ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ย่างกุ้ง

ย่างกุ้ง (พม่า: ???????; MLCTS: rankun, ออกเสียง: [j??????] ยานโกน; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (อังกฤษ: Rangoon) คืออดีตเมืองหลวงของประเทศพม่าและเป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง นอกจากนี้ยังเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลพลัดถิ่นอินเดียในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (กลุ่ม Azad Hind หรือ Free India) ย่างกุ้งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศมีประชากรกว่า 5 ล้านคน และเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่ารัฐบาลทหารพม่าจะทำการย้ายเมืองหลวงไปยังเนปยีดอในเดือนมีนาคม 2549 แล้วก็ตาม

แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานในเมืองย่างกุ้งจะยังไม่ได้รับการพัฒนามากนักเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันย่างกุ้งก็มีจำนวนของอาคารในยุคอาณานิคมเป็นจำนวนมากที่สุดในภูมิภาค ขณะที่ในสองทศวรรษที่ผ่านมามีการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสูงที่เป็นที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ทั่วทั้งย่านใจกลางเมืองและตลอดทั้งเมือง แต่เมืองอื่นที่อยู่โดยรอบก็ยังมีความยากจนอยู่มาก

ย่างกุ้ง (???????) เป็นคำผสมที่เกิดจากคำว่า ยาน yan (???)ซึ่งมีความหมายว่า ศัตรู ข้าศึก และคำว่า โกน koun (????) ซึ่งมีความหมายว่า หมดไป ซึ่งสามารถแปลได้อีกอย่างว่า อวสานสงคราม หรือ สิ้นสุดสงคราม คำว่า ย่างกุ้ง ในภาษาอังกฤษ Rangoon มีที่มาจากการเลียนเสียงของคำว่า ยานโกน Yangon ในภาษาอาระกัน ซึ่งออกเสียงว่า รอนกู้น [r???????] ขณะที่ในภาษาไทยยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากการเลียนเสียงจากภาษาใดกันแน่

ย่างกุ้งก่อตั้งขึ้นในชื่อ ดากอน (Dagon) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 (พ.ศ.1571-1586) โดยชาวมอญซึ่งครอบครองพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ของพม่าในขณะนั้น ดากอนเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ซึ่งมีศูนย์กลางคือเจดีย์ชเวดากอง ในพ.ศ.2298 พระเจ้าอลองพญา ได้บุกยึดดากอน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น ย่างกุ้ง (Yangon) และมีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรที่เพิ่มขึ้นตลอดมา เมื่อถึงพ.ศ.2367 กองทัพอังกฤษสามารถยึดเมืองย่างกุ้งได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งแรก แต่หลังจากสงคราม อังกฤษก็คืนย่างกุ้งให้แก่พม่า ในพ.ศ.2384 เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ในเมืองซึ่งทำลายเมืองไปเกือบทั้งหมด

อังกฤษยึดย่างกุ้งและส่วนล่างของพม่าทั้งหมดได้ในสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2 เมื่อปี 2395 และได้เปลี่ยนย่างกุ้งให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมืองของพม่าของอังกฤษ (British Burma) เป็นสถานที่ซึ่งอังกฤษส่งตัวจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โมกุลของอินเดียมาจองจำหลังจากเกิดเหตุการณ์กบฎอินเดีย หรือกบฎซีปอยขึ้นเมื่อปี 2400 อังกฤษได้สร้างเมืองย่างกุ้งใหม่โดยวางผังเมืองเป็นรูปตารางบนที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยมีร้อยโทอเล็กซานเดอร์ เฟรเซอร์ นายทหารช่างเป็นผู้ควบคุมการออกแบบ มีพื้นที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกจรดแม่น้ำพะซุนดวง (Pazundaung Creek) ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดแม่น้ำย่างกุ้ง ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงของพม่าของอังกฤษหลังจากที่อังกฤษยึดพม่าตอนบนได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 3 เมื่อปี 2428 และตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 เป็นต้นมา ประชากรและการค้าในย่างกุ้งเติบโตขึ้นอย่างรุ่งเรืองซึ่งเป็นผลให้เมืองขยายออกไปทางเหนือจรด รอยัล เลค หรือทะเลสาบ กันดอจี (Kandawgyi) และทะเลสาบอินยา (Inya Lake) นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลย่างกุ้ง (Rangoon General Hospital) และวิทยาลัย ซึ่งก็คือ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (Rangoon University) ในปัจจุบัน

ย่างกุ้งในยุคอาณานิคม มีสวนสาธารณะและทะเลสาบที่กว้างขวาง อีกทั้งยังประกอบไปด้วยอาคารที่ทันสมัยและสถาปัตยกรรมไม้แบบดั้งเดิม ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สวนเมืองแห่งทิศตะวันออก" (the garden city of the East) และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ย่างกุ้งก็มีการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานที่เทียบเท่าลอนดอนเลยทีเดียว

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรเกินครึ่งของ 5 แสนคนในย่างกุ้งเป็นชาวอินเดียหรือไม่ก็ชาวเอเชียใต้อื่นๆ มีเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่เป็นชาวพม่า ขณะที่เหลือประกอบไปด้วยชาวกะเหรี่ยง พม่าเชื้อสายจีน และลูกครึ่งอังกฤษ-พม่า

หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งย่างกุ้งกลายเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชโดยมีนักศึกษาฝ่ายซ้ายเป็นแกนนำ มีการประท้วงต้อจักรวรรดิอังกฤษทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี 2463, 2479 และ 2481 ทั้งหมดเกิดขึ้นในย่างกุ้ง ย่างกุ้งตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น (2485-2488) และเมืองได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยึดคืนมาได้หลังสงครามสิ้นสุดลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนพฤษภาคม 2488 ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงของสหภาพพม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2491 เมื่อประเทศได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ

ไม่นานหลังจากการได้รับเอกราชของพม่าเมื่อปี 2491 ชื่อหลายชื่อของถนนและสวนสาธารณะที่เป็นแบบอาณานิคมถูกเปลี่ยนให้มีความเป็นชาตินิยมพม่ามากขึ้น ในปี 2532 รัฐบาลทหารพม่าได้เปลี่ยนชื่อเมืองในภาษาอังกฤษเป็น Yangon (เดิม Rangoon) พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมายในการทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยชื่อพม่า(การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวพม่าจำนวนมากซึ่งคิดว่ารัฐบาลทหารไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ สำนักข่าวหลายสำนัก รวมไปถึงสื่อที่มีชื่อเสียงอย่าง บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ(สำนักข่าวบีบีซี) สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ)

นับตั้งแต่ได้รับเอกราชย่างกุ้งมีการขยายตัวออกไปมาก รัฐบาลได้สร้างเมืองขึ้นมาโดยรอบ เช่นในทศวรรษที่ 1950 สร้างย่านธาเกตา (Thaketa) ออกกะลาปาเหนือ (North Okkalapa) ออกกะลาปาใต้ (South Okkalapa) จนถึงทศวรรษที่ 1980 เกิดย่าน แลงตะยะ (Hlaingthaya) ชเวปีตา (Shwepyitha) และดากอนใต้ (South Dagon) ทำให้ทุกวันนี้มหานครย่างกุ้งครอบคลุมพื้นที่เกือบ 600 ตารางกิโลเมตร (230 ตารางไมล์)

ในช่วงการปกครองแบบลัทธิโดดเดี่ยวโดยนายพลเน วิน (2505-2531) โครงสร้างพื้นฐานของย่างกุ้งเสื่อมโทรมมากเนื่องจากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ดีและไม่รองรับกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ช่วงทศวรรษที่ 1990 รัฐบาลทหารมีนโยบายเปิดตลาดมากขึ้นเพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและนอกประเทศซึ่งช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองมีความทันสมัยขึ้นตามสมควร ผู้อยู่อาศัยในเมืองชั้นในถูกขับให้ไปอยู่ยังบริเวณรอบนอกเมืองใหม่ อาคารหลายอาคารในยุคอาณานิคมถูกทำลายเพื่อเปิดทางให้กับโรงแรมสูงระฟ้า อาคารสำนักงานและห้างสรรพสินค้า


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301