มหาวิทยาลัยพะเยา (อังกฤษ: University of Phayao; ย่อ: มพ / UP) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ตั้งอยู่ในจังหวัดพะเยา เดิมเป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมา มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 จึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยพะเยาได้แยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดทำโครงการกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่จังหวัดพะเยาขึ้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ให้ก่อตั้งเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ที่ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยให้ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา" โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นอาคารเรียนชั่วคราว และเริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2542อย่างเป็นทางการเมื่อมหาวิทยาลัยสร้างเสร็จ
ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา" เพื่อเตรียมยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในอนาคตต่อไป หลังจากนั้นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ตามลำดับ
มหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ประมาณ 5,700 ไร่
พระนาคปรก สธ.60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 ประดิษฐานพระนามาภิไธย สธ. ที่ขนดด้านหน้าพระพุทธรูปนาคปรก สธ. มีขนาดความสูง 18.30 เมตร หน้าตักกว้าง 9 เมตร ประดิษฐานบนเนินเขา ด้านหลังอาคารหอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปนาคปรกประจำมหาวิทยาลัยพะเยาว่า "พระพุทธภุชคารักษ์"
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยพะเยา ประกอบไปด้วยหน่วยงานวิชาการ จำนวน 15 คณะ 3 วิทยาลัย 1 โรงเรียน 1 วิทยาเขต และ 1 โครงการจัดตั้งคณะ เปิดสอนมากกว่า 74 สาขาวิชา สอนทั้งในระดับหลักสูตร ปริญญาตรี มากกว่า 80 หลักสูตร ปริญญาโท 19 หลักสูตร และปริญญาเอก 5 หลักสูตร ดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัยจัดรถบัสโดยสารพลังงาน NGV ฟรี เดินทางโดยรอบมหาวิทยาลัย รถออกระยะห่างประมาณ 5 นาทีต่อเที่ยว บริการตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 22.00 น. ไม่มีวันหยุด โดยมีจุดรับส่งเส้นทางตั้งแต่ หน้ามหาวิทยาลัยถึงจุดเปลี่ยนรถ และจากจุดเปลี่ยนรถจนถึงหอพักนิสิตในกำกับมหาวิทยาลัย(UP DORM)
ร้านมินิมาร์ท โรงอาหาร พื้นที่สันทนาการและการพักผ่อน พื้นที่ให้บริการ wi-fiครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย ธนาคารไทยพานิชย์ สาขามหาวิทยาลัยพะเยา(อาคารเรียนรวมหลังเก่าหรือตึกPKY) ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยพะเยา(อาคารเรียนรวมหลังใหม่หรือตึกCE) ไปรษณีย์ไทย สาขามหาวิทยาลัยพะเยา(อาคารสำนักงานอธิการบดี) ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยพะเยา (อาคารเรียนรวมหลังใหม่) สนามกีฬา สระว่ายน้ำ ห้องบริการคอมพิวเตอร์ อาคารศูนย์กีฬา (Indoor Stadium) และ ศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา (กำลังสร้าง)
เนื่องจากมหาวิทยาลัยพะเยามีนโยบายรับนิสิตพื้นที่ต่างๆ ทั้งในเขตพื้นที่ให้บริการและนอกพื้นที่ให้บริการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยควรมีพอพักให้นิสิตที่ไม่สะดวกในเรื่องการเดินทางมาศึกษาโดยมหาวิทยาลัยมีหอพักไว้ให้บริการนิสิตภายในมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย หอพักของมหาวิทยาลัยเอง และหอพักในกำกับมหาวิทยาลัย รองรับนิสิตได้มากกว่า 10,000 คน
มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมต่างๆให้นิสิตได้ร่วมระหว่างศึกษาเพื่อเสริมทักษะการอยู่ร่วมในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ชมรม ชุมนุม กิจกรรมสาขา งานกีฬาต่างๆ วงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยพะเยา โดยแบ่งออกเป็น กิจกรรมส่วนกลางโดย องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา(อ.มพ.)เป็นผู้ดำเนินโครงการ กิจกรรมส่วนของคณะโดย สโมสรนิสิตแต่ละคณะทั้งหมด 15 คณะ 2วิทยาลัย กิจกรรมเลือกเสรี คือชมรมต่างๆ และมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียว ที่มีการจัดกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า กิจกรรมเวียง โดยทั้งนี้กิจกรรมเวียงแบ่งออกเป็น 6เวียง คือ เวียงกาหลวง เวียงจอมทอง เวียงบัว เวียงเชียงแรง เวียงน้ำเต้า และเวียงลอ ทั้งนี้เวียงคือระบบการปกครองหนึ่งซึ่งครั้งอดีต อาณาจักรภูกามยาว(พะเยา)ได้ปกคตรองในระบอบนี้ และทั้งนี้ยังมี สภานิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา(ส.มพ.)เป็นผู้ดูแล รักษาสิทธิ พิทักษ์ผลประโยชน์ และชีวิตความเป็นอยู่ของนิสิตภายในมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่างๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยพะเยา และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นประจำทุกปีนับแต่แรกเริ่มก่อตั้งจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ณ ห้องพระราชทานปริญญาบัตร ภายในอาคารหอประชุมพญางำเมือง
เป็นกิจกกรรมแรกของการก้าวสู่มหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่หนึ่ง โดยจะมีการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ กิจกรรมการต้อนรับและแสดงของนิสิตรุ่นพี่ โดยมีองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา(อ.มพ.)เป็นผู้ดำเนินโครงการ ร่วมกับสภานิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา (ส.มพ.)และนิสิตรุ่นพี่จากทั้งหมด 15คณะ 2วิทยาลัย โดยทั้งนี้ในปี 2558-2559 ได้มีการงดเว้นกิจกรรมดังกล่าวอันเนื่องด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ
พิธีไหว้ครูของมหาวิทยาลัย จัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ของทุกปี เพื่อให้นิสิตได้ระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ นอกจากนี่ยังมีกิจกกรรมการมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิต และมอบรางวัลนิสิตยอดเยี่ยมและดีเด่นในสาขาต่างๆ เพื่อเป็นกำลังใจในการศึกษาอีกด้วย
วันที่ 17 กรกฎาคม 2553 ถือเป็นวันมหามงคล เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยพะเยาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยาในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 และให้มีผลในวันถัดไป ดังนี้จึงถือว่า วันที่ 17 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีกิจกรรมและการแสดงหลากหลายที่ยิ่งใหญ่ในวันดังกล่าวทุกปี
พิธีบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช "ศักดิ์ศรี ศักดิ์สิทธิ์ สัมฤทธิ์พระนาม" เป็นกิจกรรมที่นับว่าเป็นกิจกรรมที่นิสิตใหม่ทุกคน ต้องได้เข้าร่วมและต่างภาคภูมิใจ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงคุณูปการต่อแผ่นดินไทย และระลึกถึงมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้ง ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยพะเยาในปัจจุบัน และกิจกรรมเดินเข้ามหาวิทยาลัยนี้เป็นกิจกรรมที่สานต่อประเพณีอันดีงาม โดยนำชื่อของเวียงแต่โบราณของจังหวัดพะเยามาใช้เป็นชื่อของกลุ่มนิสิตที่ดำเนินกิจกรรม เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนในท้องถิ่นจังหวัดพะเยา นำเอาอัตลักษณ์มาประยุกต์เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ก่อเกิดประโยชน์ต่อไป ซึ่งแต่ละเวียงก็จะมีรูปแบบการจัดขบวนที่แตกต่างกันตามปรัชญาของเวียง โดยเน้นศิลปวัฒนธรรมทางล้านนา โดยมีงาน แสง สี เสียง สุดอลังการ
กิจกรรมของน้องใหม่ ที่จัดโดยองค์การนิสิต (อ.มพ.) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงกลางวัน จะเป็นการแข่งขันกีฬาภายในโดยจัดแข่งขัน ลีดเดอร์ผู้นำเชียร์ สแตนด์เชียร์ กีฬาชนิดต่างๆ จากทั้ง 15 คณะและ 2 วิทยาลัย และในช่วงกลางคืน จะเป็นกิจกรรมประกวดดาวเดือนของมหาวิทยาลัย โดยภายในมีกิจกรรมการแสดงของผู้เข้าประกวดดาวเดือนจากทุกคณะทุกวิทยาลัย และมีการแสดงของศิลปิน ดารา โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานบริษัทเอกชนภายนอก