ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ยุคมุโระมะชิ

ยุคมุโระมะชิ (ญี่ปุ่น: ???? Muromachi-jidai ?) ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น

ค.ศ. 1331 จักรพรรดิโกะ-ไดโงทรงก่อการกบฏยึดอำนาจจากรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะโอะกิ (??( Oki )?) โดยที่มีพระโอรสคือเจ้าชายโมะรินะงะ (????( Morinaga-shinn? )?) และคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ (????( Kusunoki Masashige )?) ยังคงทำสงครามเพื่อล้มการปกครองของตระกูลโฮโจอันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคะมะกุระต่อไป เรียกว่า สงครามปีเก็งโก (????( Genk? no ran )?) ฝ่ายซะมุไรทั้งหลายไม่พอใจการปกครองเผด็จการของตระกูลโฮโจจึงมาเข้ากับฝ่ายจักรพรรดิเรื่อยๆ จนกระทั่งในค.ศ. 1333 องค์จักรพรรดิเสด็จหลบหนีจากเกาะโอะกิมาได้ ทางรัฐบาลโชกุนได้ส่งอะชิกะงะ ทะกะอุจิ (????( Ashikaga Takauji )?) มาเพื่อต่อสู้กับทัพฝ่ายพระจักรพรรดิ แต่ทว่าทะกะอุจิได้แปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายจักรพรรดิ นำทัพเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ และนิตตะ โยะชิซะดะ (????( Nitta Yoshisada )?) สามารถเข้ายึดเมืองคะมะกุระได้ เป็นอวสานแห่งตระกูลโฮโจและรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ

จักรพรรดิโกะ-ไดโงทรงจัดตั้งการปกครองขึ้นที่เมืองเกียวโตเรียกว่า ชินเซ (??( Shinzei )?) หรือการปกครองโดยจักรพรรดิโดยตรง เรียกว่า การฟื้นฟูเค็มมุ (Kemmu Restoration) ทำให้เหล่าซะมุไรไม่พอใจที่อำนาจการปกครองญี่ปุ่นจะไปตกอยู่แก่ขุนนางและราชสำนักอีกครั้ง ในค.ศ. 1334 อะชิกะงะ ทะดะโยะชิ (????( Ashikaga Tadayoshi )?) ผู้เป็นน้องชายของทะกะอุจิ ได้ลักลอบนำเจ้าชายนะรินะงะ (????( Narinaga-shinn? )?) พระโอรสอีกองค์ในจักรพรรดิโกะ-ไดโง ไปทางตะวันออกไปยังเมืองคะมะกุระและจัดตั้งการปกครองขึ้นที่นั่น เพื่อแสดงให้เห็นว่าชนชั้นซะมุไรยังคงต้องการรัฐบาลโชกุน จักรพรรดิโกะ-ไดโงจึงทรงตอบโต้โดยแต่งตั้งให้เจ้าชายโมะรินะงะพระโอรสเป็นเซอิไทโชกุน (?????( Seii Taish?gun )?) ฝ่ายทะกะอุจิจึงสร้างข้อกล่าวหาว่าเจ้าชายโชกุนโมะรินะงะทรงก่อการกบฏต่อพระบิดา จึงทำการจับองค์ชายโมะรินะงะไปกุมขังไว้ที่เมืองคะมะกุระ ในค.ศ. 1335 โฮโจ โทะกิยุกิ (????( H?j? Tokiyuki )?) บุตรชายของชิกเก็งโฮโจ ทะกะโตะกิ (????( H?j? Takatoki )?) ก่อกบฏเพื่อคืนอำนาจให้แก่ตระกูลโฮโจ ยกทัพขับทะดะโยะชิออกจากคะมะกุระ ก่อนที่จะหลบหนีออกจากเมืองทะดะโยะชิได้สำเร็จโทษปลงพระชนม์เจ้าชายโมะรินะงะก่อน ทะกะอุจิจึงยกทัพมาจากเมืองเกียวโตสามารถปราบกบฏของตระกูลโฮโจได้สำเร็จ โทะกิยุกิหลบหนีจากคะมะกุระไป

ฝ่ายจักรพรรดิโกะ-ไดโงทรงฉวยโอกาสนี้ส่งนิตตะ โยะชิซะดะ ยกทัพจากเกียวโตมาทำการปราบทะกะอุจิแต่พบกับความพ่ายแพ้ ทะกะอุจิจึงยกทัพกลับไปทางตะวันตกเพื่อเข้ายึดเมืองเกียวโตแต่พ่ายแพ้ต่อคุซุโนะกิ มะซะชิเงะ และคิตะบะตะเกะ อะกิอิเอะ (????( Kitabatake Akiie )?) ขุนพลซะมุไรผู้ภักดีต่อฝ่ายราชสำนัก ทะกะอุจิหลบหนีไปยังเกาะคีวชู แต่ไม่นานก็สามารถรวบรวมกำลังพลจากคีวชู ยกทัพเข้าบุกยึดเมืองเกียวโตในยุทธการมินะโตะงะวะ (?????( Minatogawa-no-tatakai )?) ในค.ศ. 1336 คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ กระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต เมื่อทัพของทะกะอุจิเข้ายึดเมืองเกียวโต ตั้งจักรพรรดิโคเมียวขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ของพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ จักรพรรดิโกะ-ไดโงพร้อมทั้งขุนพลซะมุไรเช่น นิตตะ โยะชิซะดะ และคิตะบะตะเกะ อะกิอิเอะ หลบหนีไปทางใต้และตั้งราชสำนักขึ้นใหม่ที่เมืองโยะชิโนะ (??( Yoshino )?) เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ สิ้นสุดการปกครองของจักรพรรดิในสมัยการฟื้นฟูเค็มมุ และเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (???( Nanboku-ch? )?) อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเซอิไทโชกุนเมื่อค.ศ. 1338 เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลโชกุนมุโระมะชิ

โชกุนอะชิกะงะ ทะกะอุจิ ปกครองญี่ปุ่นร่วมกับอะชิกะงะ ทะดะโยะชิ ผู้เป็นน้องชาย อยู่เป็นเวลาประมาณยี่สิบปี โดยโชกุนทะกะอุจิดูแลเรื่องการทหารในขณะที่ทะดะโยะชิดูแลเรื่องการปกครอง จนกระทั่งในค.ศ. 1350 เกิดความขัดแย้งระหว่างทะดะโยะชิกับสองพี่น้องตระกูลโค ซึ่งเป็นขุนพลคนสนิทซึ่งโชกุนทะกะอุจิให้ความไว้วางใจ ได้แก่ โค โนะ โมะโระนะโอะ (???( K? no Moronao )?) และ โค โนะ โมะโระยะซุ (???( K? no Moroyasu )?) โชกุนทะกะอุจิได้แต่งตั้งให้โมะโระนะโอะเป็นชิซึจิ (??( Shitsuji )?) หรือผู้แทนโชกุน สร้างความไม่พอใจแก่ทะดะโยะชิ ซึ่งได้วางแผนลอบสังหารโมะโระนะโอะแต่ไม่สำเร็จ โชกุนทะกะอุจิทราบเรื่องจึงโกรธน้องชายของตนเองมาก ขับไล่ทะดะโยะชิออกจากบะกุฟุ โดยให้บุตรชายของตนคือ อะชิกะงะ โยะชิอะกิระ (????( Ashikaga Yoshiakira )?) เข้ามาดูและเรื่องการปกครองแทน ทะดะโยะชิออกบวชเป็นพระภิกษุได้หนึ่งปีจนในค.ศ. 1351 จึงเข้าสวามิภักดิ์กับพระราชวงศ์ฝ่ายใต้ที่เมืองโยะชิโนะ ซึ่งในขณะนั้นมีจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิทรงปกครองอยู่ เรียกว่า สงครามปีคันโน (?????( Kann? no sh?ran )?) ทะดะโยะชิยกทัพของฝ่ายใต้เข้าบุกยึดเมืองเกียวโต สังหารสองพี่น้องตระกูลโคในที่รบ และเข้ายึดอำนาจการปกครองอีกครั้ง ทะดะโยะชิมีความหวาดระแวงที่จะอยู่ในเมืองเกียวโตร่วมกับโชกุนทะกะอุจิพี่ชายและโยะชิอะกิระหลานชาย จึงย้ายไปจัดตั้งการปกครองขึ้นที่เมืองคะมะกุระในค.ศ. 1351 แต่ทว่าทะดะโยะชิถูกวางยาพิษเสียชีวิตในปีต่อมาค.ศ. 1352

ฝ่ายราชสำนักฝ่ายใต้นำโดยจักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ ทรงเห็นว่าทางฝ่ายตระกูลอะชิกะงะกำลังอ่อนแอจากความขัดแย้งภายในตระกูล ทัพฝ่ายใต้นำโดยคุซุโนะกิ มะซะโนะริ (????( Kusunoki Masanori )?) ได้ยกทัพมาจากเมืองโยะชิโนะเข้ายึดเมืองเกียวโตได้สำเร็จในค.ศ. 1352 ทำให้โยะชิอะกิระต้องหลบหนีออกจากเมือง แต่หลังจากนั้นเพียงหนึ่งเดือนโยะชิอะกิระก็สามารถยึดเกียวโตคืนจากฝ่ายใต้ได้

อิคคิว โซจุนเดิมเป็นพระราชโอรสของพระจักรพรรดิโกโคะมะสึ ต่อมาเมื่ออะชิคะงะ โยชิมิสึได้ปราบปรามราชวงศ์ใต้ของพระจักรพรรดิลง พระราชมารดาได้ส่งอิ๊คคิวซัง (นามนี้เป็นฉายาไม่ทราบชื่อจริง) ในวัย 10 ขวบไปบวชที่วัดอังโคะคุจิอิคคิวซังนั้นเป็นเณรที่ฉลาดมาก สามารถตอบปัญหาเอาชนะโชกุนโยชิมิสึ ผู้ตรวจการนินะงะวะ ชินเอม่อน, คิเคียวยะซัง และ ยะโยะยิ สองพ่อลูกจอมเจ้าเล่ห์ ต่อมาเมื่ออิ๊คคิวอายุมากขึ้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งและมรณภาพเมื่ออายุประมาณ 80 ปีเรื่องราวของเขาชาวญี่ปุ่นยังเล่าสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และเรื่องของอิ๊คคิวซังได้ถูกนำไปสร้างเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเมื่อ 30-40 ปีก่อนใช้ชื่อว่า "อิ๊คคิวซัง..เณรน้อยเจ้าปัญญา"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944