รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือ โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางหมอชิต - อ่อนนุชและสนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 4 สาย 60 สถานี ครอบคลุมระยะทางกว่า 86.52 กิโลเมตร*
รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ภายใต้ โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2541 ให้เร่งดำเนินงาน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (สบน.) ปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครเดิม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากความล้มเหลวของโครงการโฮปเวลล์และวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540
จากการคาดการณ์การเจริญเติบโตของเมืองในระยะนั้น ๆ และแผนงบประมาณ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงแบ่งการดำเนินโครงการออกเป็น 3 ระยะ คือ
ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงซอยแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทในจังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงตลาดนัดจตุจักร-สะพานใหม่ ตามแนวถนนพหลโยธิน ระยะทาง 12 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งกรุงเทพมหานครไม่มีสิทธิ์ในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวตรงนี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
เป็นโครงการรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือไลท์เรลช่วงบางนา ไปจนถึงอาคารผู้โดยสาร 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงวิทยาเขตบางนา ตามแนวถนนบางนา-ตราด จากชานเมืองในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ไปจนถึง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 18.3 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการจากรัฐบาล
ปัจจุบันเส้นทางสายสีน้ำเงินมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือ (สถานีบางซื่อ) ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ (สถานีหัวลำโพง) ไปยังท่าพระ และบางแค ซึ่งทั้งสองเส้นทางจะเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนในอนาคต ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศใต้ของกรุงเทพฯ จากชานเมืองที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่านบางซื่อ บางลำพู วังบูรพา วงเวียนใหญ่ ออกสู่ชานเมืองฝั่งธนบุรีในเขตราษฎร์บูรณะ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วยเส้นทางยกระดับช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร ซึ่งกำลังก่อสร้างเตรียมเปิดให้การบริการ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (ตามแผนงาน) และโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 20 กิโลเมตร
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงแคราย-ปากเกร็ด-สุวินทวงศ์ ยกระดับบนถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ กับจังหวัดนนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี รวมทั้งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่จะรองรับการเปิดใช้ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร บนถนนแจ้งวัฒนะ
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงแคราย-เกษตร-รามคำแหง ยกระดับบนถนนติวานนท์ งามวงศ์วาน ประเสริฐมนูกิจ และนวมินทร์ ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ กับจังหวัดนนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์ ในแนวเส้นทางทิศตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพฯ จากเขตมีนบุรี บริเวณแยกถนนสุวินทวงศ์เข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่าน บางกะปิ ห้วยขวาง ดินแดง ราชปรารภ ประตูน้ำ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดเส้นทางที่บางขุนนนท์ เส้นทางเกือบทั้งหมดเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร
ประกอบด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอ่อน ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ ตามแนวถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนสายสีเหลืองเข้มรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันดำเนินการในช่วงพัฒนาการ-สำโรง ตามแนวถนนศรีนครินทร์และเทพารักษ์ ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร
เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล ช่วงสี่แยกปทุมวันไปจนถึงสี่แยกสามย่าน ตามแนวถนนพญาไท ผ่ากลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร และจะพัฒนาไปเป็นระบบโมโนเรลสามย่าน โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบโครงการทั้งหมด
เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล ช่วงโครงการแกรนด์สแควร์ @ พระราม 9 ไปจนถึงหน้าสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ตามแนวถนนรัชดาภิเษก และอโศก-ดินแดง ในเขตดินแดง, เขตห้วยขวาง และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 800 เมตร โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบโครงการจากเอกชน เนื่องจากเป็นสายที่เอกชนลงทุนโครงการเองทั้งหมด
เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลของจินตวิศวกรรรมของดิสนีย์ ช่วง สยามพาร์คซิตี้-ซาฟารีเวิลด์-ดรีมเวิลด์ ตามแนว ถนนสวนสยาม ใน เขตคันนายาว และ ถนนปัญญาอินทรา ใน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และ ถนนรังสิต-นครนายก ใน อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี
เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล ช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระราม 9 ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรมและย่านสาธุประดิษฐ์ ในเขตบางเขน, ลาดพร้าว, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, ห้วยขวาง, วัฒนา, คลองเตย, ยานนาวา, และบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร โดยปัจจุบันยังคงเป็นแผนการเพิ่มเติมเส้นทางใหม่ ของแผนโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน พ.ศ. 2553-2572 ระยะ 20 ปี
เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล ช่วงดินแดง-สาทร เชื่อมต่อจุดสำคัญใจกลางเมือง มีจุดมุ่งหมายเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง และการเปิดใช้ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 รวมทั้งเพื่อเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจบนถนนสาทร ระยะทางรวม 9.8 กิโลเมตร โดยปัจจุบันยังคงเป็นแผนการเพิ่มเติมเส้นทางใหม่ ของแผนโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน พ.ศ. 2553-2572 ระยะ 20 ปี
ขณะนี้ (พ.ศ. 2556) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เตรียมนำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาและสายสีฟ้าให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่พิจารณาอีกครั้ง
มีระยะทางรวม 80.8 กม. 36 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ-ใต้ ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอน มหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง (หัวลำโพง) โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดิน ทางไปสู่ภูมิภาคต่างๆ โครงข่ายสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอก ตามแนวคิดผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี เชื่อมโยงไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต ในอนาคตสามารถเชื่อมโยงกับสถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือแห่งใหม่อีกด้วย โครงการสามารถแก้ปัญหาจุดตัดระหว่างถนนและรถไฟในเขตเมือง ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของระบบราง และลดความล่าช้าในการเดินทางบนโครงข่ายถนนได้
มีแนวเส้นทางตามแกนหลักทิศตะวันตก-ตะวันออก โดยตามแผนแม่บท พื้นที่โครงการจะมีระยะทาง 127.5 กิโลเมตร จากนครปฐม ถึงชุมทางฉะเชิงเทรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปัจจุบัน งานก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนในปี พ.ศ. 2555 ต้องรอให้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ สถานีกลางบางซื่อ และการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแล้วเสร็จก่อน ถึงจะมีความพร้อมในการเดินรถด้วยระบบรถไฟฟ้า
เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายแรกของการรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เป็นเส้นทางที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองด้านตะวันออกและทิศเหนือ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้ เริ่มต้นจากภายในเขตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ จากนั้นวิ่งเลียบทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วเริ่มเข้าสู่เขตเมืองที่ย่านรามคำแหง, รัชดาภิเษก, ศูนย์คมนาคมมักกะสัน, พญาไท แล้วเข้าสู่เขตพระราชฐานที่บริเวณสวรรคโลก, เข้าสู่ศูนย์คมนาคมบางซื่อ และวิ่งเลียบถนนวิภาวดี-รังสิต แล้วไปยังท่าอากาศยานดอนเมืองทางด้านเหนือ รวมระยะทางทั้งโครงการในปัจจุบัน 28.6 กิโลเมตร
โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทนั้น จะมีการเพิ่มส่วนต่อขยายของ City Line และ Express Line เพิ่มอีกทั้งหมด 2 ระยะดังนี้
บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอส มีการพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ ตามความเหมาะสม และการโฆษณา ปัจจุบันแบ่งใช้งานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
นอกจากนี้ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังได้มีการจัดทำค่าโดยสารพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่เป็น นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ หรือพนักงานภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มเติม ผ่านบัตรเออาร์แอล สมาร์ทพาส ดังนี้
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล