ภูมิภาค เป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งมีการแบ่งภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยมีการแบ่งอย่างเป็นทางการเป็น 6 ภูมิภาค ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ และยังมีการแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งแบบมณฑลเทศาภิบาล
เมื่อเปรียบเทียบกับการแบ่งแบบจังหวัดของประเทศไทย การแบ่งภูมิภาคนั้นไม่ได้มีผู้บริหารเหมือนการแบ่งแบบจังหวัด แต่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ สถิติ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และการท่องเที่ยว
ในสมัยที่ประเทศไทยยังมีการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 เพื่อกำกับมณฑล โดยมี "อุปราช" เป็นผู้ปกครองภาค ต่อมาได้มีการยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด
การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่
การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ เป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค
กรมอุตุนิยมวิทยาได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 7 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตุนิยมวิทยา แตกต่างจากการแบ่งแบบ 4 ภาค คือ มีการแยกภาคตะวันตกออกจากภาคกลาง ภาคใต้จะแบ่งเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก และจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอุทัยธานีจัดให้อยู่ในภาคกลาง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว ได้แก่
การแบ่งตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการแบ่งภาคเหนือกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบสี่ภูมิภาค และมีการแบ่งภาคตะวันออกกับภาคกลางเหมือนกันกับการแบ่งแบบหกภูมิภาค