ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภูมิสถาปัตยกรรม

ภูมิสถาปัตยกรรม (อังกฤษ: landscape architecture) อ่านออกเสียงว่า "พู-มิ-สะ-ถา-ปัด-ตะ-ยะ-กัม" เป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบวางแผน การอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคาร รวมทั้งพื้นที่บางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคารเพื่อความผาสุก สวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน

งานของภูมิสถาปนิกอาจครอบคลุมตั้งแต่การสรรค์สร้างสวนสาธารณะและถนนอุทยานไปจนถึงการวางผังบริเวณกลุ่มอาคารสำนักงาน จากการออกแบบที่พักอาศัยไปจนถึงการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและการจัดการพื้นที่ธรรมชาติขนาดใหญ่ หรือการฟื้นฟูภูมิทัศน์ที่เสียหาย เช่น เหมืองแร่เก่า บริเวณฝังกลบขยะ ภูมิสถาปัตยกรรมทับซ้อนกับการจัดสวน ก็จริง แต่จะเป็นงานวิชาชีพที่มีปัจจัยพิจารณาในการออกแบบและมีขอบเขตกว้างขวางกว่า

ภูมิสถาปนิกทำงานในพื้นที่ภายนอกอาคารเกือบทุกชนิดและพื้นบางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคาร ทั้งใหญ่และเล็ก ในเมืองและชนบท ทั้งด้วยวัสดุ “แข็ง” (hardscape) / “นุ่ม” (softscape) ภูมิสถาปนิกทำงานครอบคลุม:

คุณค่าที่สำคัญที่สุดของภูมิสถาปัตยกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการวางผังแม่บทโครงการ ช่วงที่อยู่ในระหว่างการระดมความคิดในการกลั่นกรองสิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์การใช้สอยพื้นที่ ภูมิสถาปนิกสามารถให้แนวคิดรวมและจัดเตรียมผังหลักเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนและง่ายที่จะเข้าใจในขั้นต่อๆ มา ภูมิสถาปนิกสามารถจัดทำแบบก่อสร้างประกอบสัญญาจ้าง จัดทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้คำปรึกษา เป็นพยานผู้ชำนาญการในด้านการใช้ที่ดินเชิงนิเวศ นอกจากนี้ภูมิสถาปนิกยังสามารถจัดเตรียมเอกสารใบสมัครเพื่อการจัดหาแหล่งเงินลงทุนสำหรับโครงการด้วย

นักออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรสำรวจ เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางกายภาพที่มีอยู่ และที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เป็นผู้วางแผนผัง กำหนดจัดวาง คาดการณ์การใช้งานอย่างเป็นเหตุ-ผล เป็นผู้ที่รู้ซึ้งถึงความสัมพัน์ระหว่างการจัดวางองค์ประกอบทางธรรมชาติและกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ มีความเหมาะสม ทั้งรู้ทรงของพื้นที่ ที่ว่าง ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งรวมไปถึงงานภูมิทัศน์อ่อน (งานพืชพรรณ เช่น การออกแบบปลูกต้นไม้ และการสรรค์สร้างพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งทุกประเภท บุคคลเหล่านี้ทำงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น บางคนอาจทำงานภาคเอกชนหรือทำงานอิสระ รับเป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ อุตสาหกรรม พาณิชกรรมและเอกชนรายบุคคล ผู้จัดการภูมิทัศน์ ใช้ความรู้ด้านวัสดุพืชพรรณและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาระยะยาวและในการพัฒนาภูมิทัศน์ บุคคลเหล่านี้ทำงานเกี่ยวกับพืชสวน การจัดการสถานที่ ป่า การอนุรักษ์ธรรมชาติและเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์ มีทักษะพิเศษเช่น ปฐพีวิทยา อุทกวิทยา ภูมิสัณฐาน หรือพฤกษศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในงานภูมิทัศน์ งานของบุคคลเหล่านี้อาจไล่ตั้งแต่การสำรวจบริเวณไปจนถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมของบริเวณขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนหรือการจัดการ และอาจทำรายงานผลกระทบในโครงการพัฒนาหรือในความสำคัญเฉพาะของพรรณไม้หรือสัตว์บางชนิดในพื้นที่ นักวางแผนภูมิทัศน์ เกี่ยวข้องและดูแลในด้านตำแหน่งที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ นิเวศวิทยาและการใช้ที่ดินในเชิงนันทนาการของเมือง ชนบท และพื้นที่ชายฝั่ง งานที่บุคคลกลุ่มนี้ทำรวมถึงการเขียนรายงานด้านนโยบายและยุทธวิธี และลงท้ายด้วยการส่งผังรวมสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ การประเมินและและประมาณค่าพร้อมทั้งการจัดทำแผนการจัดการเพื่อนำไปใช้ทำแผนนโยบาย บางคนอาจมีสร้างสมความชำนาญเฉพาะเพิ่มเติม เช่น งานภูมิทัศน์โบราณคดี หรือกฎหมายที่เกี่ยวของกับภูมิทัศน์

มนุษยชาติทั่วโลกต่างก็ได้สร้างสวนมานานนับสหัสวรรษ สวนญี่ปุ่น และสวนสวรรค์เปอร์เซีย สวนสวรรค์เหล่านี้นับเป็นตัวอย่างของสวนประเพณีโบราณ สวนลอยบาบิโลนสร้างโดยพระเจ้าเนบูชาดเนสซาที่ 2 ประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ในยุโรป เรนาซองส์ได้นำมาซึ่งยุคแห่งการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งสวนเพื่อความปีติต่างๆ เช่น วิลลา เดอเอสเต ที่ ทิโวลิ สวนเรนาซองส์ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 (พ.ศ. 2043-2243) ได้บรรลุถึงขีดสูงสุดแห่งความยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นผลงานของ อังเดร เลอ โนตร์ ณ วัว เลอ วิกกอง และ แวร์ซาย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ระหว่าง พ.ศ. 2244-2343) อังกฤษเริ่มเน้นสไตล์ใหม่ของ “สวนภูมิทัศน์” บุคคล เช่น วิลเลียม เคนท์ ฮัมฟรีย์ เรพตัน รวมทั้งโจเซฟ แพกซ์ตัน และผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่งคือ ลานเซลอต บราวน์ “ผู้สามารถ” ได้แปรเปลี่ยนอุทยานคฤหาสที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษให้กลายเป็นธรรมชาติที่เรียบและสะอาดงดงาม อุทยานเหล่านี้ยังคงเหลือให้ชมในปัจจุบันหลายแห่ง คำว่าภูมิสถาปัตยกรรมในภาษาอังกฤษคือ “Landscape Architecture” ได้ถุกเรียกเป็นครั้งแรกโดยชาวสก็อตชื่อ กิลเบิร์ต เลง มีสัน ในหนังสือชื่อเรื่อง ภูมิสถาปัตยกรรมแห่งจิตรกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งอิตาลี (ลอนดอน พ.ศ. 2371) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเภทของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในภาพเขียนภูมิทัศน์ คำว่า “ภูมิสถาปัตยกรรม” ได้รับการตอบรับนำมาใช้ต่อมาโดย เจซี ลูดอน และเอ.เจ. ดาวนิง สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้คำว่า "ภูมิสถาปัตยกรรม" ประมาณ พ.ศ. 2498 เมื่อเริ่มมีการเปิดสอนวิชานี้ในชั้นปีที่ 3 ของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฺฑิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเปิดสอนเป็นครั้งแรกโดยอาจารย์จันทรลดา บุณยมานพ ซึ่งจบปริญญาโทด้านภูมิสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา

ล่วงสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344-2443) การวางแผนชุมชนเมืองเริ่มมีบทบาทสำคัญโดยเป็นการผสมผสานระหว่างการวางแผนสมัยใหม่รวมกับสวนภูมิทัศน์ประเพณี ซึ่งทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมกลายเป็นจุดรวมสำคัญที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด ได้ออกแบบสวนสาธารณะหลายแห่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลายเป็นผลที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบัน สวนสาธารณะดังกล่าวบางแห่งได้แก่ เซ็นทรัลปาร์ก ในนครนิวยอร์ก พรอสเป็กปาร์ก ใน บรุกลีน และในนครบอสตัน ที่ได้ชื่อเรียกกันว่า ระบบสวนสาธารณะ “สร้อยหยกเขียว”

ภูมิสถาปัตยกรรมได้พัฒนาตัวเองมาเป็นสาขาวิชาชีพการออกแบบเฉพาะ ได้สนองตอบต่อขบวนการออกแบบและสถาปัตยกรรมตลอดช่วงเวลาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444-2543) ปัจจุบัน การค้นคิดสิ่งใหม่ๆ มีผลให้การแก้ปัญหาทางภูมิสถาปัตยกรรมในทางที่ก้าวหน้าขึ้นสำหรับในงานภูมิทัศน์ถนน สวนสาธารณะและอุทยาน ผลงานของ มาร์ธา ชวาท์ส ในสหรัฐฯ และในยุโรป เช่น ชูเบิร์กปลิน ในรอตเตอร์ดาม เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

ประวัติความเป็นมาของภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทยไม่เป็นที่ชัดเจนนัก อาจเป็นด้วยหลักฐานทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีถูกทำลายในในสงครามไทย-พม่าที่กรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะเมื่อ พ.ศ. 2310 ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงสมัยสุโขทัยกล่าวไว้เพียงการปลูกต้นไม้เชิงเกษตรกรรมไว้เบื้องเหนือเบื้องใต้ มีกล่าวถึงตระพังหรือสวนน้ำไว้บ้างแต่ไม่พรรณนารูปแบบและความสวยงาม

บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสวนในสมัยพระนารายณ์มหาราชไว้พอควร ว่ามีชาวต่างประเทศนำพรรณไม้แปลกๆ มาถวาย และทรงลงมือทำสวนด้วยพระองค์เองในพระราชวังลพบุรี ไม่กล่าวถึงรูปแบบและความสวยงามที่มีนัยสำคัญไว้เช่นกัน

สมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการนำรูปแบบสวนจีนมาสร้างในพระบรมมหาราชวังและวัดสำคัญ เรียกว่าเขามอ มีการสร้างสวนซ้ายสวนขวา เริ่มมีการสร้างสวนเพื่อความปีติในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสวนและมีรูปแบบของสวนปรากฏชัดเจนขึ้น มีการนำรูปแบบสวนยุโรปซึ่งกำลังผ่านความรุ่งเรืองของยุคเรนาซองส์ โดยมีนายช่างฝรั่งที่เข้ามารับราชการ เช่น นายเฮนรี อาลบาสเตอร์ หรือพระเศวตศิลา ต้นตระกูลเศวตศิลารวมทั้งคนอื่นๆ มาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างสวนหลายแห่ง อุทยานสราญรมย์เป็นตัวอย่างสวนที่ยังหลงเหลือและได้รับการบูรณะให้สวยงามในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจเป็นผู้ให้กำเนิดการผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมเป็นพระองค์แรกก็ว่าได้ พระราชหัตถ์เลขาถึงเจ้าพระยาวรพงศ์ระหว่าง พ.ศ. 2444-2452 เป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่าพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในงานทั้งสองสาขานี้อย่างไร ทรงรู้จักต้นไม้ พร้อมทั้งชื่อและอุปนิสัยพรรณไม้ต่างๆ ที่ใช้ปลูกทั้งในสวนและในเมืองนับได้เกือบร้อยชนิด

งานสวนและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลยุโรปในรัชกาลที่ 4-5 ได้ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 เช่น วังฤดูร้อนต่างๆ เป็นต้นว่า พระราชวังบ้านปืน และพระตำหนักมฤคทายวัน เพชรบุรี วังสนามจันทร์ นครปฐมและวังไกลกังวล เป็นต้น รูปแบบของสวนไม่เป็นที่เด่นชัดว่ามีรูปแบบอย่างไร กล่าวกันว่าเป็นงานประกอบที่ทำโดยสถาปนิกชาวยุโรปผู้ออกแบบและก่อสร้างอาคาร ซึ่งอาจมีรูปแบบที่สวยงามแต่ได้ถูกแปรเปลี่ยนไปโดยกาลเวลา

สวนและงานภูมิสถาปัตยกรรมได้หยุดนิ่งมาตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปลายรัชกาลที่ 7 และเริ่มขยับตัวขึ้นใหม่ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เริ่มพัฒนาประเทศและสมัยเริ่มสงครามเวียดนาม การใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ทำให้มีความต้องการบ้านเช่าที่มีสวน ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนสร้างโรงแรม เช่น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเน็นตัล (ปัจจุบันถูกรื้อกลายเป็นศูนย์การค้าสยามพารากอน) และโครงการเงินกู้ได้เผยโฉมของภูมิสถาปัตยกรรมให้ปรากฏ ช่างจัดสวนไทยจึงได้เคยเห็นและรู้จักวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมที่เป็นสากลเป็นครั้งแรก ในขณะเดียวกัน เทศบาลนครกรุงเทพฯ ก็ได้เริ่มรณรงค์จัดสวนตามมุมต่างๆ ของถนน เรียกว่า “สวนหย่อม” โดยเลียนแบบ “สวนญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น

การเร่งรัดพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่จะต้องเร่งแก้ไขทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศไทย

ภูมิสถาปนิกถือว่าเป็นนักวิชาชีพในลักษณะเดียวกันกับแพทย์และนักกฎหมายเนื่องจากบุคคลเหล่านี้ จะต้องได้รับการศึกษาเป็นการพิเศษเฉพาะและจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น

ในสหรัฐฯ และที่อื่นๆ การเข้าสู่สายวิชาชีพจะต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนขั้นสูง ผ่านการฝึกหัดงานและผ่านการสอบรับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องประโยชน์แห่งสาธารณชนจากความเสียหายที่อาจได้รับจากผู้ไม่มีความรู้ความสามารถและไม่มีจรรยาบรรณ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมจะรวมตัวกันตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นเพื่อร่วมกันจรรโลงสาขาวิชาชีพแห่งตนให้เข้มแข็ง ในสหรัฐฯ คือสมาคมภูมิสถาปนิกอเมริกัน (American Society of Landscape Architects - ASLA) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 นับเป็นสมาคมวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมแห่งแรกของโลก

ประเทศไทยได้ก่อตั้ง “สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย” Thai Association of Landscape Architects-TALA เมื่อ พ.ศ. 2530 หลังสหรัฐฯ 88 ปี การควบคุมวิชาชีพกระทำโดยใช้กฎหมายบังคับให้ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

อาจกล่าวได้วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทยที่มีการออกแบบเฉพาะโดยภูมิสถาปนิกโดยตรง และมีการแยกสัญญาจากงานสถาปัตยกรรมเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2515 โดยข้อกำหนดของธนาคารโลกในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาวิทยาเขตใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บ่งให้ใช้ภูมิสถาปนิก

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสำนักงานภูมิสถาปนิกมากกว่า 30 แห่ง วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาสถาปนิกตาม พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้แทนพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกในโลกที่เปิดสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมในระดับมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2443 ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์ ปัจจุบันได้มีการเปิดสอนในเกือบทุกประเทศในโลก จากการสำรวจของสหพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ (IFLA) เมื่อ พ.ศ. 2547 พบว่ามีสถาบันระดับมหาวิทยาลัย 204 แห่งใน 43 ประเทศของโลก (ที่ส่งแบบสอบถามกลับ) ที่เปิดสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมระดับวิชาชีพปริญญาตรี โทและเอก รวมทั้งปริญญาตรีก่อนวิชาชีพหลักสูตร 4 ปี (Pre-professional degree)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปีเป็นแห่งแรกในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบัน ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมแล้วมากกว่า 25 รุ่น หรือประมาณ 500 คน ต่อมาได้มีการเปิดสอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 และที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรีวิชาชีพหลักสูตร 5 ปีเช่นกัน เปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (ภูมิสถาปัตยกรรม) ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรด้านภูมิสถาปัตยกรรมในระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เป็นที่แรกของประเทศไทยแล้วเพื่อเพิ่มทางเลือกทางการศึกษาสาขานี้ให้มีความหลากหลายขึ้น โดยจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. 2550 เป็นปีแรก

ในปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ทำการเปิดหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สถ.บ.) ระดับปริญญาตรีวิชาชีพหลักสูตร 5 ปี เป็นรุ่นแรก ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในศาสตร์ด้านภูมิสถาปัตยกรรม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301