ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ยอดเขาเอเวอร์เรสต์

ยอดเขาเอเวอเรสต์ (อังกฤษ: Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: ??????? หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (????) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)

ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)

คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว

เมื่อปี ค.ศ. 1952 รัฐนาถ สิกดาร์ (Radhanath Sikdar) นักคณิตศาสตร์และนักสำรวจจากเบงกอล (Bengal) เป็นคนแรกที่ประกาศว่าเอเวอเรสต์คือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จากการคำนวณทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยข้อมูลที่วัดด้วยกล้องส่องแนว (theodolite) ในที่ที่ไกลจากยอดเขาไป 150 ไมล์ ณ ประเทศอินเดีย

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ทางการจีนได้ส่งคณะเดินทางสำรวจไปที่ยอดเขา เพื่อคำนวณความสูงของยอดเขา ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สำนักงานสำรวจและทำแผนที่แห่งชาติจีน ได้ทำการวัดครั้งล่าสุด พบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูง 8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต 2 นิ้ว) และอาจมีการคลาดเคลื่อนจากการวัดเล็กน้อย

ในปี ค.ศ. 1956 ยอดเขาเอเวอเรสต์วัดความสูงได้ 29,002 ฟุต ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 การวัดทำได้แม่นยำขึ้น และให้ความสูง 29,028 ฟุต หรือ 8,848 เมตร ซึ่งตัวเลขนี้ถือเป็นความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ใช้อ้างถึงโดยทั่วไป และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเนปาล อย่างไรก็ดี จากการติดตั้งเครื่องมือที่ยอดเขาของทีมสำรวจสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1999 และทำการวัดความสูงด้วยจีพีเอส (Global Positioning System) แล้ว พบว่าความสูงที่แท้จริงของยอดเขาเอเวอเรสต์ในขณะนั้นคือ 29,035 ฟุต หรือ 8,850 เมตร ทั้งนี้ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาใหม่ที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่แสนปี จึงยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละไม่กี่เซนติเมตร เนื่องจากการที่แผ่นเปลือกโลก (Tectonic plate) ยังคงชนกันอยู่

ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเมื่อวัดจากระดับน้ำทะเล แต่ก็ยังกล่าวได้ไม่เต็มปากเต็มคำนักว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เนื่องจากมีอีกสองยอดเขาที่ดูจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ เมื่อใช้เกณฑ์การวัดที่ต่างกัน ยอดเขาแรกคือ ยอดเขาเมานาโลอา (Mauna Loa) ในหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งถ้าวัดความสูงจากฐานที่จมอยู่ในทะเลแล้วจะพบว่ายอดเขานี้สูงกว่า 9 กิโลเมตร เลยทีเดียว แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาเมานาโลอาจะสูงเพียง 13,680 ฟุต หรือ 4,170 เมตรเท่านั้น อีกยอดเขาหนึ่งคือ ยอดเขาชิมโบราโซ (Mount Chimborazo) ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ถ้าวัดจากจุดศูนย์กลางโลกแล้วจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ 2,150 เมตร ทั้งนี้เพราะโลกมีลักษณะป่องตรงกลาง แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาชิมโบราโซมีความสูง 6,272 เมตร

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปีนเขาว่ามัลลอรีและเออร์ไวน์ได้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์แล้วหรือไม่ นักปีนเขาส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่ามัลลอรีและเออร์ไวน์ได้ไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าทั้งคู่ได้ไปถึงหินขั้นที่สอง (การไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์จากทางด้านเหนือต้องผ่านหินสามขั้น) แต่นักปีนเขาทั้งหลายเชื่อว่าถ้าทั้งคู่ผ่านตรงนี้ไปได้ การไปถึงยอดเขาก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก เพราะไม่มีอุปสรรคใหญ่ใดๆ อีกแล้ว

ในระยะแรก การเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาใช้เส้นทางด้านเหนือจากดินแดนจีนทิเบต แต่เส้นทางนี้ได้ปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1950 หลังจากประเทศจีนเข้ายึดครองทิเบต ในขณะที่ประเทศเนปาล ได้เริ่มเปิดประเทศให้คนภายนอกเดินทางเข้าประเทศได้ในปี ค.ศ. 1949

ข่าวความสำเร็จของคณะเดินทางไปถึงลอนดอน ในเช้าวันที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2ขึ้นครองราชย์ และหลังจากที่ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี และ จอห์น ฮันต์ กลับมายังกาฐมัณฑุ ทั้งสองก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวิน เพื่อเป็นเกียรติแก่ความพยายามและความสำเร็จในครั้งนี้

แม้ยอดเขาเอเวอเรสต์จะถูกพิชิตลงได้อย่างเป็นทางการ แต่มนต์ขลังของยอดเขาแห่งนี้ก็ใช่ว่าจะหมดไป นักปีนเขาทั้งหลายทั่วทุกสารทิศจากทุกมุมโลกต่างก็อยากพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ให้ได้ซักครั้งในชีวิต นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 เป็นต้นมา ความพยายามในการขึ้นไปสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ครั้งสำคัญๆ มีดังนี้

ในปีเดียวกันนั้นเองที่ เดวิด เบรเชียร์ส นักปีนเขาและนักถ่ายทำภาพยนตร์ (filmmaker) ได้ถ่ายทำภาพยนตร์ไอแมกซ์ที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยคณะถ่ายทำของเบรเชียร์สอยู่ที่นั่นหลายสัปดาห์และมีโอกาสพบผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ 10 พฤษภาคม รวมถึงซากศพของร็อบ ฮอลล์ นอกจากนี้ คณะของเบรเชียร์สยังมี จัมลิง เทนซิง นอร์เกย์ (Jamling Tenzing Norgay) ซึ่งเป็นลูกชายของ เทนซิง นอร์เกย์ และสามารถพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้พร้อมคณะของเบรเชียร์ส เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อ

เมื่อจบฤดูกาลปีนเขาปี ค.ศ. 2001 มีผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้แล้วทั้งหมด 1491 คน และมีผู้เสียชีวิตจากการปีนเขาทั้งหมด 172 คน กล่าวได้ว่าที่ยอดเขาเอเวอเรสต์แห่งนี้เป็นที่ที่มีทั้งชีวิตและความตาย ความสำเร็จและความล้มเหลว อย่างไรก็ตาม ยอดเขาเอเวอเรสต์ก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ท้าทายนักปีนเขาต่อไป

คนไทยที่สามารถพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์สำเร็จเป็นคนแรกคือ วิทิตนันท์ โรจนพานิช ซึ่งสามารถพิชิตยอดเขาได้เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นเนปาล ร่วมกับนักปีนเขาชาวเวียดนาม 3 คนจากรายการเรียลลิตี้โชว์ "Conquering Mount Everest 2008" ของสถานีโทรทัศน์วีทีวี ประเทศเวียดนาม (ได้แก่ Phan Thanh Nhien, Bui Van Neogi, Nguyen Mau Linh)

ก่อนปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ชาวเนปาลจะเพื่อจัดพิธีบวงสรวงเทพยดาแห่งขุนเขา ซึ่งเป็นการขอขมาและบูชาเทพธิดา "สักการะมาถา" ซึ่งเป็นชื่อของยอดเขาเอเวอเรสต์ แปลว่า พระแม่ผู้เป็นเจ้า

เอเชีย: เอเวอเรสต์  •  อเมริกาใต้: อากอนกากวา  •  อเมริกาเหนือ: เดนาลี  •  แอฟริกา: คิลิมันจาโร  •  ยุโรป: เอลบรุส / มงบล็อง  • แอนตาร์กติกา: วินสันแมสซิฟ  •  โอเชียเนีย: ปุนจักจายา / คอสซีอัสโก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406