ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี หรือ โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา (อังกฤษ: cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก มะเร็งอื่นๆ ในทางเดินน้ำดีมีเช่นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์เป็นต้น มะเร็งท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งชนิดต่อมอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างพบน้อยโดยมีอุบัติการณ์ต่อปีประมาณ 1-2 รายต่อ 100,000 คนในโลกตะวันตก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในไทยกลับมีสูงมากที่สุดในโลก และในช่วงหลายสิบปีมานี้อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อนำดีทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น

อาการเด่นของมะเร็งท่อน้ำดีคือการมีผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ ปวดท้อง ดีซ่าน น้ำหนักลด และอาจมีอาการคันทั่วไป มีไข้ สีของอุจจาระและปัสสาวะเปลี่ยนไป โรคนี้วินิจฉัยโดยอาศัยผลตรวจเลือด ผลตรวจภาพรังสี ผลการส่องกล้อง และบางครั้งอาจต้องอาศัยการผ่าตัดเปิดสำรวจ มะเร็งท่อน้ำดีมักปรากฏอาการในระยะท้ายๆ ของโรคซึ่งทำให้เป็นการจำกัดทางเลือกในการรักษา ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เช่น โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ ความผิดปกติแต่กำเนิดของตับ การติดเชื้อพยาธิในตับอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในตับ Opisthorchis viverrini หรือ Clonorchis sinensis การสัมผัสสารทึบรังสีบางชนิดเช่น Thorotrast เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่ไม่ปรากฏปัจจัยเสี่ยงชัดเจน

มะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่สามารถมีอันตรายถึงตายได้อย่างรวดเร็วและไม่มีทางรักษาหากไม่สามารถตัดเนื้อมะเร็งออกให้หมดได้ ยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่มีโอกาสรักษาโรคให้หายได้นอกจากการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากและไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักได้รับการดูแลรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดหลังการผ่าตัดสำเร็จด้วย งานวิจัยทางการแพทย์บางสายพยายามใช้วิธีการใหม่ๆ ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี วิธีการเหล่านี้เช่น การรักษาด้วยยาแบบ targeted therapy (เช่น ยา erlotinib) หรือ photodynamic therapy รวมทั้งมีการวิจัยหาทางวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจวัดระดับของผลผลิตจากเซลล์สโตรมัลของมะเร็ง

แม้จะมีระบบการแบ่งระยะของมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ไม่ต่ำกว่า 3 แบบ ก็ตาม (Bismuth, Blumgart, American Joint Committee on Cancer) แต่ไม่มีระบบใดที่แสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ช่วยทำนายอัตราการรอดชีวิตได้ ส่วนที่สำคัญที่สุดของการกำหนดระยะคือเพื่อให้ทราบว่าเนื้องอกนั้นยังสามารถผ่าตัดเอาออกได้หรือลุกลามไปมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้ บ่อยครั้งที่การประเมินนี้จะทำได้ก็จนกว่าลงมือผ่าตัดแล้วเท่านั้น

สิ่งตรวจพบที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งท่อน้ำดีคือการมีผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ ดีซ่าน (เกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำดีถูกอุดตันโดยเนื้องอก) ปวดท้อง (30-50%) คันตามตัว (66%) น้ำหนักลด (30-50%) ไข้ (สูงสุด 20%) หรือสีอุจจาระหรือปัสสาวะเปลี่ยน นอกจากนี้ผู้ป่วยบางส่วนยังมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนในตับ (14%) คลำถุงน้ำดีได้ (6.7%) ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันแบบไม่มีนิ่วในถุงน้ำดี (7%) มีไข้ไม่ทราบสาเหตุ และพบโดยบังเอิญในขณะที่ผ่าตัดช่องท้องด้วยสาเหตุอื่น อาการค่อนข้างจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก โดยผู้ป่วยที่มีเนื้องอกอยู่นอกตับมักจะมีอาการดีซ่าน ส่วนผู้ป่วยที่มีเนื้องอกอยู่ในตับมักมีอาการปวดโดยไม่มีดีซ่าน

ผลการตรวจการทำงานของตับในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักพบว่ามีลักษณะของการอุดตันท่อน้ำดีโดยมีระดับบิลิรูบินหรือเอนไซม์ตับอย่างอัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและแกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรสสูงขึ้น โดยมีระดับเอนไซม์ตับทรานซามิเนส (Transaminase) ค่อนข้างปกติเมื่อเทียบกัน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเหล่านี้เป็นการแสดงว่าการอุดตันของน้ำท่อน้ำดีจะเป็นสาเหตุของดีซ่านมากกว่าจะเป็นจากการอักเสบหรือการติดเชื้อของตับ นอกจากนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีระดับ CA19-9 สูงขึ้นอีกด้วย

แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงชัดเจนแต่ก็ได้มีการศึกษาพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่สัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดี ในโลกตะวันตกปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุดคือการเป็นโรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ (primary sclerosing cholangitis - PSC) ซึ่งเป็นโรคท่อน้ำดีอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้มีการหนาแข็งของท่อน้ำดี โรคนี้มีความสัมพันธ์กับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis) อีกทีหนึ่ง การศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาแสดงให้เห็นว่าอัตราเสี่ยงตลอดชีวิตของผู้ป่วย PSC ที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ที่ 10-15% ในขณะที่งานวิจัยชุดที่ได้จากการชันสูตรศพพบว่ามีอัตราสูงถึง 30% ส่วนกลไกที่ทำให้ผู้ป่วย PSC เป็นมะเร็งท่อน้ำดีมากขึ้นนั้นยังไม่ได้รับการอธิบายแน่ชัด

โรคติดเชื้อปรสิตบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน เช่นการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ Opisthorchis viverrini (พบในประเทศไทย ลาว และมาเลเซีย) หรือ Clonorchis sinensis (พบในญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม) ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง (chronic liver disease) ไม่ว่าจะจากการเป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส (เช่น ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี) โรคตับจากแอลกอฮอล์ หรือตับแข็งจากสาเหตุอื่นๆ ต่างเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดี งานวิจัยหนึ่งพบว่าการติดเชื้อเอชไอวีก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเป็นมะเร็งท่อน้ำดีเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็นจากการติดเชื้อเอชไอวีเองหรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี) ก็ตาม

ความผิดปกติแต่กำเนิดของตับอย่างเช่นโรคแครอไล (Caroli disease) หรือ ถุงน้ำของท่อร่วมน้ำดี (choledochal cyst) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงตลอดชีวิตของการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีประมาณ 15% โรคพันธุกรรมที่พบน้อยอย่างกลุ่มอาการลินช์ชนิดที่ 2 (Lynch syndrome II) และโรคติ่งเนื้อในท่อน้ำดี (biliary papillomatosis) ก็มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดี ส่วนการมีนิ่วในถุงน้ำดีนั้นยังไม่ชัดเจนว่าเป็นความเสี่ยงเกิดมะเร็งท่อน้ำดีหรือไม่ อย่างไรก็ดี โรคนิ่วในตับซึ่งพบน้อยในตะวันตกแต่พบได้บ่อยกว่าในบางส่วนของเอเชียกลับมีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีอย่างมาก รวมทั้งการรับประทานอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อม รวมทั้งปลาส้ม จะมีสาร N-Nitrosocompound และไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้ การสัมผัสสารทึบรังสีบางชนิดเช่น thorotrast ซึ่งเป็น thorium dioxide ในรูปแบบหนึ่งนั้นก็มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีที่เวลา 30-40 ปีหลังสัมผัส จึงทำให้ถูกห้ามใช้ในสหรัฐอเมริกาไปแล้วตั้งแต่ทศวรรษปี 1950

มะเร็งท่อน้ำดีอาจเกิดกับท่อน้ำดีตรงส่วนใดก็ได้ ทั้งในและนอกตับ เนื้องอกที่เกิดในท่อน้ำดีในตับจะถูกเรียกเป็นชนิด "ในตับ" (intrahepatic) ส่วนที่เกิดกับท่อน้ำดีนอกตับเรียก "นอกตับ" (extrahepatic) และเนื้องอกที่เกิดกับตำแหน่งที่ท่อน้ำดีออกจากตับพอดีเรียกเพอริไฮลาร์ (perihilar) มะเร็งท่อน้ำดีที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งที่ท่อตับข้างซ้ายและข้างขวามารวมกันเป็นท่อน้ำดีร่วมนั้นอาจเรียกว่าเนื้องอกคลาตสกิน (Klatskin tumor)

แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่ามะเร็งท่อน้ำดีเป็นอะดีโนคาร์ซิโนมาของเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินน้ำดี แต่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าเซลล์ต้นกำเนิดคือเซลล์ใด แม้หลักฐานใหม่ๆ ชี้ว่าอาจมีเซลล์ต้นกำเนิดเป็นสเต็มเซลล์หลายสรรพคุณในตับ (pluripotent hepatic stem cell) ก็ตาม เชื่อกันว่ามะเร็งท่อน้ำดีเกิดขึ้นได้จากการเกิดมะเร็งหลายระยะ ตั้งแต่มีการเจริญเกิน (hyperplasia) ในช่วงแรก กลายเป็นเมตาเพลเชีย (metaplasia) และเป็นการเจริญผิดปรกติ (dysplasia) และเกิดเป็นมะเร็งขึ้นในที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใกล้เคียงกับที่เกิดในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และเชื่อว่าการอักเสบเรื้อรังของท่อน้ำดี การอุดตันท่อน้ำดี และการมีน้ำดีคั่ง อาจมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ทางมิญชวิทยาพบว่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีมีความแตกต่างทางการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ (cell differentiation) ตั้งแต่ดี (well) ไปจนถึงแย่ (undifferentiated) ส่วนใหญ่ถูกล้อมรอบด้วยการตอบสนองแบบมีเนื้อเยื่อพังผืด (fibrotic tissue) และเนื้อเยื่อเดสโมพลาสติก (desmoplastic tissue) หากมีเนื้อเยื่อพังผืดมากอาจทำให้แยกเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ดีออกจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวที่ถูกกระตุ้น (reactive epithelium) ไม่ได้ ยังไม่มีสารย้อมทางอิมมูโนฮิสโตเคมิสทรี (immunohistochemistry) ตัวใดที่สามารถแยกเนื้อเยื่อท่อน้ำดีที่เป็นเนื้อร้ายออกจากเนื้อไม่ร้ายได้ แม้จะมีการย้อมสารไซโตเคราติน (cytokeratin) คาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจน และมิวซินที่อาจช่วยในการวินิจฉัยได้บ้างก็ตาม เนื้องอกส่วนใหญ่ (>90%) เป็นมะเร็งชนิดต่อม

ยังไม่มีการตรวจเลือดใดๆ ที่จำเพาะวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี แม้ระดับของคาร์ซิโนเอมบริโอนิกแอนติเจนและ ซีเอ 19-9 (CA19-9) อาจเพิ่มสูงได้แต่ก็ไม่ได้มีความไวหรือความจำเพาะมากพอที่จะใช้เป็นการตรวจคัดกรองได้ อย่างไรก็ดีการตรวจเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์เมื่อใช้ร่วมกับการตรวจภาพรังสีเพื่อสนับสนุนว่ารอยโรคที่เห็นนั้นเป็นมะเร็งท่อน้ำดีหรือไม่

การตรวจอัลตราซาวนด์ของตับและแขนงทางเดินน้ำดีมักถูกใช้เป็นตัวเลือกแรกๆ ในการตรวจภาพรังสีสำหรับผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการอุดตันของทางเดินน้ำดี โดยสามารถตรวจพบการอุดตันและการขยายของท่อน้ำดีได้ บางครั้งก็สามารถได้ข้อมูลที่เพียงพอจะวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีได้ด้วยซีที (CT) สแกนก็อาจมีส่วนสำคัญในการช่วยวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีด้วยได้

แม้การถ่ายภาพรังสีของช่องท้องจะมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี แต่บ่อยครั้งการดูภาพของท่อน้ำดีโดยตรงก็มีความจำเป็น การสร้างภาพท่อน้ำดีและตับอ่อนด้วยการใช้กล้องส่องย้อน (endoscopic retrodrade cholangiopancreatography, ERCP) ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้กล้องส่องทางเดินอาหารทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารหรือศัลยแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนพิเศษ เป็นการตรวจที่ใช้กันทั่วไปเพื่อจุดประสงค์นี้ แม้ ERCP จะเป็นการตรวจที่ค่อนข้างรุกล้ำผู้ป่วยและมีความเสี่ยงอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ผลดีที่มีคือทำให้สามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ สามารถวางท่อคงรูป (stent) ไว้เพื่อใช้ในวิธีการอื่นๆ เพื่อลดการอุดตันทางเดินน้ำดีได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำการตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านการส่องกล้อง (endoscopic ultrasound) ไปพร้อมกันด้วยได้เพื่อเพิ่มความแม่นยำของการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายมายังต่อมน้ำเหลืองและการประเมินว่าจะสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้หรือไม่ด้วย นอกจากการใช้ ERCP แล้วยังมีการใช้การสร้างภาพท่อน้ำดีด้วยการเจาะผ่านผิวหนังและตับ (percutaneous transhepatic cholangiography, PTC) ได้ การสร้างภาพทางเดินน้ำดีและตับอ่อนด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (magnetic resonance cholangiopancreatography, MRCP) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ทำให้การรุกล้ำผู้ป่วยซึ่งใช้แทน ERCP ได้ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเสนอว่าควรใช้ MRCP แทน ERCP ในการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นขอบเขตของเนื้องอกได้แม่นยำกว่าและลดความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ ERCP ด้วย

บางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดสำรวจช่องท้อง (surgical exploration) เพื่อให้สามารถได้ชิ้นเนื้อที่เหมาะสมกับการส่งตรวจทางพยาธิวิทยาและเพื่อให้สามารถประเมินระยะของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีได้เหมาะสม การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (laparoscopy) สามารถใช้เพื่อการประเมินระยะได้ และอาจสามารถลดความจำเป็นของการผ่าตัดที่รุกล้ำผู้ป่วยมากกว่าอย่างการผ่าตัดเปิดช่องท้อง (laparotomy) ได้ในผู้ป่วยบางราย นอกจากนี้การผ่าตัดยังเป็นวิธีการรักษาให้หายเพียงทางเดียวของมะเร็งท่อน้ำดี แต่ก็ทำได้กับเฉพาะโรคระยะแรกเริ่มเท่านั้น

ทางมิญชวิทยาพบว่ามะเร็งท่อน้ำดีมักแบ่งเป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ดี (well) และปานกลาง (moderate) การตรวจทาง immunohistochemistry มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย และช่วยในการแยกว่าเนื้องอกนั้นกำเนิดจากท่อน้ำดีหรือแพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่นในระบบทางเดินอาหาร การขูดเซลล์ตรวจ (cytological scraping) มักไม่ช่วยในการวินิจฉัย

หากไม่สามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกออกได้ทั้งหมดมะเร็งท่อน้ำดีก็ถือเป็นมะเร็งที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ และในหลายๆ ครั้ง การที่จะประเมินว่าสามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกออกได้ทั้งหมดหรือไม่ก็ต้องประเมินระหว่างการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากต้องได้รับการผ่าตัดสำรวจช่องท้อง เว้นเสียว่าจะมีข้อบ่งชี้ชัดเจนแล้วว่าเนื้องอกนั้นอยู่ในระยะที่ไม่สามารถรักษาได้โดยผ่าตัด

ถ้าสามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกออกได้ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วม (adjuvant chemotherapy) หรือรังสีรักษาร่วม (adjuvant radiation therapy) หลังการผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสการรักษาหายขาด หากขอบชิ้นเนื้อไม่มีเซลล์มะเร็ง (negative tissue margins) หรือสามารถตัดชิ้นมะเร็งออกได้ทั้งหมดแล้วการรักษาร่วมเหล่านี้อาจให้ประโยชน์หรือไม่นั้นยังไม่ได้ข้อสรุป มีการศึกษาวิจัยที่ให้ผลทั้งว่าการรักษาร่วมในกรณีเช่นนี้มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ และจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ก็ยังไม่มีการศึกษาวิจัยแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมของเรื่องนี้ออกมา ส่วนบทบาทของการใช้การรักษาทั้งเคมีบำบัดและรังสีรักษาร่วม (combined chemoradiotherapy) ในสถานการณ์เช่นนี้นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด อย่างไรก็ดี หากผลขอบชิ้นเนื้อพบมีเซลล์มะเร็ง (positive margin) จะเป็นการบ่งชี้ว่ายังไม่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดด้วยการผ่าตัด ดังนั้นการรักษาร่วมด้วยการฉายรังสี (และอาจรวมถึงเคมีบำบัด) ในกรณีเช่นนี้จึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปตามข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีจำนวนมากได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่อโรคลุกลามไปมากถึงระยะที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแล้วซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดแบบบรรเทาอาการ (palliative chemotherapy) โดยอาจใช้ร่วมกับรังสีรักษา มีการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่รับรองการรักษาด้วยเคมีบำบัดแล้วว่าสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตและยืดอายุขัยของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แต่ยังไม่มีสูตรการรักษาใดๆ ที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากล ทำให้ปัจจุบันยังมีคำแนะนำให้มีการทดลองหาวิธีใหม่ๆ ในการรักษาต่อไปอีก ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งท่อน้ำดีมีเช่น 5-fluorouracil ร่วมกับ leucovoringemcitabine เดี่ยวๆ หรือ gemcitabine ร่วมกับ cisplatinirinotecan หรือ capecitabine การศึกษาวิจัยนำร่องบางชิ้นชี้ว่าผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามอาจได้รับประโยชน์จากยากลุ่ม tyrosine kinase inhibitor อย่าง erlotinib

การรักษาด้วย Photodynamic therapy เป็นการรักษาเชิงทดลองอย่างหนึ่งซึ่งฉีดสารไวแสง (light-sensitizing agent) เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย จากนั้นจึงส่งคลื่นแสงเข้าไปยังเนื้องอกโดยตรงผ่านกล้องส่อง การรักษาวิธีนี้มีผลแสดงในการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขนาดเล็กสองชิ้นว่าได้ผล แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีบทบาทอย่างไรในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกยังคงเป็นวิธีการรักษาเพียงวิธีเดียวของมะเร็งท่อน้ำดีที่มีโอกาสหาย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเนื่องจากตรวจพบว่ามีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณไกลนั้นอัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี (5-year survival rate) อยู่ที่ 0%, และโดยทั่วไปอยู่ที่ 5% ค่ามัธยฐานการรอดชีวิตโดยภาพรวม (overall median duration of survival) สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ไม่ได้รับการรักษา สุขภาพอื่นๆ ปกติ และมีเนื้องอกอยู่ในตับผ่านทางท่อน้ำดีในตับและหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ (hepatic portal vein) อยู่ที่น้อยกว่า 6 เดือน

สำหรับผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด โอกาสของการรักษาหายขาดได้นั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอกและอยู่ที่ว่าสามารถผ่าเอาเนื้องอกนั้นออกได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

มะเร็งท่อน้ำดีส่วนปลาย (distal cholangiocarcinoma) ซึ่งเจริญขึ้นจากท่อน้ำดีร่วมนั้นส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบ Whipple (Whipple procedure) โดยมีอัตราการรอดชีวิตระยะยาว (long-term survival rate) อยู่ที่ระหว่าง 15-25% รายงานชุดหนึ่งกล่าวว่าอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีของผู้ป่วยที่ไม่มีการแพร่กระจายของโรคไปยังต่อมน้ำเหลืองนั้นอยู่ที่ 54%

มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (intrahepatic cholangiocarcinoma) ซึ่งเจริญขึ้นมาจากท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ในเนื้อตับนั้นส่วนใหญ่รักษาด้วยการตัดเอาเนื้อตับออกบางส่วน มีรายงานหลายชุดกล่าวว่าโอกาสการรอดชีวิตหลังรับการรักษาด้วยการผ่าตัดอยู่ที่ 22-66% โดยผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือไม่และการผ่าตัดนั้นสามารถเอาเนื้อมะเร็งออกได้หมดหรือไม่

มะเร็งท่อน้ำดีที่อยู่บริเวณขั้วตับ (perihilar cholangiocarcinoma) ซึ่งเจริญขึ้นมาจากบริเวณตำแหน่งที่ท่อน้ำดีออกมาจากตับนั้นมีโอกาสรักษาได้ด้วยการผ่าตัดน้อยกว่า ในกรณีที่สามารถผ่าตัดได้ส่วนใหญ่ก็ต้องผ่าตัดกินบริเวณกว้าง (aggressive) โดยมักต้องผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก และอาจต้องผ่าตัดเอาบางส่วนของตับออกด้วย ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีบริเวณขั้วตับที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดนั้นมีรายงานอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ที่ระหว่าง 20-50%

พยากรณ์โรคอาจแย่ลงไปอีกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่เป็นโรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิอยู่ก่อน ซึ่งน่าจะมีเหตุผลมาจากการที่กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากแล้ว หลักฐานบางชิ้นชี้ว่าผลการรักษาอาจดีกว่าหากได้รับการรักษาผ่าตัดแบบกินบริเวณกว้าง (aggressive) ร่วมกับ adjuvant therapy

มะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งชนิดต่อมของทางเดินน้ำดีเช่นเดียวกันกับมะเร็งตับอ่อน (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่า 20 เท่า) มะเร็งถุงน้ำดี (เกิดขึ้นบ่อยกว่า 2 เท่า) และมะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์ (ampulla of Vater) วิธีการรักษาและงานวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับอ่อนซึ่งมีจำนวนมากกว่างานที่เกี่ยวกับมะเร็งท่อน้ำดีจึงมักถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี แม้ชีววิทยาของทั้งสองโรคจะแตกต่างกันถึงขั้นที่ว่ามะเร็งตับอ่อนอาจรักษาได้ด้วยเคมีบำบัดจนโรคอยู่ในระยะสงบถาวร (permanent remission) แต่กับมะเร็งท่อน้ำดีนั้นถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานถึงการรอดชีวิตระยะยาวหลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้

มะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่ถือว่าพบน้อย โดยมีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยใหม่ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 2,000 -3,000 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์รายปีประมาณ 1-2 ราย ต่อ 100,000 ประชากร รายงานชุดผลการชันสูตรศพระบุว่ามีอุบัติการณ์อยู่ที่ประมาณ 0.01-0.46% ส่วนในเอเชียมีความชุกของมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่าซึ่งน่าจะเป็นผลจากการมีการระบาดของโรคติดเชื้อพยาธิเรื้อรังมากกว่า อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีเพิ่มตามอายุ ค่อนข้างจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (อาจเป็นผลจากการที่โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง) ความชุกของมะเร็งท่อน้ำดีในผู้ป่วยที่โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิอาจสูงถึง 30% ตามรายงานการชันสูตรศพ

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่ากำลังมีการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในตับในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยพบการเพิ่มขึ้นนี้ในอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย สาเหตุที่ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์นี้ยังไม่แน่ชัดโดยอาจเป็นจากการพัฒนาของกระบวนการการวินิจฉัยก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันความชุกของปัจจัยที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดีเช่นการติดเชื้อเอชไอวีนั้นก็มีการเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ว่านี้เช่นกัน

ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในโลก คืออยู่ที่ 84.6 ต่อ 100000 ประชากรชาย และ 36.8 ต่อ 100000 ประชากรหญิง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้อมูล ร.พ. ศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่นรายงานว่าพบมะเร็งท่อน้ำดีในตับเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งที่กำเนิดขึ้นในตับ มีอุบัติการณ์ 300 รายต่อปี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301