ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ยุคคะมะกุระ

ยุคคะมะกุระ (ญี่ปุ่น: ???? Kamakura-jidai ?) หรือ อ่านแบบไทย คะมะกุระ ตรงกับปีค.ศ. 1185-ค.ศ. 1333 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะกุระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร โยริโตโมะแห่งตระกูลมินาโมโต้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคะมะกุระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง ในยุคคะมะกุระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของกุบไลข่านในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1274 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1281 แต่กองทัพมองโกลเข้าโจมตีญี่ปุ่นไม่สำเร็จเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยกองทัพมองโกลได้รุกรานสู่ญี่ปุ่นโดยเข้าโจมตีภาคเหนือของเกาะคีวชู กองทัพทหารได้ทำการต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ประกอบกับภัยธรรมชาติเป็นส่วนช่วยเหลือ ญี่ปุ่นจึงรอดพ้นจากอันตรายมาได้ แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมอำนาจในการควบคุมชนชั้นนักรบของรัฐบาลทหารสงครามครั้งนี้ได้สร้างความอ่อนแอให้กับรัฐบาลทหารคะมะกุระอย่างมากส่วนความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนั้น

วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยมีวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองเป็นรากฐาน แต่ยังคงเอกลักษณ์ของชนชั้นนักรบไว้ อันได้แก่ ความมีพลวัตร และการสะท้อน ความเป็นจริงอย่างเรียบง่าย ในด้านศาสนา พุทธศาสนาแบบคะมะคุระก็ได้กำเนิดขึ้นโดยพระเถระผู้มีชื่อเสียง อย่าง โฮเน็น (Hounen) ชินรัน (Shinran) และนิฉิเรน (Nichiren) เป็นต้น นักรบฝั่งที่ราบคันโตจะนับถือศาสนาเซนอันได้รับการถ่ายทอดจากจีนแผ่นดินซ้องในศตวรรษที่ 12 เป็นหลัก รูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ อย่างเช่น ปฏิมากรรมสมัยคะมะคุระตอนต้นนั้น จะมีลายเส้นที่หนักแน่นมีพลังเหมือนของจริง และแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ วรรณศิลป์ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ชนชั้นนักรบนิยม เช่น “เฮเคะ โมะโนะงะตะริ (Heike Monogatari) ” ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 13 เป็นผลงานที่ดีที่สุดในจำนวนนิยายเกี่ยวกับการสู้รบ และก็ยังมีหนังสือรวบรวมบทเรียงความเรื่อง “โฮโจกิ (Houjouki) ” ซึ่งแต่งในศตวรรษที่ 13 และ “สึเระซุเระงุซะ (Tsurezuregusa) ” ซึ่งแต่งในศตวรรษที่ 14

ในช่วงปลายยุคเฮอังราชสำนักญี่ปุ่นเมืองเกียวโตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของตระกูลไทระซึ่งมีผู้นำคือไทระ โนะ คิโยะโมะริ ในค.ศ. 1180 เจ้าชายโมะชิฮิโตะได้ออกประกาศรณรงค์สงครามให้ซะมุไรตระกูลเซวะเง็นจิ (????( Seiwa Genji )?) หรือตระกูลมินะโมะโตะที่ยังคงหลงเหลืออยู่ทั่วญี่ปุ่น ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองตระกูลไทระ เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเก็มเป (????( Genpei kassen )?) มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ (???( Minamoto no Yoritomo )?) ด้วยความช่วยเหลือของโฮโจ โทะกิมะซะ (????( H?j? Tokimasa )?) ตั้งตนเป็นใหญ่ในภูมิภาคคันโตทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่น โดยมีฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองคะมะกุระ (??( Kamakura )?) ในขณะเดียวกันในภาคตะวันตกมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ สามารถเอาชนะตระกูลไทระได้ในยุทธนาวีดังโนะอุระ (Dan-no-ura( ??? )?) ในค.ศ. 1185 ทำให้ตระกูลไทระต้องพบกับจุดจบลงและอำนาจในการปกครองย้ายมาอยู่ที่โยะริโตะโมะ ในค.ศ. 1189 โยะริโตะโมะทำสงครามโอชู (????( ?sh?-kassen )?) ต่อสู้กับตระกูลฟุจิวะระแห่งโอชูจนสามารถผนวกภูมิภาคโทโฮะกุเข้ามาในการปกครองได้ในที่สุด ในค.ศ. 1192 โยะริโตะโมะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเซอิไทโชกุน (?????( Seii Taish?gun )?)

สมัยคะมะคุระเป็นสมัยแรกที่นักรบหรือซะมุไร (?( samurai )?) ขึ้นมากลายเป็นชนชั้นปกครองแทนที่พระจักรพรรดิและนักปราชญ์ที่เป็นพลเรือนดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง มีผู้นำของการปกครองคือโชกุนซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองคะมะกุระ หรือเรียกว่า คะมะกุระ-โดะโนะ (???( Kamakura-dono )?) มีอำนาจเสมอเหมือนเป็นเจ้าผู้ปกครองญี่ปุ่นแทนที่พระจักรพรรดิ สถานที่จัดการปกครองไม่มีความหรูหราเช่นเกียวโตทำให้ศูนย์การปกครองที่คะมะคุระถูกเรียกว่า รัฐบาลเต็นต์ หรือ บะกุฟุ (??( bakufu )?) มีสภาขุนนางซึ่งมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มันโดะโกะโระ (??( Mandokoro )?) สงครามทำให้ชนชั้นนักรบได้เข้าครอบครองที่ดินต่างๆซึ่งแต่ก่อนเป็นของราชสำนักเกียวโต เป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นสมัยศักดินา โดยนักรบที่เป็นนายจะแบ่งที่ดินให้แก่ข้ารับใช้ของตนตามระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) โดยที่ซะมุไรผู้ถือครองที่ดินเรียกว่า จิโต (??( Jit? )?) ในขณะที่บะกุฟุแต่งตั้งซะมุไรไปปกครองแว่นแคว้นเรียกว่า ชูโง (??( Shug? )?) ทับซ้อนกับระบอบเจ้าผู้ปกครองแคว้นเดิมที่ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโต

เมื่อโยะริโมะโตะเสียชีวิตในค.ศ. 1199 มินะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ (???( Minamoto no Yoriie )?) บุตรชายของโยะริโตะโมะสืบทอดตำแหน่งผู้นำตระกูลเซวะเง็นจิต่อมา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนในค.ศ. 1202 แต่ทว่าบรรดาซะมุไรข้ารับใช้เก่าของโยะริโตะโมะต่างเห็นพ้องต้องกันว่าโยะริอิเอะไม่มีความสามารถในการปกครอง จึงจัดตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนขึ้นในค.ศ. 1200 ประกอบด้วยซะมุไรจำนวนสิบสามคนเพื่อทำหน้าปกครองบะกุฟุแทนโยะริอิเอะ ตระกูลทางฝ่ายมารดาของโยะริอิเอะ คือ ตระกูลโฮโจ (??( H?j? )?) นำโดยโฮโจ โทะกิมะซะ ผู้ซึ่งเป็นตาของโยะริอิเอะ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำมันโดะโกะโระเป็นผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนเรียกว่า ชิกเก็ง (??( Shikken )?) และโฮโจ มะซะโกะ (????( H?j? Masako )?) มารดาของโยะริอิเอะ ได้ขึ้นมามีอำนาจเหนือบะกุฟุ โดยที่โชกุนเป็นเพียงหุ่นเชิด ตระกูลโฮโจได้ดำเนินการกำจัดคู่แข่งทางการเมืองต่างๆทำให้สามารถขึ้นมีมีอำนาจเหนือบะกุฟุได้ในที่สุด โชกุนโยะริอิเอะมีความเอนเอียงไปทางตระกูลฮิกิ (??( Hiki )?) ซึ่งเป็นตระกูลฝ่ายภรรยาของโยะริอิเอะ นำโดยฮิกิ โยะชิกะซุ (????( Hiki Yoshikazu )?) ในค.ศ. 1203 ตระกูลโฮโจได้เข้าทำการกวาดล้างตระกูลฮิกิอย่างรุนแรงและโหดเหี้ยม และทำการปลดโยะริอิเอะออกจากตำแหน่งโชกุนแล้วเนรเทศไปยังแคว้นอิซุ ตั้งน้องชายของโยะริอิเอะคือ มินะโมะโตะ โนะ ซะเนะโตะโมะ (???( Minamoto no Sanetomo )?) เป็นโชกุนคนต่อมา โทะกิมะซะส่งคนไปทำการลอบสังหารโยะริอิเอะในปีต่อมาค.ศ. 1204

ตระกูลโฮโจยังคงดำเนินการกำจัดคู่แข่งต่อไป เช่น ฮะตะเกะยะมะ ชิเงะตะดะ (????( Hatakeyama Shigetada )?) ในค.ศ. 1205 และตระกูลวะดะ (??( Wada )?) ในค.ศ. 1213 ในค.ศ. 1205 โทะกิมะซะได้สมคบคิดกับภรรยาคนใหม่ของตนคือนางมะกิ (???( Maki no kata )?) วางแผนลอบสังหารโชกุนซะเนะโตะโมะเพื่อยกฮิระงะ โทะโมะมะซะ (????( Hiraga Tomomasa )?) ผู้เป็นบุตรเขยของตนขึ้นเป็นโชกุนแทน ทำให้มะซะโกะบุตรสาวและโฮโจ โยะชิโตะกิ (????( H?j? Yoshitoki )?) บุตรชายผู้สืบทอดตำแหน่งของตนไม่พอใจ จึงเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากบิดาของตน บังคับให้โทะกิมะซะปลงผมบวชเป็นพระภิกษุแล้วเนรเทศไปยังแคว้นอิซุ โยะชิโตะกิจึงได้เป็นชิกเก็นต่อจากบิดา เมื่อโชกุนซะเนะโตะโมะไม่มีทายาท นางมะซะโกะจึงเดินทางไปยังเมืองเกียวโตเข้าเฝ้าอดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะในค.ศ. 1219 เพื่อทูลขอเจ้าชายมาดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน แต่กลับได้คุโจ โยะริซึเนะ (????( Kuj? Yoritsune )?) บุตรชายของคัมปะกุอายุเพียงหนึ่งปีมาเป็นทายาทโชกุน ในปีเดียวกันนั้นเองโชกุนซะเนะโตะโมะถูกลอบสังหารโดยภิกษุคุเงียว (??( Kugy? )?) ซึ่งเป็นบุตรชายของอดีตโชกุนโยะริอิเอะ ทำให้ตระกูลเซวะเง็นจิที่ดำรงตำแหน่งโชกุนต้องสิ้นสุดลง

รัฐบาลโชกุนคะมะกุระมีอำนาจเต็มอยู่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันทางภาคตะวันตกนั้นราชสำนักเกียวโตยังคงมีอำนาจอยู่ เมื่อทางบะกุฟุเกิดเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจหลายครั้ง ราชสำนักเกียวโตนำโดยอดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะจึงทรงฉวยโอกาสแข็งข้อต่อต้านการครอบงำของบะกุฟุคะมะกุระ โดยทรงปฏิเสธที่จะทำการแต่งตั้งโชกุนคนใหม่ ในค.ศ. 1221 อดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะมีพระราชโองการประกาศให้ชิกเก็งโยะชิโตะกิเป็นอาชญากร และจัดเตรียมกองทัพเพื่อป้องกันเมืองเกียวโต นำไปสู่สงครามโจคิว (????( j?ky? no ran )?) ฝ่ายโยะชิโตะกิได้ส่งโฮโจ ยะซุโตะกิ (????( H?j? Yasutoki )?) ผู้เป็นบุตรชาย และโฮโจ โทะกิฟุซะ (????( H?j? Tokifusa )?) ผู้เป็นน้องชาย ยกทัพไปทางตะวันตกและสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในเวลาิันรวดเร็ว อดีตจักรพรรดิโกะโทะบะรวมทั้งองค์จักรพรรดิพระโอรสและพระนัดดาต่างทรงถูกเนรเทศ นับแต่นั้นมาราชสำนักเกียวโตก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของบะกุฟุอย่างแท้จริง มีการก่อตั้ง โระกุฮะระ ทังได (?????( Rokuhara Tandai )?) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของบะกุฟุตั้งอยู่ที่เขตโระกุฮะระในเมืองเกียวโต เพื่อคอยควบคุมดุแลราชสำนัก โดยมีโฮโจ ยะสุโตะกิและโทะกิฟุสะเป็นโระกุฮะระทังไดสองคนแรก

ชิกเก็งโยะชิโตะกิถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1226 และนางมะซะโกะเสียชีวิตในค.ศ. 1227 โฮโจ ยะซุโตะกิ สืบทอดตำแหน่งชิกเก็งจากโยะชิโตะกิบิดาของตนในค.ศ. 1226 และมีการแต่งตั้งคุโจ โยะริซึเนะ ให้เป็นโชกุนในปีเดียวกัน ชิกเก็งยะสุโตะกิแต่งตั้งโทะกิฟุสะผู้เป็นอาให้ดำรงตำแหน่งเป็น เร็งโช (??( rensho )?) หรือรองผู้สำเร็จราชการเป็นคนแรก ในสมัยของชิกเก็งยะสุโตะกิมีการวางรากฐานการปกครองของคะมะกุระ โดยมีการจัดตั้งเฮียวโจชู (???( Hy?j?sh? )?) ไว้เป็นสภาที่คอยอนุมัติเห็นชอบนโยบายของชิกเก็ง และในค.ศ. 1232 มีการออกกฎหมาย โกะเซไบ ชิโมะกุ (?????( Goseibai Shimoku )?) หรือ กฎหมายปีโจเอ เป็นกฎหมายของชนชั้นซะมุไรฉบับแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สมัยของชิกเก็งยะสุโตะกิถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองและสงบสุขทีุ่สุดของรัฐบาลคะมะกุระ

ชิกเก็งยะสุโตะกิถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1242 โฮโจ ซึเนะโตะกิ (????( H?j? Tsunetoki )?) ผู้เป็นหลานชายสืบทอดตำแหน่งต่อมา แต่ทว่าโชกุนคุโจโยะริซึเนะได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และต้องการที่จะมีอำนาจในการปกครอง ในค.ศ. 1244 ชิกเก็งซึเนะโตะกิจึงทำการปลดโชกุนโยะริซึเนะออกจากตำแหน่ง และให้บุตรชายคือคุโจ โยะริซึงุ (????( Kuj? Yoritsugu )?) ขึ้นเป็นโชกุนแทน แม้กระนั้นอดีตโชกุนโยะริซึเนะยังคงมีอำนาจเหนือโชกุนอายุน้อยที่เป็นบุตรชายของตน และวางแผนก่อการยึดอำนาจจากตระกูลโฮโจด้วยการสนับสนุนจากตระกูลมิอุระ (??( Miura )?) ซึ่งเป็นตระกูลคู่แข่งที่สำคัญของตระกูลโฮโจ ชิกเก็งซึเนะโตะกิถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1246 โฮโจ โทะกิโยะริ (????( H?j? Tokiyori )?) ผู้เป็นน้องชายสืบทอดตำแหน่งชิกเก็งต่อมา มีการค้นพบแผนการยึดอำนาจของอดีตโชกุนโยะริซึเนะ ในการที่จะสนับสนุนให้ นะโงะเอะ มิซึโตะกิ (????( Nagoe Mitsutoki )?) ญาติห่างๆของโทะกิโยะริขึ้นเป็นชิกเก็งแทน ด้วยความช่วยเหลือของตระกูลมิอุระ นำโดย มิอุระ ยะซุมุระ (????( Miura Yasumura )?) ชิกเก็งโทะกิโยะริจึงเนรเทศอดีตโชกุนโยะริซึเนะให้กลับไปเมืองเกียวโต เรียกเหตุการณ์ในปีค.ศ. 1246นี้ว่า มิยะ-โซโด (???( Miya-s?d? )?)

และด้วยการยุยงของอะดะชิ โยะชิกะเงะ (????( Adachi Yoshikage )?) ชิกเก็งโทะกิโยะริตัดสินใจทำสงครามกวาดล้างตระกูลมิอุระในค.ศ. 1247 เรียกว่า สงครามโฮจิ (????( H?ji no ran )?) เป็นผลให้ตระกูลมิอุระถูกกวาดล้างและชิกเก็งตระกูลโฮโจปราศจากคู่แข่งมีอำนาจล้นเหลือจนเรียกได้ว่าเป็นเผด็จการ ในค.ศ. 1252 ชิกเก็งโทะกิโยะริตัดสินใจที่จะปลดโชกุนโยะริซึงุออกจากตำแหน่ง แล้วโทะกิโยะริจึงเดินทางเพื่อส่งอดีตโชกุนกลับไปยังเมืองเกียงโต พร้อมกันนั้นได้ทูลขอเจ้าชายจากราชสำนักเกียวโตมาเพื่อเป็นโชกุนคนใหม่ จักรพรรดิโกะ-ซะงะจึงประทานพระโอรสคือเจ้าชายมุเนะตะกะ (????( Munetaka-shinn? )?) เสด็จมายังเมืองคะมะกุระเพื่อดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน นับแต่นั้นมาโชกุนคะมะกุระจึงเป็นเจ้าชายจากเกียวโต

ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบสามจักรวรรดิมองโกลกำลังเรืองอำนาจทั่วเอเชีย ได้เข้าปกครองจีนตอนเหนือ ในค.ศ. 1259 อาณาจักรโครยอ (Goryeo) ของเกาหลีตกเป็นประเทศราชของราชวงศ์หยวน (Yuan) ซึ่งมีฮ่องเต้คือกุบไลข่าน (Kublai Khan) กุบไลข่านมีความทะเยอทะยานต้องการที่จะเข้ายึดญี่ปุ่นเป็นประเทศราช แต่ชาวมองโกลไม่มีความรู้ในด้านการรบทางทะเลต้องอาศัยความช่วยเหลือและทรัพยากรของอาณาจักรโครยอ ในค.ศ. 1268 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตผ่านพระเจ้าชุงยอลแห่งโครยอมายังญี่ปุ่นโดยลงจอดที่เกาะคีวชูเพื่อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมสยบเป็นประเทศราชของจักรวรรดิมองโกลโดยสันติวิธี แต่ทางบะกุฟุนำโดยชิกเก็งโฮโจ โทะกิมุเนะ (????( H?j? Tokimune )?) บุตรของชิกเก็งโทะกิโยะริ และอะดะชิ ยะซุโมะริ (????( Adachi Yasumori )?) ตัดสินใจที่จะเพิกเฉยต่อสาสน์ของกุบไลข่าน กุบไลข่านยังคงส่งทูตผ่านทางเกาหลีมาอีกในค.ศ. 1271 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเคย เมื่อถูกคุกคามจากจักรวรรดิมองโกล ในค.ศ. 1272 ญี่ปุ่นภายใต้การนำของชิกเก็งโทะกิมุเนะจึงมีการปรับโครงสร้างการปกครองใหม่และกวาดล้างผู้ที่ต่อต้านอำนาจของโทะกิมุเนะซึ่งนำโดย นะโงะเอะ โทะกิอะกิ (????( Nagoe Tokiaki )?) และโฮโจ โทะกิซุเกะ (????( H?j? Tokisuke )?) ผู้เป็นพี่ชายของโทะกิมุเนะ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า นิงะสึ-โซโด (????( Nigatsu-s?d? )?)

ในค.ศ. 1274 กุบไลข่านจึงตระเตียมกำลังพลผสมระหว่างมองโกลและเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น นำโดยฮินตู (Hintu) ขุนพลฝ่ายมองโกล ฮงดากู (Hong Dagu) ขุนพลชาวเกาหลี ยกทัพเรือข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าวฮะกะตะ (??( Hakata )?) บนเกาะคีวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ (????( Bunei no eki )?) ฝ่ายญี่ปุ่นมีโชนิ ซุเกะโยะชิ (????( Sh?ni Sukeyoshi )?) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นชินเซ บุเงียว (????( Chinzei Bugy? )?) หรือผู้ปกครองเกาะคีวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าห้ำหั่นแต่ไม่สามารถทัดทานทัพผสมมองโกล-เกาหลีได้ จนกระทั่งมีลมพายุพัดเข้าอ่านฮะกะตะทำลายเรือของทัพมองโกลลงไปมาก ทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนีกลับไป ชาวญี่ปุ่นจึงยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ (??( Kamikaze )?) หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน

แม้กระนั้นกุบไลข่านก็ยังไม่ลดละ ในค.ศ. 1275 กุบไลข่านส่งทูตมีอีกครั้งโดยไม่ผ่านเกาหลี แต่คณะทูตมองโกลถูกจับกุมไปยังเมืองคะมะกุระและถูกสังหาร ชิกเก็งโทะกิมุเนะเกรงว่าพวกมองโกลจะยกมาอีกจึงให้มีการเตรียมการรองรับการรุกรานของมองโกลไว้พร้อม หลังจากที่พิชิตราชวงศ์ซ่งใต้ได้แล้ว มองโกลจึงส่งทูตมาญี่ปุ่นอีกครั้งในค.ศ. 1279 แต่ชาวญี่ปุ่นได้สังหารคณะทูตมองโลกทันทีที่ขึ้นฝั่งอ่าวฮะกะตะ ในค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเืรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง (????( Keian no eki )?) โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ และทัพเรือของราชวงศ์ซ่งใต้ขนาดมหึมา ฝ่ายมองโกลวางแผนให้ทัพเรือซ่งใต้มาสมทบกับทัพเรือเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรือจีนเกิดความล่าช้ามาสมทบไม่ทัน ทัพเรือเกาหลีจึงเข้าโจมตีแต่ฝ่ายญี่ปุ่นเตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ ลมพายุคะมิกะเซะพัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยกลับไป

โทะกิมุเนะถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1284 โฮโจ ซะดะโตะกิ (????( H?j? Sadatoki )?) ผู้เป็นบุตรชายจึงสืบทอดตำแหน่งชิกเก็งต่อมา แต่การปกครองบะกุฟุนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของอะดะชิ ยะซุโมะริ ผู้เป็นตาของซะดะโตะกิ จนกระทั่งเกิดข่าวลือว่ายะซุโมะริหมายจะยกบุตรชายของตนเองขึ้นเป็นโชกุน ซะดะโตะกิจึงมอบหมายให้ข้ารับใช้คนสนิทคือ ไทระ โนะ โยะริซึนะ (???( Taira no Yoritsuna )?) นำทัพเข้าโจมตีกวาดล้างตระกูลอะดะชิ ในเหตุการณ์เรียกว่า ชิโมะซึกิ-โซโด (????( Shimotsuki-s?d? )?) ยะซุโมะริกระทำเซ็ปปุกุ ทำให้ตระกูลอะดะชิสูญสิ้นไป ไทระ โนะ โยะริซึเนะ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น มิอุชิบิโตะ (???( Miuchi-bito )?) หรือหัวหน้าคนรับใช้ประจำตระกูลโฮโจ ขึ้นมามีอำนาจแทนจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในค.ศ. 1293 เกิดข่าวลืออีกครั้งว่าโยะริซึเนะจะยกบุตรชายของตนขึ้นเป็นโชกุนอีกเช่นกัน ชิกเก็งซะดะโตะกิจึงส่งกำลังพลไปทำการสังหารโยะรึซึนะไปเสีย และขึ้นมามีอำนาจปกครองบะกุฟุด้วยตนเอง การปกครองของชิกเก็งซะดะโตะกิถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของบะกุฟุคะมะกุระเนื่องจากชิกเก็งมีความอ่อนแอและอำนาจจึงตกแก่ข้ารับใช้คนสนิทของชิกเก็ง

ในค.ศ. 1303 ซะดะโตะกิสละตำแหน่งชิกเก็งให้แก่บุตรชายของตนคือ โฮโจ ทะกะโตะกิ (????( H?j? Takatoki )?) อายุเพียงแปดปี อำนาจการปกครองจึงตกแก่อะดะชิ โทะกิอะกิ (????( Adachi Tokiaki )?) มิอุชิบิโตะ นะงะซะกิ เอ็งกิ (????( Nagazaki Enki )?) และนะงะซะกิ ทะกะซุเกะ (????( Nagazaki Takasuke )?) บุตรชายของเอ็งกิ ในค.ศ. 1324 เกิดข่าวลือว่าจักรพรรดิโกะ-ไดโงทรงวางแผนที่จะโค่นล้มรัฐบาลบะกุฟุ มีการลงโทษประหารชีวิตขุนนางที่เมืองเกียวโต แม้ว่าองค์จักรพรรดิจะทรงปฏิเสธแต่บะกุฟุยังคอยจับจ้ององค์จักรพรรดิอยู่เสมอ

ต่อมาในค.ศ. 1331 แผนการโค่นล้มบะกุฟุของจักรพรรดิโกะ-ไดโงถูกเปิดเผยอีกครั้ง องค์จักรพรรดิจึงเสด็จลี้ภัยไปยังคะซะงิยะมะ (???( Kasagiyama )?) ใกล้กับเมืองเกียวโตแต่บะกุฟุสามารถเข้าบุกจับกุมองค์จักรพรรดิได้และเนรเทศองค์จักรพรรดิไปยังเกาะโอะกิ (??( Oki )?) แต่ขุนพลซะมุไรฝ่ายจักรพรรดินำโดย คุซุโนะกิ มะซะชิเงะ (????( Kusunoki Masashige )?) ยังคงทำสงครามต่อต้านตระกูลโฮโจต่อไป เรียกว่า สงครามปีเก็งโก (????( Genk? no ran )?) จนกระทั่งในค.ศ. 1333 องค์จักรพรรดิเสด็จหลบหนีจากเกาะโอะกิมาได้ ทำให้ขุนพลฝ่ายบะกุฟุคือ อะชิกะงะ ทะกะอุจิ (????( Ashikaga Takauji )?) แปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายองค์พระจักรพรรดิ นำทัพเข้ายึดเมืองเกียวโตได้สำเร็จ และนิตตะ โยะชิซะดะ (????( Nitta Yoshisada )?) สามารถเข้ายึดเมืองคะมะกุระได้ โฮโจ ทะกะโตะกิ นำสมาชิกตระกูลโฮโจและขุนนางในบะกุฟุร่วมหลายร้อยชีวิตกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปเพื่อหนีความพ่ายแพ้ เป็นอวสานแห่งตระกูลโฮโจและรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ นำไปสู่การฟื้นฟูเค็มมุ (Kemmu Restoration)

- ค.ศ. 1192 โยริโตโมะ มินะโมะโตะ ได้รับตำแหน่งโชกุน เป็นจุดเริ่มของการก่อตั้งรัฐบาลคะมะกุระ บะกุฟุ

- ค.ศ. 1203 ซาเนโตโมะ มินะโมะโตะ ขึ้นเป็นโชกุนรุ่นที่สาม โดยมี โทกิมาสะ โฮโจ เป็นผู้สำเร็จราชการโชกุนคนแรกของคะมะกุระ และได้สร้างอำนาจบารมีให้กับตระกูลโฮโจ

- ค.ศ. 1221 เกิดจลาจลโจคิว เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโกโตบะ อดีตจักรพรรดิ ที่ต้องการทำให้ราชสำนักกลับมามีอำนาจเช่นในอดีต ได้ประกาศว่าผู้แทนโชกุนโยชิโตกิ โฮโจ เป็นกบฏ เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศลุกขึ้นต่อต้าน โยชิโตกิ จึงได้ส่งกองทัพใหญ่จากคะมะกุระไปปราบทัพของจักรพรรดิโกะโทะเบะ และเข้ายึดเมืองเคียวโตะ

- ค.ศ. 1232 โฮโจ ยะซุโตะกิ ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายโจเอ กฎหมายฉบับนี้ได้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีราชสำนักเป็นศูนย์กลางมาเป็นสังคมที่มีทหารเป็นหลัก และเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นเพื่อชนชั้นนักรบโดยเฉพาะ

- ค.ศ. 1268 มีการอัญเชิญพระราชสาส์นจากจักรพรรดิกุบไลข่าน แห่งราชวงศ์หยวน (มองโกเลีย) มายังญี่ปุ่น แจ้งช้อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นส่งบรรณาการให้แก่จีน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

- ค.ศ. 1274 กองทหารโคไรแห่งราชวงศ์หยวน ยกทัพมาตีทางตอนเหนือของคีวชู นักรบคีวชูสามารถต่อต้านการบุกได้อย่างหวุดหวิด พอดีกับเกิดพายุใหญ่ที่เรียกว่า “คามิคาเซะ” (ลมศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งได้ทำลายกองทัพเรือของพวกมองโกล จึงได้ถอยทัพกลับไป และต่อมาในปี 1281 มองโกลได้ยกทัพมาอีกครั้ง หวังจะปราบญี่ปุ่นให้ราบคาบ แต่ก็ได้เกิดพายุใหญ่อีกครั้ง ทำให้แผนการบุกญี่ปุ่นต้องล้มเหลว

- ค.ศ. 1331 หัวหน้ากลุ่มกองโจรที่จงรักภัคดีต่อราชบัลลังก์ คุสึโนกิ มะซะชิเกะ ส่งทหารไปล้มล้างรัฐบาลโชกุนที่อากาสาเกะ เขตคะวะชิ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

- ค.ศ. 1333 รัฐบาลโชกุน ส่งแม่ทัพจากเขตตะวันออก ทะกะอุชิ อาชิกางะ ไปปราบกลุ่มของจักรพรรดิโกะไดโงะ ในเขตตะวันตก แต่ ทะกะอุชิ กลับตัดสินใจประกาศสนับสนุนพระเจ้าโกะไดโงะ และยกทัพเข้ามาตีรัฐบาลโชกุนที่เกียวโต ขณะที่ ผู้นำทางเขตตะวันออกอีกคนหนึ่ง โยชิซาดะ นิตตะ ก็ได้แข็งข้อยกกำลังเข้ามาทำลายที่ทำการของตระกูลโฮโจ ที่คะมะกุระ เป็นผลให้[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระก็ถึงกาลล่มสลาย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301