มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เลขที่ 340 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปทางตำบลจอหอ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา
พื้นที่หลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 174 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา และมีศูนย์ฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตรอีก 100 ไร่ อยู่ที่ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ติดกับสวนสัตว์ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประมาณ 15กิโลเมตร มีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยว่า
การฝึกหัดครูได้เริ่มในมณฑลนครราชสีมา เมื่อกระทรวงธรรมการให้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) ในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครราชสีมา โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าศึกษาหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู
กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ที่ข้างวัดโพธิ์ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมูลสามัญ (ป.) และประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดนครราชสีมา ” เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.)
ย้ายไปอยู่แทนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2485 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลโนนสูง” เปิดสอน 3 หลักสูตรได้แก่ ประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) และประโยคครูมูล (ม.)
ย้ายเข้ามาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา ” ในปี พ.ศ. 2495 ได้ยุบเลิกหลักสูตรเดิม 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูนครราชสีมา” และเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) ต่อจากระดับ ป.กศ.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อรับฟังคำกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าของการฝึกหัดครูไทยและทอดพระเนตรกิจการวิทยาลัยครูนครราชสีมาและนิทรรศการด้านวิชาการของนักศึกษา
ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 จึงขยายการผลิตครูถึงระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
เริ่มโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) แล้วพัฒนามาเป็นโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ในปัจจุบัน
เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาในระดับอนุปริญญาและขยายถึงระดับปริญญาตรีในระยะต่อมา ปัจจุบันมี 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชานิติศาสตร์
เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา และปีต่อ ๆ มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2545 ได้เปิดสอนสาขาอื่นเพิ่มอีก 6 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และสาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน
เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา และเปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มอีก 1 สาขา ได้แก่ สาขา เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
รูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือเลข "๙" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรม เดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด รอบนอกของตราด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ด้านล่างมีตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า “NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY”
อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) ประกอบด้วยพื้นที่โล่งสำหรับทำกิจกรรม ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องประชุม ห้องบรรยาย และห้องเรียนรวม มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อให้เป็นอาคารเรียนรวมสำหรับนักศึกษา รองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการเปิดหลักสูตรเพิ่มหลายสาขาวิชา เริ่มจากการเชิญชวนผู้บริหาร คณาจารย์ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ดำเนินการออกแบบและขอรับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง และงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม โดยเมื่อรับมอบอาคารเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขอพระราชทานชื่ออาคารจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่ออาคารเรียนรวมของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ว่า “อาคารยุพราชเบญจมงคล” มีความหมายว่าเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จฯ เปิดอาคารยุพราชเบญจมงคล เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอย่างยิ่ง
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา (อาคาร 10) เป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่มีการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ควรค่าที่คนโคราชจะได้รับรู้และภาคภูมิใจ โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้เยาวชนชื่นชอบและสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในประวัติศาสตร์ ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมาที่นักท่องเที่ยวจะได้รับข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณจังหวัดนครราชสีมาก่อนที่จะไปชมยังสถานที่จริง
ศาลเจ้าพ่อขุนศักรินทร์ เป็นเทวสถานประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายในประดิษฐานประติมากรรมปูนปั้นขุนศักรินทร์ สิ่งศักสิทธิ์ที่ชาวราชภัฏนครราชสีมาเชื่อว่าท่านคอยปกป้องคุ้มครองให้ทุกคนมีความแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งมีพิธีบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่อลังการต่อเนื่องทุกปี
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา