มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ศาสนาพุทธเป็นเรื่องความรู้สึกทางใจ อารมณ์ ความรู้สึกทางกาย และประชาน พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้เหตุทางประชานและทางอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์ เหตุทางอารมณ์ก็คือความโลภและอารมณ์ลบตรงกันข้ามคือความโกรธ ส่วนเหตุทางประชานก็คือความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ หรือการไม่รู้จักไตรลักษณ์ ซึ่งก็คือทุก ๆ สิ่งเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่มีอัตตา
ดังนั้น จากมุมมองทางจิตวิทยา มรรคมีองค์แปดเป็นวิธีการเปลี่ยนรูปแบบทางความคิดและพฤติกรรม นี่เป็นเหตุผลที่องค์แรกของมรรคก็คือสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ถูกต้อง เป็นการมองเห็นโลกทางใจ โดยเป็นส่วนที่จัดว่า "ปัญญา" ในไตรสิกขา ความเห็นถูกสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับองค์มรรคที่สอง คือสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นความคิดที่ถูกต้อง เป็นเรื่องรูปแบบความคิดที่ควบคุมการกระทำของตน เราสามารถเห็นการทำงานขององค์เหล่านี้ในบาทแรก ๆ จากธรรมบท คือ
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น
ดังนั้น โดยเปลี่ยนการเห็นโลกที่บิดเบือน แล้วมองโลกอย่างมี "ใจดี" แทนที่ "ใจชั่ว" บุคคลก็จะสามารถเห็นทุกข (ในทุกสิ่ง)ได้ นักจิตวิทยาท่านนั้นชี้เรื่องนี้จากมุมมองทางจิตวิทยาว่า
งานวิจัยได้แสดงแล้วว่า การกระทำ การเรียน และการจำ ที่ทำซ้ำ ๆ สามารถเปลี่ยนระบบประสาททางกายภาพได้จริง ๆ เปลี่ยนทั้งระดับความไวและการเชื่อมต่อกันของไซแนปส์ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้โดยจงใจเปลี่ยนอารมณ์และการกระทำ ซึ่งก็จะเป็นตัวเปลี่ยนประสบการณ์ในกาลต่อ ๆ ไป