มนุษย์ต่างดาว (อังกฤษ: alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน
สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra ["เกินกว่า" หรือ "ไม่ใช่ของ"] และ terrestris ["อาศัยอยู่บนโลก, เป็นของโลก"]) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี
สิ่งมีชีวิตเอเลียน เช่น แบคทีเรีย ได้รับการตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่าจะมีอยู่ในระบบสุริยะและตลอดทั่วไปทั้งเอกภพ สมมติฐานนี้ขึ้นอยู่กับขนาดที่กว้างใหญ่ (vast size) และกฎทางกายภาพที่สอดคล้องกันของเอกภพที่สังเกตได้ จากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้ทำโดยนักวิทยาศาสตร์เช่นคาร์ล เซแกน และ สตีเฟน ฮอว์คิง, ก็ได้มีความเห็นพ้องกันว่าไม่น่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการที่จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ที่อื่นนอกเหนือจากโลก ข้อโต้แย้งนี้ได้ถูกรวบรวมอยู่ในหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัส (Copernican principle), ที่ระบุว่าโลกไม่ได้ครอบครองตำแหน่งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาล, และหลักความธรรมดาสามัญ (mediocrity principle) ซึ่งถือว่าไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับชีวิตบนโลก คุณสมบัติทางเคมีของชีวิตอาจจะเพิ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่เกิดบิ๊กแบงเมื่อประมาณ 13.8 พันล้านปีที่ผ่านมา, ในช่วงยุคที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เมื่อจักรวาลมีอายุได้เพียง 10 ถึง 17 ล้านปี ชีวิตอาจจะปรากฏเกิดขึ้นมาได้อย่างเป็นอิสระในสถานที่หลายแห่งทั่วทั้งจักรวาล หรือมิฉะนั้นชีวิตอาจก่อตัวขึ้นได้อย่างไม่บ่อยครั้งนักแล้วจึงได้แพร่กระจายออกไปในระหว่างดาวเคราะห์ที่มีความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือ สภาพที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ผ่านวิธีการแบบแพนสเพอร์เมีย (panspermia) หรือ เอ็กเซลแเจแนซิส (Exogenesis) ซึ่งมีวิธีการที่มาจากสมมติฐานที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นสมมติฐานที่ว่าชีวิตที่มีอยู่ทั่วทั้งจักรวาลนั้นได้ถูกแพร่กระจัดกระจายไปสู่ห้วงอวกาศและดาวเคราะห์ต่าง ๆ โดยอุกกาบาต, ดาวเคราะห์น้อย, ดาวหาง, และ วัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ (planetoids) ในกรณีใด ๆ โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อนที่จำเป็นสำหรับชีวิตอาจจะเกิดขึ้นในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดของเม็ดฝุ่นคอสมิคที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ก่อนที่จะมีการก่อตัวขึ้นของโลกโดยที่ได้มีการศึกษาโดยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ตามที่ได้อ้างอิงจากการศึกษาถึงสิ่งเหล่านี้, กระบวนการเดียวกันนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้กับดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่มีดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณโดยรอบ (โปรดดูเพิ่มเติมที่โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ต่างดาว (Extraterrestrial organic molecules)) สถานที่แนะนำที่ชีวิตอาจจะได้มีการพัฒนาขึ้น ได้แก่ ดาวเคราะห์เช่น ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี, ดวงจันทร์ไททันและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2011, นักวิทยาศาสตร์นาซ่ารายงานว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัส "เป็นดาวเคราะห์น้องใหม่ที่มีแนวโน้มที่น่าสนใจที่มีสภาพที่เหมาะสมเป็นแหล่งที่เอื้ออิงอาศัยอยู่ได้สำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดนอกเหนือจากโลกของเราในระบบสุริยะเท่าที่เรารู้จักกันดีที่สุดในตอนนี้"
นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งเสนอแนะส่งเสริมต่อแนวความคิดที่ว่า "เขตอาศัยได้" (habitable zone) เป็นอาณาบริเวณที่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาจจะสามารถพบเจอได้
สมมติฐานหลายข้อได้รับการเสนอเกี่ยวกับพื้นฐานที่เป็นไปได้ของชีวิตต่างดาวจากมุมมองทางชีวเคมี, วิวัฒนาการ หรือลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ทุกชีวิตบนโลกนั้นมีพื้นฐานอยู่บนองค์ประกอบทางเคมี 26 ชนิด อย่างไรก็ดี, ประมาณ 95% ของชีวิตนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเพียงหกอย่างเหล่านี้ คือ: คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ไนโตรเจน, ออกซิเจน, ฟอสฟอรัส, และกำมะถัน อักษรย่อคือ CHNOPS ทั้งหกองค์ประกอบเหล่านี้เป็นรูปแบบของการสร้างบล็อกขั้นพื้นฐานของแทบทุกชีวิตบนโลกในขณะที่ส่วนใหญ่ขององค์ประกอบที่เหลือจะพบในปริมาณเพียงเล็กน้อย
ชีวิตบนโลกต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในการที่ปฏิกิริยาชีวเคมีจะเกิดขึ้นได้ ปริมาณที่เพียงพอของคาร์บอนและองค์ประกอบอื่นๆพร้อมกับน้ำอาจช่วยให้มีการก่อกำเนิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่มีสารเคมีเป็นต้นกำเนิดพื้นฐาน (make-up) และมีช่วงของอุณหภูมิในย่านที่คล้ายกันกับโลก ดาวเคราะห์หิน เช่น โลกเกิดขึ้นได้จากกระบวนการที่ช่วยให้สำหรับความเป็นไปได้ของการมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับโลก การรวมกันของคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในรูปแบบทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต (เช่น น้ำตาล) สามารถเป็นแหล่งของพลังงานเคมีที่ชีวิตจะต้องพึ่งพาอาศัย และสามารถเอื้ออำนวยให้เกิดเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างสำหรับชีวิต (เช่น น้ำตาลไรโบส (ribose) ในโมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) และ อาร์เอ็นเอ (RNA) และเซลลูโลส (cellulose) ในพืช) พืชได้รับพลังงานโดยแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีโดยผ่านทางการสังเคราะห์ด้วยแสง สิ่งมีชีวิตตามที่เป็นที่รับรู้กันในตอนนี้นั้นต้องการคาร์บอนในรูปแบบของปฏิกิริยารีดอกซ์ของทั้งสองแบบ (คือ จำพวกก๊าซมีเธน) และที่อยู่ในสภาพผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นบางส่วน (คาร์บอนออกไซด์) ไนโตรเจนเป็นสิ่งจำเป็นลดลงของอนุพันธ์แอมโมเนียในโปรตีนทั้งหมด กำมะถันเป็นอนุพันธ์ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ในโปรตีนที่จำเป็นบางส่วนและฟอสฟอรัสจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็นฟอสเฟตในสารพันธุกรรมและในการถ่ายโอนพลังงาน
น้ำบริสุทธิ์นั้นมีประโยชน์เพราะมันมีค่าพีเอชที่เป็นกลางเนื่องจากการแยกตัวออกจากกันอย่างต่อเนื่องระหว่างไฮดรอกไซด์และไฮโดรเนียม ไอออน (hydronium ions) เป็นผลทำให้มันสามารถละลายทั้งไอออนบวกของโลหะและไอออนลบของสารที่ไม่ใช่โลหะด้วยความสามารถที่เท่าเทียมกันได้ นอกจากนี้ความจริงที่ว่าโมเลกุลสารอินทรีย์ที่สามารถเป็นได้ทั้งแบบไฮโดรโฟบิกที่ไม่ชอบน้ำ (ขับไล่น้ำ) หรือแบบไฮโดรฟิลิค (hydrophilic) (ละลายในน้ำ) จะช่วยสร้างความสามารถของสารประกอบอินทรีย์ในการที่จะปรับทิศทางของตัวมันเองให้อยู่ในรูปแบบของเยื่อ ทางชีวภาพที่สามารถห่อหุ้มน้ำไว้ได้ (water-enclosing membranes) นอกจากนี้พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำทำให้มันมีความสามารถในการจัดเก็บพลังงานที่มีการระเหยซึ่งเมื่อเกิดการควบแน่นเข้าก็จะถูกปลดปล่อยออกมาได้นี้จะช่วยให้สภาพภูมิอากาศมีอุณหภูมิอยู่ในระดับปานกลาง บริเวณเขตร้อนของโลกก็จะเย็นสบายและบริเวณขั้วโลกก็จะอบอุ่นขึ้น ทำให้ช่วยรักษาเสถียรภาพทางอุณหพลศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับชีวิตไว้ได้
คาร์บอนเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตบนพื้นดินที่มีความยืดหยุ่นอยู่มากในการสร้างเคมีพันธะโคเวเลนต์ (covalent chemical bonds) ที่มีความหลากหลายของธาตุที่ไม่ใช่โลหะ, อันได้แก่ ไนโตรเจน, ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน เป็นหลัก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นตัวช่วยร่วมกันทำให้การจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของน้ำตาลและแป้ง เช่น กลูโคส
ดาวเคราะห์หิน หรือที่เรียกว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลก อย่างเช่น โลกของเรา จะก่อตัวขึ้นด้วยกระบวนการที่ช่วยให้ความเป็นไปได้ของการมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับที่โลกของเรามีได้ การผสมผสานกันระหว่าง คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน ในรูปแบบทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) (ตัวอย่างเช่น น้ำตาล) จะสามารถเป็นแหล่งของพลังงานทางเคมีที่ชีวิตจะสามารถพึ่งพาได้และสามารถเอื้ออำนวยก่อให้เกิดองค์ประกอบโครงสร้างทางชีวเคมีที่จำเป็นสำหรับการก่อกำเนิดชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม คาร์ล เซแกนได้ชี้ว่าลักษณะที่ปรากฏในสิ่งชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นลักษณะที่มีอยู่ในสิ่งชีวิตทั้งหมดในจักรวาล ซึ่งคาร์ลได้เรียกการอนุมานดังกล่าวว่า "การยึดอคติคาร์บอน" (carbon chauvinism) โดยคาร์ลเห็นว่าซิลิคอนและเจอร์เมเนียมนั้นอาจเป็นสิ่งที่อาจแทนที่คาร์บอนได้ แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ว่าคาร์บอนนั้นดูเหมือนจะมีความหลากหลายทางเคมีมากกว่าและมีปริมาณในจักรวาลมากกว่าด้วย
นอกจากนี้ยังมีพื้นฐานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนอกโลกจำนวนมากที่ได้มีการพิจารณาทางการวิวัฒนาการ (evolution) และสัณฐานวิทยา (morphology) ในนิยายวิทยาศาสตร์มักจะปรากฏมีภาพของสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์ (humanoid) หรือสัตว์เลื้อยคลาน (reptilian) อยู่เสมอ ๆ เอเลียนตามภาพปรากฏที่เราคุ้นตากันนั้นมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่มีผิวกายสีเขียวหรือสีเทาอ่อน, มีศีรษะขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่มีสี่แขนขา-เหมือนกับ ลักษณะของมนุษย์โดยพื้นฐานทั่วไป ในรูปแบบอื่น ๆ ก็มีเช่น เหมือนสัตว์ในตระกูลแมว, แมลง, หยดสี ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในการเป็นตัวแทนสมมติของมนุษย์ต่างดาว
การจัดแยกแบ่งจำแนกตามการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลกตามหลักการของวิวัฒนาการและสัณฐานวิทยานี้ ได้รับการเสนอแนะให้อยู่ระหว่างคุณลักษณะของความเป็นสากลทั่วไปและการถูกจำกัดวงแคบ (ถูกจำกัดวงให้แคบเข้า) ความเป็นสากล เป็นคุณสมบัติที่คิดว่าน่าจะมีการวิวัฒนาการอย่างมีความเป็นอิสระมากกว่าหนึ่งครั้งเมื่อคิดเปรียบเทียบกับที่จะเกิดบนดาวเคราะห์เช่น โลก ของเรา (และน่าจะไม่ยากเกินไปที่จะพัฒนา) และจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งที่สายพันธุ์ หรือ สปีชีส์ (species) นั้นจะมีแนวโน้มในการวิวัฒนาการมุ่งไปทางสิ่งมีชีวิตรูปแบบเหล่านั้น ความเป็นพื้นฐานที่สุดของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจจะเป็นความสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) แต่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น (แต่ก็ยังคงเป็นพื้นฐาน) นั้นรวมไปถึงลักษณะการบิน การมองเห็น (sight) การสังเคราะห์แสง และ รยางค์ (แขนขา) (limbs) ซึ่งทั้งหมดนี้มีแนวคิดกันว่าน่าจะมีการพัฒนาการเกิดขึ้นหลายครั้งบนโลกใบนี้
มีเทหะวัตถุบางแห่งในระบบสุริยะที่ได้รับการแนะนำว่ามีศักยภาพสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมสามารถจะเป็นโฮสต์หรือเจ้าบ้านให้แก่ชีวิตนอกโลกได้, โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งก็คือ บริเวณใต้พื้นผิวมหาสมุทร (subsurface ocean) แม้ว่าจะเกิดจากความขาดแคลนแร้นแค้นของสภาพแวดล้อมในการที่จะเป็นสถานที่สำหรับการเอื้ออาศัยอยู่ได้ของสิ่งมีชีวิตมากเกินไปกว่าโลกของเรา, ที่ควรจะค้นพบชีวิตอยู่ในที่อื่น ๆ ในระบบสุริยะ, นักชีวดาราศาสตร์ก็ได้ชี้ให้เห็นว่ามันอาจจะมีแนวโน้มที่ชีวิตนั้นจะสามารถดำรงอยู่ได้ในรูปแบบของจุลินทรีย์ประเภท "เอกซ์ตรีโมไฟล์" (extremophile microorganisms) คือ จุลินทรีย์ที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่หฤโหดสุดขั้ว เช่น บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง, มีความเป็นกรดสูง
ชีวิตบนดาวอังคารได้รับการสันนิษฐานกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว น้ำที่อยู่ในสถานะของเหลวนั้น เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในการมีชีวิตอยู่บนดาวอังคารในอดีตกาลที่ผ่านมา, และในขณะนี้บางครั้งบางคราวก็อาจจะพบเจอน้ำเกลือเข้มข้น (brine) ในสภาพของเหลวในปริมาณต่ำบนพื้นดินตื้น ๆ บนดาวอังคาร
ดาวเคราะห์แคระซีรีส (Ceres), เป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ที่อยู่เฉพาะในแถบดาวเคราะห์น้อย (asteroid belt) ได้รับการยืนยันจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชลแล้วว่ามีบรรยากาศที่มีชั้นไอน้ำอยู่เบาบาง น้ำค้างแข็ง (Frost) ที่มีอยู่บนพื้นผิวของดาวนั้นนอกจากนี้ก็ยังอาจได้รับการตรวจพบได้ในรูปแบบของจุดสว่าง (bright spots)
ในปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1970 คาร์ล เซแกน และคนอื่น ๆ ได้คิดคำนวณเงื่อนไขสำหรับการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์หรือจุลชีพที่สามารถดำรงชีวิตอาศัยอยู่ได้ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
ดวงจันทร์ไททันและดวงจันทร์เอนเซลาดัสซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ได้รับการคาดการณ์ในอันที่จะเป็นโฮสหรือเจ้าบ้านที่อยู่อาศัยที่เป็นไปได้สำหรับการดำรงอยู่ของชีวิต
ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) ของดาวเสาร์มีบางส่วนของเงื่อนไขสำหรับการดำรงชีวิตอยู่รวมทั้งกิจกรรมของพลังงานความร้อนและไอน้ำใต้ภิภพ, ตลอดจนความเป็นไปได้ของการได้รับพลังงานความร้อนมาจากภายใต้มหาสมุทรน้ำแข็งจากผลกระทบของน้ำขึ้นน้ำลง
มนุษย์ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อพิสูจน์เรื่องมนุษย์ต่างดาว แต่ก็ยังมีจินตนาการภาพลักษณ์ของมนุษย์ต่างดาวที่ได้ในสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ นิยาย การ์ตูน และ วิดีโอเกม
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการค้นหาโดยตรงสำหรับสัญญาณของชีวิต (biosignatures) ภายในระบบสุริยะ มีการดำเนินการศึกษาบนพื้นผิวของดาวอังคารและตรวจสอบอุกกาบาต (meteorites) ซึ่งได้ตกลงสู่พื้นผิวโลก มีการกล่าวอ้างบางอย่างถึงการที่มีพยานหลักฐานระบุว่ามีสิ่งมีชีวิตในระดับ "จุลชีพ" (microbial life) สามารถดำรงชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารได้ จากการทดลองบนยานทั้งสองครั้งของยานไวกิ้งที่ได้ทำการร่อนลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคารได้รายงานถึงการปล่อยก๊าซจากตัวอย่างดินบนดาวอังคารที่ถูกทำให้อุ่นที่นักวิทยาศาสตร์บางคนได้ยืนยันว่ามีความสอดคล้องกับการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ การขาดหลักฐานยืนยันจากการทดลองอื่นๆในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ทางชีวภาพ (non-biological reaction) ดูจะมีแนวโน้มที่เป็นสมมุติฐานที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่า ในปี 1996, มีรายงานโต้แย้งระบุว่า มีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายนาโนแบคทีเรีย (nanobacteria) ถูกค้นพบในอุกกาบาต, ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอแอลเอช 84001 (ALH84001), อยู่ในรูปแบบของก้อนหินที่พุ่งกระเด็นออกมาจากดาวอังคาร (rock ejected from Mars)
การค้นหาของนักดาราศาสตร์สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้จำกัดเป้าหมายของการค้นหาให้แคบลงโดยมุ่งไปที่การค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกหรือบางครั้งก็เรียกว่าดาวเคราะหิน (terrestrial planet) ที่อยู่ภายในเขตอาศัยได้ (habitable zone) สำหรับชีวิต ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นต้นมา, มีดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบกว่า 2000 ดวงที่ได้มีการค้นพบแล้ว (2052 ดวงอยู่ในระบบดาวเคราะห์ (planetary system) 1300 ระบบ รวมทั้งสิ้น 507 ระบบ ที่อยู่ภายในมหาระบบดาวเคราะห์ (multiple planetary system) ณ วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2016)
ในปี 1961, มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ, นักดาราศาสตร์และนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ดร.แฟรงก์ เดรก (Dr. Frank Drake) ได้คิดค้นสมการของเดรกขึ้น สมการที่มีความขัดแย้งกันนี้เป็นผลการคูณแบบประมาณการเข้าด้วยกันของเทอมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ในสมัยยุคโบราณ, เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเชื่อกันว่าจักรวาลนั้นประกอบด้วย "หลายโลก" ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาด ไม่ใช่รูปแบบของสิ่งมีชีวิตแบบมนุษย์อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ แต่ "โลก" ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวกับตำนาน (mythological) ที่เล่าขานสืบต่อกันมาและยังไม่เป็นที่กระจ่างแจ้งต่อความเข้าใจของมนุษย์เราในยุคสมัยนั้น ที่ว่า จะมีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ หรือว่า ดวงอาทิตย์จะเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในท่ามกลางหมู่ดาวฤกษ์จำนวนนับไม่ถ้วนกันแน่ ตัวอย่างได้แก่ ตำนานเรื่อง สิบสี่โลกา (fourteen Loka) ในวิชาจักรวาลวิทยาในศาสนาฮินดูหรือ เก้าโลกของเทพนิยายนอร์ซอันเก่าแก่ (Nine Worlds of Old Norse) ฯลฯ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นมักจะปรากฏว่าเป็นโลกที่อาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตในบริบทดังกล่าวหรือเป็นดังยานพาหนะ (รถม้าศึก (chariot) หรือเรือ ฯลฯ ) ที่เทพเจ้า (god) ขับเคลื่อน นิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นเรื่องของตำนานคนตัดไผ่ (The Tale of the Bamboo Cutter) (ศตวรรษที่ 10) เป็นตัวอย่างของเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์ที่ได้มาเยี่ยมชมโลก
มีความเชื่อของศาสนาพุทธและฮินดูเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดซ้ำรอบแล้วซ้ำรอบเล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของชีวิตที่เรียกว่าสังสารวัฏ ได้นำไปสู่รายละเอียดของการมีอยู่ของโลกที่มีอยู่หลายโลก และการติดต่อสื่อสัมพันธ์กันระหว่างโลกที่มีอยู่ทั้งหลายเหล่านั้น (คำสันสกฤต สฺมปรก อ่านว่า "สัม-ปา-ระ-กะ" (sampark) (???????) หมายถึง "การติดต่อ" (คำแปลในความหมายคำภาษาอังกฤษ คือ contact ) ใน มหาสฺมปรก อ่านว่า "มะ-หา-สัม-ปา-ระ-กา" (Mahasamparka) (??????????) = "การติดต่อที่ยิ่งใหญ่") ตามที่พระคัมภีร์พุทธและฮินดูได้จารึกไว้ว่า มีจักรวาลที่มีอยู่มากมายหลายจักรวาลเป็นจำนวนมาก
ในคัมภีร์ทัลมุด (Talmud states) ของชาวยิวซึ่งได้กล่าวไว้ถึงการที่มีโลกอื่นเป็นจำนวนอย่างน้อย 18,000 โลก ปรากฏอยู่, แต่ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติมเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ กับธรรมชาติของโลกเหล่านั้น, ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางกายภาพหรือทางจิตวิญญาณ จากหลักฐานนี้, อย่างไรก็ตาม, ในงานแสดงนิทรรศการในศตวรรษที่ 18 ที่มีชื่อว่า "Sefer HaB'rit" = "ซีเฟอร์ แฮบเบอะเรต" ได้แสดงท่าทีให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกนั้นมีอยู่จริง ๆ, และซึ่งในบรรดามนุษย์ต่างดาวทั้งหมดนั้นบางส่วนบางจำพวกก็อาจจะมีความสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมาก มันจึงเป็นการช่วยเพิ่มเติมแนวความคิดที่ว่า มนุษย์ไม่ควรที่จะคาดหวังถึงสิ่งมีชีวิตจากโลกอื่นที่จะมีลักษณะคล้ายกับชีวิตบนโลกมากเกินไปกว่าสัตว์ทะเลที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์บก
สอดคล้องกับที่กลุ่มมุสลิม Ahmadiyya ได้กล่าวอ้างอิงโดยตรงจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ถูกนำเสนอโดย มีร์ซา ทาฮีร์ อาหมัด (Mirza Tahir Ahmad) เป็นข้อพิสูจน์ว่าชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีอยู่ตามคัมภีร์อัลกุรอาน
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการคิดริเริ่มโดยมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นและการกล่าวโจมตีของ โคเปอร์นิคัส (Copernican) ต่อเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีที่กล่าวว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล เมื่อมันกลายเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในหมู่วัตถุท้องฟ้าที่มีอยู่เป็นจำนวนนับไม่ถ้วนในจักรวาล ทฤษฎีเกี่ยวกับชีวิตนอกโลกก็เริ่มที่จะกลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันในชุมชนทางวิทยาศาสตร์ (scientific community) ผู้ที่นำเสนอแนวความคิดดังกล่าวอันเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงยุคสมัยใหม่ตอนต้นเป็นนักปรัชญาชาวอิตาเลียนชื่อ จอร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno), ผู้ซึ่งเป็นผู้ที่ได้โต้แย้งด้วยเหตุผลเอาไว้ในศตวรรษที่ 16 ที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ในจักรวาลหรือเอกภพอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ดวงดาวทุกดวงในจักรวาลหรือเอกภพจะต้องถูกห้อมล้อมรอบอยู่ด้วยระบบดาวเคราะห์ (planetary system) ที่มีอยู่โดยตัวของมันเอง บรูโน่ได้เขียนบันทึกพรรณนาเอาไว้ว่า ในโลกอื่น ๆ นั้น "มีคุณธรรมคุณงามความดีอยู่น้อยมาก หรือ มีลักษณะที่แตกต่างกันกับที่โลกของเรามีอยู่" และแตกต่างกับโลกของเราตรงที่โลกของเรานั้น "มีสัตว์และผู้คนอาศัยอยู่"
จากแนวความคิดของมนุษย์เราเกี่ยวกับชีวิตบนดาวอังคารที่ได้ทวีเพิ่มพูนมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และจากภาพของคลองส่งน้ำที่อยู่บนดาวอังคารที่ได้จากการสังเกตการณ์ที่ชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์เมื่อในเร็ว ๆ นี้, จะอย่างไรก็ตามแต่, มันก็ได้กลับกลายเป็นว่าเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา (optical illusion) เราเท่านั้นเอง
ข้อความอาเรซีโบ จากหอดูดาวอาเรซีโบ (Arecibo Observatory) เป็นข้อความในระบบดิจิตอลที่ถูกส่งไปยังกระจุกดาวทรงกลมเอ็ม 13 (globular star cluster M13) และเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันดีของความพยายามของมนุษย์เพื่อติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว ส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การติดต่อกับวัตถุบินกำหนดเอกลักษณ์ไม่ได้ (unidentified flying object) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น การพบเห็นยูเอฟโอ (UFO sightings) โดยที่สามารถอธิบายแยกแยะได้โดยง่ายว่าเป็นปรากฏการณ์ของเครื่องบินที่สร้างขึ้นบนโลกตามที่รู้จักกันหรือว่าจะเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์หรือเรียกว่า เทห์ฟ้า (astronomical object) หรือเป็นแค่การหลอกลวง (hoax) กันแน่
จากความล้มเหลวจนถึงขณะนี้ของโครงการเซติ (SETI) ในการตรวจจับสัญญาณวิทยุจากสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาจากห้วงอวกาศ สิบปีให้หลังของความพยายามที่มีอย่างน้อยที่สุดด้วยความหวังอันริบหรี่ นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเริ่มมีมุมมองในแง่ดีมากขึ้นจากจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อในมนุษย์ต่างดาวยังคงถูกเล่าขานอยู่ในวิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience), ทฤษฎีสมคบคิด และแพร่หลายอยู่ในนิทานชาวบ้าน (popular folklore) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ในบริเวณที่เรียกว่า "เอเรีย 51" (Area 51) และในตำนานกล่าวขานถึงวีรบุรุษ มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยมเชิงอุปมาเปรียบเทียบที่ได้รับการปฏิบัติบำรุงดูแลอย่างจริงจังไม่น้อยหน้าไปกว่ารายการความบันเทิงที่เป็นที่นิยมในหมู่มหาชน
ในคำว่า "เซติ" ในการให้นิยามคำจำกัดความของแฟรงก์ เดรก ก็คือ "ทั้งหมดที่เราทราบแน่นอนได้ว่าท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้นจะไม่ได้เป็นแค่เพียงถังขยะสำหรับเครื่องส่งสัญญาณไมโครเวฟที่ทรงพลังอย่างแน่นอน" (นั่นก็คือ ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น ด้วยสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่เราส่งออกไปหรือรับเข้ามาเหมือนกับถังขยะรอรับสิ่งปฏิกูลหรือของที่คนเขาทิ้งแล้วดังเพลงสตริงของวงดนตรีชื่อดังวงหนึ่งที่ฮิตกันในหมู่วัยรุ่นไทยนั้น เราอาจจะได้เจอ"อะไรที่เจ๋งๆ"ในถังขยะใบเล็กๆนี้อย่างแน่นอน) เดรกตั้งข้อสังเกตว่ามันมีความเป็นไปได้เลยว่าผลลัพธ์ทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงของมนุษย์โลกเราในความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวนั้นจะต้องได้รับการดำเนินการในบางวิธีที่อยู่ในรูปแบบอื่นๆนอกเหนือไปจากการส่งคลื่นวิทยุออกไปในห้วงอวกาศนอกโลกอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม
ในขณะเดียวกันข้อมูลที่ส่งกลับโดยยานสำรวจอวกาศและความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวิธีการตรวจสอบที่ได้รับการยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ที่จะเริ่มต้นการวิเคราะห์เกณฑ์เงื่อนไขที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้บนโลกอื่นๆและยืนยันว่ามีดาวเคราะห์ดวงอื่นๆเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกมากมาย ถึงแม้ว่าเรื่องของมนุษย์ต่างดาวยังคงเปินปริศนา แต่แล้วเมื่อปีค.ศ.1977 สัญญาณว้าว! (Wow! signal) ได้ถูกตรวจพบโดยบังเอิญโดยโครงการเซติและก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงและคาดเดากันอยู่ถึงที่มาของมันจนถึงบัดนี้
ในปี ค.ศ. 2000 นักธรณีวิทยาชื่อ ปีเตอร์ วอร์ด (Peter Ward) และนักบรรพชีวินวิทยา (astrobiologist) ชื่อ โดนัลด์ บรานลี (Donald Brownlee) ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือที่มีชื่อเรื่องว่า "โลกที่เร้นลับ : ทำไมชีวิตที่มีความสลับซับซ้อนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาในจักรวาล" (Rare Earth: Why Complex Life is Uncommon in the Universe) เนื้อหาภายในหนังสือนั้นพวกเขาได้สนทนาพูดคุยถึงสมมติฐานเกี่ยวกับโลกที่ค้นพบได้ยาก หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า โลกที่หายาก (Rare Earth) ซึ่งพวกเขาอ้างว่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมบนดาวเคราะห์ที่คล้ายดาวเคราะห์โลกของเรานั้นเป็นของที่พบเจอได้ยากในจักรวาล ในขณะที่จุลินทรีย์ที่มีชีวิตนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดามากที่จะสามารถพบเจอได้ทั่วไป วอร์ดและ บรานลี ได้เปิดใจกว้างให้กับแนวความคิดที่ว่าวิวัฒนาการบนดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่ได้จำเป็นต้องอยู่บนคุณลักษณะพื้นฐานทางกายภาพและชีวภาพที่มีสภาพคล้ายโลกเสมอไป (เช่น ดีเอ็นเอ และ คาร์บอน)
นักฟิสิกส์ทฤษฎี สตีเฟน ฮอว์คิง ได้เตือนไว้ในปี 2010 ว่ามนุษย์ไม่ควรพยายามที่จะติดต่อกับรูปแบบของชีวิตต่างดาว เขาเตือนว่ามนุษย์ต่างดาวอาจจะมาปล้นสะดมโลกเพื่อช่วงชิงเอาทรัพยากรจากโลกไป "ถ้ามนุษย์ต่างดาวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพวกเราเข้า ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะปรากฏออกมาเหมือนกับที่ครั้งเมื่อโคลัมบัสที่ได้เดินทางมาค้นพบดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกาซึ่งไม่ได้เป็นผลลัพธ์ที่ดีสำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเลย" เขากล่าว นักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง คือ จาเร็ด ไดมอนด์ ก็ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่คล้าย ๆ กัน
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2011 ที่ทำเนียบขาว ได้ออกอาการตอบสนองอย่างเป็นทางการในข้ออุทธรณ์ทั้งสองที่ได้ขอให้ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้มีมติที่จะรับทราบอย่างเป็นทางการว่ามนุษย์ต่างดาวเคยมาเยือนโลกและการเปิดเผยใด ๆ ที่จะพยายามระงับความมุ่งหมายของทางรัฐบาลกับการมีปฏิสัมพันธ์ของรัฐบาลกับมนุษย์ต่างดาว สอดคล้องกับการตอบสนองของ "รัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่า ไม่มีชีวิตใด ๆ อยู่ภายนอกโลกของเรา, หรือว่ามีการปรากฏตัวของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ได้มีการติดต่อสัมพันธ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกของเผ่าพันธุ์มนุษย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น นอกจากนี้จากผลสะท้อนจากการตอบสนองที่มีจากประชาชน คือ "ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถืออันใดเพื่อแสดงให้เห็นว่าหลักฐานใด ๆ จะถูกซ่อนเร้นไปจากสายตาของประชาชนไปได้"