ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ยาฮู

ยาฮู! (Yahoo! Inc.) (แนสแด็ก: YHOO) คือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบไปด้วยเว็บท่า, เสิร์ชเอนจิน, Yahoo! Directory, Yahoo! Mail, Yahoo! News, Yahoo! Photos (ซึ่งในวันที่ 20 กันยายน ปี 2550 ได้โอนไปรวมเข้ากับ Flickr), ฯลฯ ยาฮู! ก่อตั้งขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาเอกสองคนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจอร์รี่ หยาง (Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล (David Filo) ในเดือนมกราคมปี 1994 และเริ่มดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปี 1995 ปัจจุบัน ยาฮู! มีบริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซันนีเวล รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

อ้างอิงสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ (รวมถึงอเล็กซ่า และเน็ตคราฟต์) ยาฮู! ยังคงเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยจำนวนผู้ใช้ 412 ล้านคน เครือข่ายของยาฮู! ทั่วโลกมีเพจวิวโดยเฉลี่ยกว่า 3.4 พันล้านหน้าต่อวัน[ต้องการอ้างอิง] (อัปเดตเมื่อเดือนตุลาคม 2005) ปัจจุบันยาฮู! เปิดให้บริการในประเทศไทยด้วยและเริ่มเปิดตัวในประเทศไทยด้วย หรือ Yahoo! Answers ในภาคภาษาไทย

ที่มาที่ไปของ Yahoo! เริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคมปี 1994 คู่หูนักศึกษาสแตนฟอร์ดสองคน เจอร์รี่ หยางและเดวิด ไฟโล ได้สร้างเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "Jerry's Guide to the World Wide Web" (ไกด์แนะนำท่องเวิร์ลไวด์เว็บของเจอร์รี่) Jerry's Guide to the World Wide เป็นเว็บไซต์ประเภทเว็บไดเร็คทอรี่ที่รวบรวมเว็บลิงก์ที่น่าสนใจ เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนสำหรับการค้นหา

เดือนเมษายน ปี 1994 "Jerry's Guide to the World Wide Web" ก็เปลี่ยนชื่อเป็น "Yahoo!" โดยไฟโลและหยางกล่าวว่า พวกเขาตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า ยาฮู! เพราะพวกเขาชอบความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม Gulliver's Travels โดย Jonathan Swift: ว่า “หยาบคาย, ตรงไปตรงมา, แปลก” และ Yahoo! ยังมีชื่อเต็มว่า "Yet Another Hierarchical Officious Oracle" ซึ่งในขณะนั้นใช้ URL ว่า akebono.stanford.edu/yahoo

ปลายปี 1994 ยาฮู! ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นด้วยยอดการใช้งาน 1 ล้านฮิต จนทั้งสองคนเริ่มคิดว่าเว็บไซต์ที่พวกเขาทำกันสนุก ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจได้ และในวันที่ 1 มีนาคม ปี 1995 ยาฮู! ก็จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท และเมื่อวันที่ 12 เมษายน ปี 1996 ยาฮู! ก็ปล่อย IPO (initial public offering) หรือเปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่า $33.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยขายหุ้นจำนวน 2.6 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 13 ดอลลาร์สหรัฐ

ในครั้งนั้น "ยาฮู" ได้เคยเป็นชื่อตราสินค้าของซอสบาร์บีคิว โดยบริษัท EBSCO อินดัสตรี้ และเรือแคนนูของบริษัท Old Town Canoe Co. ดังนั้นในการที่จะได้ชื่อตราสินค้านี้มา หยางกับไฟโลจึงต้องเติมเครื่องหมายอัศเจรีย์ไว้ท้ายชื่อว่า “ยาฮู!” อย่างไรก็ตามเครื่องหมายอัศเจรีย์นี้มักจะถูกละเลยไปเมื่อมีการพูดถึงยาฮู

ในปี 1997-1999 คล้ายกับเว็บเสิร์ชเอนจิน และเว็บไดเร็คทอรี่หลาย ๆ แห่ง ยาฮู! ได้ขยายคอนเซ็ปต์ตัวเองเป็นเว็บท่า ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ยาฮู! (Yahoo!) , เอ็มเอสเอ็น (MSN) , ไลคอส (Lycos) , เอ็กไซต์ (Excite) และเว็บท่าอื่น ๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว เว็บท่าเหล่านี้ได้ควบซื้อกิจการของบริษัทอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ หลายต่อหลายบริษัทเพื่อขยายขอบข่ายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อทำให้นักท่องอินเทอร์เน็ตใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์ของตนมากขึ้น

ในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1997 ยาฮู! ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท โฟร์ อีเลฟเว่น (Four11) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่ชื่อว่า ร็อกเก็ตเมล (Rocketmail) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! Mail นอกจากนี้ยังได้ซื้อกิจการของ ClassicGames.com และเปลี่ยนชื่อเป็น Yahoo! Games จากนั้นก็เข้าซื้อกิจการของบริษัทการตลาดแบบตรง (Yoyodyne Entertainment) Inc. ในวันที่ 12 ตุลาคม ปี 1998 และจากนั้นไม่นานเมื่อ 28 มกราคม 1999 ยาฮู! ก็เข้าซื้อกิจการของผู้ให้บริการโฮสติ้งชื่อดัง จีโอซิตี้ (GeoCities) และยังซื้อบริษัท อีกรุ๊ปส์ (eGroups) ซึ่งยาฮู! ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริการว่า Yahoo! Groups หลังจากวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2000 นอกจากนี้ ยาฮู! ยังได้เปิดตัวบริการ Yahoo! Messenger ในวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 1999.

3 มกราคม ปี 2000 ท่ามกลางกระแสดอตคอมบูมสูงสุด ราคาหุ้นของยาฮู! ขึ้นไปสูงสุดที่ 475 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อหุ้น และ 16 วันหลังจากนั้นราคาหุ้นในยาฮู! ญี่ปุ่นสูงเกิน 101.4 ล้านเยน (962,140 ดอลลาร์สหรัฐ ณ เวลานั้น) ในช่วงนั้นยังมีกระแสข่าวจากสำนักข่าว CNBC รายงานเพิ่มเติมอีกว่ายาฮู! กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกิจการกับอีเบย์แบบ 50/50 ถึงแม้ว่าดีลนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่ทั้งสองบริษัทก็ได้ผสานความร่วมมือทางธุรกิจโดยเฉพาะในด้านการตลาดและโฆษณาใน 6 ปีต่อมาในปี 2006

จากนั้นในช่วงปี 2000 ก็เป็นปีเดียวกับที่กระแสฟองสบู่ดอตคอมแตก Yahoo! เริ่มนำเอาเสิร์ชเอนจินของ Google มาใช้ในเว็บไซต์ จน Google ได้ลูกค้าจาก Yahoo! ไปมากมาย จนวันหนึ่ง เทอร์รี่ ซีเมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขณะนั้นก็ตัดสินใจว่า Yahoo! ควรจะสร้างเทคโนโลยีเสิร์ชเอนจินของตัวเอง และเริ่มนำมาใช้ในปี 2004 และปรับบริการอีเมล Yahoo! Mail เพื่อสู้กับ Gmail ของ Google ในปี 2007 แต่จากนั้นแม้ว่าจะมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากมาย สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทก็ยังอยู่ในขั้นทรงตัว

เดือนกุมภาพันธ์ 2008 Microsoft Corporation ได้ประกาศจะเข้าซื้อกิจการของ Yahoo! เป็นเงิน 44.6 พันล้านเหรียญ แต่ Yahoo! ได้ปฏิเสธอย่างนิ่มนวลว่าเป็นการตีราคา Yahoo! ที่ต่ำเกินไปมาก ซึ่งคงไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นพอใจนัก สามปีถัดมามูลค่าหุ้นของ Yahoo! อยู่ที่ 22.24 พันล้านเหรียญ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ แครอล บาร์ซ เข้ามาแทนที่ผู้ร่วมก่อตั้ง Jerry Yang ในมกราคม 2009 ในเดือนกันยายน 2011 เธอออกจาก Yahoo! โดยประธานบอร์ด Roy Bostock และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน Tim Morse ได้รับหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารชั่วคราว

ต้นปี 2012 หลังจากค้นหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ Yahoo! ก็ได้ Scott Thompson มีข่าวการปลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อประหยัดเงินไปราว 375 ล้านเหรียญในปีนั้น และกำลังเร่งปรับโครงสร้างองค์กรอย่างเร่งรีบ แต่ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ทาง Yahoo! ได้ออกมาให้ข่าวว่า Thompson ไม่ได้อยู่กับบริษัทอีกต่อไปแล้ว

เดือนกรกฎาคม 2012 Yahoo! ก็ได้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ "มาริสสา เมเยอร์" อดีตผู้บริหารจาก Google มาทำหน้าที่พลิกฟื้นบริษัท


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301