มันโยงะนะ (ญี่ปุ่น: ???? Man'y?gana ?) เป็นระบบการเขียนในสมัยโบราณของภาษาญี่ปุ่นโดยอักษรจีน หรือคันจิ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ระบบการเขียนนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ "มันโยงะนะ" นี้ ได้จากชื่อหนังสือ “มันโยชู” (ญี่ปุ่น: ??? Man'y?sh? ?) อันเป็นวรรณกรรมรวมบทกวีในยุคนะระที่เขียนด้วยระบบมันโยงะนะ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอักษรมันโยงะนะที่เก่าแก่ที่สุด คือ ดาบอินะริยะมะ ซึ่งเป็นดาบเหล็กที่ขุดค้นพบที่สุสานโบราณอินะริยะมะโคะฟุง จังหวัดไซตะมะ เมื่อ พ.ศ. 2511 และ 10 ปีหลังการขุดพบ ใน พ.ศ. 2521 ได้มีการวิเคาระห์ดาบเล่มนี้โดยเอ็กเรย์ จนพบตัวอักษรจีนสลักด้วยทองจำนวน 115 ตัว ซึ่งเขียนเป็นมันโยงะนะ สันนิษฐานว่าดาบเล่มนี้ถูกตีขึ้นในปี ??? เทียบเท่ากับ พ.ศ. 1041
มันโยงะนะ จะใช้หลักการนำตัวอักษรจีนที่มีเสียงใกล้เคียงเสียงภาษาญี่ปุ่นของคำที่จะเขียน โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้น หรือเรียกว่า "ชะคุอง" (?? shakuon ยืมเสียง) เนื่องจากมีอักษรจีนหลายตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน การเลือกว่าจะใช้อักษรจีนตัวใดสำนวนภาษาของผู้เขียน เห็นได้จากหนังสือ “มันโยชู” บทที่ 17/4025 ซึ่งเขียนไว้ดังนี้
จากตัวอย่างด้านบน เสียง mo (?, ?) และ shi (?, ?) เขียนด้วยอักษรจีนได้หลายตัว และในขณะที่คำส่วนมากเขียนโดยถอดเสียงเป็นพยางค์ๆโดยไม่คำนึงถึงความหมาย (เช่น ?? tada และ ?? asa เป็นต้น) แต่คำว่า umi (?) และ funekaji (??) เป็นการเขียนโดยใช้ความหมายของอักษรจีนตัวนั้น ไม่ใช้การถอดเสียง
เสียงภาษาญี่ปุ่นบางพยางค์จะถูกแทนด้วยอักษรจีนที่กำหนดเอาไว้เป็นกฎการสะกดคำ (orthographic) ในยุคนะระ ที่เรียกว่า "โจได โทคุชุ คะนะซุไค" (??????? J?dai Tokushu Kanazukai) ซึ่งช่วยให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาสรุปได้ว่า เสียงในภาษาญี่ปุ่นยุคเก่าซึ่งแทนด้วยอักษรมันโยงะนะนั้น อาจเริ่มมีมาตรฐานตั้งแต่ในครั้งนั้นเป็นต้นมา
อักษรฮิระงะนะดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะที่เขียนด้วยพู่กันในรูปแบบอักษรหวัด วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิระงะนะ คือ เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูง ได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอันส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิระงะนะ
ส่วนอักษรคะตะคะนะก็ดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะเช่นกัน แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมันโยงะนะมาเป็นอักษรคะตะคะนะหนึ่งตัว อักษรคะตะคะนะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัน ใช้เสมือนการย่ออักษรมันโยงะนะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์
ตัวอย่างเช่น เสียง ru เขียนเป็นอักษรฮิระงะนะว่า ? ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะ ? แต่เขียนเป็นอักษรคะตะคะนะว่า ? ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะ ? โดยอักษรมันโยงะนะใช้เขียนแทนเสียง ru ทั้งคู่
การที่เสียงภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์สามารถเขียนด้วยอักษรคันจิหลายตัวนั้น ทำให้เกิดอักษรเฮนไตงะนะ (???? hentaigana) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรฮิระงะนะขึ้นมา แต่ได้ถูกเลิกใช้อย่างเป็นทางการไปใน พ.ศ. 2443
ปัจจุบัน อักษรมันโยงะนะ ยังคงปรากฏอยู่ในชื่อสถานที่ต่างๆของญี่ปุ่น โดยเฉพาะบนเกาะคีวชู (?? Ky?sh?) การใช้อักษรคันจิอีกประเภท ที่มีลักษณะคล้ายกับมันโยงะนะ คือ อะเตะจิ (???, ?? ateji) ซึ่งเป็นการเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ตัวอย่างเช่น ??? (kurabu คลับ) และ ?? (k?hii กาแฟ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ ยังคงมีใช้กันอยู่ในป้ายร้านค้า
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา