มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน นักเรียนและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเองว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้หมายถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ ทำให้วิทยาลัยครูสวนสุนันทามีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา" โดยอัตโนมัติ แต่ยังไม่เป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีสถานะเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา" อย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง
"โรงเรียนนิภาคาร" ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน
ดั่งคำขวัญมหาวิทยาลัยที่ว่า จากพระราชอุทยานสู่สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในอนาคตอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ตามเจตนารมของผู้บริหารและนักศึกษาต่อไป
ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525
สถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.) ,Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยชั้นนำ" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง "SSRU TV Online" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม)[ต้องการอ้างอิง]
ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.
- Universiti putra malaysia เผยแพร่งานวิชาการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่ออเตรียมความพร้อมสู่ ASEAN และแลกเปลี่ยนลงานวิชาการระหว่าง 2 ประเทศ
- Universiti sains malaysia มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย แลกเปลี่ยนอาจารย์ในการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์งานวิจัยระดับนานาชาติ มร.สส
สืบเนื่องจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมหาวิทยาลัยในอาเซียนอีก 9 ประเทศได้ตกลงกันไว้ในคราวประชุมครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2558 กรุงเทพฯ และครั้งที่2 พ.ศ. 2559 ที่สิงคโปร์ โดยจะมีครั้งที่ 3 ปลายปีนี้ที่พนมเปญ กัมพูชา ภายใต้ชื่อโครงการ Triple A (AAA: ASEAN Academic Aliance) ตามแนวคิดของนายกร ทัพพะรังสี นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนุนันทา
ในปีนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ร่วมกับ East Asia School of Business เปิดหลักสูตรสองปริญญา Dual Degree ในสาขาวิชา International Business และ Hospitality and Hotel Management ซึ่งจะเรียนที่ประเทศไทยสองปี สิงคโปร์ 1 ปี และ UK 1 ปี ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบภาษอังกฤษ IELST คะแนนไม่ตำกว่า 6.0 EASB จะลดค่าเล่าเรียนให้ร้อยละ 75 พร้อมให้ทุนค่าใช้จ่ายด้านที่พักและอาหารหากนักศึกษามีผลการเรียนดี
- Yunnan normal university แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของเอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ-นักศึกษาเอกภาษาจีน ไปเรียนที่จีน และนักศึกษาจีนมาเรียนที่สวนสุนันทา
- Asashikawa University แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การศึกษาวิชาการ วัฒนธรรม ดนตรี และกีฬา การใช้ทรัพยากรด้านการศึกษาและร่วมมือกันวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาร่วมกัน
- Okayama University การส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ศักยภาพด้านการศึกษา และแนวทางการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ตลอดจนการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
วิทยาลัยนานาชาติจัดสอบชิงทุนทุกปีไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่สาธารณรัฐเช็ก "โดยเสียค่าใช้จ่ายเท่าค่าเทอมที่สวนสุนันทาแต่ได้ไปเรียนไกลถึงยุโรป"
- Peter the Great St.Petersburg Polytechnic University ร่วมกันจัดการศึกษาร่วมกัน ทั้งด้านวิจัย การเรียนโดยแลกเปลี่ยนอาจารย์
ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ทุนเรียนฟรีทั้งหมด / วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัราชภัฏสวนสุนันทา
การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(กรุงเทพฯ) สามารถเดินทางมาได้ด้วยกันหลายเส้นทาง ดังนี้
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 3 (หมอชิตใหม่ - คลองสาน), 9 (ท่าน้ำภาษีเจริญ - สถานีรถไฟสามเสน), 16 (อู่ศรีณรงค์ - สุรวงศ์), 30 (วัดเขมาภิตาราม - สายใต้เดิม), 32 (ปากเกร็ด - วัดโพธิ์), 33 (ปทุมธานี - สนามหลวง), 49 (หมอชิตใหม่ - หัวลำโพง), 64 (นนทบุรี - สนามหลวง), 65 (วัดปากน้ำนนทบุรี - สนามหลวง), 110 (พระราม7 - เทเวศร์), 505 (ปากเกร็ด - สวนลุมพินี), 524 (บางเขน - วัดโพธิ์)
สายรถเมล์ที่ผ่านคือ : 18 (ท่าอิฐ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 28 (หมอชิตใหม่ - สายใต้ใหม่) , 56 (วงกลมสะพานกรุงธน-บางลำภู) , 108 (รัชโยธิน - เดอะมอลล์ท่าพระ) , 125 (ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ),515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - มทร.ศาลายา), 539 (ศรีอยุธยา - อ้อมน้อย)
สายรถเมล์ที่ผ่าน : 23 (เทเวศร์ - สำโรง), 43 (โรงเรียนศึกษานารีวิทยา - เทเวศร์), 72 (ท่าเรือคลองเตย - เทเวศร์), 99 (เทเวศร์ - รามคำแหง), 516 (บางบัวทอง - เทเวศร์)
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา