ยุทธการทะเลสาบคาซาน (อังกฤษ: Battle of Lake Khasan) หรือ เหตุการณ์ชางกูเฟิง (จีนและญี่ปุ่น: ?????, พินอิน: Zh?ngg?f?ng Sh?ji?n, การออกเสียงแบบญี่ปุ่น: Ch?koh? Jiken) ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่าง แมนจูกัว ซึ่งเป็นดินแดนยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกล้ำอาณาเขตเข้าไปยังดินแดนของสหภาพโซเวียต การรุกล้ำอาณาเขตดังกล่าวนั้นเกิดจากความเชื่อของฝ่ายญี่ปุ่นที่ว่าสหภาพโซเวียตตีความตามสนธิสัญญาปักกิ่งผิดไป ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ได้รับการลงนามมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิรัสเซีย และประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงแล้ว และนอกเหนือจากนั้น เครื่องหมายกั้นอาณาเขตของทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีความแน่นอน
เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ได้เกิดความขัดแย้งตามแนวชายแดนระหว่างรัสเซีย ญี่ปุ่นและจีน ตามดินแดนซึ่งในปัจจุบันเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทางรถไฟสายจีนตะวันออก (อังกฤษ: CER, Chinese Eastern Railway) เป็นทางรถไฟที่เชื่อมระหว่างแมนจูเรียและภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย และทางรถไฟที่แยกไปทางทิศใต้ของทางรถไฟสายจีนตะวันออกนั้น หรือที่เรียกกันว่า ทางรถไฟสายแมนจูเรียใต้ ได้กลายมาเป็นจุดสำคัญที่นำไปสู่สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และต่อมาได้นำไปสู่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ความขัดแย้งที่ได้ขยายออกไปนั้น อย่างเช่น ความขัดแย้งจีน-โซเวียต (1929) และกรณีมุกเดน ในปี ค.ศ. 1931
เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1938 เมื่อผู้ช่วยทูตญี่ปุ่นในกรุงมอสโก ต้องการให้ฝ่ายโซเวียตถอนกำลังทหารตามแนวชายแดนออกไปจากพื้นที่เบซีมยานนายา (รัสเซีย: ?????? ??????????, จีน: Shachaofeng) และเนินเขาซาโอซยอร์นายา (รัสเซีย: ?????? ?????????, จีน: Changkufeng) ทางตะวันตกของทะเลสาบคาซาน ทางตอนใต้ของไปรมอร์สกี้ ไคร ไม่ไกลจากเมืองวลาดิวอสตอก และให้เปลี่ยนไปยึดเอาแนวชายแดนโซเวียต-เกาหลีเป็นหลัก แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการปฏิเสธ
กองทัพญี่ปุ่นโจมตีครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม แต่ก็ถูกตีโต้กลับมา แต่ในวันที่ 31 กรกฎาคม กองทัพโซเวียตจำเป็นต้องล่าถอย กองพลที่ 19 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังแมนจูกัวบางส่วนสามารถเอาชนะเหล่าทหารไรเฟิลที่ 39 ภายใต้การบังคับบัญชาของ G. Shtern (ซึ่งอาจประกอบด้วย กองพลไรเฟิลที่ 32 ที่ 39 และที่ 40 และกองพลน้อยยานยนต์ที่ 2) หนึ่งในผู้บัญชาการของกองทัพญี่ปุ่นในการรบ คือ พันเอกโคโตกุ ซาโต ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 75 กองกำลังของเขาสามารถขับไล่กองทัพโซเวียตลงจากเนินเขาได้จากการโจมตียามกลางคืน
นอกจากนั้น ยังมีรายงานอีกว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้นำรถถังขนาดเบาและรถถังขนาดกลางเข้ามาทำการรบด้วย ส่วนทางฝ่ายโซเวียตก็ได้มีการตอบโต้ด้วยรถถังและปืนใหญ่เช่นกัน ในปี ค.ศ. 1933 ฝ่ายญี่ปุ่นได้มีการออกแบบและก่อสร้างรถไฟหุ้มเกราะพิเศษ (Rinji Soko Ressha) ซึ่งได้บรรจุอยู่ในหน่วยรถไฟหุ้มเกราะที่ 2 ในแมนจูเรีย และมีส่วนร่วมในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และในยุทธการทะเลสาบคาซาน และสนับสนุนการทำการรบโดยส่งกองกำลังหนุนในแก่แนวหน้า
ภายใต้การบังคับบัญชาของ Vasily Blyukher จอมพลแห่งแนวตะวันออกไกล ซึ่งได้เรียกกำลังหนุนเข้าสู่พื้นที่ และหลังจากการรบหลายครั้งระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม กองทัพโซเวียตก็สามารถขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกไปจากดินแดนโซเวียตได้สำเร็จ
ในวันที่ 10 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อเรียกร้องสันติภาพ และการรบสิ้นสุดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม
ฝ่ายญี่ปุ่น ทหารญี่ปุ่นได้รับบทเรียนอันใหญ่หลวง แต่ก็ยังมีความต้องการที่จะโจมตีสหภาพโซเวียตอีกครั้ง ในยุทธการที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม คือ ยุทธการขาลขิน กอล ในสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1939
ส่วนทางฝ่ายโซเวียต ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นหลายครั้งทำให้ Vasily Blyukher ได้รับการประณามว่าไร้ความสามารถเพียงพอ เขาถูกจับกุมตัวโดย NKVD และถูกประหารชีวิต