รถบลูเทรน (อังกฤษ: Blue Train) (ญี่ปุ่น: ???????) หรือตู้รถนั่งและตู้รถนอนของญี่ปุ่น รถบลูเทรนประกอบด้วยห้องนอน โดยห้องนอนหนึ่งห้องมี 4 เตียง(คลาสบี) และห้องนอนหนึ่งห้องมี 1 เตียง (คลาสเอ) ไม่สามารถปรับเป็นรถนั่งได้ โดยปกติในประเทศญี่ปุ่นจะใช้รถบลูเทรนพ่วงเป็นขบวนรถทางไกล โดยใช้หัวรถจักรไฟฟ้าตระกูล EF ตระกูล ED และ หัวรถจักรดีเซลตระกูล DD ทำขบวน โดยให้บริการโดย JR East (ญี่ปุ่น: JR???) JR West (ญี่ปุ่น: JR???) และ JR Hokkaido (ญี่ปุ่น: JR???) รถบลูเทรนมีทั้งหมด 5 รุ่น คือ รุ่น 20(20?) รุ่น 14(14?) รุ่น 15(15?) รุ่น 24(24?) รุ่น 25(25?) ส่วนรถโดยสารรุ่น 12 ไม่นับว่าเป็นบลูเทรน
รถบลูเทรนนั้นถือกำเนิดครั้งแรกในปี 2499 โดยบลูเทรนที่ออกวิ่งให้บริการครั้งแรกของประเทศญี่ปุ่นจะเป็นรุ่น 20 (20?) เนื่องจากสีที่พ่นลงที่ตัวโบกี้รถขณะนั้นใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก คาดด้วยแถบสีขาวนวลสองเส้นขนาดไปกับตัวรถ จากจุดกำเนิดของบลูเทรนรุ่น 20 นี้เอง จึงทำให้รถโดยสารประเภทเดียวกันที่ถูกสร้างขึ้นมาภายหลัง และออกวิ่งให้บริการประชาชนที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่น 14(14?), 15(15?), 24(24?), 25(25?) ก็ถูกเรียกว่าบลูเทรนเช่นเดียวกันกับรุ่นที่ผ่านมา ต่อมาในปี 2514 บลูเทรนรุ่นใหม่จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยรุ่นใหม่นี้มีความแตกต่างจากรุ่น 20 ตรงที่ว่า ไม่ต้องมีโบกี้ไฟฟ้ากำลัง (พาวเวอร์ เจเนเรเตอร์ คาร์ - Power Generator Car) เฉพาะก็สามารถวิ่งทำขบวนได้ โดยโบกี้รุ่นใหม่ที่ว่านี้ได้รับการออกแบบมาให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใต้ท้องโบกี้โดยสาร อีกทั้งยังสามารถที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงโบกี้ที่อยู่ข้างเคียงที่ไม่มีเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งบลูเทรนรุ่นใหม่ที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า บลูเทรนรุ่น 14? (14?) นั้นเอง
บลูเทรนรุ่น 14(14?) ที่ผลิตออกมานั้นมีทั้งโบกี้รถนั่งและโบกี้รถนอน โดยแยกชุดกันทำขบวน แต่ในระยะหลังก็ได้นำมาพ่วงทำขบวนร่วมกันก็มีบ้าง เช่นปัจจุบันรถ ฮามานาซุ(Hamanasu)(ญี่ปุ่น: ????) วิ่งสายเหนือเชื่อมระหว่างจังหวัดอะโอโมริกับจังหวัดซัปโปโร ทำขบวนโดยรถรุ่น 14 นั่งและนอน ในส่วนโบกี้รถนั่งในประเทศไทยมีให้บริการอยู่ในสายใต้ กรุงเทพ – ตรัง รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ผลิตออกมาเพื่อใช้พ่วงเข้ากับรถบลูเทรนอิซึโมะ(Izumo)(ญี่ปุ่น: ??) ขบวนที่ 3 (ไป) และ 4 (กลับ) เป็นครั้งแรก โดยมีรถนอนชั้น 1 และชั้น 2 พิเศษทำขบวน ต่อมาเมื่อบริษัทเจอาร์ยกเลิกการให้บริการของบลูเทรนอิซึโมะ(Izumo) ขบวนที่ 3 และ 4 โบกี้นอนชั้น 1 และชั้น 2 พิเศษนี้ได้ถูกนำไปใช้พ่วงทำขบวนกับรถบลูเทรนอากาซึกิ(Akatsuki)(ญี่ปุ่น: ????) แทน โดยในครั้งนี้ได้ทำการปรับปรุงรถบลูเทรนนั่งธรรมดารุ่น 14 ซีรีส์ 0 ให้กลายเป็นรุ่น 14 ซีรีส์ 300 ให้ชื่อว่า Segato ซึ่งเป็นรถนั่งชั้น 2 พิเศษ 3 แถว มีห้องล็อบบี้อยู่ปลายสุดโบกี้ให้บริการอยู่เพียงไม่กี่ปีและท้ายสุดในปี 2551 บริษัทเจอาร์ได้ทำการยกเลิกบลูเทรนขบวนอะกาซึกิ(Akatsuki)(ญี่ปุ่น: ????) ลง และโบกี้โดยสารทั้งหมดนี้ปัจจุบันได้ถูกแยกสิ้นส่วนทำลายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือไว้เพียงแต่รูปภาพและโมเดลให้ดูต่างหน้าเท่านั้น
บลูเทรนขบวนแรกที่ให้บริการในญี่ปุ่นคือบลูเทรนอะซากาเซะ(Asakaze)(ญี่ปุ่น: ????) วิ่งระหว่างโตเกียว-ฮากาตะในปี 2499 โดยใช้รถปรับอากาศบลูเทรนรุ่น20 ทำขบวน และมีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดบลูเทรนมากถึง 26 สาย
ต่อมาในปี 2507 ญี่ปุนได้เปิดบริการชินกันเซ็นขึ้น ความจำเป็นของรถบลูเทรนจึงค่อยๆลดลงและถูกยกเลิกไปทีละขบวน
รถบลูเทรนที่วิ่งทำขบวนนั้นสามารถแบบชนิดโบกี้ได้ดังต่อไปนี้ 1.บลูเทรนคาดแถบขาว 2 เส้นประตูบานพับ บลูเทรนประเภทนี้เป็นบลูเทรนยุคแรกของรุ่น มีความเก่าแก่ที่สุดในบรรดาบลูเทรนรุ่น 24 และ 25 โดยในยุคแรกเตียงที่ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารนั้นจะเป็นแบบ 3 ชั้น ต่อมาได้มีการปรับให้เหลือเพียงแค่ 2 ชั้นเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน บลูเทรนคาดแถบขาวนี้ต่อมาบางส่วนได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นบลูเทรนคาดทองประตูบานเลือนและนำไปพ่วงทำขบวนกับขบวนรถ ฮกกุโตเซ อะเกโบโน่ นิฮงไก ฮามานะสึ 2. บลูเทรนคาดแถบเงิน 2 เส้นประตูบานพับ 3. บลูเทรนคาดแถบทอง 3 เส้นประตูบานพับ 4. บลูเทรนคาดแถบทอง 3 เส้นประตูบานเลื่อน
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับรถบลูเทรนที่ใช้แล้วจากการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยนำมาทำการเปลี่ยนความกว้างล้อ (Regauge) จาก 1067 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานทางรถไฟญี่ปุ่น เป็น 1000 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานรถไฟในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และปรับปรุงเล็กน้อย รถบลูเทรน เคยใช้เป็นรถไฟด่วนพิเศษ ไปมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เรียกว่า ขบวนรถด่วนพิเศษราชพฤกษ์ หรือขบวนพิเศษโดยสารที่ 963/964 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 - 31 มกราคม 2550 ในปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการรถบลูเทรน ในขบวนรถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ เดินทุกวัน เป็นโบกี้นอนชั้นสองปรับอากาศ (บนท.ป.) และ โบกี้นอนชั้นหนึ่งปรับอากาศ (บนอ.ป.) และรถด่วนบวนที่ 67/68 กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ