ระบบขนส่งมวลชนเร็ว (อังกฤษ: Mass Rapid Transit) หรือที่มักเรียกว่ารถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน เมโทร มักจะมีในเมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วโลก รถไฟฟ้าใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงลอนดอน เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2406 ปัจจุบันมีเมืองทั้งหมด 162 เมืองที่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบขนส่งมวลชนเร็ว เริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1863 สายแรกคือ รถไฟใต้ดินลอนดอน ในปี ค.ศ. 1890 การรถไฟลอนดอนใต้ เป็นการรถไฟแรกที่มีรถไฟขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้า ระบบขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้า ได้ใช้ในเส้นทางรถไฟใต้ดินลอนดอน ซึ่งพัฒนาไปได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ
สำหรับระบบขนส่งมวลชนเร็วสายแรกในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นแบบยกระดับ ได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยาย
ระบบขนส่งมวลชนเร็วมักใช้ในเขตเมือง เพื่อใช้ขนส่งผู้คนมากมายได้อย่างรวดเร็ว ระบบขนส่งมวลชนเร็ว มีขอบเขตเส้นทางมากที่สุดเพียงแค่เส้นทางระหว่างเมือง ส่วนเขตชานเมืองอื่นๆ จะใช้รถไฟธรรมดา การดำเนินการของระบบขนส่งมวลชนเร็ว อาจส่งผลต่อความพึงพอใจต่อเจ้าของด้วย
ระบบขนส่งมวลชนเร็ว สามารถใช้เดินทางร่วมกับระบบอื่นๆ ได้ อาทิเช่น รถโดยสารประจำทาง รถราง หรือ รถไฟชานเมือง ซึ่งจะช่วยในเรื่องการรับรองผู้โดยสาร เนื่องด้วยความจำกัดในบางพื้นที่ อาจทำให้สร้างรถไฟฟ้าไม่เพียงต่อ จึงต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนอื่นแทน
ขบวนรถไฟฟ้า จะมีจำนวนคันตั้งแต่ 3 - 10 คัน จะรับกระแสไฟฟ้าจากรางที่สาม หรือระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว ส่วนใหญ่ขบวนรถไฟฟ้าใช้ล้อเหล็ก แต่ในบางสายอาจมีการใช้ล้อยางก็ได้ ซึ่งจะเกิดแรงเย็นระหว่างฉุดลากขบวนรถ
แบบใต้ดิน จะอยู่ใต้ชั้นถนน ซึ่งจะทำให้การจราจรบนถนนคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสนอพื้นที่ทำเกาะกลางสำหรับตอม่อทางยกระดับ แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งบประมาณเยอะ และการขุดอุโมงค์ต้องทำการปิดการจราจรบางส่วน อาจทำให้การจราจรติดขัด สำหรับการสร้างอุโมงค์ จะมีขั้นตอนที่เรียกว่า คัต-แอนด์-คัฟเวอร์ ซึ่งเป็นการฉาบคอนกรีตไปในเนื้ออุโมงค์ แบบระดับดินหรือระดับถนน มักใช้กับแถบชานเมือง ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่าแบบใต้ดินหรือยกระดับ ส่วนรถไฟยกระดับ มีงบประมาณที่น้อยกว่าแบบใต้ดิน มักพบในเมืองที่การจราจรไม่ติดกันนัก
สถานีเป็นจุดจอดของรถไฟฟ้า เพื่อใช้ขนส่งผู้คน ซึ่งจะมีเครื่องจำหน่ายและเครื่องบัตรโดยสาร เพื่อให้เป็นระบบ ชานชาลาของแต่ละสถานีอาจแตกต่างกันไป เช่น ชานชาลาด้านข้าง ชานชาลาเกาะกลาง สถานีใต้ดินมักจะแบ่งเป็น 2 ชั้น บางสถานีจะอยู่ลึกมาก ต้องใช้บันไดเลื่อนที่ยาวเป็นพิเศษ ในบางสถานีจะมีศูนย์การค้าอยู่ด้วย ส่วนสถานีแถบชานเมือง จะมีอาคารจอดแล้วจร เพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการได้จอดรถส่วนตัว
สถานีส่วนใหญ่มักออกแบบให้มีความสูงของชานชาลาเท่าระดับประตู และระหว่างที่ขบวนรถจอด ผู้โดยสารต้องระวังช่องว่างระหว่างชานชาลาและรถไฟด้วย บางสถานีใช้ประตูกั้นชานชาลา ซึ่งช่วยป้องกันคนตก
สถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ลึกที่สุดในโลก คือสถานีอาร์เซนัลนา ที่เมืองเคียฟ ประเทศยูเครน สำหรับในประเทศไทยนั้น จะอยู่ที่สถานีสีลม