มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-ok) เน้นการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านช่างอุตสาหกรรม การก่อสร้าง เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การเกษตร การบริหารจัดการ และทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ประกอบด้วย 4 วิทยาเขต คือ
ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ผู้บุกเบิกสถาบันฯ อย่างแท้จริง ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า
ล้นเกล้าฯ พระปิยมหาราช ปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น
นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 และได้ดำเนินการเรียนการสอนผ่านพ้นอุปสรรคปัญหามานานานับประการเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงวันแห่งความสำเร็จวันแห่งภาคภูมิใจที่รอคอยก็มาถึง อีกหกปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระมหากรุณาธิการอย่างสูงสุด เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษารุ่นแรก
การที่บัณฑิตที่มาจากนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นสอง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด มีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกับพระหัตถ์พระองค์เอง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่เหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ผู้ปกครองบัณฑิต เป็นล้นพ้น และอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันให้ใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นครั้งแรกด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 2533 รวมแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ด้วยพระองค์เองถึง 4 ครั้ง และตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ก็ได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแด่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในวันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตความตอนหนึ่งว่า พระราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิต วันที่ 15 ธันวาคม 2552
ขอให้ทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง ในอันที่จะใช้สื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสม และให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์เป็นความเจริญแก่ตนเองและส่วนรวมพร้อมทุกส่วน
ศิษย์เก่าและบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสามารถประกอบอาชีพทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยสามารถหางานทำได้มากที่สุดใน 9 ราชมงคลด้วยกันในปี พ.ศ. 2548[ต้องการอ้างอิง] มีการสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตเมื่อปี 2548 โดยสำรวจหลังจากจบแล้วเป็นเวลา 6 เดือน ปรากฏว่า บัณฑิตที่มีงานทำแล้วเรียงจากมากไปน้อยคือ
เกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ • สัตวแพทยศาสตร์ • บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ • ศิลปศาสตร์ • เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร • เทคโนโลยีสังคม • วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ • สถาบันเทคโนโลยีการบิน
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก