ยุทธการเคิสก์ เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครเคิสก์ (Kursk) ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ค.ศ. 1943 ยุทธการเคิสก์เป็นทั้งชุดของการสงครามยานเกราะที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงยุทธการโปรโฮรอฟกา และการสงครามทางอากาศวันเดียวราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยุทธการนี้นับเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีที่สามารถดำเนินการได้ในทางตะวันออก ชัยชนะเด็ดขาดของโซเวียตที่เป็นผลให้กองทัพแดงมีการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในช่วงที่เหลือของสงคราม
ฝ่ายเยอรมนีหวังจะย่นแนวรบของตนโดยกำจัดส่วนที่ยื่นออกมาที่เคิสก์ ซึ่งเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ในยุทธการสตาลินกราด คีมตามที่คิดไว้ล่วงหน้าเจาะผ่านปีกด้านเหนือและใต้เพื่อบรรลุการล้อมกำลังกองทัพแดงใหญ่ อย่างไรก็ดี ฝ่ายโซเวียตมีข่าวกรองเจตนาของกองทัพเยอรมัน ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับความล่าช้าของเยอรมนีที่ต้องรออาวุธใหม่ ส่วนใหญ่คือ รถถังไทเกอร์และแพนเธอร์ ทำให้กองทัพแดงมีเวลาสร้างแนวป้องกันเป็นชุดและเก็บกำลังหนุนขนาดใหญ่เพื่อการตีโต้ตอบทางยุทธศาสตร์
โดยได้รับแจ้งล่วงหน้าหลายเดือนว่าการโจมตีจะเกิดแก่คอของส่วนที่ยื่นออกมาที่เคิสก์ ฝ่ายโซเวียตวางแผนที่จะชะลอ หันเห ตลอดจนทำให้หัวหอกแพนเซอร์อันทรงพลังของเยอรมนีอ่อนกำลังและค่อย ๆ ยอมจำนน โดยบีบให้พวกเขาโจมตีผ่านเครือข่ายเขตทุ่นระเบิด เขตยิงปืนใหญ่มองเห็นล่วงหน้า (pre-sighted artillery fire zone) และที่มั่นแข็งแรงต่อสู้รถถังที่อำพรางไว้ ประกอบด้วยแนวป้องกันมีพื้นที่ว่างแปดแนว ลึก 250 กิโลเมตร ซึ่งลึกกว่า 10 เท่าของแนวมากีโน และมีปืนใหญ่ต่อสู้รถถังกว่าอัตรา 1:1 ของยานพาหนะที่จะเข้าตี ซึ่งเชื่อมต่อถึงกันอย่างกว้างขวาง จนถึงปัจจุบันยังเป็นงานการป้องกันที่กว้างขวางที่สุดที่เคยก่อสร้างมา และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีความลึกเกินกว่าสามเท่าของความลึกที่จำเป็นชะลอขอบเขตไกลที่สุดของการโจมตีฝ่ายเยอรมัน
เมื่อกองทัพเยอรมันหมดกำลังไปกับการป้องกัน ฝ่ายโซเวียตก็สนองด้วยการตีโต้ตอบ ซึ่งทำให้กองทัพแดงยึดโอเรลและเบลโกรอดคืนได้เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม และฮาร์คอฟเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม และผลักดันฝ่ายเยอรมันกลับไปข้ามแนวรบอันกว้างใหญ่
แม้กองทัพแดงจะเคยประสบความสำเร็จในฤดูหนาว แต่ชัยชนะครั้งนี้นับเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ในฤดูร้อนของโซเวียตที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในสงคราม ปฏบัติการยุทธศาสตร์อันเป็นต้นแบบนี้ได้บรรจุในหลักสูตรวิทยาลัยการทัพ ยุทธการเคิสก์เป็นยุทธการครั้งแรกซึ่งการรุกบลิทซครีกประสบความล้มเหลวก่อนที่จะสามารถเจาะผ่านการป้องกันของข้าศึกและเข้าไปในความลึกเชิงยุทธศาสตร์ (strategic depth)
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>