ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สำนักงานอธิการบดี 128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300 (ห้วยแก้ว)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Lanna) เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐ ได้รับการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขต ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยชื่อ "ราชมงคล" นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" และ "พระราชลัญจกร" ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาคภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอน 4 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท

ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นประจำทุกปี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"

ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้หลอมรวมเอาวิทยาเขต และสถาบันวิจัย จำนวน 7 แห่งเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาเขตน่าน วิทยาเขตตาก วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตเชียงราย และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ต่อจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย 4 คณะ 1 วิทยาลัย 4 สำนัก-สถาบัน และ 5 สำนักงานบริหารฯ (เขตพื้นที่) โดยวิทยาเขตภาคพายัพ มีฐานะเป็นศูนย์กลางมหาวิทยาลัย ต่อมาสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้จัดตั้งสำนักงานบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ส่งผลให้ภาคพายัพ มีฐานะเป็นเขตพื้นที่เช่นเดียวกันกับเขตพื้นที่อื่น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของเขตพื้นที่ภาคพายัพ ให้เป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยดังเดิม

ราชมงคลสัญลักษณ์ เป็นตราวงกลมภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ภายในวงกลมประกอบด้วยดอกบัวบาน 8 กลีบ หมายถึง ปัญญาอันเป็นแสงสว่างในโลก ภายในดอกบัวบานเป็นรูปพระราชลัญจกร อันเป็นตราประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้พระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" ที่ปลายทั้งสองข้างประดับด้วยดอกไม้ทิพย์ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน

สีน้ำตาลทอง คือ สีที่เกิดจากการรวมกันของสี มีคุณสมบัติเป็นกลาง สามารถอยู่รวมได้กับทุกสี และทำให้สีนั้นโดดเด่น สีน้ำตาลทอง มีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน ดังเช่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม พร้อมที่จะเป็นฐานในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้สืบไป

ต้นกาสะลอง (หรือต้นปีบ) เป็นต้นไม้ที่รู้จักกันแพร่หลายในถิ่นล้านนา เป็นไม้มงคลในความเชื่อของชาวล้านนา หากสถานที่ใดปลูกต้นกาสะลองไว้จะนำความเจริญรุ่งเรือง และเกียรติคุณมาสู่สถานที่นั้น

ดอกกาสะลอง เป็นดอกไม้สีขาว มีกลิ่นหอม ลำต้นแข็งแรงสูงโปร่ง มีช่อดอกโน้มลงต่ำ แสดงออกถึงความบริสุทธิ์ คุณงามความดี กลิ่นหอมเปรียบประดุจชื่อเสียงและเกียรติคุณ ช่อดอกที่โน้มลงมาเปรียบเสมือนคุณลักษณะของบัณฑิตที่ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่จะไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนต่อไป

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีสำนักงานอธิการบดี ตั้งอยู่เลขที่ 128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีเขตพื้นที่จัดการเรียนการสอนตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ส่วนกลาง) มีพื้นที่จัดการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่

ในอดีตคือโรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ตาก เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2481 โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนตากพิทยาคม เปิดสอนวิชาช่างไม้ชั้นต้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 จึงได้ย้ายสถานที่มายังที่ตั้งปัจจุบันบริเวณถนนพหลโยธิน ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ปัจจุบันเปิดทำการสอน 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี

เขตพื้นที่น่าน จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2481 ตั้งอยู่ที่ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดการเรียนการสอนเน้นด้านเกษตรศาสตร์เป็นหลัก ต่อมาจึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน ในปี พ.ศ. 2517 และโอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปีถัดมา

ปัจจุบันเปิดสอน 3 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ใน 3 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

เขตพื้นที่ลำปาง เดิมคือ โรงเรียนเกษตรกรรมลำปาง ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ตั้งอยู่ที่ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง บนเนื้อที่ 1,381 ไร่ (ใช้ร่วมกับสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง) จัดการเรียนการสอนด้านเกษตรศาสตร์ เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ เกษตรแม่วัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาเขตลำปาง"

เขตพื้นที่ลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ตามถนนพหลโยธิน ประมาณ 16 กิโลเมตร มีความโดดเด่นในการจัดการศึกษาและการวิจัยด้านการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

เขตพื้นที่เชียงราย เป็นวิทยาเขตที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาสู่ท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นเป้าหมายในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และพื้นที่ เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในเขตนิคมแม่ลาว ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย บนเนื้อที่ 5,000 ไร่ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการฝากเรียนที่วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ แล้วจึงย้ายมาเปิดทำการเรียนการสอนที่จังหวัดเชียงราย ในปีการศึกษา 2544 เป็นปีแรก

ปัจจุบันเขตพื้นที่เชียงราย เปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ใน 3 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

เขตพื้นที่พิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก" ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก บนเนื้อที่ 572 ไร่ จัดการเรียนการสอนด้านเกษตรกรรม และสัตวศาสตร์เป็นหลัก เป็นที่รู้จักในนาม เกษตรบ้านกร่าง

ปัจจุบันเขตพื้นที่พิษณุโลก เปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ใน 3 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เป็นเขตพื้นที่ที่มีจำนวนนักศึกษาน้อยที่สุด คือ 1,479 คน

การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สำนักงานอธิการบดี) จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะ สถาบัน วิทยาลัย และส่วนราชการต่างๆ ในสังกัดมหาวิทยาลัยฯ

หากเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ตามถนนเชียงใหม่-ลำปาง จนสิ้นสุดที่ทางแยกรินคำ จากนั้นจึงเลี้ยวซ้ายตามถนนห้วยแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งอยู่ขวามือ ตรงข้ามกับสวนรุกขชาติห้วยแก้ว เยื้องจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เล็กน้อย

สำหรับการเดินทางภายในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้ด้วยรถสี่ล้อแดง (รถสองแถว) รถแท๊กซี่ หรือรถโดยสารประจำทาง ดังนี้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งผลิต บัณฑิตนักปฏิบัติ โดยมีการเรียนการสอน 4 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท จำนวน 104 หลักสูตร ครอบคลุมสาขาวิชาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิศวกรรมศาสตร์ มีนักศึกษาในสังกัดคณะและวิทยาลัยต่าง ๆ รวมกว่า 24,255 คน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ดังนี้

การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกโดยตรง ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ณ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร จังหวัดลำปาง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี "ดีนำเก่ง" โดยมีการจัดกิจกรรมนักศึกษาครบทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ ด้านบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านนันทนาการ และด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ

ค่ายราชมงคลล้านนาอาสาร่วมใจ เป็นโครงการค่ายอาสาพัฒนา ที่องค์การนักศึกษาร่วมกับสโมสรนักศึกษาทุกเขตพื้นที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจัดกิจกรรมในแต่ละจังหวัด และให้นักศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์การนักศึกษา โดยในปีแรก พ.ศ. 2548 จัดโครงการสร้างอาคารเรียนที่ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านสพผาหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2549 จัดที่จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 ออกค่ายสร้างอาคารเรียนและระบบประปาหมู่บ้าน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรางวัลอินทิราคานธี อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ราชมงคลล้านนา สืบสานวัฒนธรรม เป็นด้านศิลปวัฒนธรรมที่จัดเป็นประจำทุกปีการศึกษา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาทั้ง 6 เขตพื้นที่ ซึ่งจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ เริ่มกิจกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 ที่จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2551 ที่จังหวัดเชียงราย และ พ.ศ. 2552 ที่จังหวัดพิษณุโลก

กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาเขตพื้นที่ต่างๆ และคัดเลือกนักกีฬาเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระดับประเทศของนักศึกษาจากทั้ง 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2552 จากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เป็นจ้าวเหรียญทองและครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3 สมัยซ้อน (2549 - 2551)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีองค์กรของนักศึกษาในระดับต่างๆ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา ได้แก่

องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง เป็นนายกองค์การนักศึกษาคนแรก และมีคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นตัวแทนจากวิทยาเขตในสังกัด รวม 6 คน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีส่วนงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันวิจัยในศาสตร์ต่างๆ ดังนี้

ในปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ จำนวน 20 เรื่อง และในระดับชาติ จำนวน 91 เรื่อง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.05 ผลการประเมินเท่ากับ "คุณภาพดี"

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อยู่ในอันดับที่ 1,873 ของโลก อันดับที่ 68 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 25 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ผู้บุกเบิกสถาบันฯ ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาไว้ว่า

ล้นเกล้าฯ พระปิยมหาราช ปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น

นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 และได้ดำเนินการเรียนการสอนเรื่อยมา จนกระทั่งได้ผลิตบัณฑิตและมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาด้วยพระองค์เอง และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของวิทยาลัยอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2533 รวมแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองจำนวน 4 ครั้ง

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตเป็นประจำทุกปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้น 9 แห่ง แต่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยังคงจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งอื่นๆ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จวบจนปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301