ยุทธการตูร์ หรือ ยุทธการปัวติเยร์ (อังกฤษ: Battle of Tours หรือ Battle of Poitiers, อาหรับ: ????? ???? ???????? (ma‘arakat Bal?? ash-Shuhad?’) ยุทธการแห่งราชสำนักผู้พลีชีพ) (10 ตุลาคม ค.ศ. 732) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นในบริเวณเมืองปัวติเยร์ และ ตูร์ ใกล้กับหมู่บ้าน Moussais-la-Bataille ราวยี่สิบกิโลเมตรทางตอนเหนือของปัวติเยร์ สมรภูมิของการสู้รบอยู่ติดกับเขตแดนระหว่างจักรวรรดิแฟรงค์และอากีแตน ยุทธการตูร์เป็นยุทธการระหว่างกองทัพแฟรงค์และเบอร์กันดี ภายใต้การนำของออสตราเซียชาร์ลส์ มาร์เตลฝ่ายหนึ่ง และกองทัพของจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่นำโดยอับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีข้าหลวงใหญ่แห่งอัล-อันดะลุสอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายแฟรงค์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีเสียชีวิตในสนามรบ ชาร์ลส์ มาร์เตลขยายอำนาจลงมาทางใต้ นักบันทึกพงศาวดารของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ตีความหมายของชัยชนะว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบนที่เข้าข้างชาร์ลส์ และตั้งสมญานามให้ชาร์ลส์ว่า “Martellus” หรือ “ค้อน” ที่อาจจะมาจากสมญาว่า “The Hammerer” ของจูดาส แม็คคาเบียส (Judas Maccabeus) ใน การปฏิวัติแม็คคาบี (Maccabean revolt) เมื่อชาวยิวปฏิวัติต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิเซลูซิด (Seleucid empire) รายละเอียดของการสงครามที่รวมทั้งจุดที่ต่อสู้แต่ตัวเลขของผู้เข้าร่วมไม่เป็นที่ทราบแน่นอนจากหลักฐานที่ยังเหลืออยู่ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือฝ่ายแฟรงค์ได้รับชัยชนะโดยไม่มีกองทหารม้า
นักประวัติศาสตร์คริสเตียนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรรเสริญชาร์ลส์ว่าเป็นวีรบุรุษของคริสเตียนและกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงความขัดแย้งต่อต้านอิสลาม การต่อสู้พิทักษ์คริสต์ศาสนาให้เป็นศาสนาของยุโรป นักประวัติศาสตร์ทางการทหารสมัยใหม่วิคเตอร์ เดวิส แฮนสันกล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เช่นกิบบอนมีความเห็นว่ายุทธการปัวติเยร์เป็นยุทธการสำคัญที่เป็นจุดที่แสดงอำนาจอันสูงสุดของมุสลิมที่คืบเข้ามาในยุโรป”เลโอโพลด์ ฟอน รังเคอ (Leopold von Ranke) มีความเห็นว่า “ปัวติเยร์เป็นจุดของความหันเหของสมัยที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก”
นักประวัติศาสตร์มีความเห็นขัดแย้งกันถึงความสำคัญของยุทธการครั้งนี้ ข้อที่ไม่เป็นที่ตกลงกันคือข้อที่ว่าสงครามครั้งนี้เป็นการยุติการคืบเข้ามาของมุสลิมในยุโรป แต่ที่เห็นพ้องกันคือยุทธการเป็นสิ่งที่ช่วยในการวางรากฐานของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงและอิทธิพลของแฟรงค์ในยุโรปต่อมาอีกร้อยปี นอกจากนั้นก็เห็นพ้องกันว่า “การวางอำนาจของแฟรงค์ในยุโรปตะวันตกเป็นการวางรูปทรงของอนาคตของทวีป และยุทธการตูร์ช่วยสนับสนุนการวางอำนาจนั้น”