มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (อังกฤษ: Assumption University) หรือ เอแบค (ABAC) มหาวิทยาลัยเอกชนในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 2 วิทยาเขตหลัก วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และ 2 ศูนย์การศึกษา city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การศึกษาACC ACC Campus มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก "โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ" ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 และได้รับวิทยฐานะเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ" ในปี พ.ศ. 2515 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ) " หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า มอช. และภาษาอังกฤษว่า "AU" ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิทยาเขตสุวรรณภูมิเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2543 ภายใต้วางรากฐานของ เจษฎาจารย์ ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ ผู้กอบกู้และสถาปนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Cathedral of Learning*
ชื่อมหาวิทยาลัย : Assumption หมายถึง เหตุการณ์ที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ การทับศัพท์ในภาษาไทยว่า "อัสสัมชัญ" มีประวัติความเป็นมาและความหมายดังนี้ แรกเริ่มคุณพ่อกอลเบอต์ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส "Le Coll?ge de L' Assomption" และใช้ชื่อภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซานกอเลิศ" (Assumption College) แต่ปรากฏว่าคนทั่วไปมักจะเรียก และเขียนชื่อโรงเรียนผิดเสมอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (หนึ่งในห้าภราดาที่เดินทางมาช่วยรับช่วงดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญต่อจากบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์) จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "อาศรมชัญ" ดังนั้นชื่อ "อัสสัมชัญ" จึงเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่ง "อัสสัมชัญ" มีความหมายในภาษาไทยดังนี้ "อัสสัม" เป็นคำบาลีมคธว่า "อัสสโม" แปลงเป็นไทยว่า "อาศรม" หมายถึง "กุฏิทีถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" เมื่อแยกตามรากศัพท์เดิมเป็น "ช" แปลว่า เกิด และ "ญ" แปลว่า ญาณ ความรู้ รวมคำได้ว่า ชัญ คือ ที่สำหรับเกิดญาณความรู้ เมื่อรวมทั้งสองคือ "อัสสัม"และ"ชัญ" เป็น "อัสสัมชัญ" แปลว่า ตำหนักที่สำหรับหาวิชาความรู้
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นอโศก (Ashoka Tree) คือ ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เหตุผลที่มหาวิทยาลัยเลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเพราะ
แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ หรือ Sedes Sapienti? (The Seat of Wisdom) ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยโดยมีความหมายว่า พระนางมารีย์พรหมจารีเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัย ที่คอยโอบอุ้มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเปรียบเสมอองค์พระกุมารเยซูที่ประทับนั่งอยู่บนตักของแม่พระ
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อยู่ในอันดับที่ 20,410 ของโลก อันดับที่ 1,079 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 173 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย