ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์หนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย1 ฝ่ายมหานิกายและเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "มหาธาตุวิทยาลัย" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ก่อนที่จะพระราชทานนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เมื่อคราวทรงสถาปนาอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2439 โดยทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นวิทยาลัยการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์ การดำเนินงานของวิทยาลัยได้เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) และมีการดำเนินงานมาตามลำดับจนได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในปี พ.ศ. 2540 ตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ศ.ดร.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และเป็นมหาวิทยาลัยศูนย์กลางการศึกษาด้านพุทธศาสตร์ที่สำคัญของคณะสงฆ์ไทย มีการตั้งวิทยาเขต, วิทยาลัยสงฆ์, ศูนย์วิทยบริการและห้องเรียน กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 4 คณะ ครอบคลุมทั้งระดับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตจนถึงปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 33 สาขาวิชา นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการวิจัยในด้านพุทธศาสตร์ประยุกต์ด้วย

ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในอดีต ได้รับพระเมตตาธิคุณให้เข้ารับประสาทปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราช แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชอย่างเป็นทางการ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นองค์ประธานในการประสาทปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งหวังเพื่อจะขยายการศึกษาของชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าการอ่านออกเขียนได้เท่านั้น ทรงพิจารณาว่า การพัฒนาประเทศจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าคนในชาติมีการศึกษาต่ำ พสกนิกรของพระองค์ ควรจะได้เล่าเรียนให้มากเพื่อเป็นกำลัง "สยามใหม่" ให้ทันโลกตะวันตก จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการศึกษาให้สูงขึ้น ถึงขั้นวิทยาลัยต่อไป ดังนั้นจึงทรงสถาปนา มหาธาตุวิทยาลัย ขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2432 เพื่อเป็นที่เล่าเรียนศึกษาภาษาบาลีชั้นสูง และสถาปนาอาคาร อาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย โดยพระราชทานนามมหาธาตุวิทยาลัยใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" โดยมีพระราชปรารถเพื่อปรับปรุงการศึกษาให้เป็นระดับวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2439 โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป

หลังจากก่อตั้งแล้ว ก็มิได้ดำเนินกิจการไปเป็นระยะเวลาช้านาน ต่อมาเมื่อ สุชีพ ปุญญานุภาพ พยายามรื้อฟื้นกิจการ มหามกุฏราชวิทยาลัย จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ทางฝ่ายคณะสงฆ์มหานิกายก็รื้อฟื้นกิจการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในอดีตให้เป็นระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2490

โดยประวัติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับตั้งแต่แรกสถาปนาในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา มีความเปลี่ยนแปลง และความเป็นมาสืบเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งสามารถแบ่งตามพัฒนาการตามยุคสมัยได้เป็น 6 ระยะ ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น ในปี พ.ศ. 2430 โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายการสอนพระปริยัติธรรมจากศาลาบอกพระปริยัติธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และคฤหัสถ์ โดยโปรดให้เรียกชื่อว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" และได้เปิดทำการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ และมีการดำเนินกิจการมาโดยลำดับ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระยาภาสกรวงษ์เสนาบดี กระทรวงธรรมการ ปรารภถึงการที่ทรงจะเปลี่ยนชื่อมหาธาตุวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 กันยายน ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2435) ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2437 จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาอาคารขนาดใหญ่ สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย และพระราชทานนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมและวิชาชั้นสูง และเพื่อเป็นบุญนิธิแก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้บัญชาการการก่อสร้างอาคารสังฆิกเสนาสน์ โดยใช้พื้นที่กุฏิสงฆ์วัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก โดยมีพระราชดำริให้ปลูกเป็นพระที่นั่งทรงธรรมในการพระเมรุ ออกแบบประยุกต์ตามรูปแบบระเบียงปราสาทนครวัด สร้างเป็นตึกถาวรวัตถุ เพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศลในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงเห็นว่าในการสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่นั้นเป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ เพราะเป็นสิ่งซึ่งไม่ถาวร จึงควรสร้างตึกถาวรเพื่อใช้แทน

โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2439 และได้พระราชทานเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ ตามประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ร.ศ.๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ความตอนหนึ่งว่า

"จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวิทยาลัยที่จะเล่าเรียนพระไตรปิฎกแลวิชาชั้นสูงขึ้น...เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงนี้ มีนามว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" ได้เปิดการเล่าเรียน แต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ สืบมา แต่สังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ ยังไม่เป็นที่สมควรแก่การเล่าเรียน ในสมัยที่การเรียนเจริญขึ้นสืบมานี้ จึงทรงพระราชดำริห์ที่จะทรงสร้างสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ขึ้นใหม่ให้เป็นสถานอันสมควรแก่การเล่าเรียน...ทรงพระราชอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้ เป็นสังฆิกเสนาสน์ สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเปนที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแลวิชาชั้นสูงสืบไปภายหน้า

พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อให้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป...

ขอผลแห่งพระบรมราชประสงค์ซึ่งจะทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้สถิตย์สถาพร และจะให้วิทยาการแพร่หลาย อันเป็นทางมาแห่ง ประโยชน์ความศุขของมหาชนทั่วไปนี้ จงสำเร็จ โดยพระบรมราชประสงค์ จงทุกประการ เทอญ"

โดยก่อสร้างดำเนินการมาได้ 4 ปีเศษ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกำหนดให้มีการพระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร แต่ขณะนั้นตึกถาวรวัตถุ ยังสร้างไม่สำเร็จ เพราะติดขัดเรื่องกระเบื้องมุงหลังคาสั่งทำมาจากจีนมีความผิดพลาด จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพที่พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) แทน ส่วนอาคารตึกถาวรวัตถุ ดำเนินการจนมาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 และใช้เป็นหอพระสมุดสำหรับพระนครแทน ส่วนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซึ่งได้รับสถาปนาขึ้นตามพระราชปรารภ ได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนเดิม ในนามมหาธาตุวิทยาลัยมาโดยตลอด

หน่วยวิทยบริการ • หน่วยวิทยบริการสงขลา • หน่วยวิทยบริการราชบุรี • หน่วยวิทยบริการมหาสารคาม • หน่วยวิทยบริการชลบุรี • หน่วยวิทยบริการระยอง • หน่วยวิทยบริการวัดไร่ขิง นครปฐม • หน่วยวิทยบริการวัดสามพราน นครปฐม • หน่วยวิทยบริการจันทบุรี • หน่วยวิทยบริการเพชรบุรี • หน่วยวิทยบริการสกลนคร • หน่วยวิทยบริการชัยภูมิ • หน่วยวิทยบริการอุทัยธานี • หน่วยวิทยบริการกำแพงเพชร • หน่วยวิทยบริการพิจิตร • หน่วยวิทยบริการตาก • หน่วยวิทยบริการอุตรดิตถ์ • หน่วยวิทยบริการสุพรรณบุรี • หน่วยวิทยบริการสระแก้ว • หน่วยวิทยบริการสาวิกาสิกขาลัย

สถาบันสมทบ 7 แห่ง • วิทยาลัยพระพุทธศาสนาดองกุก ชอนบอบ สาธารณรัฐเกาหลี • มหาปัญญาวิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา • มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาซินจู สาธารณรัฐไต้หวัน • ศูนย์การศึกษาพระอาจารย์พรัหม ประเทศสิงคโปร์ • วิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ประเทศศรีลังกา • วิทยาลัยพระพุทธศาสนา ประเทศสิงคโปร์ • วิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตร, ปริญญาบัณฑิต, ประกาศนียบัตรบัณฑิต, ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต กระจายไปตามสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

สาขาวิชาธรรมนิเทศ, สาขาวิชาภาษาศาสตร์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, สาขาวิชาชีวิตและความตาย, สาขาวิชาปรัชญา, สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, สาขาวิชาพุทธศาสตร์ และศิลปะแห่งชีวิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (คณะครุศาสตร์), สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, สาขาวิชาสันติศึกษา, สาขาวิชาบาลีศึกษา, สาขาวิชามหายานศึกษา, สาขาวิชาสันสกฤต และสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (แขนงวิชาการสอนทั่วไป สำหรับผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครู, สาขาการสอนสังคมศึกษา การสอนภาษาไทย การสอนภาษาอังกฤษ และการสอนพระพุทธศาสนา)

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) คือ BUDDIST STUDIES, PHILOSOPHY และ MAHAYANA BUDDHISM

หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มีทั้งหมด สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชาปรัชญา, สาขาวิชาบาลี, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, สาขาวิชาธรรมนิเทศ, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, สาขาวิชามหายานศึกษา, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, สาขาวิชาชีวิตและความตาย, สาขาวิชาสันสกฤต, สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต และสาขาวิชาภาษาศาสตร์

ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในอดีต ได้รับพระเมตตาธิคุณให้เข้ารับประสาทปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราช แต่ในปัจจุบันเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และยังไม่มีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ ทำให้ปัจจุบัน ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะได้เข้ารับประสาทปริญญาบัตรจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น จะจัดขึ้นที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี

เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170

หมายเหตุ 1: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406