตัวที่จะเป็นคนไปบอกมิวเอง โดยมีจูนช่วยอีกแรง

ทางฝั่งครอบครัวโต้ง สุนีย์สังเกตว่ากรถ่ายอุจจาระเป็นเลือด จึงรีบพากรส่งโรงพยาบาล หมอบอกว่ากรเสียตับไปมาก ในระหว่างที่กรรักษาตัวอยู่นี้ จูนได้บอกความจริงเกี่ยวกับครอบครัวให้สุนีย์รู้ และได้อยู่ดูแลกร ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอได้อยู่กับสุนีย์และกร ส่วนเอกซ์ได้ขอร้องให้มิวกลับมาร้องเพลงอีกครั้ง

ในวันคอนเสิร์ต มิวได้กลับมาร้องเพลงให้ออกัส ขณะเดียวกัน โต้งได้มาที่สยามสแควร์ตามคำชวนของโดนัท และ ณ ที่นั่น โต้งได้บอกเลิกโดนัท และตัดสินใจไปดูคอนเสิร์ตของออกัสพร้อมกับหญิง

หลังคอนเสิร์ตจบ โต้งได้พบกับมิวอีกครั้ง และมอบของขวัญวันคริสต์มาสให้ เมื่อโต้งกลับมาที่บ้าน โต้งพบว่าจูนไม่ได้กลับมาอีกแล้ว เพราะเธอรู้ว่า ถึงครอบครัวของโต้งไม่มีแตงอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องจมปลักอยู่กับความทุกข์ ส่วนมิวเองก็รู้สึกตื้นตันกับของขวัญที่โต้งให้

ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล หรือมะเดี่ยว ผู้กำกับภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์ เริ่มเขียนบทครั้งแรกตอนสมัยเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมะเดี่ยวเองมีความคุ้นเคยกับสยามสแควร์ เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่ไปเป็นประจำ ได้เห็นคู่รัก วัยรุ่นมากมาย แม้กระทั่งคนวัยทำงานหรือครอบครัวก็ตาม จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนบทและใช้สยามสแควร์เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ใช้เวลาถึง 4 ปีในการเขียนบท ซึ่งตัวละคร เรื่องราว ต่างๆ มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของตัวผู้กำกับเอง เขาหยิบยกเรื่องของพ่อแม่ พี่สาว และเรื่องส่วนตัว ขึ้นและขยายเรื่องส่วนตัวไปสู่เรื่องสากลที่คนทั่วไปร่วมรับรู้ได้ จนประมาณปี 2548 ชูเกียรติและสุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ พยายามหาเงินทุนเพื่อสร้างหนัง ถึงขนาดไปขายหนังที่ฮ่องกง ก่อนที่นายทุนจะให้เงินมาแต่งบต่ำมาก ชูเกียรติกลัวจะเสียบทไป จึงพับโครงการไว้และไปทำ 13 เกมสยอง ก่อน จนนายทุนยอมให้ทำในที่สุด โดยให้งบเริ่มต้นที่ 15 ล้านบาท แล้วไปปิดที่ 17 ล้านบาท ซึ่งงบค่อนข้างไปลงอยู่ที่ฉากคอนเสิร์ต และค่าตัวนักแสดงนำ

ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มเตรียมงานถ่ายทำช่วงกลางปี 2549 และเริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549โดยฉากแรกที่ถ่ายคือที่ร้านขายต่างหูบริเวณสยามสแควร์ ปิดกล้องวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 ใช้เวลาถ่ายทำเกือบ 5 เดือน หลังจากนั้นจึงเป็นงานงานหลังการถ่าย อย่างเช่น ตัดต่อ การลงเสียง เป็นต้น

ฉากหลังส่วนใหญ่ของเรื่องถ่ายทำที่สยามสแควร์ ซึ่งการถ่ายทำมีความยากลำบากในการควบคุมปัจจัยภายนอกและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ความชุลมุนวุ่นวายของผู้คนที่แวะเวียนผ่านเข้ามาทำกิจกรรมในสยาม บ้างก็เดินผ่าน หรือมุงดู และยังมีเสียงรบกวนต่างๆ รอบด้านที่ ทำให้การถ่ายทำค่อนข้างเป็นไปอย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าบริเวณสยามสแควร์ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เช่น ร้านเปี๊ยก ดีเจสยาม เป็นต้น

ฉากที่ถ่ายทำยากฉากหนึ่ง คือ ฉากบริเวณลานน้ำพุเซ็นเตอร์พอยต์ที่โต้งบอกเลิกกับโดนัท ซึ่งต้องถ่ายทำในช่วงเวลา 18.00-19.00 น. อันเป็นช่วงที่มีผู้คนพลุกพล่าน อีกทั้งมีเสียงดังจากจอเช็คเกอร์สกรีน ทำให้ทีมงานและนักแสดงไม่มีสมาธิ

ฉากโรงเรียนซึ่งในเรื่องคือโรงเรียนชื่อ "เซนต์นิโคลัส" เป็นโรงเรียนที่สมมติขึ้นมา ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ตัวเอกและเพื่อนในภาพยนตร์สั้นเรื่อง "12" (หนังภาคก่อนเรื่อง 13 เกมสยอง) จากภาพยนตร์เรื่องก่อนของผู้กำกับ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล โดยใช้สถานที่ถ่ายทำคือ โรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเซนต์จอห์น

ส่วนช่วงเวลาและบรรยากาศของเรื่องนี้ เป็นช่วงฤดูหนาว ในช่วงวันคริสต์มาส วันปีใหม่ ซึ่งมีบรรยากาศและการตกแต่งร้านค้าต่างๆ ที่ประดับประดาไปด้วยไฟ และถ่ายในช่วงนั้นจริงๆ ทั้งที่สยามสแควร์และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนคอนเสิร์ตในช่วงท้ายเรื่อง จัดที่ลานดิสคัฟเวอรีพลาซ่า ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี นอกจากนี้สิ่งที่ผู้กำกับตั้งใจใส่บรรยากาศอีกอย่างหนึ่งคือ ความเป็นคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศในช่วงคริสต์มาส ฉากเล่นละครตอนพระกุมารประสูติ การสวดก่อนอาหาร และคอนเสิร์ตที่จัดในช่วงเทศกาลคริสต์มาส รวมถึงชื่อโรงเรียนเซนต์นิโคลัส ที่เป็นชื่อจริงของ ‘ซานตาคลอส’

นักแสดงหน้าใหม่ทั้ง 4 คนได้ผ่านการทดสอบบทโดยส่วนใหญ่มาจากโมเดลลิ่ง อย่างอธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ (เบสท์), กัญญา รัตนเพชร (ตาล) สำหรับมาริโอ้ เมาเร่อ (โอ้) ผู้กำกับเคยเห็นการถ่ายนิตยสารต่าง ๆ ของมาริโอ้มาก่อนจึงเรียกมาทดสอบการแสดง ส่วนวิชญ์วิสิฐเป็นรุ่นน้องที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เป็นนักร้องนักดนตรีเช่นกันและเคยทำงานเพลงด้วยกันมาก่อน จากนั้นผู้กำกับจึงให้นักแสดงเวิร์กชอป ทดลองแสดงบทร่วมกัน

การคัดเลือกตัวแสดงหลักทั้ง 3 คน อย่างสินจัย เปล่งพานิช ผู้กำกับตั้งใจตั้งแต่ตอนที่เขียนบทแล้วว่า คนที่จะมารับบท “สุนีย์” จะต้องเป็น สินจัย เปล่งพานิช เท่านั้น สินจัยตอบรับในบทบาทนี้โดยให้ความเห็นไว้ว่า "ได้อ่านบทเรื่องนี้ก็รู้สึกสนใจ ชอบที่ตัวบท และก็มะเดี่ยวด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ที่มีฝีมือ เขาทำหนังออกมาดีและน่าสนใจมาก" ส่วนการคัดเลือกตัวละคร “ แตง” และ “ จูน” เดิมทีผู้กำกับไม่ได้มองเฌอมาลย์ไว้ เพราะผู้กำกับมีความเห็นว่าเป็นรุ่นใหญ่ไปแล้ว แต่เมื่อติดต่อไปก็ตอบรับบท เฌอมาลย์เผยว่า "อยากเล่น เพราะบทของหนังดี อ่านบทแล้วประทับใจ"

ทางด้านทรงสิทธิ์ก็ตอบรับบทของกรเช่นกัน "ชอบตรงแนวความคิด ตั้งแต่เริ่มอ่านบทแล้ว และเรื่องนี้ไม่เหมือนทุกเรื่อง ซึ่งยังไม่เคยเล่นอะไรแบบนี้ และก็เป็นหนังเรื่องแรกที่ต้องร้องไห้เยอะที่สุดเลยด้วย"

บทภาพยนตร์ที่ใช้เวลาเขียน 4 ปีเรื่องนี้ เดิมเป็นบทที่เน้นไปที่เรื่องราวของวัยรุ่น คือเป็นเรื่องราวของโต้งและมิว ซึ่งก็ถูกยกเลิกไปก่อน จนเวลาผ่านไปชูเกียรติหยุดไปทำอย่างอื่นและมีปัญหาทางครอบครัว คือพ่อป่วย จึงเริ่มเพิ่มเนื้อหาครอบครัว สำหรับบทเดิม ได้วางตัวละครเดิมไว้คือ กั๊ก เล้าโลม (มิว) ,ป็อป เดอะซิงเกอร์ (โต้ง),ตู่ นพพล (กร), ตั๊ก บงกช (จูน,แตง) และ เจน ชมพูนุช (หญิง) แต่ได้เปลี่ยนนักแสดงเพราะนักแสดงโตขึ้น และได้พัฒนาบท จนเป็นที่มาของบทปัจจุบัน และเมื่อนักแสดงได้อ่านบทและทำความเข้าใจบทแล้ว ก็มีการแลกเปลี่ยน รายละเอียด ภาพของตัวละคร กับชูเกียรติ ก่อนการแสดงจริง อย่างเช่นในบทเกี่ยวกับสุนีย์ หลังจากที่สินจัยอ่านบทเสร็จ ชูเกียรติถามความเห็นในแง่ความเป็นแม่ อย่างในฉากที่สุนีย์ตามหาลูกที่หายออกจากบ้าน ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นของผู้เขียนบทกับนักแสดง

ชูเกียรติกล่าวว่า "การกำกับนักแสดงรุ่นเด็กจะเลือกเด็กที่เป็นธรรมชาติกับกล้อง ให้รวมกลุ่มนักแสดงเด็ก จับให้มาเป็นเพื่อนกันแล้วการแสดงจะเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เน้นให้ตามบทจะเล่าเหตุการณ์แล้วให้ไปเตรียมตัวกัน ส่วนผู้ใหญ่ต้องอ่านบท เพราะต้องเป็นขั้นเป็นตอน มีระบบความคิด" วรรณ์ขวัญ พลจันทร์ เขียนไว้ในนิตยสารไบโอสโคปเกี่ยวกับการกำกับการแสดงของชูเกียรติไว้ว่า "ชูเกียรติ เข้าใจในความเป็นมนุษย์ การเข้าถึงความเป็นมนุษย์ของตัวละคร อันรวมไปถึงการชี้ให้นักแสดงเห็นถึงความเป็นมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ ในแต่ละฉาก ตั้งแต่การช่วยสร้าง ภูมิหลังของตัวละคร ความคาดหวังในชีวิต ความรัก และอื่น ๆ จนถึงกระตุ้นให้นักแสดงเทียบเคียงประสบการณ์ชีวิต ของตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนเสี้ยวต่าง ๆ ของตัวละคร" ส่วนลำดับการถ่ายทำ วิชญ์วิสิฐ ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "พี่มะเดี่ยวจะเลือกฉากที่แสดงยาก ถ่ายทำทีหลังเพื่อให้นักแสดงเข้าใจถึงตัวละครตัวนั้น สามารถเรียกตัวละครเข้ามาอยู่ในตัวเองได้"

นอกจากนี้ ในบทภาพยนตร์เรื่องนี้ ชูเกียรติยังตั้งใจเทิดทูนผู้กำกับชาวโปแลนด์ที่ชื่อ คริสซ์ตอฟ เคียสลอฟสกี้ ในฉากผึ้งไต่แก้วน้ำ ที่ตั้งใจถ่ายให้เหมือนแบบช็อตต่อช็อตในภาพยนตร์เรื่อง The Decalogue และนอกจากนั้นถ้าสังเกตดี ๆ ในภาพยนตร์ห้องนอนโต้งมีโปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง Heaven ที่เป็นหนังที่เคียสลอฟสกี้เขียนบทก่อนตาย

เมื่อทำการตัดต่อ ซึ่งชูเกียรติก็ร่วมรับหน้าที่ตัดต่อด้วย มีความยาวกว่า 2 ชั่วโมง 45 นาที ก่อนออกฉายจริง ปรัชญา ปิ่นแก้ว ในฐานะผู้สร้างจึงเสนอให้ผู้อื่นมาช่วยดูหนัง เพื่อตัดทอนฉากที่ผู้กำกับอยากเก็บไว้ออกไปบ้าง จนเหลือความยาว 2 ชั่วโมงครึ่ง ตามที่ออกฉาย

การประชาสัมพันธ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลของภาพยนตร์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงเป็นกิจกรรมเดินสายของทางทีมนักแสดงและผู้กำกับ โดยเริ่มจากการออกบูธขายของที่ระลึกและมีวงออกัสแสดงเพลงจากอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ในงานแฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 7 ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ เมืองทองธานี เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และยังมีกิจกรรมการกุศลร่วมกันคือในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 นักแสดงและผู้กำกับเรื่องรักแห่งสยามนำโดย กบ ทรงสิทธิ์, นก สินจัย และ พลอย เฌอมาลย์ ร่วมกันทำกระปุกออมสินรูปหัวใจ ในรูปแบบเปเปอร์มาร์เช่ต์ ให้คนดูหนังได้บริจาค เพื่อนำไปช่วยรักษาโรคหัวใจให้เด็ก ๆ ผู้ยากไร้ที่มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ทำบุญไปด้วย

จนในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จึงได้มีการจัดรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีการจัดมินิคอนเสิร์ต "รักแห่งสยาม Premier Concert: Siam In Love" กันที่เวทีลานดิสคัฟเวอรี่ พลาซ่า สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ ก่อนการฉายรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันเดียวกัน ซึ่งภาพยนตร์เข้าฉายจริงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ก่อนการออกฉาย นำเสนอว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับความรักใสๆ ของวัยรุ่นหญิงชาย แต่เมื่อภาพยนตร์ออกฉายจริง กลับมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสับสนในจิตใจของวัยรุ่นชาย รวมถึงมีฉากล่อแหลม ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่นในสื่ออินเทอร์เน็ต อย่าง เว็บไซต์พันทิป มีผู้ตั้งกระทู้ชื่นชม ต่อต้าน และวิจารณ์เป็นจำนวนมาก รวมถึงกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงทั้งแง่บวกและแง่ลบ

สำหรับกระแสสองด้านที่ตัดกันอย่างชัดเจนของหนังเรื่องนี้คือ "กลุ่มคนที่รักจับใจ" กับ "กลุ่มที่เกลียดเข้าไส้" พวกที่รักจับใจมีหลากหลายเหตุผลที่รักหนังเรื่องนี้ ส่วนพวกเกลียดเข้าไส้ มีเหตุผลสองประเด็นใหญ่คือ "เพราะเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเกย์" กับ "การถูกหลอก" ส่วนทางด้านผู้กำกับ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ก็ยอมรับกับการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้บอกว่าเป็นหนังที่มีเนื้อหาของเกย์อยู่ แต่อธิบายว่า "ตัวหนังไม่ได้เป็นหนังเกย์ ประเด็นพูดถึงชีวิตความรักหลายรูปแบบ ความเป็นมนุษย์ ดังนั้นหน้าหนังจึงไม่ได้หยิบเรื่องเกย์ขึ้นมาพูดมาเป็นสาระสำคัญของหนัง อีกทั้งถ้าเราบอกว่าเป็นหนังมีเนื้อหาอย่างนี้แล้วหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นหนังเฉพาะกลุ่มทันที"

ส่วนฉากที่สร้างความฮือฮามากที่สุดของหนังเรื่องนี้คือ ฉากจูบของโต้งกับมิว ที่ได้รับการตอบรับอย่างมาก ทางด้านวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุลที่รับบทเป็นมิว ได้รับคำถามจากคนดูเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ เขาให้คำตอบว่า "ส่วนใหญ่ก็มีมาถามครับ ว่าเราเป็นหรือเปล่า และเราก็ต้องแยกภาพลักษณ์ของหนัง กับชีวิตจริงออกจากกัน แต่จริงๆ ลึกๆ ถ้าเรามองในแง่นี้ เราน่าจะดีใจนะว่าเราเล่นได้สมบทบาทจริงๆ" ทางด้านมาริโอ้ เมาเร่อที่ได้รับบทโต้ง พูดถึงฉากนั้นว่า "รู้สึกตื่นเต้น เพราะไม่เคยจูบผู้ชายมาก่อน และไม่ได้จูบกับใครทุกวัน โอ้คิดว่ามันคือการแสดง เราเป็นนักแสดงที่ดีก็ต้องเล่นได้ทุกบทบาท"

ชลธิชา พรหมศิริ จากนิตยสารเมโทรไลฟ์ ได้พูดถึงหนังเรื่องนี้โดยรวมว่า "รักแห่งสยาม หนังรักที่หน้าหนังหวานเหมือนลูกกวาดรสสตรอเบอรี่ แต่พอได้ลิ้มลองแล้วมันกลับเป็นยาขมที่ซ่อนอยู่ภายใน คือหนังดรามาที่ไม่ได้ฟูมฟายจนเกินไป และไม่ใช่หนัง Feel good ที่ใครหลายๆ คนคิด" คำวิจารณ์จากนิตยสารไบโอสโคป เขียนไว้ว่า "รักแห่งสยาม มิได้เสียดสี หาบทสรุป หรือสร้างฝัน แต่นำเสนอภาพเสมือนจริงที่ปะทะ จนผู้ชมต้องนำไปคิดต่อนอกโรงหนัง ทั้งในแง่อนาคตของตัวละคร, การซ่อนความหมายของเนื้อเรื่อง และภาพปัจจุบันของสังคมไทย"

นักวิจารณ์ นันทขว้าง สิรสุนทร นักวิจารณ์ชื่อดัง ได้กล่าวถึงการเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "การเลือกเรื่องแบบนี้มาเล่า ทำให้คนดูทั่วไปเข้าถึงและง่ายที่จะรู้สึกอะไรไปกับหนัง แต่ รักแห่งสยาม ไม่ได้แตะเรื่อง Gender (เพศ) ใดๆ หากแต่มุ่งไปที่น้ำหนักของ Self-discover (การค้นพบตัวเองและยอมรับ) โดยใช้ Coming-of-age (การสูญเสียและเรียนรู้ความจริง)" อภินันท์ บุญเรืองพะเนา จากผู้จัดการรายสัปดาห์ พูดในทำนองเดียวกันว่า "รักแห่งสยาม เป็นหนังในสไตล์ Road Movie กับ Coming-of-age ค่อนข้างคล้ายคลึงกันก็คือ การที่หนังมักจะหยิบยื่นสถานการณ์ยุ่งยากบางอย่างให้ตัวละครต้องเผชิญและผ่านพ้นไปให้ได้ เพื่อก้าวไปสู่ “การเรียนรู้” (Enlightenment) บทเรียนใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตและความคิดของตัวละครไปตลอดกาล" วิมลศักดิ์ ปัญชรมาศจากนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์วิจารณ์ว่า "ผู้กำกับวางจังหวะหนังอย่างมีชั้นเชิงทั้งในด้านอารมณ์ขันอยู่ในตำแหน่งที่พอดี การเล่าเรื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป หนังสามารถเรียงร้อยตัวละครหลายคนที่ทับซ้อนกันอยู่ ไม่ขาดไม่เกินเหมือนการต่อภาพจิ๊กซอว์จนเป็นภาพที่สมบูรณ์"

สรดิเทพ ศุภจรรยา จากเว็บไซต์ thaicinema.org พูดถึงตัวละครในเรื่องว่า "ทุกตัวละครในเรื่องนี้มีมิติ มีปูมหลังที่สามารถทำให้คนดูเข้าถึงและมีอารมณ์ร่วมไปกับความเจ็บปวดและความต้องการความรักของพวกเขาได้" ไกรวุฒิ จุลพงศธร จากนิตยสารสารคดีกล่าวเกี่ยวกับการแสดงว่า "ลักษณะการแสดงที่ดูยังไม่เป็นเนื้อเดียวกันกล่าวคือ สไตล์การแสดงแบบนักแสดงมืออาชีพของสินจัยและทรงสิทธิ์ที่เน้นการใช้เทคนิคที่จัดจ้าน จนถึงการแสดงแบบธรรมชาติของนักแสดงหน้าใหม่อย่างมาริโอ้และพิช ที่เน้นความสมจริงราวกับไม่ได้มีกล้องไปถ่ายพวกเขาอยู่ โดยมีเฌอมาลย์ที่ใช้สไตล์การแสดงแบบกลาง ๆ เป็นตัวเชื่อมการแสดงของทั้งสองฝั่ง"

ในด้านการกำกับภาพ นิตยสารบีเควิจารณ์ไว้ว่า "ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ทำได้ไม่ดีเรื่องการกำกับภาพ ผู้กำกับเสนอภาพที่น่าเบื่อด้วยมุมกล้องแบบตรงๆ และการให้แสงที่ไม่แน่นอนจากบ้านถึงโรงเรียน จากสตูดิโอถึงสยามสแควร์ ขาดอารมณ์สื่อและทิศทางของภาพ" แต่ในทางกลับกัน นิตยสารสตาร์พิกส์กลับชมว่า "หนังสามารถทำให้คนดูได้เห็นถึงอารมณ์อันหลากหลายของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นสุขสดใสหรือทุกข์หม่นเศร้า นอกเหนือจากจะถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไม่มีขาดตกบกพร่องแล้ว ยังมี “โชว์” เป็นของแถมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฉากแสดงความหวังที่ผึ้งไต่ขึ้นจากแก้วน้ำ หรือการถ่ายลองเทคในสยามสแควร์โดยตามตัวละครวัยรุ่นแทบทั้งเรื่อง ซึ่งเดินสวนกันไปมาจากทุกทิศ"

เรื่องเพลงประกอบภาพยนตร์ พลากร เจียมธีระนาถ จากนิตยสารฟิล์มแมกซ์ พูดถึงว่า "เพลงประกอบที่คุณชูเกียรติคิดเองทำเองเกือบทั้งหมด ซึ่งทั้งเพราะแบบไม่เกรงใจใคร เนื้อหาก็สื่อความหมายและเติมเต็มความไม่ต่อเนื่องในบางช่วงตอน อีกทั้งยังช่วยรักษาระดับอารมณ์ของเรื่องราวให้เดินหน้าไปได้อย่างไหลลื่น"

นอกจากนี้รักแห่งสยามยังถูกเปรียบเทียบกับหนังอีกหลายเรื่องที่ใกล้เคียงกันอย่าง Love Actually, มหัศจรรย์แห่งรัก และ กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ ด้วย

รักแห่งสยาม ออกฉายทั่วไปในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 จากจำนวนโรง 146 โรง โดยสัปดาห์แรกทำรายได้ 18.5 ล้านบาท ส่วนรายได้ในสัปดาห์ที่ 2 จากการที่ภาพยนตร์เรื่อง โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า เข้าในสัปดาห์นี้ ทำให้รายได้ในสัปดาห์ที่ 2 ของรักแห่งสยาม น้อยลงกว่าการเปิดตัวกว่าครึ่ง แต่ก็ถือว่ากระแสยังดีอยู่ ทำรายได้ไปอีก 7.5 ล้านบาท และปิดรายได้รวมที่ 42 ล้านบาท

หลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉาย กระแสต่าง ๆ เกิดขึ้นตามเว็บ เกิดกลุ่มแฟนคลับ และมีการเรียกร้องให้ฉายฉบับ “Director's Cut” ซึ่งมีความยาวมากกว่าฉบับปกติที่ออกฉายตามโรงทั่วไป คือ ยาวประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ และต่อด้วยส่วนที่ถูกตัดออกไปอีก 20 นาที ออกฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ อาร์ซีเอ ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551ถึง 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 ฉายด้วยแผ่นดีวีดี ผ่านเครื่องฉาย ซึ่งส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาคือเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร ความเกี่ยวเนื่องที่มีมิติรายละเอียดมากขึ้น

สำหรับในต่างประเทศ รักแห่งสยาม ได้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง เทศกาลภาพยนตร์อูดิเน่ที่ประเทศอิตาลี และเทศกาลหนังพูชอนที่เกาหลีใต้

ที่ไต้หวันออกฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 มีการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์อย่างครึกโครม รวมถึงเชิญวิชญ์วิสิฐและชูเกียรติมาร่วมประชาสัมพันธ์ที่ไต้หวัน รวมค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นเงิน 31,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์ทำรายได้บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสของไต้หวันในสัปดาห์แรกที่อันดับ 12 ซึ่งในสัปดาห์เดียวกันกับที่ สี่แพร่ง ฉายสัปดาห์แรกที่อันดับ 4 หลังจากนั้นในสัปดาห์ที่ 2 ขึ้นมาที่อันดับที่ 10 บนตารางอันดับ นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายตุ๊กตาไม้กว่า 300 ตัวก็ขายหมดก่อนการฉายรอบปฐมทัศน์รอบแรก และยอดขายตั๋วล่วงหน้าในสัปดาห์แรก 1,000 ใบขายหมดตั้งแต่สัปดาห์แรก

ในญี่ปุ่น เดิมที รักแห่งสยาม ผู้ซื้อหนังตั้งใจจะออกเป็นรูปแบบดีวีดี แต่เนื่องจากได้รับรางวัลมหานิยมที่เทศกาลหนังโอซาก้า ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 จึงได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์แบบจำกัดโรง โดยฉายที่โตเกียว 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (เข้าฉายเพียง 2 สัปดาห์) ส่วนในสิงคโปร์ออกฉายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยเรตของภาพยนตร์อยู่ที่ M18 คือผู้อายุต่ำกว่า 18 ปีไม่สามารถรับชมได้

กระแสตอบรับที่ดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงมีกิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ โดยกลุ่มผู้ชมที่ชื่นชอบในภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ได้ส่งหนังสือถึง บริษัท สหมงคลฟิล์มฯ เพื่อขอให้นำฟิล์มภาพยนตร์ รักแห่งสยาม มาฉายเป็นรอบพิเศษ ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในรอบเวลา 20.00 น. ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยครั้งนัก โดยในการฉายภาพยนตร์รอบพิเศษนี้ มีผู้ชมเกือบเต็มความจุของโรง คือ 900 ที่นั่ง

จัดคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชื่อว่า "Nokia Music Presents The Love of Siam Special Greeting" ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ที่เอสเอฟเวิลด์ซีนีมา เซ็นทรัลเวิลด์รอบ 13.00 และ 18.00 น. ซึ่งคอนเสิร์ตครั้งนี้มีคนดูมากกว่า 400 คน พร้อมกับดารานักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องนี้ และวงออกัส นอกจากนี้ยังมีแขกรับเชิญคือ คิว วงฟลัวร์ สุกัญญา มิเกล และธนกฤต พานิชวิทย์ ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

รางวัลแรกที่ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้รับไปคือรางวัลหนังแห่งปี 2550 จากนิตยสารไบโอสโคป ด้วยเหตุผล "ท้าทายสังคม ทั้งในแง่ประเด็นหนัง การนำเสนอ ที่สะท้อนภาพสังคมไทยในยุคนี้ รวมถึงความกล้าทำหนังรักดราม่าความยาวกว่าสองชั่วโมงครึ่ง ที่หาดูได้ยากในตลาดหนังไทยยุคปัจจุบัน" และได้รับรางวัลร่วมกับหนังอีก 3 เรื่อง อย่าง Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์, มะหมา 4 ขาครับ และแสงศตวรรษ ซึ่งการมอบรางวัลไบโอสโคปอวอร์ดสนี้มีการมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 การมอบรางวัลคมชัดลึกอวอร์ดครั้งที่ 5 รักแห่งสยาม ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และยังคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) ทางด้านการแจกรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17 ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้รับ 3 รางวัลคือ รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์),รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และอีกงานแจกรางวัลคือรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 16 ได้รับรางวัลไปอีก 6 รางวัลคือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล), ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช),ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์),บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม

ส่วนรางวัลจากนิตยสารและหนังสือพิมพ์ที่มอบให้ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม เช่น อันดับ 1 หนังกระแสร้อนแห่งปี 2550 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ รางวัลสุดยอดแห่งปี 2007 จากผู้อ่านนิตยสารฟลิกส์ ในสาขาหนังไทย และ ดาราหญิง (สินจัย เปล่งพานิช), รางวัลจากนิตยสารเอนเตอร์เทน ในสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) , รางวัลจากนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ 3 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)

ในการประกาศผลรางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มสอวอร์ดส ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารสตาร์พิกส์ รักแห่งสยามยังได้รับรางวัลมากถึง 9 รางวัล จากรางวัลทั้งหมด 12 รางวัล ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (มาริโอ้ เมาเร่อ) นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช) นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) กำกับภาพยอดเยี่ยม (จิตติ เอื้อนรการกิจ) ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี) และภาพยนตร์ยอดนิยม

การมอบรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2007 ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้รับ 6 รางวัล คือ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล), รางวัลผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช ), รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ไลลา บุณยศักดิ์), รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) และรางวัลเพลงและดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี)

สำหรับกระแสในอินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ยังกวาดรางวัลจาก เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นการจัดมอบรางวัลให้ผลงานดีเด่นรอบปี ทางด้านภาพยนตร์ จากการลงคะแนนของสมาชิกเว็บไซต์ พันทิปดอตคอม ไปทั้งหมด 8 รางวัล รวมถึงรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการเข้าชิง 13 รายชื่อ จาก 9 สาขา

สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติลงมติส่ง รักแห่งสยาม เข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 81 สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม มีคู่แข่ง 67 ประเทศ ทางคณะกรรมการให้ความเห็นว่า "หนังมีความลุ่มลึก เล่าเรื่องหลากหลายมิติ และยังตีแผ่ทัศนคติของคนไทยที่ยังไม่เปิดรับพฤติกรรมชายรักชาย" ส่วนรางวัลประเภทอื่น รักแห่งสยาม ยังได้รับรางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2551 (สาขาสื่อภาพยนตร์) ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ในด้านความรักและความเข้าใจของคนในครอบครัว และให้แง่คิดที่เหมาะกับเด็ก และเยาวชน จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551

ในด้านรางวัลจากต่างประเทศ ในงานเทศกาลหนังซีเนมะนิลา ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม เข้าชิง 3 สาขาในสายภาพยนตร์อาเซียน ซึ่งมาริโอ้ เมาเร่อ ได้รับรางวัลสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และยังได้รับรางวัลซิลเวอร์บันนีทรอฟี จากเทศกาลมิกซ์บราซิล ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นรางวัลมหาชนนิยม

อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สังกัดแฮปปี้โฮม ซึ่งได้ผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล รับตำแหน่งเป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มนี้อีกด้วย ทั้งทำหน้าที่ แต่งเนื้อร้อง ทำนอง ออกแบบการร้อง และขับร้องเองด้วยในเพลง "กันและกัน" และ "Ticket"

และยังมีวงเฉพาะกิจในนาม วงออกัส ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 11 คน นำโดย พิช - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล หนึ่งในนักแสดงนำของภาพยนตร์และนักร้องนำประจำวง ทำเพลงในสไตล์ป็อปโซล ซึ่งพิชยังมีส่วนในการแต่งเพลง “รู้สึกบ้างไหม” โดยเพลงที่ได้รับการประชาสัมพันธ์ตามคลื่นวิทยุและสถานีโทรทัศน์ดนตรีเพลงแรกคือ “กันและกัน” ร้องโดย คิว-สุวีระ บุญรอด หรือ คิว วงฟลัวร์ มิวสิกวิดีโอถ่ายทำที่สยามสแควร์ ซึ่งเพลง “กันและกัน” นี้นอกจากคิวแล้วยังมี พิช ขับร้องในภาพยนตร์ 2 ครั้ง คือในฉากงานเลี้ยง เป็นแบบอคูสติก และในคอนเสิร์ตช่วงท้ายเรื่อง เป็นแบบบันทึกเสียงสดกับวงออกัส และผู้กำกับภาพยนตร์ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ขับร้องในฉบับอคูสติก อยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเพลง "กันและกัน" ได้รับรางวัล Song of The Year จากงานแจกรางวัลแฟตอวอร์ด ครั้งที่ 6 ส่วนซิงเกิ้ลที่ 2 เพลง “เพียงเธอ” เพลงเก่าของสุกัญญา มิเกล ร้องโดยพิช-วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล มิวสิกวิดีโอเพลงนี้ถ่ายทำกันที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ นอกจากนั้นเพลงบางส่วนได้นำมาทำใหม่ ในอัลบั้ม "August Thanx" อัลบั้มของวงออกัส อีกด้วย

สำหรับในภาพยนตร์ ผู้ชมจะได้ฟังเพลง “Ticket” เป็นเพลงแรก โดยเพลงนี้เป็นการเล่าเรื่องว่าเพลงของวงของมิวเพลงนี้ก็กำลังดัง ฮิตติดอันดับและถูกเปิดในคลื่นวิทยุอยู่ ต่อมาเพลง “คืนอันเป็นนิรันดร์’” เป็นเพลงที่เคยใช้ประกอบละครเวทีที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมทีขับร้องโดยพิจิกา จิตตะปุตตะ (ลูกหว้า วงดูบาดู) โดยในเวอร์ชันภาพยนตร์ ขับร้องโดย ภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2549 และเป็นหนึ่งในสมาชิกวงออกัส

ส่วนเพลงอื่นๆ ที่ปรากฏในภาพยนตร์ เช่น เพลงจีนชื่อ ??????? (พินอิน: ming yue qian li ji xiang si) (หมิง เยี่ย เชียนหลี่ จี้เซียงสึ) ขับร้องโดย อู๋ อิงอิน (???) และ Silent Night เป็นต้น

ดีวีดีภาพยนตร์เรื่องรักแห่งสยามผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท แฮปปี้ โฮม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด โดยแบบปกติซึ่งฉายในโรงภาพยนตร์ ความยาว 2 ชั่วโมงครึ่ง เป็นระบบภาพไวด์สกรีน ระบบเสียงภาษาไทย 2 ระบบคือ Dolby Digital 5.1 และ Dolby 2.0 นอกจากนี้ยังเลือกเสียงบรรยายได้ด้วย และมีส่วนเพิ่มเติมคือ มิวสิกวิดีโอ ตัวอย่างภาพยนตร์ ภาพจากหนัง ดีวีดีแบบปกตินี้ออกจำหน่ายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และยังมีการวางขายดีวีดีฉบับ Director's Cut จำนวน 2 แผ่น ความยาวรวม 178 นาที ออกจำหน่ายวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

ส่วนแบบที่เป็นดีวีดีบ็อกซ์เซ็ต (DVD boxed set) ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าจะผลิตตามจำนวนสั่งจอง ประกอบด้วย ดีวีดีภาพยนตร์ฉบับ Director's Cut จำนวน 2 แผ่น (ดีวีดี 5 และดีวีดี 9), ดีวีดีเบื้องหลังพิเศษ 1 แผ่น (ดีวีดี 9), โปสการ์ด จำนวน 10 ใบ, โน้ตเพลงกันและกัน, จดหมายรักแห่งสยาม และซีดีเพลงประกอบภาพยนตร์ทุกเพลงรวมทั้งเพลงบรรเลง, ตุ๊กตาไม้ ซึ่งระบบภาพและเสียงเช่นเดียวกับดีวีดีฉบับธรรมดา และในส่วนดีวีดีเบื้องหลังพิเศษ จะมีส่วน Video Commentary เป็นภาพพิเศษที่มีบรรยากาศการชมภาพยนตร์ พร้อมผู้กำกับและนักแสดง, ส่วนฉากที่ถูกตัดออกทั้งหมด สามารถเลือกเสียงบรรยายจากผู้กำกับได้, ส่วนเบื้องหลังการถ่ายทำ ภาพส่วนตัวที่ผู้กำกับเก็บเอาไว้ ระหว่างการทำงาน, ส่วน Storyboard Comparison เปรียบเทียบงานออกแบบมุมกล้องจากภาพเขียนสตอรี่บอร์ด โดยเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ กับภาพจริง, ส่วน Character Introduction แนะนำนักแสดง, ส่วนเทปบันทึกภาพการแสดงคอนเสิร์ต Premiere Concert “รักแห่งสยาม” และบทสัมภาษณ์ผู้กำกับเกี่ยวกับการเขียนเพลงและการเลือกใช้เพลงประกอบภาพยนตร์เพลงต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้จัดจำหน่ายกำหนดรับสินค้าในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551 (เลื่อนจากเดิม 28 มีนาคม)

ส่วนวีซีดีออกในรูปแบบเหมือนกับที่ออกฉายตามโรงภาพยนตร์ ประกอบด้วย 3 แผ่น มี 2 ปก คือสีขาวและสีแดง วีซีดีภาพยนตร์ออกจำหน่ายก่อนดีวีดีประมาณ 1 สัปดาห์

ตั้งแต่ก่อนที่ภาพยนตร์จะออกฉาย ได้มีการออกของที่ระลึกทั้งในการจัดจำหน่ายและแจกฟรี ไม่ว่าจะเป็น เสื้อทีเชิร์ต 4 สี คือ เขียว ฟ้า น้ำตาล ชมพู ,เสื้อฟรีฮัก ,สมุดโน้ตเพลง,โปสการ์ด ซึ่งการจัดจำหน่ายของที่ระลึกมีขายที่ร้านมูฟวี่คาเฟ่ และงานเดินสายประชาสัมพันธ์ของนักแสดง ส่วนโปสเตอร์และปฏิทินมีจำนวน 10,000 แผ่น ซึ่งมีแจกเฉพาะผู้ที่ซื้อตั๋วหนัง 2 ที่นั่ง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในโรงภาพยนตร์ในเครือ เอสเอฟ เมเจอร์ อีจีวี เซ็นจูรี่ เมเจอร์ฮอลลีวูด และ ยูเอ็มจี อาร์ซีเอ สำหรับผู้ที่ซื้อบัตรที่โรงภาพยนตร์เฮาส์สำหรับฉบับ Director's Cut จะได้รับฟิล์มหนังของที่ระลึกซึ่งมีเพียง 200 ชิ้น นอกจากนั้นยังมีการจับฉลากหางตั๋วของทุกรอบในวันที่ 17-20 มกราคม รางวัลเป็นฟิล์มหนังตัวอย่างทั้งม้วน และยังมีการจัดทำ มินิ-มินิสแตนดี้ มีความสูงประมาณ 1 ฟุต มี 5 แบบ (โต้ง มิว จูน โดนัท และ หญิง) เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิเด็กโรคหัวใจเพิ่มขึ้น มีจำหน่ายเฉพาะโรงภาพยนตร์เฮาส์เท่านั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301