เพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีชื่อว่า มาร์ชทหารอาสา (จีนตัวย่อ: ??????; จีนตัวเต็ม: ??????; พินอิน: Y?y?ngj?n J?nx?ngq? อ่านว่า "อี่หย่งจินจิ้นสิงชวี"; อังกฤษ: March of the Volunteers) เดิมเป็นบทเพลงปลุกใจซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดยเถียน ฮั่น ทำนองโดยเนี้ย เอ่อร์ เมื่อ พ.ศ. 2479 แต่ครั้งสมัยที่จีนแผ่นดินยังปกครองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง ขณะนั้นการเมืองภายในจีนกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก จากการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่างๆ และเผชิญหน้ากับการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถปฏิวัติและสถาปนารัฐจีนใหม่สำเร็จใน พ.ศ. 2492 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้เพลงมาร์ชทหารอาสาเป็นเพลงชาติตลอดมา แม้ว่าในสมัยหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงนี้ก็ตาม แต่เนื้อร้องเดิมก็ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ภายหลังรัฐบาลจีนจึงนำเนื้อร้องเดิมที่เถึยนฮั่นประพันธ์ไว้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งตราบจนทุกวันนี้
เพลงมาร์ชทหารอาสาประพันธ์ขึ้นโดยเถียน ฮั่น เมื่อปี พ.ศ. 2477 ซึ่งขณะนั้นประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง เพื่อใช้เป็นเพลงประกอบบทละครเรื่องหนึ่งที่เขากำลังแต่งอยู่ในขณะนั้น เรื่องเล่าที่กล่าวขานกันทั่วไปนั้น กล่าวกันว่า เขาได้เขียนบทเพลงนี้ลงบนกดระดาษห่อใบยาสูบ หลังจากที่เขาถูกฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งจับกุมที่เมืองเซี่ยงไฮ้และจำคุกด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2478 ระหว่างนั้นเนี้ย เอ่อร์ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกับเถียนฮั่น ได้อ่านเนื้อเพลงดังกล่าวแล้วเกิดความฮึกเหิมในเนื้อหาของเพลง จึงได้แต่งทำนองประกอบเพลงที่เถียนฮั่นแต่งไว้ และสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็ว ผลงานชิ้นนี้ต่อมาถือเป็นผลงานประพันธ์ชิ้นสุดท้ายของเนี้ย เอ่อร์
ต่อมาเพลงมาร์ชทหารอาสาได้ถูกนำไปใช้ประกอบในภาพยนตร์ปลุกใจเรื่อง "Sons and Daughters in a Time of Storm" ("????") ซึ่งออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยมีการดัดแปลงเพลงบ้างเล็กน้อย ซึ่งเนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวถึงปัญญาชนจีนคนหนึ่งที่เดินทางออกจากเมืองเซี่ยงไฮ้เพื่อไปรบในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เพลงนี้จึงเป็นหนึ่งในหลายบทเพลงที่โด่งดังอย่างลับๆ ในหมู่ประชาชนที่ต่อต้านญี่ปุ่น และมีการบันทึกลงแผ่นเสียงโดยห้างแผ่นเสียงปาเต๊ะ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอีเอ็มไอในปีเดียวกัน
เพลงมาร์ชทหารอาสาได้เริ่มใช้ในฐานะเพลงชาติจีนอย่างไม่เป็นทางการ ในการประชุมนานาชาติที่กรุงปราก เชโกสโลวาเกีย เมื่อปี พ.ศ. 2492 ซึ่งขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนเพิ่งจะชนะสงครามกลางเมือง และได้ปกครองประเทศจีนส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด ในเดือนมิถุนายนของปีนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้น เพื่อสรรหาเพลงชาติ ธงชาติ และตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะได้สถาปนาอย่างเป็นทางการขึ้นในเวลาอันใกล้ คณะทำงานดังกล่าวได้ประกาศสรรหาเพลงชาติในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ภายในประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากเหมา เจ๋อตง และเติ้ง เสี่ยวผิง สองผู้นำระดับสูงของพรรคในเวลานั้น ซึ่งผลตอบรับออกมาได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่ง
ถึงปลายเดือนสิงหาคม คณะทำงานสามารถรวบรวมเนื้อเพลงที่ส่งมาจากทั่วประเทศได้มากถึง 350 ชิ้น แต่ยังไม่ได้เนื้อเพลงที่เหมาะสม จึงต้องขอเวลาทำการรวบรวมเนื้อเพลงเพิ่มเติมอีกครั้ง กระทั่งปลายเดือนกันยายน จึงรวบรวบผลงานได้ทั้งสิ้น 632 ชิ้น จึงได้มีการเปิดประชุมเรื่องธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติจีนขึ้น เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2492 ในที่ประชุมนั้น หม่า ซี่ว์หลุน ได้เสนอให้เลือกเพลงมาร์ชทหารอาสาเป็นเพลงชาติ โดยได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วนท้นจากคณะกรรมการในที่ประชุมจำนวนมาก เนื่องจากเพลงบทนี้ มีใจความช่วงหนึ่งที่เขียนว่า "ถึงเวลาอันเป็นวิกฤตยิ่งของชนชาวจีนแล้ว” (????????????) ซึ่งทุกคนมีความเห็นว่าเป็นประโยคที่สะท้อนถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี และเพลงนี้ก็แพร่หลายในต่างประเทศในฐานะเพลงปลุกใจชาวจีนทั้งในและต่างประเทศอยู่แล้ว
เหมา เจ๋อตง และโจว เอินไหล ยอมรับเหตุผลของที่ประชุมดังกล่าว พร้อมเสริมว่า แม้ขณะนี้ศึกในประเทศจะสงบแล้ว แต่ก็ยังต้องเผชิญกับศัตรูนอกประเทศอีก ซึ่งเพลงชาติควรทำหน้าที่สะท้อนถึงพลังและจิตวิญญาณของประชาชนในประเทศ และเนื้อเพลงเดิมก็ให้ความรู้สึกถึงความฮึกเหิม ไม่กลัวที่จะบุกไปข้างหน้าอยู่แล้ว จึงเห็นชอบใช้เนื้อเพลงเดิม ที่ประชุมจึงมีมติใช้เพลงมาร์ชทหารอาสาเป็นเพลงชาติจีนในวันนั้น โดยผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการจากมติสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของประเทศในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 และบรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492
ในระหว่างยุคปฏิวัติวัฒนธรรม เถียน ฮั่น ถูกจำคุกจนเสียชีวิต เนื่องจากถูก "แก๊งสี่คน" ป้ายสีว่าเป็นฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติวัฒนธรรม เพลงมาร์ชทหารอาสาจึงถูกห้ามขับร้อง และเพลง "ตงฟางหง" หรือ "บูรพาแดง" (The East Is Red) ซึ่งมีเนื้อหาเชิดชูการปฏิวัติของเหมา เจ่อตง ได้แพร่หลายจนกลายเป็นเพลงชาติจีนอย่างไม่เป็นทางการในยุคนั้น ทั้งนี้ เพลงมาร์ชทหารอาสาได้มีการบรรเลงเพียงครั้งเดียวในงานวันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2512
เพลงมาร์ชทหารอาสาได้รับการฟื้นฟูฐานะอีกครั้งโดยสภาประชาชนแห่งชาติได้กำหนดเนื้อร้องฉบับใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 2521 อย่างไรก็ตาม เนื้อร้องฉบับใหม่นี้ไม่ได้รับความนิยมและสร้างความสับสนอย่างใหญ่หลวง ตัวอย่างเช่น ในประโยคสุดท้ายของเพลงที่ว่า "???????,??! ("ชูธงเหมา เจ๋อตง รุกเข้า!") ซึ่งมีความหมายถึงการสืบทอดความคิดของเหมา เจ๋อตง เป็นต้น
เมื่อประเทศจีนชนะการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับโลกในปี พ.ศ. 2524 ได้ปรากฏว่าผู้ชมชาวจีนได้ขับร้องเพลงมาร์ชทหารอาสาทั้งในเนื้อร้องเดิมและเนื้อร้องใหม่ ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525 สภาประชาชนแห่งชาติจึงได้ผ่านการรับรองเพลงมาร์ชทหารอาสาพร้อมเนื้อร้องที่เถียนฮั่นแต่งไว้ในปี พ.ศ. 2478 ให้เป็นเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการ การรับรองเพลงชาติครั้งนี้มีความหมายสำคัญตรงที่เนื้อร้องฉบับเดิมนั้น ไม่เน้นความสำคัญของทั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนและอดีตประธานเหมา เจ๋อตง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ถึงการสิ้นอำนาจของหั้ว กั๋วเฟิง พร้อมๆ กับลัทธิบูชาบุคคลของเหมา เจ๋อตง และการก้าวขึ้นสู่อำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิง
ในการตรารัฐธรรมนญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 2004 โดยสภาประชาชนแห่งชาติจีน เมื่อ พ.ศ. 2547 ได้มีการระบุในรัฐธรรมนูญด้วยว่าเพลงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเพลงมาร์ชทหารอาสา โดยกล่าวไว้อย่างสั้นๆ ถัดจากบทบัญญัติว่าด้วยธงชาติ
อนึ่ง แม้เพลงนี้จะเป็นที่นิยมของชาวจีนในยุคการปกครองของฝ่ายชาตินิยม (พรรคก๊กมินตั๋ง) ระหว่างช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่น พ.ศ. 2480-2488 แต่เพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงต้องห้ามในสาธารณรัฐจีนมาโดยตลอดจนกระทั่งในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530
เพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้บรรเลงในฮ่องกงครั้งแรก ในพิธีการส่งมอบอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงกลับคืนสู่จีนในปี พ.ศ. 2540 และบรรเลงในมาเก๊าครั้งแรกในพิธีส่งมอบมาเก๊าเมื่อ พ.ศ. 2542
สำหรับการใช้เพลงชาติในมาเก๊านั้น เป็นไปตามกฎหมายมาเก๊าเลขที่ 5/1999 (zh:?5/1999???, pt:Lei de Macau 5 de 1999) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ซึ่งระบุให้การบรรเลงเพลงชาติให้เป็นไปตามโน้ตเพลงซึ่งระบุในภาคผนวก 4 ของกฎหมายดังกล่าว และห้ามขับร้องเพลงนี้ด้วยเนื้อร้องอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ผู้ใดเจตนาละเมิดข้อกฎหมายดังกล่าว มีโทษทางอาญาโดยจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือจำคุกแทนค่าปรับไม่เกิน 360 วัน ทั้งนี้ โน้ตเพลงที่อยู่ในภาคผนวก 4 นั้นมีเฉพาะเนื่อร้องภาษาจีนเท่านั้น ไม่มีการแปลเป็นภาษาโปรตุเกส แม้ว่าในมาเก๊าจะใช้ทั้งภาษาจีนและภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการก็ตาม ส่วนในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง ไม่มีการตรากฎหมายเพลงชาติไว้เป็นการเฉพาะดังเช่นในมาเก๊า
??!????????!
??????,????????!
????????????,
??????????????
??!??!??!
??????,
???????,??!
???????,??!
??!??!?!
??!????????!
??????,????????!
????????????,
??????????????
??!??!??!
??????,
???????,??!
???????,??!
??!??!?!
Q?l?i! B?yu?n zu? n?l? de r?nmen!
B? w?men de xu?r?u zh?ch?ng w?men x?nde ch?ngch?ng!
Zh?nghu? M?nz? d?o le z?i w?ixi?nde sh?h?u,
M?ige r?n b?ip?zhe f?ch? z?ih?ude h?ush?ng.
Q?l?i! Q?l?i! Q?l?i!
W?men w?nzh?ngy?x?n,
M?ozhe d?r?n de p?ohu?, Qi?nj?n!
M?ozhe d?r?n de p?ohu?, Qi?nj?n!
Qi?nj?n! Qi?nj?n! J?n!
??!????????!
???????????????
????????????,
??????????????
??!??!??!
??????
???????,??!
???????,??!
??! ??!?!
??!????????!
???????????????
????????????,
??????????????
??!??!??!
??????
???????,??!
???????,??!
??! ??! ?!
Qi?nj?n! G? m?nz? y?ngxi?ngde r?nm?n,
W?id?de g?ngch?nd?ng l?ngd?o w?men j?x? ch?ngzh?ng.
W?nzh?ng y?x?n b?n xi?ng g?ngch?nzh?y? m?ngti?n,
Ji?nsh? z?g?o b?ow?i z?g?o y?ngy?ngde d?uzh?ng.
Qi?nj?n! Qi?nj?n! Qi?nj?n!
W?men qi?nq?u-w?nd?i
G?oj? M?o Z?d?ng q?zh?, qi?nj?n!
G?oj? M?o Z?d?ng q?zh?, qi?nj?n!
Qi?nj?n! Qi?nj?n! J?n!
กัมพูชา ? กาตาร์ ? เกาหลีเหนือ ? เกาหลีใต้ ? คาซัคสถาน ? คีร์กีซสถาน ? คูเวต ? จอร์เจีย ? จอร์แดน ? สาธารณรัฐประชาชนจีน ? สาธารณรัฐจีน: เพลงชาติ, เพลงธงชาติ ? ซาอุดิอาระเบีย ? ซีเรีย ? ไซปรัส ? ญี่ปุ่น ? ติมอร์-เลสเต ? ตุรกี ? เติร์กเมนิสถาน ? ทาจิกิสถาน ? ไทย ? เนปาล ? บังกลาเทศ ? บาห์เรน ? บรูไน ? ปากีสถาน ? พม่า ? ฟิลิปปินส์ ? ภูฏาน ? มองโกเลีย ? มัลดีฟส์ ? มาเลเซีย ? เยเมน ? รัสเซีย ? ลาว ? เลบานอน ? เวียดนาม ? ศรีลังกา ? สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ? สิงคโปร์ ? อัฟกานิสถาน ? อาเซอร์ไบจาน ? อาร์เมเนีย ? อินเดีย ? อินโดนีเซีย ? อิรัก ? อิสราเอล ? อิหร่าน ? อุซเบกิสถาน ?
เคอร์ดิสถาน (อิรัก, ตุรกี, อิหร่าน, ซีเรีย) ? นากอร์โน-คาราบัค (อาเซอร์ไบจาน) ? ปาเลสไตน์ (ยังเป็นที่ถกเถียง) ? Deg o Tegh o Fateh (ชาวซิกข์) สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (ยังเป็นที่ถกเถียง) ? ตูวา (รัสเซีย) ? รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบต ? เซาท์ออสซีเชีย (ยังเป็นที่ถกเถียง) ?