ประเทศภูฏาน (อังกฤษ: Bhutan; /bu?'t??n/ (วิธีใช้?ข้อมูล) ) หรือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน
ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด ????? ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)
ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453
มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน
ในสมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก
ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร (administrative zones - dzongdey) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น มณฑล (districts - dzongkhag) รวมทั้งหมด 20 มณฑล ได้แก่
ประเทศภูฏานมีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ
เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา
สกุลเงินของภูฏานคืองุลตรัมซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย
แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานมีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา
รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย
ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
ประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่าวัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และศาสนาคริสต์ 0.3%