ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 • ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 • ศูนย์ลำปาง 248 หมู่ 2 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า มธ. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม.ธ.ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผู้ประสาสน์การและอธิการบดีมาแล้ว 23 คน อธิการบดีคนปัจจุบันคือ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และนายกสภามหาวิทยาลัย คือ ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอีก 30 วันต่อมา

มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบไปด้วย 19 คณะ 4 วิทยาลัย1 สถาบัน 1 สำนักวิชา จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร ปริญญาโท 99 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ (ข้อมูล พ.ศ. 2550) นอกจากนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอีกด้วย

การปฏิวัติสยาม เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ก่อให้เกิด มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เนื่องจากในคำประกาศของคณะราษฎร ระบุว่า การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น “เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่” เป็นผลให้ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ประการที่ 6 ระบุว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” สถาบันศึกษาแบบใหม่ ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยาม ได้รับการศึกษาชั้นสูง โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีควบคู่ไปกับการปฏิวัติ

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปีเดียวกัน โดยมีใจความสำคัญว่า

มาตรา 4 ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่ง เรียกว่า 'มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง' มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมาย วิชาการเมือง วิชาเศรษฐการ และบรรดาวิชาอื่น ๆ อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง

มาตรา 5 ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้น มาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ ก่อนวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477

จากนั้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก เสด็จในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ณ ที่ตั้งเดิมของโรงเรียนกฎหมาย ริมถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา โดยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ กล่าวในโอกาสก่อตั้งมหาวิทยาลัยว่า

การตั้งสถานศึกษา ตามลักษณะมหาวิทยาลัย ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์และเป็นปัจจัย ในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยาม จะเจริญในอารยธรรมได้ ก็โดยอาศัยการศึกษาอันดีตั้งแต่ชั้นต่ำ ตลอดจนการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้น การที่จะอำนวยความประสงค์ และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้ จึงจำต้องมีสถานการศึกษา ให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น

มหาวิทยาลัย ย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร เห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น

ในช่วงเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ. 2477–2479) การเรียนการสอนของ ม.ธ.ก. ยังคงดำเนินอยู่ที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2478 ม.ธ.ก.ขอซื้อที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมเป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิม พร้อมทั้งสร้างตึกโดม โดยทุนซึ่งใช้จัดซื้อที่ดิน รวมทั้งการก่อสร้าง ได้มาจากเงินที่ ม.ธ.ก.เก็บจากค่าสมัครและค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ ม.ธ.ก.ยังจัดตั้งสถาบันการเงินขึ้น สำหรับให้นักศึกษาวิชาการบัญชี ใช้เป็นสถานที่ฝึกงานคือ ธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารเอเชีย และปัจจุบันคือธนาคารยูโอบี) และเมื่อ พ.ศ. 2481 ม.ธ.ก. ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญา มีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อที่ ม.ธ.ก.โดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญา มีหลักสูตรการสอน หนักไปทางภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาทางสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น แต่ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2490

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ รัฐบาลนำคำว่า “การเมือง” ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย เหลือเพียง “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” พร้อมทั้งยกเลิกตำแหน่งผู้ประศาสน์การ โดยใช้ชื่อตำแหน่งว่าอธิการบดีแทน หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต เปลี่ยนแปลงเป็นคณะนิติศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495

พ.ศ. 2518 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้น เห็นควรขยายการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มขึ้น พื้นที่เดิมบริเวณท่าพระจันทร์ ไม่เพียงพอขยายตัวทางวิชาการ และการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอแลกเปลี่ยนที่ดิน กับบริเวณนิคมอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เรียกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากนี้ ยังขยายไปที่ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยาด้วย

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังคงดำเนินการเรียนการสอน และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติทั้งหมด และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนการสอนที่ศูนย์รังสิต และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มสังคมศาสตร์ โครงการนานาชาติ และโครงการพิเศษ จัดการเรียนการสอนที่ท่าพระจันทร์

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาทรงดนตรี ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงบรรเลงทำนองเพลงที่จะพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยด้วย โดยเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 36 มีนายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และยกร่างโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

อนึ่ง ประชาคมธรรมศาสตร์มักเรียกเพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ และต้นหางนกยูงฝรั่งว่า ยูงทอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจโดยตรง รวมทั้งพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วย

สัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็คือ ตึกโดม คำว่า "ลูกแม่โดม" หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แต่เดิมเมื่อเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ในระดับปริญญาตรีมีเปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียวคือ "ธรรมศาสตร์บัณฑิต" (ธ.บ.) ซึ่งเน้นวิชากฎหมาย รวมถึงกฎหมายที่เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้นคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ และมีวิชารัฐศาสตร์และวิชาเศรษฐศาสตร์แทรกอยู่ด้วย ส่วนในระดับปริญญาโทนั้นมีแยกสามแขนงคือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และต่อมาได้มีหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชีซึ่งเทียบเท่าปริญญาโท และในระดับระดับปริญญาเอกมีสี่แขนงคือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการทูต แต่ใน พ.ศ. 2492 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตก็ได้ถูกยกเลิกไป และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรปริญญาตรีเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ แทน ตาม “ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492”

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบไปด้วย 19 คณะ 4 วิทยาลัย1 สถาบัน 1 สำนักวิชา จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร ปริญญาโท 99 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ (ข้อมูล พ.ศ. 2550)

นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา อาทิ สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา และสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร

นอกจาก วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยแล้ว คณะต่าง ๆ ได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนนานาชาติสำหรับนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายหลักสูตรด้วยกัน โดยคณะที่เปิดหลักสูตรในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ คณะนิติศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, คณะรัฐศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2553 โดยโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติและส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล มีระยะเวลา 3 ปีงบประมาณ (พ.ศ. 2553–2555) อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 (โครงการ SP2) ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยไทย ส่งผลโดยตรงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับแผนพัฒนาประเทศเป็นศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ของภูมิภาค ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาตินั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ มีต้นทุนทางบุคลากรสูง เพราะฉะนั้นจึงมุ่งใช้ศักยภาพของบุคลากรในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เช่น ในเรื่องของการวิจัย โดยส่งเสริมให้สร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ตอบสนองต่อสังคม และมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการทำวิจัยให้เป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี รวมถึงการผลิตทรัพยากรบุคคลในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีในประเทศไทย ใช้นวัตกรรมที่เกิดจากความมีอิสระทางความคิด ตลอดจนมีอิสระในการบริหารจัดการภายใน และมีศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาที่จะสามารถวางทิศทางได้ จึงมีเอกลักษณ์ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติได้อย่างชัดเจน

ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 6 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 8 ในด้านการวิจัยของประเทศไทย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการการประเมินครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2553) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีมากในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีโยธา, ภาควิชาวิศวกรรมระบบการผลิต, และภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีโยธา, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบการผลิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการบัณฑิตศึกษา สาขาชีวเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2558 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้นๆจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 10 ของประเทศไทย อันดับที่ 221 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 917 ของโลก

จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส ประจำปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 601-650 ของโลก ส่วนการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 5 สาขา พบว่ามหาวิทยาลัยติดอันดับในสาขาสังคมศาสตร์ โดยอยู่ในอันดับที่ 264 และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 4 ของประเทศไทยการจัดอันดับแบบภาพรวม

ส่วนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในทวีปเอเชียประจำปี พ.ศ. 2557 โดยแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับแตกต่างจากระดับโลก พบว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 134 ของเอเชีย ส่วนการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 5 สาขา พบว่า มหาวิทยาลัยติดอันดับในสาขาสังคมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 40 และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 4 ของประเทศไทยในภาพรวม

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 1575 ของโลก และเป็นอันดับ 9 ของประเทศไทย

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 9 ของประเทศไทย และอันดับ 1370 ของโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีศูนย์กลางบริหารอยู่ที่ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร และมีศูนย์ในภูมิภาคอีก 5 ศูนย์

ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าพระจันทร์ ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ในเริ่มแรกแห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม (เพราะบุคลากรตลอดจนทรัพย์สินของโรงเรียนกฎหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลง หลังจากรอการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย จึงโอนมาเป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหมด) เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงซื้อที่ดินจากกรมทหารซึ่งเป็นคลังแสงเดิม แล้วจึงย้ายมาอยู่บริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและสนามหลวง มีเนื้อที่ 49 ไร่ เป็นศูนย์แรกของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงคล)

ท่าพระจันทร์แห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นสถานที่ที่นักศึกษาและประชาชนได้มาชุมนุมประท้วงกัน กรณีจอมพล ประภาส จารุเสถียร และจอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับมาประเทศไทย (หลังลี้ภัยออกนอกประเทศไปเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) และนำไปสู่เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คน

เช้าตรู่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลานโพเป็นสถานที่เริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน ซึ่งถูกรัฐบาลจับกุม ต่อมามีผู้เข้าร่วมสนับสนุนการชุมนุมเพิ่มมากขึ้น จนต้องย้ายไปชุมนุมที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนหลายแสนคน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาเที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา

ลานโพ ยังมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่อ พ.ศ. 2519 คือ เป็นสถานที่แสดงละครล้อการเมืองของนักศึกษาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามประโคมข่าวว่านักศึกษาแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งมีการชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มพลังต่าง ๆ จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ล้อมปราบสังหารนักศึกษา และประชาชน

ลานปรีดี และอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ เป็นอนุสรณ์แห่งแรกที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขนวนการเสรีไทย และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวงใน พ.ศ. 2325 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 ขึ้น จึงมีการขุดพื้นดินต่าง ๆ และจัดแสดงรูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่ากาลครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้า

อนึ่ง นักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่าการที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย คือ วังหน้า มีความหมายว่า สถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณของการช่วยเหลือสถาบันทางอำนาจและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมา

กำแพงเก่า คือ กำแพงด้านถนนพระจันทร์ ซึ่งเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนที่ชาวธรรมศาสตร์เรียกกันว่า "กำแพงชรา" คือ กำแพงของพระราชวังบวรสถานมงคลที่เหลืออยู่ แต่เดิมกำแพงชราจะมีทั้งด้านถนนพระจันทร์และด้านถนนพระธาตุ–สนามหลวง โดยมีประตูป้อมตรงหัวมุมถนนพระจันทร์–หน้าพระธาตุ เชื่อมกำแพงทั้งสองด้านและเป็นประตูสำหรับการเข้าออก ต่อมาในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี กำแพงและประตูป้อมด้านถนนพระธาตุ–สนามหลวงได้ถูกรื้อลงเพื่อก่อสร้างหอประชุมใหญ่

ใน พ.ศ. 2527 ได้มีการจัดสร้างประตูป้อมขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเฉลิมฉลองการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุครบรอบ 50 ปี ในการก่อสร้างประตูป้อมในครั้งนั้น ได้มีการขุดค้นพบปืนใหญ่ของวังหน้าจำนวน 9 กระบอก ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเป็นปืนใหญ่รุ่นโบราณผลิตจากประเทศอังกฤษ ที่ต้องใส่ดินปืน และลูกปืนจากทางด้านหน้าทาง โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้นำขึ้นมาบูรณะแล้วจัดตั้งแสดงไว้ที่ริมรั้วหน้าหอประชุมใหญ่ด้านสนามหลวง

หอประชุมใหญ่ใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัยและนักศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับพิธีไหว้ครู พิธีพระราชทานปริญญาบัตร และที่สำคัญได้แก่การจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หอประชุมใหญ่กลายเป็นสถานที่ที่มีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ สภาพการเมืองและสังคม ผ่านการอภิปรายและการจัดนิทรรศการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นเสมือนด่านหน้าในการป้องกันการโจมตี จากกลุ่มอันธพาลการเมือง และการล้อมปราบนิสิตนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

แต่เดิมท่าพระจันทร์นี้ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีด้วย แต่ในปัจจุบันหลักสูตรทั้งหมดดังกล่าวได้ขยายไปอยู่ที่ศูนย์รังสิตแล้วตามนโยบายมหาวิทยาลัย เหลือเพียงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรควบปริญญาตรี–โท และปริญญาตรีโครงการพิเศษ

ในช่วงของการพิจารณาขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิตดังกล่าวนั้น ได้มีการต่อต้านอย่างหนักจากประชาคมธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ และชุมชนท่าพระจันทร์ (ดูจิตวิญญาณธรรมศาสตร์)

ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 1,757 ไร่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน” โดยมีสถาบันที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดีในขณะนั้นได้รับโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินทุ่งรังสิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม และศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีใน พ.ศ. 2518 ที่เห็นว่าในการพัฒนาประเทศนั้น จะขาดบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ มหาวิทยาลัยจึงวางแผนการขยายวิทยาเขตไปที่ชานเมือง

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์อาคารโดมบริหาร และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และปลูกต้นยูงทอง ณ บริเวณอาคารโดมบริหาร พร้อมทั้งทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในคราวเดียวกันด้วย และต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาเปิดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2528 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2528 จึงเป็นคณะแรกที่เปิดสอนที่ศูนย์รังสิต ในปีการศึกษา 2529

17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณค่าก่อสร้างจากรัฐบาลญี่ปุ่น และในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร

ต่อมาใน พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยเห็นควรสร้างอาคารหอพระและเอนกประสงค์ศาลาในบริเวณเดียวกับองค์พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อพระ จำนวน 4 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งพระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า .พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอพระเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธธรรมทิฐิศาสดามาประดิษฐาน ณ หอพระดังกล่าว

ภายในศูนย์ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียนต่าง ๆ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อาคารอำนวยการ อาคารบริการวิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา โรงพิมพ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ร้านอาหาร ร้านค้าและธนาคาร กลุ่มหอพักนักศึกษาและบุคลากร โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาคารระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้าย่อย และโรงบำบัดน้ำเสีย ศูนย์นี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศูนย์กีฬากลางแจ้งและในร่มขนาดใหญ่ ที่เคยเป็นสนามกีฬารองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2541 และ กีฬามหาวิทยาลัยโลก พ.ศ. 2550

ปัจจุบัน ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2548 วันที่ 20 มิถุนายน 2548 ศูนย์นี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน สำหรับหลักสูตรภาคปกติทุกกลุ่มวิชา โดยเริ่มต้นสำหรับนักศึกษาที่รับเข้าในปีการศึกษา 2549 และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมไปถึง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

ตั้งอยู่ที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง–เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ "อาคารสิรินธรารัตน์"

ภายในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น นอกจากเป็นที่ตั้งของคณะต่าง ๆ แล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ ดังนี้

การเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีการศึกษา แต่สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และโครงการบูรณาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ใช้เวลา 5 ปีการศึกษา ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จะใช้เวลา 6 ปีการศึกษา

ตลอดระยะเวลาการเรียนนอกจากการเรียนวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยและวิชาบังคับเลือกของสาขาวิชาแล้ว ยังสามารถลงทะเบียนวิชาเลือกเสรีหรือวิชาโทข้ามคณะและสาขาวิชาได้อย่างเสรี ยกเว้นหลักสูตรที่ด้วยสภาพการณ์แล้วไม่สามารถทำได้ เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นต้น นอกจากการพบปะกันในคณะหรือสาขาวิชาแล้ว ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชุมนุมชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้ากลุ่มของคณะ การเล่นกีฬา และสำหรับคณะหรือสถาบันที่มีระบบโต๊ะกลุ่มหรือระบบบ้าน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ยังมีโอกาสที่จะได้พบปะหรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่โต๊ะกลุ่มหรือบ้านได้อีกด้วย

1.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) กิจกรรมภายในของนักศึกษานั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การของนักศึกษา โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา

2.สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 3 วิทยาเขต คือ รังสิต ท่าพระจันทร์ และ ลำปาง ทำหน้าที่พิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง–ยุบชุมนุมชมรม รวมไปถึงการพิจารณากฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของแต่ละศูนย์ หากมีเรื่องเร่งด่วนจะมีการประชุมสภาทั้งหมด โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา

3.คณะกรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กพน.) กำกับดูแลหอพักนักศึกษา โดยทำงานประสานกับกลุ่มงานผู้ช่วยอาจารย์หอพัก สำนักงานจัดการทรัพย์สิน

4.คณะกรรมการนักศึกษา คณะกรรมการนักศึกษาของแต่ละคณะมีทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมและเป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ อยู่ในความดูแลของรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาของคณะนั้นๆ

องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา ชมรมชุมนุม และกลุ่มอิสระต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา ยกเว้นชุมนุมสายกีฬาที่มีที่ทำการอยู่ ณ ศูนย์บริการการกีฬา อาคารยิมเนเซียม 7 และคณะกรรมการหอพักนักศึกษา สภานักศึกษาหอพัก ชมรมชุมนุมหอพักอยู่ภายในศูนย์ต่าง ๆ ที่หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ ศูนย์เหล่านี้เรียกว่า "น็อก" (NOC) เพราะเดิมเป็นที่พักคณะกรรมการโอลิมปิกส์แห่งชาติ (National Olympic Committee)

การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิตมีลักษณะคล้ายกับนิสิตนักศึกษาอื่นในกรุงเทพฯ โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนบริเวณรอบ ๆ มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมีบริการหอพักสำหรับนักศึกษา คือ หอพักรัชดาภิเษก เขตตลิ่งชัน เดิมตั้งอยู่ ณ บริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ ซึ่งเป็นบริเวณเขตพระราชฐาน เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่นักศึกษาที่ยากจนและขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงไม่มีที่พักในกรุงเทพฯ ให้อยู่อาศัยในราคาย่อมเยาเพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษา ต่อมาจึงได้ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน ทั้งนี้ พ.ศ. 2552 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งดูแลหอพักได้ปรับปรุงหอพักขึ้นใหม่ และจัดเก็บอัตราค่าใช้บริการค่อนข้างสูง ในปัจจุบันจึงมักจะเป็นที่พักอาศัยของบุคลากร และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นที่ต้องการที่พักในการเดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำหรับศูนย์รังสิต สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลระบบการจัดสรรที่พักอาศัยของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ได้ออกระเบียบให้นักศึกษาต้องแจ้งย้ายเข้าทะเบียนราษฎร์ของตนเองเข้ามาในทะเบียนบ้านกลางของมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาแต่ละคณะจะมีบ้านเลขที่ประจำคณะตนเองภายใต้ท้องถิ่นตำบลคลองหนึ่ง เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี เช่น เลขที่ 99/3 หมู่ 18 สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และ 99/8 หมู่ 18 สำหรับคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยได้มีสวัสดิการที่พักสำหรับนักศึกษา หลายกลุ่ม และราคา ดังนี้

อนึ่ง อาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ มักมีปัญหาเรื่องการร้องเรียนค่าไฟฟ้าสูงเกินจริง หรือการบริหารงานแบบธุรกิจเอกชนโดยไม่ให้นักศึกษามีส่วนร่วม แต่กระนั้นนักศึกษาก็แจ้งความประสงค์เข้าพักอาศัยเป็นจำนวนมาก

โครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารทียูโดมยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 แต่ก็ได้เปิดให้นักศึกษาเข้าพักอาศัยแล้ว และเป็นอาคารหอพักที่ประสบปัญหาและข้อร้องเรียนเป็นอย่างมาก ล่าสุดบริษัทผู้รับสัมปทานมีโครงการเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554

อนึ่ง กลุ่มหอพักทั้งสี่กลุ่ม เป็นอาคารหอพักแบบแยกอาคารที่พักหญิง และอาคารที่พักชาย นักศึกษาไม่สามารถเข้าออกในอาคารที่พักของนักศึกษาต่างเพศได้ มีบริการรับทำความสะอาดภายในห้องพัก บริการให้เช่าเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ และตู้เย็น ทั้งนี้ กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ และกลุ่มอาคารหอพักใน มีเวลาเปิดปิดอาคารไม่ให้เข้าออกอาคาร คือ 05:00–24:00 นาฬิกา แต่สำหรับหอพักโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และกลุ่มอาคารหอพักทียูโดมเปิดให้เข้าออกได้ตลอดเวลา

การจัดสรรที่พักสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์รังสิต โดยปกติใช้วิธีการจับสลาก ไม่ได้ใช้การพิจารณาจากลำดับก่อนหลัง หรือความใกล้ไกลของภูมิลำเนา

การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีลักษณะคล้ายกับท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในอำเภอเมืองห้างฉัตร หรือใกล้เคียง ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนในตัวเมืองจังหวัดลำปาง ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีหอพักสวัสดิการสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์ลำปาง โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับกลุ่มอาคารหอพักใน ณ ศูนย์รังสิต

สามารถเดินทางมาศูนย์รังสิต ได้หลายเส้นทางทั้งทางรถยนต์โดยผ่านถนนพหลโยธิน หรือ ทางพิเศษอุดรรัถยา และ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) โดยผ่านถนนเชียงราก/ถนนคลองหลวง รถเมล์ สาย 29 39 และ 510 รถตู้โดยสารร่วม ขสมก. สาย ต.85 จาก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ สาย ต.118 จาก รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต/รถไฟฟ้ามหานคร สถานีสวนจตุจักร รถตู้โดยสารปรับอากาศท่าพระจันทร์–ศูนย์รังสิต และรถตู้โดยสารปรับอากาศจากฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รวมทั้งสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่ที่หยุดรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับการเดินทางในมหาวิทยาลัย มีรถโดยสารเชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวี บริการรับ–ส่งนักศึกษาและบุคลากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และรถโดยสารขนาดเล็ก (สองแถว) ให้บริการในราคาประหยัด รถทั้ง 2 ประเภทให้บริการ 3 เส้นทางดังนี้

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้มีบริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับทางมหาวิทยาลัยไว้บริการในราคาประหยัดอีกด้วย

สถานีรถไฟที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ ที่หยุดรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรองรับ การแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยตั้งอยู่หลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปัจจุบันมีขบวนรถชานเมืองและธรรมดา หยุดรับส่งผู้โดยสาร 11 ขบวนต่อวัน โดยมีตารางรถไฟดังนี้

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตเป็นประจำทุกปี โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนมากจะจัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม โดยกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยใช้หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร

ใน พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีเงื่อนไขส่วนหนึ่งว่าด้วยการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย ต่อมา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้เปลี่ยนสภาพมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของตน มีหลักการสคำคัญที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและคล่องตัวอันจะช่วยให้จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกำกับของรัฐเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการได้พิจารณาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้อง และได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... ขึ้นมาฉบับหนึ่ง ใน พ.ศ. 2543 แล้วนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเผยแพร่ให้ประชาคมธรรมศาสตร์แสดงความคิดเห็น

หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2546 กำหนดหลักการกลาง 10 ประการที่ต้องมีในร่างพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทุกฉบับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... ส่งคืนมาให้มหาวิทยาลัยแก้ไข แต่มหาวิทยาลัยเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติสอดคล้องกับหลักการกลางที่คณะรัฐมนตรีกำหนดแล้ว จึงไม่แก้ไขอีก และส่งร่างพระราชบัญญัติคืนให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา

การเปลี่ยนสภาพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก่อให้เกิดการคัดค้านและการตั้งคำถามต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะสนใจเพียงค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งกิจกรรมกลายเป็นธุรกิจมากขึ้น จนใส่ใจต่อสังคมน้อยลง หรือผู้บริหารจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการพิจารณาสัญญาจ้างและในการประเมินพนักงาน จนนำไปสู่ระบบเผด็จการของผู้บริหารหรือไม่

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... และส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

โรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง หรือ เตรียมธรรมศาสตร์ (ต.มธก.) ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2481 มีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น โรงเรียนเตรียมปริญญามีทั้งหมดรวม 8 รุ่น จนถึง พ.ศ. 2490 จึงถูกยกเลิกไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406