ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มวยปล้ำอาชีพ

มวยปล้ำอาชีพ (อังกฤษ: professional wrestling) โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบหนึ่งของศาสตร์กีฬามวยปล้ำที่นักมวยปล้ำได้รับค่าตอบแทน ที่ความหมายในปัจจุบันอ้างอิงไปถึง มวยปล้ำที่มีการจัดผลการปล้ำไว้ล่วงหน้า มวยปล้ำอาชีพสมัยใหม่โดยส่วนใหญ่ จะมีการโจมตีประเภทต่อยเตะและอื่น ๆ ที่ไม่มีในศาสตร์มวยปล้ำดั้งเดิม

มวยปล้ำอาชีพสมัยใหม่ถือเป็นการแสดงชนิดหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นการแสดงศิลปะการต่อสู้ เพื่อความบันเทิง ที่แสดงความแข็งแกร่ง ท่าทาง และท่ากายกรรมต่าง ๆ ในแบบของกีฬาต่อสู้ โดยระดับความสมจริงจะแตกต่างกัน ตั้งแต่แบบอเมริกัน ที่เน้นความสมจริงปานกลางและเสริมด้วยการแสดงอื่น ๆ, แบบญี่ปุ่น ที่เน้นความสมจริงอย่างมาก, ไปจนถึงแบบเม็กซิกัน ("ลูจา ลิเบร" Lucha libre) ที่เน้นท่ากายกรรมอย่างมาก

1.แบบปล้ำเดี่ยว (Single Match) - เป็นกติกาพื้นฐาน และเป็นกติกาหลักของมวยปล้ำอาชีพ นั่นคือ ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองคน จะต้องต่อสู้กันบนเวที โดยใช้การโจมตีด้วยการใช้กำปั้นทุบ, การเตะ, การฟันด้วยสันมือ, การฟันศอก, การตีเข่า, การวิ่งเข้าปะทะ, การเด้งตัวกับเชือกกั้นเวทีแล้ววิ่งเข้าปะทะ, การเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้ตกเวที, การเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เด้งกับเชือกกั้นเวทีแล้วจับทุ่ม เข้าปะทะ หรือโจมตี, การใช้ท่อนแขนหรือท่อนขาฟาด, การพุ่งเข้าปะทะจากบนเสามุมเวที, การกระโดดทับตัวของคู่ต่อสู้และการซ้ำคู่ต่อสู้ด้วยการทิ้งท่อนแขน, ท่อนขา, ศอก, ก้น, เข่า, ฝ่าเท้า (จากบนพื้นเวทีหรือจากบนเสามุมเวทีก็ได้) และ การจับทุ่มคู่ต่อสู้ การแข่งขันจะจบลงพร้อมผลแพ้ชนะ เมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกดไหล่อีกฝ่ายหนึ่งให้แตะติดพื้นเวที จนกระทั่งกรรมการผู้ห้ามเข้ามาแล้วนับ 1 ถึง 3 หากกรรมการนับครบถึงเลข 3 ไปแล้ว ไหล่ของผู้ที่ถูกกดไหล่ยังคงถูกอีกฝ่าย (ซึ่งเป็นผู้กดไหล่) กดติดพื้นเวทีอยู่ จะถือว่าการกดไหล่ของผู้กดไหล่ครั้งนั้นสำเร็จ การปล้ำก็จะยุติลง และผู้ที่กดไหล่คู่ต่อสู้ได้สำเร็จเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าหากไหล่ของผู้ที่ถูกกดไหล่นั้นได้หลุดออกไปจากการกดไหล่ไปก่อนที่กรรมการผู้ห้ามจะนับได้ถึงเลข 3 ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม จะถือว่าการกดไหล่ของผู้กดไหล่ครั้งนั้นไม่สำเร็จ และจะต้องต่อสู้กันไปจนกว่าจะสามารถกดไหล่อีกฝ่ายได้สำเร็จ ผู้แข่งขันสามารถใช้ท่าล็อกที่จะขัดขวางการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายแสดงสัญญาณการขอยอมแพ้ โดยกรรมการจะเข้าไปถามว่า ยอมแพ้ไหม? (Give up?) หากฝ่ายที่ถูกใช้ท่าออกสัญญาณยอมแพ้โดยตบพื้น หรือ แตะส่วนของร่างกายที่ถูกล็อก กรรมการจะหยุดการปล้ำ และให้ฝ่ายที่ใช้ท่าล็อก เป็นผู้ชนะทันที ผู้ถูกใช้ท่าล็อกสามารถดิ้นออกจากล็อก เพื่อหลบหนีออกจากการถูกล็อกได้ หรือ เข้าไปจับเชือกเวที (Rope break) เพื่อให้คู่ต่อสู้หยุดใช้ท่าล็อกได้ หากมีผู้เข้าแข่งขันตกลงไปจากเวทีหรือเดินลงไปจากเวทีทั้ง ๆ ที่การแข่งขันยังไม่มีผลแพ้ชนะ กรรมการผู้ห้ามจะนับ 1 ถึง 10 (Ring out count) (ช่วงประมาณปีค.ศ1960-1999 จะนับ 1 ถึง 20) เพื่อให้เวลาผู้ที่ตกลงไปจากเวทีได้กลับขึ้นมา หากไม่กลับขึ้นมาเมื่อครบจำนวนตัวเลขที่ทางกรรมการผู้ห้ามได้นับ ก็จะถูกปรับแพ้ ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่บนเวทีจะชนะทันที หากกลับขึ้นมา การปล้ำก็จะถูกดำเนินต่อไป จนกระทั่งมีผลแพ้ชนะ หากผู้เข้าแข่งขันทั้งสองฝ่ายลงไปต่อสู้กันล่างเวที กรรมการก็จะนับ Ring out count เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาสู้บนเวที หากฝ่ายที่ลงเวทีก่อนกลับขึ้นมา แล้วอีกฝ่ายที่ลงเวทีไปทีหลังไม่ขึ้นมา กรรมการจะเริ่มการนับใหม่ เพื่อฝ่ายที่ลงเวทีทีหลังได้ขึ้นมา แต่หากฝ่ายที่ลงเวทีไปก่อนยังไม่ขึ้น แต่ฝ่ายที่ลงเวทีไปทีหลังขึ้นมาก่อน กรรมการจะนับไปเรื่อย ๆ จนถึงที่ได้กำหนดไว้ หากไม่กลับขึ้นมาก็จะแพ้ทันที หากทั้งสองฝ่ายล้มลงนอนบนเวทีทั้งคู่ ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กรรมการจะนับ 1-10เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีเวลาลุกขึ้นมา หากไม่ลุกขึ้นมาทั้งคู่ กรรมการผู้ห้ามจะยุติการแข่งขัน และจะให้ผลออกมาเสมอกัน หากลุกขึ้นมาทั้งคู่ การแข่งจะถูกดำเนินต่อไป จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะออกมา การกดไหล่ด้านล่างเวทีนั้นกรรมการจะไม่นับให้ ต้องกดไหล่กันบนเวทีเท่านั้น กรรมการถึงจะนับ1-3 และตัดสินผลแพ้ชนะ (ยกเว้นการแข่งแบบ Hardcore ที่ผู้แข่งสามารถกดไหล่ด้านล่างเวทีได้) ส่วนการนำเอาสิ่งของจากด้านล่างมาใช้เป็นอาวุธบนเวทีหรือการนำอาวุธระยะประชิดมาใช้บนเวทีนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกติกา (หากการแข่งขันไม่ได้เป็นแบบ Hardcore หรือในแบบที่ใช้อาวุธบนเวทีได้) ผู้ที่ใช้อาวุธเข้าโจมตีคู่ต่อสู้บนเวทีจะถูกปรับแพ้ และให้ผู้ที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธเป็นฝ่ายชนะไป การนำสิ่งของมาใช้เป็นอาวุธและการใช้อาวุธระยะประชิดชนิดใดก็ตามจะต้องถูกกระทำ ณ บริเวณด้านล่างเวทีเท่านั้น จึงจะทำได้ ส่วนการชกคู่ต่อสู้ด้วยหมัดนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในการต่อสู้แบบมวยปล้ำอาชีพ

2.แบบแท็กทีม (Tag Team Match) - ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองฝ่ายจะต้องมาแบบทีม หนึ่งทีมจะมี 2 คน ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมต้องส่งตัวแทน 1 คน ไปต่อสู้กับตัวแทนอีก 1 คน ของฝ่ายตรงข้าม ในบริเวณสังเวียน ส่วนอีกคนหนึ่งจะต้องยืนเกาะเชือกเวที เพื่อรอเปลี่ยนตัวบริเวณด้านข้างมุมเสาเวทีอยู่ทางด้านนอก การที่อีกคนหนึ่งจะเข้าไปต่อสู้ได้นั้น จะต้องถูกแตะมือ หรือถูกสัมผัส โดยผู้แข่งขันร่วมทีมของตัวเองที่ได้ออกไปต่อสู้ก่อน จึงจะเข้าไปสู้แทนได้ ส่วนนักมวยปล้ำผู้ร่วมทีมที่ได้ออกไปต่อสู้ก่อนหน้านี้ เมื่อได้เข้าไปแตะมือ หรือสัมผัสตัวของผู้ร่วมทีมอีกคนหนึ่งซึ่งกำลังยืนเกาะเชือกเวทีเพื่อรอเปลี่ยนตัวแล้ว ก็จะต้องไปยืนเกาะเชือกเวทีรออยู่บริเวณมุมเสาเวทีอยู่ทางด้านนอกแทน (สามารถอยู่ภายในบริเวณสังเวียนก่อนได้ เพียงชั่วขณะหนึ่ง) จนกว่าจะถูกแตะมือหรือถูกสัมผัสโดยสมาชิกร่วมทีมของตัวเองที่เข้าไปต่อสู้ในบริเวณสังเวียนแทน แล้วถึงจะเข้าไปสู้อีกได้ ทั้งสองทีมจะต่อสู้กันรูปแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะ การตัดสินผลแพ้ชนะนั้น จะตัดสินแบบเป็นทีม คือ เมื่อมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งของทีมใดทีมหนึ่งสามารถเอาชนะสมาชิกคนใดคนหนึ่งของทีมอีกฝ่ายไปได้ด้านบนเวที ทีมที่มีสมาชิกที่เอาชนะอีกฝ่ายไปได้คนนั้น ก็จะเป็นทีมที่ชนะไปเลยทันที กติกาหลักของการปล้ำรูปแบบนี้ ไม่ต่างจากการปล้ำแบบเดี่ยว และเอาชนะกันด้วยการกดไหล่นับสาม และการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ เช่นกัน

3.แบบแท็กทีมหกคน (6-Man Tag Team Match) - เป็นการปล้ำแบบแท็กทีม ในแบบที่ทั้งสองฝ่าย จะมาเป็นทีมที่มีสมาชิกทีมละ 3 คน

4.แบบ 3 เส้า (Triple Threat) - เป็นการปล้ำในแบบที่จะมีผู้แข่งขันจำนวนสามคนอยู่บนเวทีเดียว โดยที่ทั้งสามคนจะต้องตะลุมบอนกันเอง เพื่อแย่งชิงชัยชนะที่จะมีให้เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น โดยหากนักมวยปล้ำคนใดก็ตามในสามคนนี้ สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้คนใดคนหนึ่งไปได้ ด้วยการกดไหล่นับสามหรือการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ การปล้ำจะยุติลงและนักมวยปล้ำผู้ที่เอาชนะคู่ต่อสู้คนใดคนหนึ่งไปได้นั้นก็จะเป็นผู้ชนะไปในทันที นั่นหมายความว่าเมื่อการปล้ำแบบสามเศร้ายุติลง จะมีผู้แพ้ไปทีเดียวทันทีถึงสองคน ส่วนผู้ชนะก็จะมีเพียงหนึ่งคนเท่านั้น ในหลายครั้ง การปล้ำแบบสามเศร้าจะมีการนำกติกาแบบ Hardcore เข้ามาผสม ซึ่งจะทำให้นักมวยปล้ำทั้งสาม สามารถนำสิ่งของจากล่างเวที มาใช้เป็นอาวุธบนเวทีได้ รวมถึงการกดไหล่เอาชนะและการยอมแพ้ท่าล็อกจากด้านล่างเวที การปล้ำแบบสามเศร้าจะไม่มีการนับให้ขึ้นเวทีหรือ Ring out count

5.แบบ 4 เส้า (Fatal Four-Way) - เป็นการปล้ำในแบบที่จะมีผู้แข่งขันจำนวนสี่คนอยู่บนเวทีเดียว โดยที่ทั้งสี่คนจะต้องตะลุมบอนกันเอง เพื่อแย่งชิงชัยชนะที่จะมีให้เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น โดยหากนักมวยปล้ำคนใดก็ตามในสี่คนนี้ สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้คนใดคนหนึ่งไปได้ ด้วยการกดไหล่นับสามหรือการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ การปล้ำจะยุติลงและนักมวยปล้ำผู้ที่เอาชนะคู่ต่อสู้คนใดคนหนึ่งไปได้นั้นก็จะเป็นผู้ชนะไปในทันที นั่นหมายความว่าเมื่อการปล้ำแบบสี่เศร้ายุติลง จะมีผู้แพ้ไปทีเดียวทันทีถึงสามคน ส่วนผู้ชนะก็จะมีเพียงหนึ่งคนเท่านั้น ในหลายครั้ง การปล้ำแบบสี่เศร้าจะมีการนำกติกาแบบ Hardcore เข้ามาผสม ซึ่งจะทำให้นักมวยปล้ำทั้งสี่ สามารถนำสิ่งของจากล่างเวที มาใช้เป็นอาวุธบนเวทีได้ รวมถึงการกดไหล่เอาชนะและการยอมแพ้ท่าล็อกจากด้านล่างเวที การปล้ำแบบสี่เศร้าจะไม่มีการนับให้ขึ้นเวที Ring out count

6.แบบแท็กทีมทอร์นาโด (Tornado Tag Team Match) - เป็นการปล้ำในแบบที่นักมวยปล้ำจะแบ่งเป็นสองทีม ทีมละฝ่าย และจำนวนสมาชิกในแต่ละทีมจะมีเท่ากัน ทั้งสองทีมจะต้องต่อสู้กัน เข้าตะลุมบอนอีกทีมหนึ่ง หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งของทีม สามารถเอาชนะสมาชิกคนใดคนหนึ่งของทีมอีกฝ่ายด้านบนเวทีไปได้ด้วยการกดไหล่นับสาม หรือใช้ท่าล็อกจนสมาชิกคนใดคนหนึ่งของอีกฝ่ายยอมแพ้ ทีมที่มีสมาชิกคนที่สามารถเอาชนะคนใดคนหนึ่งจากทีมอีกฝ่ายไปได้นั้นก็จะเป็นทีมที่ชนะ การปล้ำแบบแท็กทีมทอร์นาโด เป็นการปล้ำอีกแบบหนึ่ง ที่มักจะมีการนำกติกาการปล้ำแบบ Hardcore เข้ามาผสม นั่นก็คือ การนำสิ่งของจากล่างเวที มาใช้เป็นอาวุธบนเวทีได้ รวมถึงการกดไหล่เอาชนะและการยอมแพ้ท่าล็อกจากด้านล่างเวที การปล้ำแบบแท็กทีมทอร์นาโดจะไม่มีการนับให้ขึ้นเวที Ring out count

7.แบบ แบทเทิล รอยัล (Battle Royal) - เป็นการปล้ำในแบบที่นักมวยปล้ำทั้งหมดบนเวทีจะต้องเข้าตะลุมบอนต่อสู้กันเอง จนกระทั่งเหลือนักมวยปล้ำอยู่บนเวทีเพียงแค่คนเดียว ในการปล้ำแบบ แบทเทิล รอยัล 1 ครั้งนั้น จะมีนักมวยปล้ำที่ต่อสู้อยู่บนเวที ตั้งแต่ 3 คน, 4 คน หรือจะมากกว่านั้นก็ได้ (โดยทั่วไปแล้ว จะปล้ำกันไม่เกิน 20 ถึง 30 คน ต่อหนึ่งเวที) นักมวยปล้ำแต่ละคนจะต้องเอาชนะคู่ต่อสู้บนเวทีให้มากที่สุด จนกระทั่งเหลือตนอยู่คนเดียว การเอาชนะคู่ต่อสู้แต่ละคนในการปล้ำแบบ แบทเทิล รอยัล นั้น จะมีตั้งแต่แบบทั่วไป นั่นคือการกดไหล่นับสาม และการใช้ท่าล็อกจนคู่ต่อสู้ยอมแพ้ และแบบพิเศษ นั่นคือการเหวี่ยง, โยน, หรือดันคู่ต่อสู้ให้หล่นลงจากด้านบนเวทีมาสัมผัสกับพื้นเบาะด้านล่างเวทีผ่านเหนือด้านบนของเชือกกั้นเวทีเส้นที่สาม (เส้นด้านบนสุด) นักมวยปล้ำที่ถูกเอาชนะได้นั้น จะถูกคัดออกจากการปล้ำครั้งนี้ไปเรื่อย ๆ ส่วนเหล่านักมวยปล้ำที่ยังไม่ถูกเอาชนะได้นั้นก็ต้องทำการปล้ำต่อไป จนกระทั่งเหลือนักมวยปล้ำที่ยังไม่ถูกเอาชนะจากใครได้เลยอยู่บนเวทีจำนวนหนึ่งคน นักมวยปล้ำผู้ซึ่งเหลือรอดอยู่บนเวทีเพียงผู้เดียวในการปล้ำ แบบ แบทเทิล รอยัล นั้นก็จะเป็นผู้ชนะ

8.แบบ แฮนดิแคป (Handicap Match) - เป็นการปล้ำในแบบที่นักมวยปล้ำในแต่ละฝ่ายจะมีจำนวนไม่เท่ากัน เช่น ฝ่ายหนึ่งมีเพียงคนเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสองคน, ฝ่ายหนึ่งมีสองคน แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสามคน, หรือฝ่ายหนึ่งมีสามคน แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิบคน เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายที่มีจำนวนคนมากกว่ามักจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในการปล้ำแบบแฮนดิแคปนี้ การปล้ำแบบแฮนดิแคปจึงมักจะนำเสนอออกมาในรูปแบบที่เน้นความสนุกสนานของผู้ชมเป็นหลัก ไม่ได้มีกลิ่นไอของการแข่งขัน มากเท่ากับการปล้ำที่ในแต่ละฝ่ายมีจำนวนคนเท่ากัน

1.การปล้ำแบบ ฮาร์ดคอร์ (Hardcore Match) - เป็นการปล้ำที่นักมวยปล้ำทั้งสองคน สามารถนำสิ่งของจากทางด้านล่างเวทีต่อสู้ มาใช้เป็นอาวุธเพื่อโจมตีคู่ต่อสู้ในระยะประชิดบนเวทีได้ ต่างจากแบบการปล้ำธรรมดาซึ่งนักมวยปล้ำไม่สามารถนำสิ่งของจากด้านล่างเวทีมาใช้เป็นอาวุธบนเวทีได้ สิ่งของที่มักจะถูกนำมาเป็นอาวุธบนเวทีในการปล้ำแบบฮาร์ดคอร์ ได้แก่ เก้าอี้พับ, โต๊ะไม้, ขั้นบันไดเหล็ก, บันไดปีน, ถังขยะและฝาถังขยะ, ไมโครโฟนพิธีกร, ระฆังมวย, โซ่, ไม้เบสบอล, ไม้เคนโด้, ฯลฯ (ซึ่งสิ่งที่นักมวยปล้ำมักนำขึ้นมาเป็นอาวุธนั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อใช้ในการแสดงเท่านั้น และมีการซักซ้อมคิวบู้กันเป็นอย่างดีแล้ว) ในการปล้ำแบบ ฮาร์ดคอร์ นั้น นักมวยปล้ำทั้งสองสามารถเอาชนะกันได้ ณ บริเวณด้านล่างของเวทีต่อสู้ ด้วยการกดไหล่นับสาม และการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ และจะไม่มี Ring out count หรือการนับให้ขึ้นเวที นั่นหมายความว่า นอกจากด้านบนเวทีต่อสู้แล้ว การปล้ำแบบฮาร์ดคอร์สามารถถูกดำเนินไปได้ในทุกจุดบริเวณใกล้กับเวทีต่อสู้

2.การปล้ำแบบใช้บันไดปีน (Ladder Match) - เป็นการปล้ำแบบพิเศษที่มีวิธีการเอาชนะคู่ต่อสู้อยู่วิธีเดียวเท่านั้น คือการปีนบันไดขึ้นไปเก็บสิ่งของสำคัญบางอย่างที่ทางผู้จัดห้อยไว้เหนือเวทีต่อสู้ลงมา (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเข็มขัดแชมป์) ไม่สามารถใช้การกดไหล่นับสามและการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ได้ นักมวยปล้ำสามารถใช้บันได้ปีนโจมตีคู่ต่อสู้ได้ทั้งบนเวทีและล่างเวที และจะไม่มีการนับให้ขึ้นเวที หรือ Ring out count นักมวยปล้ำจะใช้ได้แค่บันไดปีนในการโจมตีคู่ต่อสู้บนเวทีเท่านั้น สำหรับบันไดปีนที่นักมวยปล้ำจะได้ใช้ในการปล้ำแบบใช้บันไดปีนนี้นั้น มักจะถูกตั้งหรือพับไว้อยู่ด้านล่างเวทีต่อสู้ เมื่อการปล้ำเริ่มขึ้น นักมวยปล้ำจะไปหยิบและนำขึ้นมาใช้บนเวทีเอง และมักจะมีให้เพียงหนึ่งตัว หรือ มากกว่าสองตัวขึ้นไป

3.การปล้ำในกรงเหล็ก (Cage Match) - เป็นการปล้ำที่จะมีกำแพงตาข่ายเหล็กมาวางล้อมรอบเวทีต่อสู้ไว้ตลอดทั้งสี่ทิศ นักมวยปล้ำทั้งสองจะต้องต่อสู้กันบนเวทีซึ่งถูกล้อมรอบด้วยกำแพงตาข่ายเหล็กเวทีนั้น นักมวยปล้ำผู้ที่สามารถปีนข้ามกำแพงตาข่ายเหล็กออกมาสัมผัสพื้นด้านล่างเวที (ซึ่งอยู่ภายนอก) ได้เป็นคนแรก ก็จะเป็นผู้ชนะ ในหลาย ๆ คู่ นักมวยปล้ำสามารถเอาชนะกันได้ด้วยการนำตัวเองออกมาจากเวทีต่อสู้ผ่านทางประตูบนกำแพงตาข่ายเหล็ก ให้ลงมาสัมผัสพื้นด้านล่างเวทีได้ก่อนคู่ต่อสู้ จึงจะเป็นฝ่ายชนะ และมีในบางคู่เท่านั้น ที่นักมวยปล้ำสามารถเอาชนะกันได้ด้วยการกดไหล่นับสาม และ การใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ เช่นเดียวกับการปล้ำแบบทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การจะเอาชนะคู่ต่อสู้ในการปล้ำในกรงเหล็กนั้น มีเพียงแค่การลงมาสัมผัสพื้นด้านล่างเวทีต่อสู้ให้ได้เป็นคนแรก ก่อนคู่ต่อสู้ เท่านั้น

4.การปล้ำในกรงเหล็กแบบ "เฮลล์ อิน อะ เซลล์" (Hell in a Cell Match) - เป็นการปล้ำที่จะมีกรงเหล็กแบบมีเพดานครอบเวทีต่อสู้เอาไว้ นักมวยปล้ำทั้งสองจะต้องเริ่มต่อสู้กันบนเวทีต่อสู้ซึ่งมีกรงเหล็กแบบมีเพดานนั้นครอบไว้ ในการปล้ำแบบ "เฮลล์ อิน อะ เซลล์" นักมวยปล้ำสามารถออกไปต่อสู้กันภายนอกกรงเหล็กได้ โดยไม่มีการนับให้กลับขึ้นเวที และสามารถนำสิ่งของจากด้านล่างเวทีต่อสู้มาใช้เป็นอาวุธระยะประชิดบนเวทีต่อสู้ได้ ส่วนผลแพ้ชนะนั้น จะมาจากการกดไหล่นับสาม หรือ การใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ การปล้ำในกรงเหล็กแบบ "เฮลล์ อิน อะ เซลล์" ปัจจุบัน จะจัดขึ้นโดย สมาคมมวยปล้ำอาชีพ เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (World Wrestling Entertainment) หรือ WWE เท่านั้น

5.การปล้ำแบบ "ไอ ควิท" ("I Quit" Match) - เป็นการปล้ำที่นักมวยปล้ำทั้งสองคน (สองฝ่าย) จะต้องจับทุ่ม, ต่อสู้ หรือจู่โจม ให้อีกฝ่ายเกิดความเจ็บปวดทางร่างกายให้มากที่สุด จนกระทั่งมีนักมวยปล้ำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บอกกับกรรมการผู้ห้าม หรือ บอกกับผู้ชมผ่านไมโครโฟนว่า "ขอเลิก" หรือ "ฉันขอเลิก" ("I quit." ไอ ควิท) ออกมาด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นการแสดงการยอมจำนนต่อนักมวยปล้ำอีกฝ่าย และจะทำให้นักมวยปล้ำอีกฝ่าย เป็นผู้ชนะไปในทันที การปล้ำแบบ ไอ ควิท นั้น จะไม่มีการกดไหล่นับสามเพื่อเอาชนะ ไม่มีการนับให้ขึ้นเวที หรือ Ring out count และจะไม่มีการปรับแพ้เมื่อมีการนำเอาสิ่งของจากล่างเวทีมาใช้เป็นอาวุธระยะประชิด

6.การปล้ำแบบใช้โต๊ะ (Table Match) - เป็นการปล้ำที่นักมวยปล้ำทั้งสองฝ่าย ต้องหาทาง ทุ่มฝ่ายตรงข้ามลงบนโต๊ะไม้ ให้โต๊ะไม้หักลงมาเป็นสองท่อน หรือ วางคู่ต่อสู้นอนลงบนโต๊ะไม้ แล้วกระโดดเข้าซ้ำคู่ต่อสู้ที่นอนอยู่บนโต๊ะไม้ให้โต๊ะไม้หักลงมาเป็นสองท่อน หรือ พาดโต๊ะไม้ไว้ที่มุมเสาเวที แล้วเหวี่ยงหรือเข้าปะทะคู่ต่อสู้ให้เข้าไปชนกับโต๊ะไม้ที่พาดไว้ ให้โต๊ะไม้หักครึ่งลงมาเป็นสองท่อน ใครทำได้ก่อนก็จะเป็นผู้ชนะ สำหรับโต๊ะไม้ที่ใช้ในการปล้ำแบบใช้โต๊ะนี้ จะเป็นโต๊ะไม้แบบพิเศษสำหรับใช้ในการปล้ำ ซึ่งทางผู้จัดจะได้จัดไว้ให้ (ตั้งแต่สองถึงสามตัวขึ้นไป) และจะถูกตั้งหรือพับไว้ด้านล่างเวทีหรือถูกพับเก็บไว้บริเวณด้านใต้ของเวทีต่อสู้ การปล้ำแบบใช้โต๊ะ จะไม่มีการนับให้ขึ้นเวที หรือ Ring out count ไม่มีการเอาชนะกันด้วยการกดไหล่นับสาม และ การใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ นักมวยปล้ำสามารถนำโต๊ะไม้เหล่านั้น ขึ้นมาเป็นอาวุธบนเวทีได้ (ไม่ควรใช้เป็นอาวุธจนโต๊ะเกิดความเสียหายจนไม่สามารถใช้ในการทุ่ม หรือ ซ้ำฝ่ายตรงข้าม ให้โต๊ะหักลงเป็นสองท่อนได้) นักมวยปล้ำไม่สามารถนำสิ่งของชนิดอื่นจากล่างเวทีมาใช้เป็นอาวุธได้ในการปล้ำแบบใช้โต๊ะ

7.การปล้ำแบบ "ลัมเบอร์แจ็ค" (Lumberjack Match) - เป็นการปล้ำที่นักมวยปล้ำทั้งสองฝ่ายปล้ำกันแบบปกติบนเวทีต่อสู้ เอาชนะกันด้วยการกดไหล่นับสาม และการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ เช่นเดียวกับการปล้ำแบบธรรมดาทั่วไป แต่บริเวณด้านล่างเวทีต่อสู้ จะมีกลุ่มนักมวยปล้ำกลุ่มใหญ่อยู่กลุ่มหนึ่ง คอยจับตัวนักมวยปล้ำฝ่ายใดก็ตามที่หล่นลงจากบนเวทีต่อสู้ลงมา เพื่อทำการรุมเข้าโจมตีและโยนหรือดันนักมวยปล้ำฝ่ายนั้นกลับขึ้นไปบนเวทีต่อสู้ในช่วงระหว่างการปล้ำ ตำแหน่งของกลุ่มนักมวยปล้ำกลุ่มใหญ่กลุ่มนี้ เรียกว่า "กลุ่มคนตัดไม้" ("The Lumberjacks" เดอะ ลัมเบอร์แจ๊คส์) (หากเป็นกลุ่มนักมวยปล้ำหญิง จะเรียกว่า "The Lumberjills" เดอะ ลัมเบอร์จิลส์)

มวยปล้ำอาชีพเข้ามาแพร่ภาพในประเทศไทย ทาง โทรทัศน์ ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2530, ทางเคเบิลทีวี และทาง วิดีโอและวีซีดี โดยผู้ที่บรรยายเทปมวยปล้ำอาชีพคนแรกในเมืองไทย ได้แก่ เจือ จักษุรักษ์ ต่อมามวยปล้ำอาชีพกลับมาเป็นที่นิยมในช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2540 โดยส่วนหนึ่งมาจากการบรรยายของ สุวัฒน์ กลิ่นเกษร หรือที่รู้จักกันในผู้ชมมวยปล้ำอาชีพในนาม "น้าติง"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406