ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาสศูนย์เกษตรศาสตร์ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสศูนย์การอาชีพตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสศูนย์พยาบาลศาสตร์ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (อังกฤษ: Princess of Naradhiwas University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 77 ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาสก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ภายหลังจากการหลอมรวมวิทยาลัยต่างๆ และยกฐานะขึ้นจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี โดยชื่อ "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" นั้น ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลปัจจุบัน เนื่องด้วยพระองค์ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 14ก วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกันยายน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีสำคัญต่างๆในกิจการของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเสด็จฯแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในเขตภาคใต้อีกด้วย

อธิการบดีมหาวิทยาลัยคนปัจจุบันคือ ผศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี และมีศ.นพ.ดร.กระแส ชนะวงศ์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย

จังหวัดนราธิวาส มีสถาบันอุดมศึกษา รวม 7 แห่ง โดยมีประชากรกลุ่มอายุที่ได้รับการศึกษาระดับนี้เพียงร้อยละ 2.4 ซึ่งต่ำที่สุดของประเทศ โดยอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2543 มีเพียงร้อยละ 37.2 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาเฉลี่ยทั่วประเทศ ในปีเดียวกัน ที่ร้อยละ 81.1 ค่อนข้างมาก

ภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชาแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดของประเทศ ประมาณร้อยละ 80 ของชาวมุสลิมที่มีอยู่ทั่วประเทศ และยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษาที่มีการบูรณาการหลักการทางศาสนาอิสลามที่เปิดสอนถึงระดับอุดมศึกษา ทำให้ปัจจุบันจึงมีนักเรียนมุสลิมของไทยต้องเดินทางไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดนราธิวาส นอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่และประหยัดงบประมาณของประเทศในการสูญเสียดุลการค้าระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างเอกภาพและคมมั่นคงของชาติ ต้องการเชื่อมโยงการศึกษากับศาสนาเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนชาวมุสลิม ช่วยก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐและประชาชนชาวมุสลิม ให้เกิดความรัก ความสามัคคี ลดความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง รวมทั้งการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ในระยะแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่าโครงการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยนราธิวาส" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้นจึงได้มีการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 พระราชทานตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รูปมงกุฎสีทอง ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ตอนกลางเป็นอักษรย่อพระนาม กว. และอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสีน้ำทะเล ซึ่งสีฟ้าน้ำทะเล หรือสีฟ้าอมเขียว ของอักษรพระนามย่อ และอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นสีประจำพระองค์

แรกเริ่มศูนย์กลางการจัดการศึกษา มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลาง อยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานอธิการบดี ณ ศูนย์ราชการใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นที่จัดตั้งพื้นที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต

ภายหลังจากการยกฐานะของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์แล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งอาคาร สถานที่และบุคลากร โดยมุ่งหวังที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาในศาสตร์ทุกสาขาที่มีความจำเป็นต้องสังคมและประเทศชาติ จึงมีการจัดตั้งคณะ วิทยาลัยต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา และจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัย และขยายหน่วยงานของมหาวิทยาลัย โดยมีที่ทำการถาวร บริเวณ ศูนย์ราชการจังหวัดนราธิวาส โดยในระยะแรกได้ใช้อาคารเรียนของวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เป็นที่จัดการเรียนการสอน ซึ่งเปิดหลักสูตรในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ โดยรับนักศึกษาทั้งในระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี คณะแรกๆเกิดจากการยกระดับจากวิทยาลัยขึ้นเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ และคณะเกษตรศาสตร์

ต่อจากนั้นจึงมีการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะศิลปศาสตร์ ตามลำดับ หลังจากมหาวิทยาลัยใช้เวลาเตรียมการด้านต่างๆ เพื่อเปิดสอนเวลาประมาณ2ปี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จึงได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา พ.ศ. 2549

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็น 1 ใน 2 มหาวิทยาลัยที่เกิดจากการรวมหลายสถาบันการศึกษาเข้าด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เพิ่มสาขาด้าน “การแพทย์” ขณะที่มหาวิทยาลัยนครพนมเพิ่มสาขาทางด้าน “การบิน”

ในการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" และ "มหาวิทยาลัยนครพนม" นั้นใช้หลักการหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่แล้ว เป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ เป็นการกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปในจังหวัดพื้นที่ตั้งมหาวิทยาลัยและจังหวัดใกล้เคียงให้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษามากขึ้น อันจะส่งผลพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชากร นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทั้งเป็นการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานในท้องถิ่น ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น กับทั้งยังสามารถจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น

การจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์” นั้นเกิดจากการหลอมรวมของ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ เป็นองค์กรเดียวกัน โดยไม่ขัดต่อปรัชญาการศึกษาและภารกิจของสถาบันการศึกษาเดิม การบริหาร การจัดการและการดำเนินการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ของประเทศ

ส่วนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนครพนมเกิดจาการหลอมรวมสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม วิทยาลัยเทคนิคนครพนม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม เข้าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดนราธิวาสและนครพนมเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นรอยต่อออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งที่จังหวัดนราธิวาสและนครพนมนอกจากจะเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะรองรับการศึกษาต่อและการใช้บริการทางการอุดมศึกษาให้กับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย

เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ

เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษามากขึ้น อันจะส่งผลพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชากรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการจัดการศึกษา ตามแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมทั้งเป็นการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานในท้องถิ่น ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น กับทั้งยังสามารถจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น

ช่วยเสริมสร้างเอกภาพและความมั่นคงของชาติ ด้วยการเชื่อมโยงการศึกษากับศาสนาเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนมุสลิม ช่วยก่อให้เกิดความรัก ความผูกพัน และสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม วัฒนธรรม และประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ลดความขัดแย้งทางสังคม การเมือง และการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

เป็นการพัฒนาให้จังหวัดนราธิวาส เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา วิจัยโดยเฉพาะด้านอิสลามศึกษาในภูมิภาค อันจะช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศของเยาวชนที่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังจะสามารถดึงดูดนักศึกษาจากต่างชาติให้เข้ามาศึกษาในประเทศเพิ่มขึ้น

นราธิวาสราชนครินทร์ คือ สร้อยพระนามทรงกรมที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน เป็นพระองค์แรกในรัชกาล ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดนราธิวาส เสมือนเป็นเจ้าแห่งเมืองนราธิวาส(สืบเนื่องมาจากการที่พระราชโอรส-ธิดาและพระราชนัดดาที่พระราชสมภพสืบราชสกุลแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ล้วนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ทรงกรมตามนามหัวเมืองทางภาคใต้ทั้งสิ้น ดังเช่นพระนามทรงกรมเดิมในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ "กรมหลวงสงขลานครินทร์")

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอนุญาตให้อัญเชิญพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ "กว." ล้อมรอบด้วยอักษรชื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์สีน้ำทะเล เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549

คือดอกพิกุลสีขาวนวลเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เปรียบประดุจความดีงามของบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลีบดอกเป็นจักร เปรียบประดุจความแหลมคมของปัญญา กลิ่นหอมกรุ่นเปรียบได้กับความดีงามที่ไม่มีวันจาง แม้เมื่อร่วงจากต้นลงสู่พื้นหรือไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ยังคงความดีงามอยู่ตลอดกาล

ศึกษา วิจัยวิชาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์ เป็นรากฐานในการพัฒนาคน ชุมชนของ3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

มุ่งมั่นให้การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะวิชาชีพ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์ ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม และดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางศิลปะและวัฒนธรรมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองและฟ้าเข้มทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี และเส้นมีการจัดสีพื้นกับสีประจำคณะ สีของเส้นที่แสดงระดับของวุฒิคือ ปริญญาตรี 1 เส้น ปริญญาโทและเอกใช้ 2 และ 3 เส้น ตามลำดับนั้น

เนื่องจากมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2548 แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอว่าควรกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นรูปมงกุฎสีทองซึ่งเป็นตราพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ส่วนบนเป็นมงกุฎสีทอง ส่วนกลางมีอักษรย่อพระนาม กว.สีฟ้าน้ำทะเล ส่วนล่างเป็นโบว์สีทองวงซ้อนพับกัน ภายในแถบโบว์มีชื่อ"มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์"สีฟ้าน้ำทะเล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีพระวินิจฉัยและพระราชทานอนุญาต เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 และสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการและต่อมาจึงได้ประกาศ "พระราชกฤษฎีกากำหนดตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2551" โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยสมบูรณ์

ครั้นเมื่อมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษา และได้จัดการเรียนการสอนรวมทั้งผลิตบัณฑิตแล้ว มหาวิทยาลัยจึงได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ณ หอประชุมคณะพยาบาลศาสตร์ (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนราธิวาส-เดิม) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนับได้ว่าเป็น "พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของจังหวัดนราธิวาส"

ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช 2548

เป็นวันคล้ายวันเสด็จสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ "พระผู้พระราชทานกำเนิดนามนราธิวาสราชนครินทร์" ตรงกับวันที่ 2 มกราคม ของทุกปี

อนุสรณ์สถานแห่งนี้ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้จัดออกแบบก่อสร้างลานเทิดพระเกียรติ และได้สร้างอนุสรณ์สถานให้กับพระองค์ขึ้นในที่ดินแปลงใหม่ บริเวณศูนย์ราชการ ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

อนุสรณ์สถานดังกล่าวจัดสร้างในลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม ทรงบัว กว้างด้านละ 2 เมตร สูงจากพื้นถึงปลายยอด 3 เมตร ที่ปลายยอดเป็นตราสัญลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในรูปแบบมงกุฎสีทอง ทำด้วยทองเหลืองลอยตัวตามลักษณะสีของมหาวิทยาลัยฯ และอักษรย่อพระนาม กว.เป็นตัวนูนต่ำทำด้วยสแตนเลสสีฟ้าน้ำทะเล สะท้อนถึงบารมีของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และชื่อเสียงมหาวิทยาลัยที่กว้างไกลออกไปทุกสารทิศ ส่วนฐานของอนุสรณ์สถานเป็นที่ติดตั้งตัวหนังสือแสดงชื่อมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์มีอธิการบดี ดังรายนามต่อไปนี้

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท(อยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตร) ครอบคลุมทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาคปกติ ภาคพิเศษ และระดับประกาศนียบัตร

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 7 คณะ 3 วิทยาลัย และ 1 สถาบัน ดังต่อไปนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ในเขตภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้พระราชทานนามให้แก่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนใช้สนับสนุนและพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างอาคาร สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เขตศูนย์ราชการแห่งใหม่ บริเวณนี้ซึ่งเป็นที่ตั้งของ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สำนักงานอธิการบดี และหอประชุมใหญ่

เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมด

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการก่อสร้างอาคาร ในพื้นที่การก่อสร้างอาคารของแต่ละคณะและแต่ละหน่วยงานนั้นคำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาเป็นหลัก โดยมีคณะ และสำนักงานต่างๆ แบ่งออกเป็น กลุ่มอาคารสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร โดยพื้นที่การสร้างมหาวิทยาลัยแห่งใหม่จะประกอบไปด้วย สาธารณูปโภค และสวัสดิการต่างๆที่เอื้ออำนวยความสะดวก แก่เจ้าหน้า อาจารย์ และนักศึกษาและมีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารต่างๆ โดยแบ่งพื้นที่การศึกษา และเนื้อที่ใช้สอยต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. งานออกแบบ

หลังจากที่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้จัดตั้งแล้วและรวมวิทยาลัยต่างๆเข้าด้วยกัน จึงได้ขยายพื้นที่ไปที่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอระแงะ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมุ่งหวังให้แต่ละศูนย์เขตการศึกษาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเฉพาะตามที่วิทยาลัยเดิมจัดการศึกษาอยู่แล้ว มีคณะที่จัดตั้งได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ โดยพื้นที่คณะเกษตรศาสตร์ และวิทยาลัยการอาชีพตากใบนั้น มิได้จัดการบริหารแบบวิทยาเขตแต่อย่างใด

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เลขที่ 49 ถ.ระแงะมรรคา ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส 96000 โทรศัพท์ 0-7351-1174, 0-7351-1192 โทรสาร 0-7351-1905 อีเมล: [email protected]


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406