ศูนย์กลางนครราชสีมา
744 ถนนสุรนารายณ์ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาวิทยาเขตขอนแก่นวิทยาเขตสกลนคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Isan) เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่จัดการเรียนการสอนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น สกลนคร และสุรินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร พื้นที่หลักของมหาวิทยาลัยฯมีเนื่อที่ประมาณ 330 ไร่ ติดกับถนนสุรนารายณ์ และยังมีพื้นที่ป่าหนองระเวียง เดิมใช้เป็นพื้นที่ฝึกภาคสนามของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเรียกว่า "ศูนย์ฝึกภาคสนามหนองระเวียง" ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯได้รักษาสภาพพื้นที่ป่านี้ไว้ เพื่อใช้เป็นโรงเรียนธรรมชาติ มีพื้นที่ทั้งหมด 2,500 ไร่ มีรั้วล้อมรอบอย่างถาวร มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ คือ สวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จำนวน 200 ไร่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จำนวน 200 ไร่ พื้นที่รองรับการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 1,100 ไร่ และพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1,000 ไร่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หรือ วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดิม) อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 330 ไร่ ทิศเหนือติดถนนสุรนารายณ์ ทิศใต้ติดคลองลำตะคอง ทิศตะวันตกติดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และทิศตะวันออกติดที่ดินของเอกชน บริเวณนี้แต่เดิมมีต้นตะโกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีชื่อสามัญเรียกกันว่า "ทุ่งตะโกราย"
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เปิดทำการเรียนการสอนทั้งระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรี-โท-เอก ทั้งหมด 13 คณะ 5 วิทยาเขต โดยศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน 8 กลีบล้อมรอบ ดอกบัวบาน 8 กลีบหมายถึงทางแห่งความสำเร็จมรรค 8 และความสดชื่นเบิกบานก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ ภายใต้ดอกบัวเป็นดวงตราพระราชลัญจกรบรรจุอยู่ หมายถึง สัญลักษณ์และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์เป็นผู้พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” บนตรารูปวงกลม มีพระมหาพิชัยมงกุฎครอบ และมีเลข 9 อยู่ หมายถึงรัชกาลที่ 9
ด้านล่างของตราวงกลมทำพับกรอบโค้งรองรับชื่อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน” คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้ พิมพ์ประจำยามทั้งสองข้าง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรื่อง แจ่มใส เบิกบาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล หมายความว่า มหาวิทยาลัยอันเป็นมงคลแห่งพระราชา
สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมีการปรับโครงสร้างตาม พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จึงได้กำหนดสีประจำมหาวิทยาลัยดังนี้
คุรุสัมมนาคาร คืออาคารคอนกรีตสีขาวที่มีรูปทรงหวือหวาบิดแผ่นหลังคาโค้งไปมาเป็นมุมต่างๆกัน เมื่อมองมาที่อาคาร ปลายแหลมทั้ง 3 ของอาคารพุ่งทะยานแทรกยอดไม้สู่ท้องฟ้า ราวจะบอกถึงเรื่องราวของกวีนิพนธ์คอนกรีตแห่งยุคสมัย ในห้วงเวลาแห่งความเฟื่องฟูของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นบนราชอาณาจักรไทย อาคารคอนกรีตสีขาวหลังเล็กนี้ได้ปรากฏตัวอยู่ บนปลายล่างของแผ่นดินที่ราบสูงแอ่งโคราช ณ ทุ่งตะโกรายเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยทุ่งตะโกรายนี้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนั้น
จากคำกล่าวของท่าน ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาคนแรก เป็นผู้บุกเบิกสถาบันฯ อย่างแท้จริง ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า
ล้นเกล้าฯพระปิยมหาราชปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น
นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษารุ่นแรก การได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด มีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกับพระหัตถ์พระองค์เอง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่เหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ผู้ปกครองบัณฑิต เป็นล้นพ้น และอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 ปี พ.ศ. 2530 ในปี พ.ศ. 2531 เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2533 รวมเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง 4 ครั้ง
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างประเทศ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดังนี้
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อยู่ในอันดับที่ 3,124 ของโลก อันดับที่ 38 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน