มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทยและมีชื่อเสียงในด้านรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์อย่างมาก
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม
การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..." โดยนายแคล้ว นรประติ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
ระยะแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา
นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อนก็คือ ที่ประดิษฐาน..'พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช'.. ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย เมื่อได้สร้างเสร็จและอัญเชิญพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมาประดิษฐานเรียบร้อย ถาวรวัตถุนี้จะเป็นสัญญลักษณ์ที่รวมพลังกาย พลังใจของคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษาให้มุ่งประกอบแต่ความดีงามอันจักเป็นคุณต่อชาติบ้านเมืองสืบไป สำหรับพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้จัดสร้างตามแบบของกรมศิลปากร เป็นโลหะทองเหลืองผสมทองแดงและรมดำ ความสูงจากพื้นฐานถึงยอดพระมาลา 115 เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือหนังสือ และประทับบนพระแท?นมนังคศิลาอาสน์(พระแท่นมนังศิลาบาตร) การหล่อพระบรมรูปต้องใช้วิธีแยกเททองเป็นส่วนๆ รวมถึง 5 ส่วน กว่าจะเสร็จครบบริบูรณ์ต้องใช้เวลาถึง 8 เดือนเศษ จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำซ้อน) เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว
เป็นพระรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จารึกนี้พบเมื่อ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาท เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ผนวชเป็นผู้ค้นพบ เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
"สีน้ำเงิน-ทอง" ความหมาย สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วนสีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัย
แรกเริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่แสดงสินค้านานาชาติที่ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จำนวน 300 ไร่เศษ เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย ระยะแรกที่ทำการเปิดสอนได้ใช้อาคารแสดงสินค้าที่มีอยู่เดิมเป็นที่ทำการและห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการคณะ/สำนัก/สถาบัน รวมทั้งอาคารเรียนฯลฯ เพิ่มขึ้นแทนอาคารแสดงสินค้าเดิมเหล่านั้น จะเห็นว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปมาก บริเวณของมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยอาคารหลากหลายที่ทันสมัย บรรยากาศเป็นมหาวิทยาลัยวิชาการ อีกทั้งภูมิทัศน์สวยงาม สะอาดและสะดวกสบาย
มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการของทุกคณะ/สำนัก/สถาบันต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้ง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (วิทยาเขตบางนา)ในปีพ.ศ. 2522 (และเริ่มเปิดทำการสอนปีพ.ศ. 2527) บนที่ดินที่ได้รับบริจาคจำนวน 150 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8 ถนนบางนา – ตราด เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิทยาเขตบางนาจึงใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรีทุกสาขา ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่สอนระดับปริญญาโทบางโครงการ
เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย ขึ้น เพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรโครงการพิเศษต่าง ๆ จังหวัดสุโขทัยนั้นในอดีตคือกรุงสุโขทัยในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระยะดำเนินการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะเปิดสอนคณะใหม่ที่วิทยาเขตแห่งนี้
มหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 ส่วน กับ 1วิทยาเขต และ1ศูนย์การศึกษา (วิทยาเขต)
นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด22แห่งจัดการเรียนการสอน ปริญญาตรี โท บางคณะ และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากล หลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่าง ๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีผู้สมัครเรียน ประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ ดังต่อไปนี้
ชาวรามคำแหงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประจำทุกปี
มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาในพ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะคือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรม ศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้ เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปีพ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงวัดดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 1,900 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชาจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับ ปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รวมทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก และหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ และเปิดคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะธุรกิจการบริการ คณะสาธารณสุขศาสตร์
นอกจากนี้ ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา อาทิ สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันภาษา
วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2518 นับเป็นวันที่สำคัญยิ่งของชาวรามคำแหง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และประทับ ณ ห้องรามคำแหงอนุสรณ์ถือเป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของมหาวิทยาลัยและชาวรามคำแหง เพราะเป็นห้องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับพักพระราชอิริยาบถ ทรงฉลองพระองค์ชุดครุย และวันเดียวกันในช่วงบ่ายมีพิธีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางสังคมวิทยา แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ณ บริเวณหน้าสำนักหอสมุดกลางฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงจารึกวันมหามงคลนี้ กำหนดเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต ความตอนหนึ่งว่า...
...มหาวิทยาลัยรามคำแหงนี้เป็นมหาวิทยาลัยในแบบที่ให้โอกาสแก่ ผู้ปรารถนาวิชาความรู้ ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าวิทยาการต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และอย่างอิสระจึงอำนวยประโยชน์ได้มาก ในด้านสนับสนุนส่งเสริมบุคคลทั่วไป และโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้ว ให้ได้ฟื้นฟูเพิ่มพูนความสามารถของตนทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปปรับปรุง การงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยกฐานะหน้าที่ให้สูงขึ้น มหาวิทยาลัยมีความมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริม ผู้ที่เข้ามาศึกษาดังนี้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วทุกคนควรจะได้มองเห็น และควรที่จะได้น้อมนำมาเป็นคติในการดำเนินชีวิต และการงานต่อไป โดยทำความตั้งใจและความเพียรให้มั่นคง ในอันที่จะฝึกฝนและปรับปรุงตนเอง ทำงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดควรจะได้พยายาม หาทางนำความคิดวิทยาการซึ่งอุตส่าห์ฝึกฝนศึกษามาได้ด้วยยากนั้นมาใช้ ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความ เจริญมั่นคงของชาติบ้านเมืองของเรา...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ห้องรามคำแหงอนุสรณ์ตั้งอยู่บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1 สำนักหอสมุดกลาง ภายในห้องรามคำแหงอนุสรณ์นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ในส่วนที่ 1 เป็นส่วนของห้องรับรองที่ทรงใช้ประทับพักพระราชอิริยาบถ และเสวยพระสุธารส พระราชอาสน์ทุกองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในส่วนนี้เป็นของเดิมทั้งหมด ที่ทางสำนักหอสมุดกลางได้ดูแล และเก็บรักษาเป็นอย่างดี และให้คงอยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด ส่วนที่ 2 และ3 เป็นห้องทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงเปลื้องพระองค์ครุย ทรงแต่งพระวรกาย เครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่อยู่ในส่วนนี้ทุกองค์ก็ได้รับการดูแลไว้เป็นอย่างดีที่สุดเช่นกัน
ปัจจุบันทางสำนักหอสมุดกลางได้ปรับปรุงห้องรามคำแหงอนุสรณ์ให้เป็นห้องสำหรับจัดนิทรรศการ แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่บัณฑิตรุ่นแรกในวันที่ 26 และ 27 พฤศจิกายน 2518 พระราชนิพนธ์ และสิ่งของที่จัดทำเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสต่างๆ อาทิ เหรียญที่ระลึก เรือใบจำลอง (เรือมด) และอื่นๆ รวมทั้งใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตรุ่นแรก เช่นหนังสืออนุสรณ์บัณฑิตรุ่นแรก หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงฉบับปฐมฤกษ์ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงที่จัดพิมพ์เป็นพิเศษเนื่องในวันพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเป็นต้น พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชม ศึกษาหาความรู้ และร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์ ที่ทรงมีต่อผสกนิกรชาวรามคำแหง
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมี อธิการบดี มาแล้ว 9 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1)30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2)28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)
13 มกราคม พ.ศ. 2537 - 12 มกราคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 1)15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (วาระที่ 2)20 สิงหาคม พ.ศ. 2541 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (วาระที่ 3)16 มกราคม พ.ศ. 2546 - 16 มกราคม พ.ศ. 2550 (วาระที่ 4)
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 17 กันยายน พ.ศ. 251918 กันยายน พ.ศ. 2519 - 17 กันยายน พ.ศ. 252118 กันยายน พ.ศ. 2521 - 17 กันยายน พ.ศ. 252318 กันยายน พ.ศ. 2523 - 17 กันยายน พ.ศ. 252518 กันยายน พ.ศ. 2525 - 16 กันยายน พ.ศ. 252717 กันยายน พ.ศ. 2527 - 16 กันยายน พ.ศ. 252917 กันยายน พ.ศ. 2529 - 16 กันยายน พ.ศ. 253117 กันยายน พ.ศ. 2531 - 16 กันยายน พ.ศ. 253317 กันยายน พ.ศ. 2533 - 16 กันยายน พ.ศ. 253517 กันยายน พ.ศ. 2535 - 16 กันยายน พ.ศ. 253717 กันยายน พ.ศ. 2537 - 16 กันยายน พ.ศ. 253917 กันยายน พ.ศ. 2539 - 16 กันยายน พ.ศ. 254123 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 254317 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 16 กันยายน พ.ศ. 2546
16 กันยายน พ.ศ. 2546 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (วาระที่ 1)7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 2)8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (วาระที่ 3)
ตลอดระยะเวลา 41 ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีความภูมิใจในบัณฑิตและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วกว่า 8 แสนคน ซึ่งศิษย์เก่าเหล่านี้ได้นำวิชาความรู้ไปสร้างสรรค์สังคม และประสบความสำเร็จในวิชาชีพมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ชัด
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ในอันดับที่ 894 ของโลก อันดับที่ 181 ของทวีปเอเชีย อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย