โครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู สายปากเกร็ด-หลักสี่-มีนบุรี-สุวินทวงศ์ เป็นโครงการศึกษาเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งถูกกำหนดให้ใช้ระบบ รถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ รถไฟฟ้าขนาดเบา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โมโนเรล (monorail) มีระยะทางทั้งสิ้น 27 กิโลเมตร และในภายหลังได้มีการศึกษาเพื่อต่อขยายต้นทางจากปากเกร็ดมายังแคราย เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง ที่กำลังก่อสร้าง ใช้เส้นทางศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร
ในเบื้องต้นมีการพิจารณาระบบที่จะนำมาใช้หลายรูปแบบ เช่น รถประจำทางด่วนพิเศษแบบราบกับพื้นและยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาราบกับพื้นและยกระดับ หรืออาจเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือขนาดหนัก เป็นต้น แต่ล่าสุด (พฤษภาคม พ.ศ. 2555) เป็นไปได้ว่าจะจัดสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบยกระดับหรือโมโนเรล
ในเบื้องต้นจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 เป็นหลัก ได้แก่ ถนนแจ้งวัฒนะ จากห้าแยกปากเกร็ด (อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี) ผ่านทางเข้า เมืองทองธานี ถนนประชาชื่น หลักสี่ (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต) มุ่งหน้าวงเวียนอนุสาวรีย์บางเขน (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่ ที่สถานีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ) เข้าสู่ถนนรามอินทรา ผ่านถนนลาดปลาเค้า ซอยมัยลาภ ถนนวัชรพล (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา โมโนเรล)(โครงการ) ถนนนวมินทร์ (คู้บอน) คันนายาว (สวนสยาม) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ถนนพระยาสุเรนทร์ จนถึงสี่แยกเมืองมีน ตัดถนนเสรีไทย มุ่งหน้าสู่ถนนสุวินทวงศ์ เขตมีนบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม
และยังสามารถต่อขยายต้นทางจากห้าแยกปากเกร็ดมาตามแนวถนนติวานนท์ ผ่านถนนสามัคคี แยกสนามบินน้ำ และบรรจบกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สี่แยกแคราย
ในอดีตยังเคยมีนโยบายที่จะศึกษาเพิ่มเติม เพื่อต่อขยายเส้นทางจากมีนบุรีไปยัง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยใช้ถนนร่มเกล้าจากมีนบุรี ผ่านการเคหะร่มเกล้า มุ่งหน้า เขตลาดกระบัง และข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในขณะนี้
แนวเส้นทางสีชมพูเกือบทั้งหมด (แคราย-ปากเกร็ด-หลักสี่-มีนบุรี-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ซ้อนทับกับโครงการส่วนต่อขยายรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ระยะต้น (2550-2552) ของกรุงเทพมหานครถึง 2 เส้นทาง คือสายแคราย-ปากเกร็ด-หมอชิต และสายดอนเมือง-มีนบุรี-สุวรรณภูมิ ซึ่งมาบรรจบกันที่สี่แยกหลักสี่ แต่ในขณะนี้กรุงเทพมหานครได้เปลี่ยนมาศึกษาเส้นทางหมอชิต-ขนส่งจตุจักร-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด แทน เพื่อรองรับศูนย์ราชการที่จะเกิดขึ้น แม้จะใช้เส้นทางเลียบทางรถไฟสายเหนือ แต่เมื่อมาถึงถนนแจ้งวัฒนะแล้วจะยังคงซ้อนทับกับเส้นทางสีชมพู
1.บริวณห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเลี้ยวขวาเข้า ถ.แจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลเก่า เพื่อสร้างสถานีปากเกร็ด มีพื้นที่เวนคืน 7,155 ตารางเมตร 2.บริเวณสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี เพื่อหลีกเลี่ยงสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวง (ทล.) มีพื้นที่เวนคืน 7,800 ตารางเมตร 3.บริเวณ ถ.วิภาวดีฯ ข้ามแยกหลักสี่ เพื่อลดระดับโครงสร้างลอดใต้โทลล์เวย์ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,300 ตารางเมตร 4.บริเวณวงเวียนหลักสี่ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,500 ตารางเมตร กว้างด้านละ 4 เมตร ตั้งแต่หน้า ม.ราชภัฏพระนคร ไปถึง ป.กุ้งเผา และ 5.บริเวณมีนบุรี เวนคืนพื้นที่กว่า 280 ไร่ เพื่อสร้างที่จอดรถ และศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนบริเวณอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้จะมีเวนคืนเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างจุดขึ้น-ลงของสถานีทั้ง 30 สถานีที่ดินแพง-ค่าเวนคืนพุ่ง 1 เท่า เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดค่าก่อสร้างแตะ 5.4 หมื่นล้านบาทโดยมีหลายปัจจัยที่ผลักให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีใหม่ 6 สถานี ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง 300 บาท และราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ที่ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผลทำให้ค่าชดเชยที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิมประเมินไว้ 2 พันล้านเป็น 4 พันล้านบาท
มีจุดต้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) บริเวณสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านทางแยกแครายเข้าสู่ถนนติวานนท์ แนวจะวิ่งไปตามเกาะกลางถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ดแนวจะเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านทางพิเศษอุดรรัถยา มาเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่ทางแยกหลักสี่บนถนนวิภาวดีรังสิต และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) บนถนนพหลโยธิน) บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามถนนรามอินทรา จนถึงทางแยกเมืองมีนแล้ววิ่งเข้าสู่เขตมีนบุรีตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวาก็จะเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) มาสิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมเดินทางกับระบบขนส่งมวลชน สายสีส้ม มีระยะทางรวมประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีอยู่บนโครงสร้างยกระดับ จำนวน 30 แห่ง โดยประกอบด้วย สถานีรายทาง 25 แห่ง และสถานีเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนต่างสาย จำนวน 5 แห่ง มีสถานที่จอดแล้วจร 2 แห่ง และศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 2 แห่ง