มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (อังกฤษ: Uttaradit Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุตรดิตถ์" ในอดีตสถาบันแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาฝึกหัดครูของภาคเหนือ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์, แพร่, น่าน, เชียงราย, ลำปาง และอุตรดิตถ์ ต่อมาภายหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อและฐานะมาตามลำดับจนเป็นที่รู้จักดีในชื่อ วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ก่อนจะเลื่อนฐานะเป็นสถาบันราชภัฏ จนในปี พ.ศ. 2547 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุตรดิตถ์" ในปี พ.ศ. 2479 เปิดสอนครั้งแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาปี พ.ศ. 2518 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์" ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์จึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์"
ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ และพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดยกฐานะสถาบันราชภัฏขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย โดยมีผลนับแต่วันประกาศใช้พระราชบัญญัติในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์" นับแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์จากทุกวิทยาเขต ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์คนปัจจุบันคือ ผศ.ดร. เรืองเดช วงศ์หล้าและมีศาสตราจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ในที่ดินราชพัสดุ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเนื้อที่ 42 ไร่เศษ มีชื่อเรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุตรดิตถ์" เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) และ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประชาบาล (ป.ป.) อีกระดับหนึ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้เป็นชื่อเป็น "โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์" เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2491 และ เปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรครูมูล (ป.) เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2492 จนถึงปี พ.ศ. 2498 จึงได้เปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และเลิกสอนหลักสูตรอื่น ๆ ที่สอนมาแต่เดิม จนกระทั่งวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ได้ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์" เปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และได้ขยายพื้นที่วิทยาลัย เพิ่มขึ้นเป็น 190 ไร่ 1 งาน 79 ตารางวา
ในปีต่อมา ได้มีการขยายปริมาณงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อจำนวนนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนในวิทยาลัยครูมากขึ้น และความต้องการครูมีมาก จนต้องเปิดสอนให้แก่บุคลลากรภายนอก (ภาคค่ำ) เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของต้นสังกัดต่างๆ ในปี พ.ศ. 2513
หลังจากที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ขึ้นแล้ว วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยครู ตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ทำให้วิทยาลัยครูมีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาผลิตครูระดับ ป.กศ. และป.กศ.ชั้นสูง ตามหลักสูตรสภาการฝึกหัดครู และเปลี่ยน การจัดสอนภาคนอกเวลามาเป็นการสอนฝึกหัดครูต่อเนื่องแทน
ปี พ.ศ. 2521 เริ่มเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี (ค.บ.) เลิกผลิตครูในโครงการฝึกหัดครู ภาคต่อเนื่อง โดยที่สถาบัน ได้เล็งเห็นว่า ครูและบุคลลากร ทางการศึกษา ประจำการ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และ น่าน ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบ ของสถาบัน ยังมีวุฒิ ต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นจำนวนมาก ประกอบกับต้นสังกัดของ ครูเหล่านี้ มีความต้องการ จะพัฒนาครูของตน ให้มี ความรู้และ สมรรถภาพสูงขึ้น สถาบันโดยความเห็นชอบ ของสภาฝึกหัดครู จึงได้จัดให้มีการอบรมครู และ บุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) ขึ้น เป็นรุ่นแรกใน ปี พ.ศ. 2522
ปี พ.ศ. 2524 ทางวิทยาลัยได้ขอจัดสรรที่ดิน ตำบลหมอนไม้ ประมาณ 400 ไร่ แต่ทางจังหวัดได้ขอจัดสรรให้หน่วยงานอื่นๆ ด้วย และส่วนหนึ่งได้จัดทำเป็นสนามกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ และได้แบ่งสรรที่ดินให้แก่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ สถาบันได้เข้าไปปักหลักเขตและวัดพื้นที่เรียบร้อย ในปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ 92 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา ซึ่งวิทยาลัยได้พัฒนาที่ดินผืนนี้เป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการเกษตร และเป็นศูนย์วิจัยค้นคว้าทางเกษตรและเทคโนโลยี
ปีการศึกษา 2526 ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรวิชาเอกเทคนิคการอาชีพ ระดับ ป.กศ. ชั้นสูง 5 สาขาวิชา ซึ่งนับว่าได้เริ่มขยายฐานทางวิชาการและวิชาชีพ ออกไปอีกก้าวหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2527 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 มีสาระสำคัญให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันศึกษาและวิจัยทางการสอนวิชาการต่างๆ และผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำให้วิทยาลัยครูมีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จึงได้เปิดสอนวิชาการสาขาอื่นในระดับอนุปริญญาเพิ่มขึ้น ในปีการศึกษา 2528 เป็นปีแรก 4 สาขา ได้แก่ ออกแบบประยุกต์ศิลป์, พืชศาสตร์, ไฟฟ้า และนิเทศศาสตร์
ปี พ.ศ. 2529 ได้จัดการศึกษาสำหรับบุคลกรประจำการ (กศ.บป.) ขึ้นเป็นรุ่นแรก ในสาขาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาการอื่น ทั้งระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี
ปี พ.ศ. 2530 ได้เปิดโรงเรียนสาธิตชั้นเด็กเล็กและชั้นอนุบาล ตามที่สภาฝึกหัดครูอนุมัติ และมีโครงการขยายเปิดชั้นประถมปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2531
ปี พ.ศ. 2533 วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ได้ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า (NIDA) เพื่อเปิดสอนปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคพิเศษ เป็นรุ่นแรก ตามโครงการ NIDA-UTC และ ในปี พ.ศ. 2534 วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ได้ร่วมมือกับหอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์ ในการเปิดสอนภาคพิเศษ สำหรับสมาชิกหอการค้า เพื่อรับปริญญาทางบริหารธุรกิจ และยกมาตรฐานทางการค้าของจังหวัดอุตรดิตถ์ตามโครงการ EBD-UTC
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฎ" แทนวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์จึงมีฐานะเป็นส่วนราชการหนึ่งของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ การดำเนินงานของสถาบันขึ้นอยู่กับของข่ายที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ พ.ศ. 2537 โดยมีสภาสถาบันราชภัฎ และสภาประจำสถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์ดังกล่าวเป็นผู้กำหนด
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป มีผลทำให้สถาบันราชภัฏทั่วประเทศได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีผู้บริหารนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งใน พ.ศ. 2479 ครั้งยังเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2558) นับได้ 79 ปี มีรายนามดังต่อไปนี้
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่เลขที่ 27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศเหนือติดกับถนนอินใจมี ทิศใต้ติดต่อกับสถานีสื่อสารและโทรคมนาคมของกระทรวงมหาดไทย ทิศตะวันออกติดกับวิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์และแขวงการทางอุตรดิตถ์ที่1 ทิศตะวันตกติดกับถนนเลาะคลองชลประทาน รวมพื้นที่วิทยาเขตหมอนไม้ และลำรางทุ่งกะโล่ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์จะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 2,270 ไร่ 3 งาน 87 ตารางวา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ส่วนกลางมีพื้นที่ 190 ไร่ 1 งาน 79 ตารางวา สถานที่นี้นักศึกษาทุกคณะจะต้องมาทำกิจกรรมต่างๆที่วิทยาเขตส่วนกลาง ในส่วนนี้เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี หน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัย ที่ตั้งคณะ 4 คณะ 2 วิทยาลัยของมหาวิทยาลัย คือ คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ และอีกส่วนหนึ่งเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
เป็นที่ตั้งของคณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการเกษตร และเป็นศูนย์วิจัยค้นคว้าทางเกษตรและเทคโนโลยี มีเนื้อที่ 92 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา ตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 บ้านหมอนไม้ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารเรียนของคณะเกษตรศาสตร์
การขยายวิทยาเขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ระหว่างการก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 ถึง2567 รวมระยะเวลา 15 ปี การจัดตั้งเป็นการแก้ไขปัญหาเนื้อที่ของมหาวิทยาลัยส่วนกลางไม่เพียงพอจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาจึงขยายวิทยาเขตมาจัดตั้ง ณ บริเวณบึงทุ่งกะโล่ โดยมีแนวคิดว่ามหาวิทยาลัยท้องถิ่น การสร้างอาคารต้องสูงไม่เกิน 3ชั้น และมีความกลมกลืนกับศิลปะของธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและท้องถิ่น มีเนื้อที่2,000 ไร่ เป็นที่ตั้งของอาคารต่างๆ เช่น อาคารสาธารณสุขศาสตร์ของสาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
การเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะใช้เวลาในการเรียนแตกต่างกันตามหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี แต่สำหรับคณะครุศาสตร์ จะใช้เวลาเรียน5 ปี การจัดการเรียนการสอนจะมีการเรียนในอาคารเรียนรวม(อาคารภูมิราชภัฏ) อาคารของคณะต่างๆ และอาคารเรียนในรายวิชาของนักศึกษาทำการลงทะเบียนเรียน
เป็นประเพณีการแข่งขันกีฬาของนักศึกษาคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มีการโชว์สปิริตเพลงเชียร์ การประชุมเชียร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 การเดินขบวน การแข่งขันกีฬา อาทิเช่น ฟุตบอล ปิงปอง วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ บาสเกตบอล เปตอง และการแสดงแสงสีเสียงของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดขึ้น ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
เป็นการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คือ วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี โดยมีกิจกรรม การแข่งขัน กิจกรรมทำบุญตักบาตร และนิทรรศการแสดงประวัติของมหาวิทยาลัย จัดขึ้น ณ บริเวณลานด้านหน้า และชั้นที่ 1 อาคารภูมิราชภัฏ
เป็นกิจกรรมของหน่วยงานราชการ เอกชน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาจัดงานเพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรม เกมต่างๆ และการแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยจะจัดขึ้นทุกปีบริเวณถนนทางออกของมหาวิทยาลัยตั้งแต่อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือไปจนถึงอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นงานวันวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยจะมีกิจกรรมการแข่งขัน การออกร้านค้า และการจัดแสดงผลงานต่างๆทางวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยจะจัดขึ้นทุกปี ณ บริเวณโดยรอบของมหาวิทยาลัย
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เป็นประจำวันทุกปี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยมีกิจกรรมสำคัญคือ กิจกรรมการประกวดดาว-เดือนของมหาวิทยาลัยในทุกปี
กิจกรรมรับน้องประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ของมหาวิทยาลัยทุกปี เป็นกิจกรรมรับน้องของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัย โดยให้นักศึกษาปีที่ ๑ และนักศึกษาชั้นปีอื่นๆช่วยกันดูแลซึ่งกันและกัน สร้างความสามัคคี ความอบอุ่น เอื้ออารีต่อกัน โดยจะเริ่มเดินทางจากบริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านถนนอินใจมี ประตูเมืองลับแล จนถึงวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง เพื่อสักการะนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
การพักอาศัยนั้นโดยรอบมหาวิทยาลัยและในเขตตัวเมืองอุตรดิตถ์จะมีหอพั อพาร์ตเม้นต์ แมนชั่นเอกชนต่างๆไว้บริการ และมหาวิทยาลัยจะมีหอพักนักศึกษาไว้บริการแก่นักศึกษา หอพักนักศึกษาชายจำนวน 2 หลัง และหอพักนักศึกษาหญิงจำนวน 4 หลัง
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ผ่านแยกอุตรดิตถ์เข้าตัวจังหวัด เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102(ถนนพาดวารี)เลี้ยวเข้าตัวเมืองสู่ถนนเจริญธรรม ถนนบรมอาสน์ ถนนสำราญรื่น ถนนแปดวา และเข้าสู่ถนนอินใจมี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์จะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ นอกจากนี้สามารถเข้าสู่มหาวิทยาลัยลัยโดยใช้ถนนพาดสนามบิน จนถึงสำนักงานทีโอทีอุตรดิตถ์ เลยตรงไปมหาวิทยาลัยจะอยู่ทางขวามือ หรือจากสำนักงานทีโอทีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนซอยจนสุดถนนแล้วเลี้ยวซ้าย เข้าสู่ประตูข้างของมหาวิทยาลัย สำหรับการเดินทางจากตัวเมืองอุตรดิตถ์มามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ทำได้โดย
สำหรับการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยนักศึกษาจะต้องใช้การเดิน หรือใช้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางไปเรียนในอาคารเรียนต่างๆ สำหรับวิทยาเขตส่วนอื่นๆของมหาวิทยาลัยภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทางมหาวิทยาลัยจะมีรถโดยสารสาธารณะรับส่งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไว้บริการ
ผลจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก “Webometrics Ranking of World Universities" หรือ "Ranking Web of World Universities" เว็บไซด์การจัดอันดับชื่อดังของประเทศสเปน ได้ทำการสำรวจมาตรฐานของมหาวิทยาลัยทั่วโลก รวมถึงมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ในการจัดทำ Ranking นี้ มีกลุ่มเป้าหมายสำคัญอยู่ที่บรรดาผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ web performance ของสถาบันการศึกษาใด ได้ลำดับที่ต่ำกว่าความคาดหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันนั้นๆ ผู้บริหารของสถาบันควรมีการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายด้านการจัดทำเว็บไซต์เพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิตของสิ่งตีพิมพ์เผยแพร่ทางวิชาการ ในรูปแบบ electronic publications ให้มากยิ่งขึ้น จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทย Life on campus ได้ทำการแยกย่อยออกมาเป็นส่วนของ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” โดยเฉพาะ จัดเป็น 10 อันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นนำในประเทศไทย โดยเรียงจากอันดับในประเทศ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ลำดับที่ 9
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์