ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (อังกฤษ: Cultural landscape) คือพื้นที่ที่ได้รับการนิยามไว้โดยกรรมาธิการมรดกโลกว่าเป็นพื้นที่เด่นทางภูมิศาสตร์ หรือทรัพย์สินที่ “...เป็นตัวแทนของธรรมชาติและผลงานของมนุษย์” ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ แนวคิดนี้เกิดจากการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาขึ้นในแวดวงของมรดกโลกนานาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศที่จะไกล่เกลี่ยปรองดอง “...คติ “ทวินิยมแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม” ที่โด่งดังแพร่หลายมากในโลกตะวันตก
กรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และรับรองประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ภูมิทัศน์ที่เกิดจากการจงใจของมนุษย์ ภูมิทัศน์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งด้วยความจงใจทำ และไม่ได้จงใจทำ และ ภูมิทัศน์ที่มีร่องรอยการปรุงแต่งโดยมนุย์น้อยที่ (แต่มีคุณค่าสูง) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่คัดจาก “แนวทางปฏิบัติของกรรมาธิการ” มีดังนี้ :
“ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการมาในเชิงอินทรีย์” (organically evolved) ซึ่งอาจเป็น “ภูมิทัศน์แผ่นดินร้าง” (หรือซากดึกดำบรรพ์) หรือ “ภูมิทัศน์ต่อเนื่อง” (continuing landscape)
“ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเชิงเชื่อมโยง” (associative cultural landscape) ที่อาจมีคุณค่าทาง “ศาสนา ศิลปะหรือที่เชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ”
แนวความคิดเกี่ยวกับ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” มีต้นตอจากภาพเขียนภูมิทัศน์แบบประเพณีของยุโรป นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2050 เป็นต้นมา ศิลปินยุโรปหลายคนได้เขียนภาพภูมิทัศน์แบบตามใจผู้คน โดยย่อตัวคนในภาพเขียนให้เล็กลงและจัดกลุ่มให้อยู่ในภูมิทัศน์ประเภทต่างๆ ที่กว้างใหญ่
คำว่า “ภูมิทัศน์” ในตัวของมันเองได้ผนวก “ภูมิ” หรือผืนแผ่นดิน ซึ่งมีต้นตอมาจากคำว่าแผ่นดินในภาษาเยอรมันกับคำกริยา "scapjan/ schaffen" ซึ่งมีความหมายว่า “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (shaped lands) และในขณะนั้นถือว่าเป็นผืนแผ่นดินที่ถูกขึ้นรูปด้วยแรงธรรมชาติ และรายละเอียดของ “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (landshaffen -shaped lands) ได้กลายเป็นเนื้อหาของ “ภาพเขียนภูมิทัศน์”
นักภูมิศาสตร์ชื่อออตโต ชลูเทอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการในคำศัพท์ทางวิชาการของเขาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2445) ในปี พ.ศ. 2451 ชลูเทอร์ได้ให้เหตุผลว่า ด้วยการนิยามภูมิศาสตร์ให้เป็น “วิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์” ย่อมเป็นเหตุผลที่ทำให้ภูมิศาสตร์กลายเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเฉพาะที่ถือได้ว่าไม่อยู่ในวิชาอื่นใด ชลูเทอร์ได้บ่งชี้ให้เห็นรูปแบบภูมิทัศน์ 2 แบบได้แก่: “ภูมิทัศน์ธรรมชาติ” หรือภูมิทัศน์ที่มีมาก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลงมากโดยมนุษย์ และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” หรือภูมิทัศน์ที่มีรูปที่เกิดจากวัฒนธรรมของมนุษย์ งานสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ได้แก่การสืบค้นหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทั้งสองประเภทนี้
ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการแพร่หลายแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้แก่คาร์ล โอ. ซาวเออร์ นักภูมิศาสตร์มนุษย์ ซาวเออร์มีความแน่วแน่ในการผลักดันหน่วยงานทางวัฒนธรรมให้มีอิทธิพลในการสร้างรูปโฉมของพื้นผิวโลกในเขตกำหนดเฉพาะ ในการให้นิยามนี้ ซาวเออร์บ่งชี้ว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพควรคงไว้ซึ่งความสำคัญที่เป็นมัชชิมหรือตัวกลางร่วมอยู่กับกิจกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์ นิยามคลาสสิกของซาวเออร์มีดังนี้:
“ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นรูปแบบที่ปั้นแต่งมาจากภูมิทัศน์ธรรมชาติโดยกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นตัวการ (agent) ธรรมชาติเป็นตัวกลาง (medium) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมคือผลลัพธ์”
นับตั้งแต่ซาวเออร์ได้ใช้คำศัพท์อย่างเป็นทางการและที่ได้เผยแพร่แนวคิดอย่างได้ผลเป็นต้นมา แนวคิดว่าด้วยภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้มีการนำมาใช้ในหลายด้าน มีการนำไปประยุกต์ อภิปราย พัฒนาและปรับแต่งในแวดวงวิชาการเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2535 กรรมาธิการมรดกโลกที่เลือกตั้งขึ้นเพื่อจัดประชุม “ผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการยกร่างแนวปฏิบัติของกรรมาธิการที่รวม “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในรายการทรัพย์สินมรดก (heritage listing properties) ที่ไม่มีรูปแบบที่เป็นธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หรือ เป็นวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว (เช่นมรดกแบบผสม)
คณะกรรมาธิการมรดกโลกได้ให้การรับรองแนวคิดของ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ซึ่งการนำมาใช้นี้ได้ปรากฏให้เห็นในหมู่ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายทั่วโลก มีหลายชาติที่ได้บ่งชี้ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ไว้อย่างชัดเจน มีการประเมินภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดทำรายชื่อภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมและทำให้ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกรวมทั้งการแตกสาขาอย่างเป็นระบบในลักษณะเชิงปฏิบัติที่นับว่าน่าท้าทาย
การทบทวนทางวิชาการในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการรวมพลระหว่างกรรมาธิการมรดกโลก ผู้เชี่ยวชาญพหุคูณทั่วโลกและประเทศที่นำแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมไปใช้ได้ให้ข้อสังเกตและสรุปไว้ว่า:
"แม้ว่าแนวคิดภูมิทัศน์ได้ถูกปลดปล่อยจากมีความสัมพันธ์ดั้งเดิมกับศิลปะมาเป็นเวลานานพอควร .. แต่มันก็ยังปรากฏมีความเด่นในมุมมองทางภูมิทัศน์ที่แนบแน่นเกี่ยวพันกันเสมือนเป็นพี่น้องกับแผนที่หรือกับข้อความปรากฏให้เห็นอยู่ นั่นคือ ความหมายทางภูมิทัศน์และรูปแบบของสังคมยังคงอ่านออกได้ง่ายอยู่"
สำหรับในวงวิชาการ ระบบใดๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์และที่กับพักพิงธรรมชาติ (natural habbitat) ย่อมนับได้ว่าเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม และในเชิงของสำนึก จะเห็นว่าความเข้าใจดังกล่าวนี้กว้างขวางกว่านิยามยูเนสโกให้ไว้ คือการรวมเอาพื้นผิวของโลกที่มีการครอบครองพร้อมกับการใช้สอย ระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติ ความเชื่อ แนวคิดและประเพณีของผู้คนที่อยู่อาศัยในภูมิทัศน์วัฒนธรรมนั้นๆ
ปัจจุบันมีบางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนและให้ปริญญาสาขาเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ ในเนเปิล เซนต์-เอแตงน์ และสตุทการ์ดที่ให้ “ปริญญาภูมิทัศน์วัฒนธรรมศาสตรมหาบัณฑิต”
คณะกรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และขึ้นบัญชีพื้นที่หรือทรัพย์สินหลายแห่งเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดยรวมต่อมนุษยชาติ ซึ่งรวมถึงสถานที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
"ในปี พ.ศ. 2536 ทองการิโรได้กลายเป็นทรัพย์สินชิ้นแรกที่ได้รับการจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลกภายใต้เกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ที่ว่าด้วยการเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูเขาที่ใจกลางของอุทยานมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและศาสนาของชาวมาวรีและนับเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับสิ่งแวดล้อม ภายในอุทยานมีภูเขาไฟทั้งที่ยังครุกรุ่นอยู่และที่ดับแล้ว มีระบบนิเวศที่มีความหลากหลายมากรวมทั้งภูมิทัศน์ที่สวยงาม"
"อุทยานแห่งนี้เดิมเรียกว่าอุทยานแห่งชาติอูลูรู (Ayers Rock – Mount Olga -อายเออร์ร็อก –เขาโอลกา) เป็นอุทยานที่มีรูปโฉมพิเศษทางธรณีวิทยาที่มีความเด่นอยู่ท่ามกลางที่ราบทรายแดงแห้งแล้งอันกว้างใหญ่ไพศาลของออสเตรเลียตอนกลาง อูลูรู ซึ่งเป็นแท่งหินขนาดมหึมาและคาตา-ทจูทาซึ่งเป็นโดมหินที่อยู่ทางด้านตะวันตกของอูลูรูรวมกับเป็นส่วนของระบบความเชื่อทางประเพณีของสังคมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เจ้าของตามประเพณีของอูลูรู-คาตา ทจูทาคือชาวอาบอริจิน เผ่าอานานกู” (Anangu Aboriginal people)
นับเป็นเวลา 2,000 ปีมาแล้วที่นาบนที่สูงแห่งอิฟูกาโอได้ทำไปตามเส้นชั้นความสูงของภูเขา ผลของความรู้ทำนาแบบนี้ได้ถ่ายทอดต่อๆ กันลงมาหลายชั่วคน การแสดงออกถึงพระเพณีอันศักดิ์สิทธิ์และการมีความสมดุลทางสังคมเป็นอย่างดีนี้ได้ช่วยสรรค์สร้างภูมิทัศน์อันงดงามยิ่ง แสดงให้เห็นความกลมกลืนกันเป็นอย่างดีระหว่างมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา) ซินตรา ได้กลายเป็นศูนย์กลางสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติกของยุโรป พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 ได้เปลี่ยนวิหารที่ปรักหักพังให้กลายเป็นปราสาทที่มีลักษณะละเอียดอ่อนหลายสไตล์โดยมีองค์ประกอบแบบโกธิก อียิปต์ มัวร์และเรนาซองส์ รวมทั้งการสรรค์สร้างอุทยานที่กลมกลืนกับพืชพรรณและต้นไม้ท้องถิ่นกับต้นไม้ต่างถิ่นที่นำเข้า มีที่พักอาศัยที่สวยงามอีกมากที่สร้างในแนวเดียวกันที่ล้อมรอบเซอร์ราอยู่ การสร้างอย่างผสมผสานที่กลมกลืนกับอุทยานและสวนนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีความพิเศษเฉพาะที่กลายเป็นอิทธิพลสำคัญที่มีต่อภูมิสถาปัตยกรรมทั่วยุโรปในเวลาต่อมา
“ชายฝั่งไลเกอเรียน ตั้งอยู่ระหว่างซินเควก์ เทอเรแลปอร์โตเวเนอเรนับเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางทิวทัศน์และวัฒนธรรมที่สูงยิ่ง ผังและตำแหน่งที่ตั้งของเมืองเล็กๆ และรูปร่างของภูมิทัศน์โดยรอบบดบังข้อเสียเปรียบของความลาดชันและความไม่สม่ำเสมอของเนินที่โอบล้อมประวัติความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานที่ต่อเนื่องของผู้คนในย่านนี้มานานนับพันปีจนสิ้น”
“ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (ประมารระหว่าง พ.ศ. 2245 – 2345) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของหุบเขาเดรสเดน เอลเบ ..มีรูปโฉมเป็นทุ่งหญ้าเตี้ยและเป็นที่ตั้งของพระราชวังพิลล์นิทซ์และอยู่ใจกลางของเดรสเดนที่เต็มไปด้วยอนุสาวรีย์และอุทยานที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 – 20 ในภูมิทัศน์ประกอบด้วยคฤหาสก์ สวน และธรรมชาติที่ทรงคุณค่า เนินเฉลียงบางส่วนตามแนวแม่น้ำยังคงใช้ปลูกองุ่น บางหมู่บ้านก็ยังคงรักษาโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมไว้ได้ โดยเฉพาะสะพานเหล็กชื่อ “บลูวันเดอร์” ยาว 147 เมตร (พ.ศ. 2434 – 2436) รางเดี่ยวแบบแขวนของรถไฟแขวน (พ.ศ. 2441 – 2444) และรถรางที่ลากด้วยเชือก (พ.ศ. 2437 -2438) เรือกลไฟไอน้ำโดยสาร (เก่าที่สุดตั้งแต่ พ.ศ. 2422 และอู่เรือ (ประมาณ พ.ศ. 2443) ซึ่งยังคงใช้งานอยู่ถึงปัจจุบัน”