ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

รถไฟฟ้าสายสีม่วง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Purple Line, MRT Purple Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ) -ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) ที่จะเริ่มเปิดทดสอบระบบในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ก่อนเปิดให้บริการจริงในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-สถานีครุใน ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทางโครงการ และเตรียมการประมูลงานก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2559

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในลักษณะของการจ้างเดินรถจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงการเดินทางในแนวเหนือ-ใต้ เริ่มต้นจากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางใหญ่ และเมืองนนทบุรี เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านบางซื่อ ผ่านย่านที่สำคัญในพื้นที่เมืองเก่าเขตดุสิตและเขตพระนคร เช่น โครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย ย่านถนนสามเสน บางลำพู ผ่านฟ้า วังบูรพา จากนั้นลอดแม่น้ำเจ้าพระยา มายังใจกลางพื้นที่ฝั่งธนบุรี ณ วงเวียนใหญ่ ผ่านย่านสำเหร่ จอมทองดาวคะนอง บางปะกอก แยกประชาอุทิศ ผ่านเขตราษฎร์บูรณะ ชานเมืองด้านทิศใต้ของกรุงเทพฯ ก่อนเข้าสู่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สิ้นสุดที่บริเวณถนนกาญจนาภิเษก (ใกล้สะพานกาญจนาภิเษก) รวมระยะทาง 46.6 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางที่ผ่านสถานที่สำคัญมากมายทั้งในพื้นที่นนทบุรีและกรุงเทพฯ ทั้งยังช่วยเชื่อมเดินทางจากชานเมืองทั้งด้านนนทบุรีและพระประแดง ให้สามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกสบาย

เป็นเส้นทางยกระดับที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขแนวเส้นทางเฉพาะช่วงเตาปูน-บางใหญ่ของเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ มาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนที่เหลือในช่วงเตาปูน-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ

ส่วนเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูน แม้ว่าปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ แต่ตามสัญญาการก่อสร้างนั้นได้ดำเนินการพร้อมกับเส้นทางสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่ และที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้ประชาสัมพันธ์การก่อสร้างโดยใช้ชื่อ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่" แม้ว่าในอนาคตการบริหารการเดินรถช่วงบางซื่อ-เตาปูนจะแยกออกจากช่วงเตาปูน-บางบางบัวทองก็ตาม

ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า (สัญญาที่ 1), เส้นทางช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-บางใหญ่-คลองบางไผ่ (สัญญาที่ 2) อาคารที่จอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง (สัญญาที่ 3), งานระบบรถไฟฟ้า (สัญญาที่ 4) และงานวางราง (สัญญาที่ 6) ส่วนงานระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงบางซื่อ-เตาปูน (สัญญาที่ 5) อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วงคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประมูลโครงการสายสีม่วงตามสัญญาที่ 4 หลังจากที่เสนอราคางานเดินรถต่ำกว่าบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ถึง 16,000 ล้านบาท โดยหลังจากนี้ BEM จะต้องรับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และระบบงานที่เกี่ยวข้องมามอบให้ทางรฟม. เพื่อใช้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ โดยรฟม. จะจ่ายค่ารถไฟฟ้าส่วนนี้คืนในรูปแบบของค่าจ้างเดินรถแทน

ด้านอัตราค่าโดยสาร รฟม. จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าโดยสารเอง และอัตราค่าโดยสารดังกล่าวจะมีอายุ 2 ปี หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยเบื้องต้นหลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรขึ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็มีข่าวว่ารถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงนี้จะจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย

เป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมด เริ่มต้นจากสถานีเตาปูนซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่แยกเตาปูนตามแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ผ่านจุดตัดทางรถไฟบางซ่อนซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีรถไฟบางซ่อน ผ่านแยกวงศ์สว่าง จนสุดเขตกรุงเทพมหานคร เข้าสู่เขตตำบลบางเขน อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกติวานนท์เข้าสู่ถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้ากระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายก่อนถึงแยกแครายเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) ที่สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ผ่านศาลากลางจังหวัดและศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานคู่ขนานฝั่งทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางใหญ่ ผ่านทางแยกต่างระดับบางรักน้อย (จุดตัดถนนราชพฤกษ์) และแยกบางพลู เลี้ยวขวาที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามถนนกาญจนาภิเษก ผ่านชุมชนตลาดบางใหญ่ ไปสิ้นสุดเส้นทางบริเวณคลองบางไผ่ พื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร

ส่วนเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูนในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกันนั้น มีเส้นทางเริ่มต้นจากอุโมงค์ใต้ดินของสถานีบางซื่อในปัจจุบัน ขึ้นสู่ระดับดินบริเวณหน้าที่ทำการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และยกระดับมุ่งหน้าสะพานสูงบางซื่อ และถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ก่อนเข้าสู่ชานาชาลาชั้นล่างของสถานีเตาปูนตามแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร ดังนั้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงจึงไม่ได้เข้าสู่สถานีบางซื่อโดยตรง แต่เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินช่วงดังกล่าวโดยเข้าสู่ชานชาลาชั้นบนของสถานีเตาปูนตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางต่อเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ทางทิศใต้

สถานีรถไฟฟ้าในโครงการฯ ได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ โดยเป็นสถานียกระดับ ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร รูปแบบชานชาลากลาง การจัดพื้นที่ของสถานีประกอบด้วย

ในอนาคต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จะเปิดช่องทางให้เอกชนสามารถก่อสร้างทางเชื่อมเข้ากับสถานีรถไฟฟ้าได้ โดยเบื้องต้นมีเอกชนติดต่อสอบถามเข้ามามากมาย แต่สรุปเบื้องต้นได้ว่าสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี มี เทสโก้ โลตัส สาขารัตนาธิเบศร์ติดต่อเข้ามา สถานีบางกระสอ มี บิ๊กซี ที่จะทำทางเชื่อมระหว่างสองสาขาของบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า และบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขารัตนาธิเบศร์ และโรงแรมริชมอนด์ติดต่อเข้ามา สถานีแยกนนทบุรี 1 มี ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ติดต่อเข้ามา และสถานีตลาดบางใหญ่ มีศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสท์เกตติดต่อเข้ามาเช่นกัน

โครงการนี้จะมีการเวนคืนที่ดินเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงการ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ถูกเวนคืนถือว่าเป็นผู้เสียสละ จะมีการจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทางที่สถานีคลองบางไผ่และเตาปูน

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ได้มีมติเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่นนทบุรีเป็นระบบใต้ดิน ต่อมาประชาชนส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีได้รวมตัวคัดค้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับ และได้ขึ้นป้ายผ้าประท้วงหน้าอาคารพาณิชย์ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โดยเฉพาะย่านการค้าบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากถนนมีความกว้างจำกัด เกรงจะมีผลกระทบค้าขาย ทัศนียภาพ และปัญหามลภาวะ จึงมีข้อเสนอให้ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแทน ในครั้งนั้น ทาง รฟม. ได้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้คัดค้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงยืนยันถึงข้อดีของการก่อสร้างในรูปแบบเส้นทางยกระดับ

หมายเหตุ : สัญญาที่ 5 ได้เปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งในส่วนต่อขยาย บางซื่อ - เตาปูน - ท่าพระ และเปลี่ยนจากใต้ดินเป็นยกระดับแทน

“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น “ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่คลองบางไผ่ และเตาปูนด้วย แต่จนถึงปัจจุบัน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำไปเพียงแค่ร้อยละ 10 จึงส่งผลก่อสร้าง ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ทำให้การก่อสร้างล่าช้า

ในอดีต โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-เตาปูนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เช่นเดียวกันกับช่วงเตาปูน-บางใหญ่ แต่ในภายหลังได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ทำให้เส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีม่วงแทน ขณะที่เส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ดังนั้น สถานีบางซื่อในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบัน ซึ่งเดิมได้เตรียมชานชาลาที่ 2 ไว้สำหรับเดินรถมุ่งหน้าสู่สถานีปลายทางคลองบางไผ่ (บางใหญ่) จึงเปลี่ยนไปเป็นสถานีปลายทางท่าพระแทน ขณะที่การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระยะแรกนี้จะดำเนินการจากบางใหญ่มาสิ้นสุดเพียงแค่สถานีเตาปูนเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปยังสถานีบางซื่อโดยตรง

แต่ในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นการก่อสร้างเส้นทางช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เนื่องจากในสัญญาที่ 1 ของการก่อสร้างได้รวมเอาเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูน-บางใหญ่ไว้ด้วยกันทั้งหมด เพื่อให้เส้นทางที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถให้บริการเชื่อมต่อกับการเดินรถในปัจจุบันได้

เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิม (บางกะปิ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ) -ราษฎร์บูรณะ และแนวเส้นทางสายสีม่วงเดิม (หอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน-บางพูด) ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ นำมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนแรกในช่วงบางใหญ่-เตาปูน

เส้นทางส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินผสมผสานกับโครงสร้างยกระดับ เริ่มต้นจากโครงสร้างยกระดับของสถานีเตาปูนที่แยกเตาปูนตามแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่ และเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้โดยลดระดับลงมาใต้ดิน แล้วเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าใกล้แนวถนนประชาราษฎร์ สาย 1 เข้าสู่แนวถนนสามเสนที่แยกเกียกกาย ลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกบางกระบือ แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ-มักกะสันที่สถานีสามเสน (แยกซังฮี้) ผ่านหอสมุดแห่งชาติ แยกเทเวศร์ แยกบางขุนพรหม เลี้ยวซ้ายที่แยกบางลำพูเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ก่อนเข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านแยกสำราญราษฎร์ (ประตูผี) แยกเรือนจำ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ที่สถานีวังบูรพา ก่อนเข้าสู่ถนนจักรเพชร ผ่านย่านการค้าสะพานหันและพาหุรัด

จากนั้นเส้นทางจะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาด้วยแนวขนานกับสะพานพระปกเกล้าเข้าสู่ ถนนประชาธิปก ผ่านวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-มหาชัยที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านสำเหร่ แยกมไหสวรรย์

จากนั้น เส้นทางจะยกระดับขึ้นเหนือผิวดินเข้าสู่แยกดาวคะนองและถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกบางปะแก้ว จุดตัดถนนพระรามที่ 2 ผ่านย่านบางปะกอก แยกประชาอุทิศ (กิโลเก้า) ไปสิ้นสุดเส้นทางบนถนนสุขสวัสดิ์ ก่อนเข้าเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่ครุใน (บริเวณใต้สะพานกาญจนาภิเษก)

รวมระยะทางทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางใต้ดินประมาณ 12.6 กิโลเมตร และเส้นทางยกระดับประมาณ 11 กิโลเมตร

มี 17 สถานี (ไม่รวมสถานีเตาปูน) เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี (ตั้งแต่สถานีรัฐสภาถึงสถานีสำเหร่) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) และเป็นสถานียกระดับอีก 7 สถานี ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร (ตั้งแต่สถานีจอมทองถึงสถานีครุใน)

แต่หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนต่อขยายเพิ่มเติมทั้ง 2 ช่วงก็ไม่มีความคืบหน้า มีความเคลื่อนไหวเฉพาะช่วงคลองบางไผ่-บางซื่อ เท่านั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301