ระเบิดเถิดเทิง เป็นรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่กับเกมโชว์ อันเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 และยังออกอากาศมาถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นซิตคอมที่มีการออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]
ในระยะแรก ระเบิดเถิดเทิง มีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ มีพิธีกรคือ มยุรา เศวตศิลา และ หนู คลองเตย (ภายหลังได้เพิ่ม หม่ำ จ๊กมก เป็นพิธีกรหลักด้วย) มีการแสดงตลก และดนตรี ตลอดจนการแสดงความสามารถของดารารับเชิญ (เรียกว่า ระเบิดรับเชิญ) ในรายการ ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 เป็นลักษณะของรายการวาไรตี้โชว์ ซึ่งมีช่วงต่าง ๆ ดังนี้
เป็นการแสดงตลกของคณะตลก ซึ่งมีคณะตลกหลักเป็นคณะของหม่ำ จ๊กมก ที่นอกจากจะเล่นตลกในช่วงนี้แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นพิธีกรประจำช่วงด้วย
เป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรี หรือเป็นการแสดงจากดาราซึ่งเป็นระเบิดรับเชิญในสัปดาห์นั้น ช่วงแรกนี้ มีธงชัย ประสงค์สันติ และวงสามโทน เป็นพิธีกรประจำช่วง
เป็นช่วงการสัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ร่วมเล่นละครในแต่ละสัปดาห์ พร้อมกับตอบจดหมายจากทางบ้าน โดยจะปรากฏหลังจากละครได้เล่นจบตอนลง
อีก 3 เดือนต่อมา ระเบิดเถิดเทิง ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ อันเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการ แต่ละตอนมักมีนักแสดงรับเชิญมาร่วมแสดงกับนักแสดงประจำและมาร่วมเล่นเกมในช่วงท้าย โดยแขกรับเชิญคนแรกคือ อภิรดี ภวภูตานนท์ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552
และยังมีรายการ ระเบิดเถิดเทิง วันหยุด เป็นรายการพิเศษของระเบิดเถิดเทิง โดยจะเสนอเรื่องราวในตอนพิเศษที่เพิ่มเติมจากเรื่องราวปกติ หรือ เสนอภาพเหตุการณ์ที่น่าสนใจของตอนที่ออกอากาศไปแล้วนำมาเสนออีกครั้ง และตัดช่วงเกมออก
สำหรับส่วนซิตคอมนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนของคนในซอยเถิดเทิง ชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มี เท่ง (เท่ง เถิดเทิง) กับ โหน่ง (โหน่ง ชะชะช่า) เป็นนักเลงคุมซอย แต่ละตอนมักมีนักแสดงรับเชิญมาร่วมแสดงกับนักแสดงประจำ และมาร่วมเล่นเกมในช่วงท้าย ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศถึงปัจจุบัน ช่วงซิตคอมระเบิดเถิดเทิงได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อย ๆ
ส่วนเรื่องราวในระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 (2552-2553) นี้เกิดขึ้นใน 5 ปีหลังจากตอนสุดท้ายในระเบิดเถิดเทิงจบลง เท่งได้ไปทำงานในซาอุดิอาระเบีย เพื่อหวังที่จะได้เงินมากขึ้น แต่ 5 ปีผ่านไปเท่งก็ได้กลับมาแต่ก็ยังจนเหมือนเดิม กลับมาคราวนี้หลายสิ่งเปลี่ยนไป ยังมีตัวละครเพิ่มขึ้นคือ บีน รุ่นพี่ของลูกเกลี้ยง, น้ำใส เพื่อนของลูกเกลี้ยง, เพ้นท์ เพื่อนสมัยมัธยมของน้ำใส
ส่วนเรื่องราวในระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง (2553-2555) เท่งกับโหน่งได้ออกจากซอยเถิดเทิงไปอยู่ที่บ้านลั่นทุ่ง เพื่อหนีหนี้ที่ทำเช็ค 5 ล้านบาทหายไป เมื่อไปถึงหมู่บ้านลั่นทุ่งเท่งได้ล่วงรู้ว่ามีทองคำที่ซ่อนอยู่ในวัดจึงพยายามแฝงตัวเข้ามาเพื่อนำทองคำไปใช้หนี้ แต่กลับต้องกุมความลับของทองคำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ส่วนเรื่องราวในระเบิดเที่ยงแถวตรง (2555-2558) เป็นเรื่องราวของหน่วยรบพิเศษกองพันที่ 555 ณ หมู่บ้านกระสุนดินดำ ที่มีทหารหลายนายมาร่วมฝึกจนเกิดเป็นเรื่องราวของมิตรภาพความสนุกสนานในค่าย นอกจากเรื่องราวในค่ายแล้วเหล่าทหารยังต้องแวะเวียนไปโรงพยาบาลเพื่อไปจีบคุณหมอสาวสวยและการเป็นพ่อแง่แม่งอนของพระนางในเรื่อง ซึ่งนำทีมโดยจ่าเท่งกับจ่าโหน่ง
โดยแต่ละตอนนั้นมีนักแสดงรับเชิญมาร่วมแสดงและเล่นเกมในช่วงท้ายเช่นกัน หรือไม่มีนักแสดงรับเชิญในบางตอน
ฉลองครบรอบ 12 ปี ของรายการระเบิดเถิดเทิงด้วยความพิเศษ คือ มี 12 นางเอกมาร่วมแสดงในแต่ละตอน เริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2552 และสิ้นสุดในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยในแต่ละตอนจะมี 1 นางเอก มาร่วมรายการ แต่มีตอน ท้องสองสองท้อง เพียงตอนเดียว ที่มีถึง 2 นางเอก และตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ได้เพิ่มเป็น 12 หนุ่มสุดฮ็อต สิ้นสุดถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2552
เกมนี้ถือกำเนิดเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 6 ตุลาคม 2539 จนถึง 13 กันยายน 2552 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบอยู่หลายครั้ง
แบบแรก 6 ตุลาคม 2539 - 29 มิถุนายน 2540 จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 4 แผ่นป้าย โดยแขกรับเชิญจะต้องเลือกให้พิธีกรทั้งหมด 3 ท่าน ได้แก่ (ยุคแรก หม่ำ หนู กิ๊ก ยุคที่สองหม่ำ หนู ไทด์ ยุคที่สาม หม่ำ หนู เด๋อ) (ยกเว้นมยุรา(พิธีกรหลัก)) และเลือกให้ดารารับเชิญด้วย โดยในทั้ง 4 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดรวมกันทั้งหมด 18 ลูก (ในช่วงแรกมยุราจะไม่มีลูกระเบิด) แต่ทว่าตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 - 29 มิถุนายน 2540 ทั้ง 4 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดรวมกันทั้งหมด 17 ลูก โดยอีก 1 ลูกเป็นของมยุรา (พิธีกรหลัก) โดยที่มยุราเริ่มมีลูกระเบิดเป็นของตัวเองแล้ว หลักจากเลือกป้ายครบแล้วก็จะทำการเปิดป้ายทีละป้ายเพื่อดูว่าในแผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดจำนวนกี่ลูก (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบถอดสลักระเบิด)
แบบที่สอง 5 กรกฎาคม - 26 ตุลาคม 2540 รูปแบบเกมและการเลือกป้ายจะเหมือนแบบแรกทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบจากการเปิดป้ายยางยืดมาเป็นดึงแท่นระเบิด
แบบที่สาม 2 พฤศจิกายน 2540 - 26 กันยายน 2542 กลับมาใช้รูปแบบแรกอีกครั้งเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 5 แผ่นป้าย โดยแขกรับเชิญจะต้องเลือกให้พิธีกรทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่ (ยุคแรก หม่ำ หนู เด๋อ เท่ง ยุคที่สองหม่ำ เท่ง เด๋อ แดนนี่ ยกเว้นมยุรา (พิธีกรหลัก)) และเลือกให้ดารารับเชิญด้วย โดยในทั้ง 5 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดรวมกันทั้งหมด 17 ลูก โดยอีก 1 ลูกเป็นของมยุรา(พิธีกรหลัก) (แต่ในช่วงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 - 26 กันยายน 2542 ลูกระเบิดจะลดลงเหลือ 14 ลูก และอีก 1 ลูกเป็นของมยุรา(พิธีกรหลัก)) หลักจากเลือกป้ายครบแล้วก็จะทำการเปิดป้ายทีละป้ายเพื่อดูว่าในแผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดจำนวนกี่ลูก (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบถอดสลักระเบิด)
แบบที่สี่ 3 ตุลาคม 2542 - 26 มกราคม 2546 รูปแบบเหมือนแบบที่สามแต่ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 6 แผ่นป้าย โดยแขกรับเชิญจะต้องเลือกให้พิธีกรทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่ หม่ำ เท่ง โหน่ง เด๋อ แดนนี่ (ยกเว้นพิธีกรหลัก) และเลือกให้ดารารับเชิญด้วย โดยในทั้ง 6 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดรวมกันทั้งหมด 17 ลูก โดยอีก 1 ลูกเป็นของพิธีกรหลัก หลักจากเลือกป้ายครบแล้วก็จะทำการเปิดป้ายทีละป้ายเพื่อดูว่าในแผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดจำนวนกี่ลูก (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบถอดสลักระเบิด)
แบบที่ห้า 2 มกราคม 2548 - 13 กันยายน 2552 รูปแบบเหมือนแบบที่สี่ แต่ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 8 แผ่นป้าย โดยแขกรับเชิญจะต้องเลือกให้พิธีกรทั้งหมด 7 ท่าน (ยกเว้นพิธีกรหลัก) และเลือกให้ดารารับเชิญด้วย โดยในทั้ง 8 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดรวมกันทั้งหมด 17 ลูก โดยอีก 1 ลูกเป็นของพิธีกรหลัก หลักจากเลือกป้ายครบแล้วก็จะทำการเปิดป้ายทีละป้ายเพื่อดูว่าในแผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดจำนวนกี่ลูก (จำนวนลูกระเบิดเท่ากับจำนวนแผ่นป้ายในรอบถอดสลักระเบิด) (แต่ในช่วงวันที่ 7 มกราคม 2550 - 13 กันยายน 2552 จะต้องเลือกป้ายให้พิธีกรทั้งหมด 6 ท่าน และเลือกให้ตัวเอง จนเหลือ 1 แผ่นป้าย โดยแผ่นป้ายนั้นเป็นบอมหมู่คือผู้เล่นทุกคนเข้าโดมทั้งหมดยกเว้นพิธีกรหลัก)
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2539 - 13 กันยายน 2552 เกมวางระเบิดจะอยู่ในรูปแบบของการเปิดแผ่นป้าย โดยในช่วงวันที่ 1 กันยายน 2539 - 26 ตุลาคม 2540 จะมีจำนวน 4 แผ่นป้าย (แต่ในช่วงนี้ อาจสลับกับการดึงแท่นระเบิดบ้าง) ช่วงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 - 16 กุมภาพันธ์ 2541 จะมีจำนวน 5 แผ่นป้าย ช่วงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 - 31 ตุลาคม 2542 มี 5 แผ่นป้ายเหมือนเดิม แต่ลดลูกระเบิดเหลือ 14 ลูก (แต่พิธีกรจะมีลูกระเบิดของตัวเองอยู่แล้ว 1 ลูก รวมเป็น 15 ลูก) ช่วงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2542 - 26 มกราคม 2546 จะมี 6 แผ่นป้าย และกลับมาเพิ่มลูกระเบิดเป็น 17 ลูก (รวมของพิธีกรหลักอีก 1 ลูก เป็น 18 ลูก) และในวันที่ 2 มกราคม 2548 - 13 กันยายน 2552 จะมี 8 แผ่นป้าย และจะให้แขกรับเชิญเป็นคนเลือกว่าจะให้แผ่นป้ายนั้นๆกับผู้เล่นเกมคนไหนหรือว่าให้กับตัวเองโดยจะไล่ไปตั้งแต่แผ่นแรกถึงแผ่นสุดท้าย อย่างไรก็ตามในปี 2539-2541 จะมีการหลอกป้ายระเบิดเช่นผู้ที่เลือกป้ายแล้วได้ระเบิด 1-2 ลูกแต่พิธีกรผิดสังเกตว่าลูกระเบิดทั้งหมดยังไม่ครบจำนวนและพิธีกรตรวจดูและปรากฏว่าภายในแผ่นป้ายมีสติ๊กเกอร์ติดอยู่ซึ่งจะมีลูกระเบิดที่มีจำนวนมากเช่นผู้ที่เล่นเกมได้ 1 ลูกเมื่อพิธีกรเปิดสติ๊กเกอร์เจอลูกระเบิดทั้ง 11 ลูกหมายความว่าผู้ที่เล่นเกมได้จำนวนระเบิดถึง 12 ลูกนั่นเอง แต่ในบางครั้งจะใช้โลโก้สัญลักษณ์ของรายการครึ่งรูปเป็นลูกระเบิดหลอกด้วย
ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 12 กรกฎาคม 2552 ในช่วง 12 ปีระเบิดเถิดเทิง พิธีกรในรายการ (สิเรียม) จำเป็นจะต้องเลือกแผ่นป้ายด้วย (ในแผ่นป้ายทั้ง 8 แผ่นป้ายจะมีลูกระเบิดอยู่ทั้งหมด 18 ลูก) และได้ตามจำนวนระเบิดในแผ่นป้ายนั้น (จากเดิมมี 1 ลูกแน่นอน) รวมถึงมีรูปภาพของคุณสิเรียมในแผ่นป้ายบอมหมู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามกฎกติกายังคงเดิมอยู่
ในช่วงปี 2546 ได้ใช้เกม แคปซูลระเบิด การเลือกแผ่นป้ายในรอบวางระเบิดนี้ จะมีแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย ด้านหลังจะมีระเบิด 1 ลูก 2 แผ่นป้าย และระเบิด 2-5 ลูกอย่างละ 1 แผ่นป้าย ทั้งนี้ แผ่นป้ายแต่ละป้ายจะมีค่าเป็นจำนวนแคปซูลที่จะระเบิดในรอบถัดไป (เช่นเปิดได้ 1 ลูก แคปซูลจะระเบิด 1 แคปซูล)
ในยุคแรก ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน - 29 กันยายน 2539 จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 18 แผ่นป้าย โดยมีป้ายดารารับเชิญ 9 ป้าย ป้ายพิธีกร(หม่ำ หนู กิ๊ก) อย่างละ 3 ป้ายทุกคนโดยไม่มีพิธีกรหลัก (มยุรา)
รูปแบบแรก (7 เมษายน 2539 - 26 กันยายน 2542) ในเกมถอดสลักระเบิดจะมีแผ่นป้ายทั้ง 18 แผ่นป้าย (แต่ช่วงระหว่าง 23 กุมภาพันธ์ 2541 - 26 กันยายน 2542 มีแผ่นป้ายลดลงเหลือ 15 แผ่นป้าย) ซึ่งแต่ละป้ายเป็น รูปภาพของผู้เล่นเกมคนนั้นๆตามจำนวนลูกระเบิดที่แต่ละคนสะสมไว้ในเกมวางระเบิด (เช่น พิธีกร มีระเบิด 1 ลูก จะมี 1 แผ่นป้าย, แขกรับเชิญมีระเบิด 2 ลูก จะมี 2 แผ่นป้าย เป็นต้น) โดยแขกรับเชิญจะเลือกแผ่นป้ายมา 1 แผ่นป้าย ถ้าเปิดป้ายเจอรูปภาพใบหน้าของผู้ร่วมเล่นเกมคนใดคนหนึ่ง ผู้นั้นจะต้องเข้าไปในตู้ระเบิด ทั้งนี้ ถ้าหากเปิดได้แผ่นป้ายที่มีเครื่องหมายบวก (แผ่นป้ายเครื่องหมายบวกจะมีอยู่ในแผ่นป้ายของผู้เล่นเกมทุกคน คนละ 1 แผ่นป้ายแน่นอน ยกเว้นพิธิกรหลัก และแผ่นป้ายบวกเริ่มมีครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2539) แขกรับเชิญจะต้องเลือกแผ่นป้ายอีก 1 แผ่นป้ายด้วยกัน ถ้าเป็นรูปของผู้ร่วมเล่นเกมคนใด คนนั้นก็จะต้องเข้าตู้ระเบิดไปด้วยกัน แต่ถ้าหากยังเจอรูปของผู้ร่วมเล่นเกมที่มีเครื่องหมายบวกอีก ก็จะต้องเลือกแผ่นป้ายไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอรูปของผู้ร่วมเล่นเกมที่ไม่มีเครื่องหมายบวก และจะเข้าตามจำนวนคนที่ถูกเปิดแผ่นป้ายที่มีเครื่องหมายบวกติดต่อกัน (ทั้งนี้ หากเปิดได้แผ่นป้ายที่มีเครื่องหมายบวก แล้วแผ่นป้ายต่อมายังเป็นผู้เล่นเกมคนเดิม ผู้เล่นเกมคนนั้นจะเข้าตู้ระเบิดคนเดียว ไม่ว่าจะเปิดได้บวกรูปตัวเองกี่ครั้งก็ตาม) หลังจากเปิดแผ่นป้ายเรียบร้อยแล้ว แขกรับเชิญจะได้เลือกสลักระเบิดซึ่งจะมีทั้งหมด 5 สลักด้วยกัน โดยผู้ที่เข้าโดมระเบิดจะต้องดึงสลักนั้นออกมา ถ้าโดมระเบิดนั้นไม่ระเบิด (คือไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือ มีดอกไม้ ,กระดาษสีร่วงลงมา) เกมจะดำเนินต่อไปในลักษณะเดียวกันจนกว่าโดมระเบิดนั้นจะระเบิด (ซึ่งถ้าระเบิด ก็จะมีแป้งร่วงลงมาใส่ผู้ที่อยู่ในตู้นั้น) ทั้งนี้ หากแขกรับเชิญเปิดเจอป้ายรูปใบหน้าของตนเอง และต้องเข้าไปอยู่ในโดมระเบิด หากดึงสลักระเบิดแล้วไม่เกิดการระเบิดขึ้น ในช่วงวันที่ 7 เมษายน - 29 กันยายน 2539 ไม่มีการแจกรางวัลเนื่องจากยังไม่มีผู้สนับสนุนในช่วงนั้น และในภายหลัง 6 ตุลาคม 2539 มีผู้สนับสนุนเกิดขึ้น จึงแจกทองคำหนัก 1 บาท ในทุกครั้งที่เข้าตู้แล้วไม่โดนระเบิด และไม่ว่าจะไม่ได้เข้าโดมระเบิด หรือเข้าโดมแต่ไม่โดนระเบิด ก็จะมีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากผู้สนับสนุนรายการมอบให้ด้วย (สำหรับในรูปแบบแรกนี้ หากผู้เล่นที่ถูกทายว่าจะโดนระเบิดมีระเบิดสะสมเพียง 1 ลูก ผู้ชมทางบ้านจะไม่มีโอกาสได้รับรางวัลแจ็คพอตแน่นอน เนื่องจากว่าถ้าผู้เล่นที่ถูกทายโดนระเบิด จะโดนระเบิดมากกว่า 1 คนแน่นอน ซึ่งตามกติกานั้น ผู้ชมทางบ้านจะได้รับรางวัลแจ็คพอตเมื่อผู้เล่นที่ถูกทายต้องโดนระเบิดคนเดียวเท่านั้น)
รูปแบบที่ 2 (3 ตุลาคม 2542 - 8 เมษายน 2544) จะมีกฎกติกาแบบเดิมอยู่แต่ว่ามีแผ่นป้ายบอมบ์หมู่ ซึ่งป้ายบอมบ์หมู่นั้นเป็นป้ายที่ผู้ที่เล่นเกมทั้งหมดรวมทั้งแขกรับเชิญ "ยกเว้นพิธีกรหลัก (ตั๊ก มยุรา) เพียงคนเดียวเท่านั้น" ต้องเข้าไปในตู้ระเบิด หากไม่โดนระเบิด แขกรับเชิญก็ได้รับทองคำหนัก 1 บาทเช่นเดียวกับเข้าคนเดียว แต่ถ้าเลือกสลักระเบิดแล้วโดนระเบิดแป้งก็จะไม่ได้รับรางวัลแต่อย่างใด และจะมีแผ่นป้ายรูปของแขกรับเชิญถือรูปภาพเงาสีดำและมีเครื่องหมายคำถาม ซึ่งแขกรับเชิญจะสามารถเลือกพิธีกรเพื่อเข้าไปในตู้ระเบิดด้วยได้อีก 1 คนตามใจชอบ โดยไม่ต้องเลือกแผ่นป้าย นอกจากนั้น ผู้ร่วมเล่นเกมคนอื่นๆ ยกเว้นพิธีกรหลัก และดารารับเชิญ หากมีระเบิดสะสมเพียง 1 ลูก ผู้ร่วมเล่นเกมคนนั้นๆจะไม่มีแผ่นป้ายบวก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านที่มาจากการส่งไปรษณียบัตรที่ทายว่าใครจะโดนระเบิดได้ลุ้นเงินรางวัล 500,000 บาท ในกรณีที่ผู้เล่นที่ถูกทายว่าจะโดนระเบิดมีระเบิดเพียง 1 ลูก (ทั้งแผ่นป้ายบอมบ์หมู่และแผ่นป้ายแขกรับเชิญถือรูปภาพเงาสีดำและมีเครื่องหมายคำถาม จะมีเฉพาะดารารับเชิญเท่านั้น)
รูปแบบที่ 3 (15 เมษายน 2544 - 26 มกราคม 2546) ใช้กฎกติกาเหมือนเดิมและยกเลิกป้ายบอมบ์หมู่กลับมาใช้ป้ายบวกอีกครั้งโดยใช้กติกาเดียวกันกับรูปแบบแรก
รูปแบบที่ 4 (2 มกราคม 2548 - 31 ธันวาคม 2549) จะมีกฎกติกาดังนี้เมื่อเจอป้ายบวกนั้นแขกรับเชิญจะให้เลือก 1 จาก 6 แผ่นป้ายด้วยกันซึ่งแผ่นป้ายนั้นจะมีรูปใบหน้าของนักแสดงในซอยเถิดเทิง (ยายชา , กอบโชค , ถนอม ภายหลังเพิ่ม ทีน , สุรเชษฐ์ และเอกพันธ์ ก่อนที่ทั้ง ทีนและเอกพันธ์จะมาเป็นพิธีกรร่วม) ถ้าแขกรับเชิญเข้าตู้แล้วถอดสลักแล้วไม่ระเบิด ก็จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท (ภายหลังปรับเปลี่ยนมาเป็นทองคำมูลค่า 10,000 บาท แทนเนื่องจากในช่วงนั้นราคาทองคำมีมูลค่าสูงกว่า 10,000 บาท)
รูปแบบที่ 5 (7 มกราคม 2550 - 28 ธันวาคม 2551) ได้ถูกยกเลิกแผ่นป้ายบวกและกลับไปใช้ป้ายบอมบ์หมู่อีกครั้งโดยถ้าแขกรับเชิญเข้าไปในตู้ระเบิด (ไม่ว่าจะเป็นป้ายเดี่ยวหรือบอมบ์หมู่ก็ตาม) แล้วไม่โดนระเบิดจะได้รับทองคำมูลค่า 10,000 บาท
รูปแบบสุดท้าย (1 กุมภาพันธ์ 2552 - 20 กันยายน 2552) ยังคงใช้กติกาเดิมอยู่แต่สลักระเบิดจะถูกลดเป็น 3 สลัก (จากเดิม 5 สลัก)
สำหรับในช่วง 12 ปีระเบิดเถิดเทิง (1 กุมภาพันธ์ 2552 - 12 กรกฎาคม 2552) ทางรายการได้ให้ผู้ชมทางบ้านส่งไปรษณีย์บัตรให้ทายว่าใครจะโดนระเบิดแป้งในสัปดาห์นั้นที่ออกอากาศทั้งนี้ผู้ที่ได้จับรางวัลได้รับเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องปรับอากาศ และถ้าผู้ที่ถูกจับรางวัลทายถูกจะได้รับรางวัลทองคำมูลค่า 10,000 บาท ไปด้วย โดยในเกมช่วง 12 ปีระเบิดเถิดเทิงจะให้พิธีกรเลือกแผ่นป้ายกันเองในลักษณะ เปิดต่อกัน (คนที่มีลูกระเบิดสะสมมากที่สุดจะได้เลือกก่อน จากนั้นคนที่ออกมาจากตู้จะเป็นคนเลือกคนถัดไป เช่นเดียวกันการเล่นเกมในช่วงปีใหม่)
ทั้งนี้ถ้าแขกรับเชิญไม่โดนระเบิดแป้ง จนมีผู้เล่นเกมคนอื่นหรือพิธีกรหลักโดนระเบิดแป้ง (ไม่ว่าแขกรับเชิญคนนั้นจะได้เข้าไปในตู้ระเบิดหรือไม่ก็ตาม) แขกรับเชิญก็จะได้รับรางวัลพิเศษจากทางรายการ (แบบแรกวันที่ 7 เมษายน 2539 - 14 เมษายน 2539 จะเป็นกล้องถ่ายวิดีโอ (ถ้าไม่โดนระเบิด) พร้อมกับบัตรที่พักรีสอร์ทหินสวยน้ำใส (โดนระเบิดหรือไม่ก็ตาม) แบบที่สอง 21 เมษายน 2539 จะเป็นเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง (ถ้าไม่โดนระเบิด) พร้อมกับบัตรที่พักหินสวยน้ำใสแจกร่วมด้วย (ถ้าไม่โดนระเบิด) (ช่วงวันที่ 21 เมษายน - 20 ตุลาคม 2539) และบัตรที่พัก โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง ภูอิง เมืองเชียงใหม่ แจกร่วมด้วย (ถ้าไม่โดนระเบิด) (ช่วงวันที่ 1 ธันวาคม - 29 ธันวาคม 2539 และ 19 มกราคม 2540 - 28 กันยายน 2540) แบบที่สาม 5 ตุลาคม 2540 - 28 ธันวาคม 2540 เป็นบัตรที่พักพร้อมกับโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง แบบที่สี่ 12 มกราคม 2541 - 30 พฤษภาคม 2541 เป็นเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่องพร้อมบัตรที่พัก แบบที่ห้า 6 มิถุนายน 2541 - 21 มีนาคม 2542 เป็นบัตรที่พัก(ไม่ว่าจะโดนระเบิดหรือไม่ก็ตาม)พร้อมกับเครื่องเสียง 1 ชุด (ถ้าไม่โดนระเบิด) แบบที่หก 28 มีนาคม 2542 - 25 มิถุนายน 2543 เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากฟิลิปส์ แบบที่เจ็ด 2 กรกฎาคม 2543 - 26 มกราคม 2546 , 2 มกราคม 2548 - 31 ธันวาคม 2549 เป็นเครื่องซักผ้าอีฟและบางครั้งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชุดใหญ่จากอีฟ และแบบที่แปดแบบสุดท้าย 7 มกราคม 2550 - 13 กันยายน 2552 ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องปรับอากาศอีมีเน้นท์) ด้วยกันแต่ถ้าแขกรับเชิญโดนระเบิดก็จะไม่ได้รางวัลพิเศษอย่างใด
นับตั้งแต่เทปที่ออกอากาศวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 จนถึง 26 ธันวาคม 2547 ได้มีการยกเลิกเกมถอดสลักระเบิดชั่วคราวมาเป็น แคปซูลระเบิด โดยในรอบนี้จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 18 แผ่นป้าย ซึ่งจะมีรูปภาพใบหน้าของพิธีกร,ดารารับเชิญ รวมไปถึงนักแสดงในซอยเถิดเทิง โดยดารารับเชิญจะต้องเลือกแผ่นป้ายทั้งหมด 6 แผ่นป้ายเพื่อให้เลือกคนเข้าไปในแคปซูล จากทั้งหมด 6 ตู้ (โดยแผ่นป้ายแรกจะเข้าแคปซูลแรก แผ่นป้ายที่ 2 จะเข้าแคปซูลที่ 2 ไปเรื่อยๆจนครบ 6 แผ่นป้าย) หลังจากเลือกแผ่นป้ายเสร็จแล้ว พิธีกรหรือผู้เล่นเกมจะสับคัตเอาท์ที่อยู่กลางเวที และแคปซูลจะระเบิดตามที่ได้มีการวางระเบิดในช่วงก่อนหน้านี้
ถ้าดารารับเชิญเปิดเจอรูปภาพของตัวเอง ก็ต้องเข้าไปอยู่ในแคปซูล และถ้าหากแคปซูลไม่ระเบิดจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท และจะได้รับของรางวัลเป็นเครื่องซักผ้าจากอีฟ แต่ถ้าหากโดนระเบิด จะไม่ได้รับรางวัลพิเศษใดๆเลย (หากดารารับเชิญไม่ได้เข้าไปอยู่ในแคปซูล จะได้รับเครื่องซักผ้าโดยอัตโนมัติ)
เกมนี้ใช้จนกระทั่งถึงเทปออกอากาศวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบเกมถอดสลักระเบิดเช่นเดิมในคราวถัดไป