ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ ทำให้เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจากการออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน
คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการสร้างคำที่เรียก "การลากคำเข้าวัด" ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลี - สันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง
พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลี-สันสกฤต และ เขมร
ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง
ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม เสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง S ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตารางอักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ จันทรา จากภาษาสันสกฤต มีเสียง ทร /t?r/, ฟรี จากภาษาอังกฤษ มีเสียง ฟร /fr/ เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว อาทิ
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย อาทิ
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'
ลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคโดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างใดก็ดี ในบางกรณีเช่นในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น กรรม-ประธาน-กริยา ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำกรรมคำนั้น อาทิ
สำเนียงกรุงเทพพบได้หลัก ๆ ในกรุงเทพมหานครฝั่งพระนคร, อำเภอเมืองนนทบุรี, จังหวัดชลบุรี, บางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา และตามอำเภอเมืองต่าง ๆ สำเนียงกรุงเทพเป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย, เป็นสำเนียงหลักสำหรับผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ในการพูดภาษาไทยซึ่งปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่สามารถสื่อสารสำเนียงนี้ได้ดีเท่ากับเจ้าของสำเนียง เพราะการขยายตัวของสื่อ, สิ่งพิมพ์, รายการโทรทัศน์, วิทยุ, สื่อออนไลน์ และอื่น ๆ
เป็นสำเนียงทางการของภาษาไทย เดิมทีเป็นการผสมผสานกันระหว่างสำเนียงอยุธยา, สำเนียงสุพรรณบุรีและชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นหลังที่พูดภาษาไทยแทนภาษาหมิ่นใต้และภาษากวางตุ้ง ลักษณะเด่นคือมีการออกเสียงที่ชัดเจนและแข็งกระด้างซึ่งสันนิษฐานว่ารับอิทธิพลจากภาษาแต้จิ๋ว การออกเสียงพยัญชนะ สระ การผันวรรณยุกต์ที่ในภาษาไทยมาตรฐาน มาจากสำเนียงถิ่นนี้ในขณะที่ภาษาไทยสำเนียงอื่นล้วนเหน่อทั้งสิ้น คำศัพท์ที่ใช้ในสำเนียงกรุงเทพจำนวนมากได้รับมาจากกลุ่มภาษาจีนเช่นคำว่า โป๊, เฮ็ง, อาหมวย, อาซิ่ม ซึ่งมาจากภาษาแต้จิ๋ว และจากภาษาจีนกลางเช่น ถู (?), ชิ่ว (? อ่านว่า q?"ชวี่") และคำว่า ทาย (? อ่านว่า c?i"ไช") เป็นต้น เนื่องจากสำเนียงกรุงเทพได้รับอิทธิพลมาจากภาษาหมิ่นใต้ดังนั้นตัวอักษร "ร" มักออกเสียงเหมารวมเป็น "ล" หรือคำควบกล้ำบางคำถูกละทิ้งไปด้วยเช่น รู้ เป็น ลู้, เรื่อง เป็น เลื่อง หรือ ประเทศ เป็น ปะเทศ เป็นต้น ทำให้สร้างความลำบากให้แก่ต่างชาติที่ต้องการเรียนภาษาไทย แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่พูดสำเนียงถิ่นนี้ก็สามารถออกอักขระภาษาไทยตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้องเพียงแต่มักเผลอไม่ค่อยออกเสียง ในด้านการเรียงคำศัพท์หลายครั้งจะพบกว่าภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพบ่อยครั้งมักวางคำวิเศษณ์ผิดตำแหน่งไม่ว่าจะวางคำคุณศัพท์ใว้ข้างหน้าคำนามและวางคำกริยาวิเศษณ์ใว้หน้าคำกริยา หรือบางสำนวนเป็นการดึงไวยากรณ์จีนมาใช้ภาษาไทยแต่มักจะเป็นภาษาพูด อีกทั้งการใช้ลูกเล่นทางวากยสัมพันธ์มาจากภาษาไทยถิ่นนี้
อย่างไรก็ตาม ภาษาไทยในกรุงเทพยุคแรกนั้น (รัชกาลที่ 1 - 3) บันทึกในพงศาวดารไทยคือสำเนียงแบบกรุงศรีอยุธยา คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เขียนในสมุดข่อยโบราณ คำภีร์ และบันทึกการสร้างเมืองกรุงเทพมหานครเป็นแบบภาษาชาวกรุงศรีอยุธยา รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมซึ่งยังไม่มีอะไรผิดแปลกไปจากเดิมนัก ก่อนที่ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา สำเนียงอยุธยาจึงเริ่มวิวัฒนาการเป็นสำเนียงกรุงเทพจนถึงปัจจุบัน สำเนียงมาตราฐานกรุงเทพมีที่มาจากเขตพระนคร เกาะรัตนโกสินทร์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชธานีและมีประชากรกระจุกตัวมากในยุคนั้น ในรัชกาลที่ 1 - 3 ยังคงมีการศึกสงครามอยู่มากจึงทำให้ประชาชนไม่ได้ออกไปไหนไกล ชาวกรุงเทพยุคแรกจึงสามารถรักษาอัตลักษณ์แบบชาวกรุงศรีอยุธยาดั้งเดิมไว้ได้ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 - 5 สยามเริ่มขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ มากมาก จึงทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นรวมถึงการค้าขายที่เจริญรุ่งเรือง มีเมืองประเทศราชและรัฐบรรณาการมากมาย มีการเทครัวชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงชาวเขมรลงมาผสมในกรุงเทพหลายครั้ง จึงทำให้สำเนียงกรุงเทพพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน เช่นคำว่า จมูก เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมร
พบได้ในการแสดงโขนแบบโบราณซึ่งไม่ต้องการความแข็งกระด้างแบบสำเนียงกรุงเทพ พระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่จะฝึกให้พูดสำเนียงถิ่นนี้เพราะเป็นสำเนียงชนชั้นสูงในสมัยก่อน ปัจจุบันสำเนียงกรุงเก่าเป็นภาษาตาย เนื่องจากวิวัฒน์ทนาการเป็นภาษาภาคกลางไปแล้ว แต่ยังคงใช้เป็นบทความแต่งกลอน บทนิพนธ์ การแสดงโขน และนาฏศิลป์แขนงต่าง ๆ
สำเนียงอยุธยาพบได้หลัก ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางส่วนใหญ่ มีลักษณะเหน่อเล็กน้อย โดยภาพยนตร์ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเช่นสุริโยไท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งแม้ว่าในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจะพูดสำเนียงสุพรรณบุรี แต่นั่นเป็นเพราะว่าสำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อ การฟังอาจจะต้องใช้ความตั้งใจ ดังนั้นสำเนียงนี้จึงมีความเหมาะสมมากกว่า
การออกเสียงในสำเนียงอยุธยาจะค่อนข้างเอื้อนเสียงเหมือนร้องเพลง จึงทำให้มีความเหน่อเล็กน้อยการออกอักขระ "ร" และ "ล" จะเข้มงวดกว่าสำเนียงกรุงเทพมาก สำเนียงอยุธยาจะเหน่อคล้ายสำเนียงสุพรรณบุรี แต่สำเนียงสุพรรณบุรีมีความเหน่อมากกว่า มีข้อสันนิษฐานว่าสำเนียงการเล่นโขนในปัจจุบันคือสำเนียงอยุธยาโบราณ ซึ่งยังคงอัตลักษณ์การเอื้อนเสียงเอาไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 -3 ยังมีการใช้สำเนียงอยุธยาในกรุงเทพมหานคร และในเขตคลองสาน ซึ่งเป็นชุมชนของชาวกรุงศรีอยุธยาที่ลงมาตั้งรกรากในกรุงเทพมหานคร
สำเนียงสุพรรณบุรี, สำเนียงภาคตะวันตก หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า "สำเนียงเหน่อ" เรียกกันในวงศ์กว้างว่าสำเนียงภาคตะวันตก พบได้ในหลายจังหวัดเช่น จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดสมุทรสงคราม, จังหวัดสมุทรสาครบางส่วน และจังหวัดระยอง ปัจจุบันไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าทำไมภาษาไทยสำเนียงสุพรรณบุรีถึงพบในจังหวัดระยอง
สำเนียงแบบสุพรรณบุรีเป็นสำเนียงที่นิยมนำมาแสดงหนังและร้องเพลง ซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐานในภาคตะวันตกเลยก็ว่าได้ เนื่องจากสำเนียงแบบสุพรรณมีความเหน่อมากจนสามารถแยกออกได้ว่าไม่เหมือนแบบกรุงเทพ ในอำเภอที่ห่างไกลออกไปของจังหวัดสุพรรณบุรีมีสำเนียงที่เหน่อหนักแน่นกว่ามาก ในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม มีสำเนียงเหน่อที่ลดทอนลงมา แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำเนียงในจังหวัดเหล่านี้มีการออกเสียงวรรณยุกต์และใช้ศัพท์แบบเดียงกับสุพรรณบุรี เพียงแต่มีสำเนียงเหน่อที่ลดลงมา
การออกเสียงจะใกล้เคียงกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่าง เพียงแต่มีความเหน่อมากกว่า ปัจจุบันสำเนียงเหน่อชนิดนี้มักเป็นที่ถูกล้อเลียนดูชวนขบขำ บางตำราเรียนหรือนักวิชาการบางท่านเหมารวมสำเนียงสุพรรณบุรีและสำเนียงอยุธยาเข้าด้วยกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้ เช่นเปาวลี พรพิมล หรือ โอบะ เสียงเหน่อ เป็นต้น
สำเนียงสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงลาวเวียงจันทน์ ใช้พูดในกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ถึงอย่างไรก็ตามในภาษาลาวเวียงจันทน์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับภาษากลางสำเนียงสุพรรณบุรี เนื่องจากภาษาเวียงจันทน์ยังคงอัตลักษณ์ภาษาลาวดั้งเดิมไว้ที่มีไว้ตั้งแต่อาณาจักรล้านช้าง หลายคำในพงศาวดารลาวยังมีใช้คำเหล่านั้นอยู่ในปัจจุบัน เวียงจันทน์ย้ายเมืองหลวงลงมาจากเมืองหลวงพระบาง ในขณะที่สำเนียงลาวหลวงพระบางแทบไม่มีความเหน่อเลย สำเนียงเวียงจันทน์นั้นมีความเหน่อน้อยกว่าสำเนียงทางภาคตะวันตกของประเทศไทยมาก มีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน รวมถึงภาษาไทยภาคกลางและภาษาลาวเวียงจันทน์ต่างก็ไม่ได้มีการยืมคำใด ๆ ทั้งสิ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีสงครามกับทางเวียงจันทน์หลายครั้ง มีการเทครัวชาวลาวเวียงจันทน์มาอยู่ในภาคอีสานและภาคกลางของไทยจำนวนมาก ในจังหวัดราชบุรีมีชุมชนชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกเทครัวลงมาอาศัย และในปัจจุบันยังคงพูดภาษาลาวเวียงจันทน์อยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
มีข้อสันนิษฐานที่ชาวลาวเวียงจันทน์พูดเหน่อ อาจเป็นเพราะยุคสงครามเจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำลายเมืองเวียงจันทน์ และทางสยามส่นคนไปดูแลปกครองในมณฑลลาวพุงขาว กวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงมาเป็นจำนวนมาก ศักดินาสยามสมัยนั้นยังคงพูดเหน่อแบบชาวกรุงศรีอยุธยาและคล้ายสำเนียงหลวงสุพรรณบุรี, ในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามเสียประเทศลาวให้ประเทศฝรั่งเศส แต่กลับมีชาวลาวเวียงจันทน์เดิมที่คงจงรักภักดีต่อสยามได้ข้ามแม่น้ำโขงตามมาตั้งบ้านเมืองในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย มีการบันทึกไว้ว่าชาวอำเภอท่าบ่อยังคงพูดสำเนียงเวียงจันทน์ดั้งเดิม ซึ่งต่างจากสำเนียงนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาวปัจจุบัน
บางครั้งเรียกว่าภาษาถิ่นระยอง หรือภาษาถิ่นจันทบุรี พูดกันในแถบจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ปัจจุบันปรากฏว่าภาษาระยองดั้งเดิมนั้นมีจำนวนคนพูดค่อนข้างน้อย ที่พูดได้มักจะเป็นผู้สูงอายุ ทำให้ในขณะนี้มีผู้พยายามฟื้นฟูภาษาระยองขึ้นมาใหม่ทั้งในส่วนราชการและท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้วสำเนียงระยองยังแตกต่างกันออกไปอีกในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจยากของคนท้องถิ่นอื่นหรือจังหวัดอื่น สำเนียงทั้ง 3 จังหวัดในภาคตะวันออกนั้นมีการเปรียบเปรยไว้ว่า "ระยองฮิสั้น จันท์ฮิยาว ตราดฮิใหญ่" หมายถึงคำว่า "ฮิ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในสำเนียงภาคตะวันออก ซึ่งแปลว่า "เหรอ" เช่น ไปไหนมาฮิ แปลว่าไปไหนมาเหรอ ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกมีการลากเสียงสั้นและยาวที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะสำเนียงและวรรณยุกต์มีส่วนคล้ายกับสำเนียงโคราช ซึ่งเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกันอยู่
พบได้ในกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ เดิมรากฐานของสำเนียงถิ่นนี้มาจากแขก, ภาษาปัญจาบ, ภาษาพัชโต, ฝรั่ง และ มอญ
สำเนียงถิ่นนี้มีความใกล้เคียงทั้งสำเนียงกรุงเทพและอยุธยาก็คือ มีความเหน่อเล็กน้อยและ "ร" และ "ล" จะเข้มงวดเหมือนสำเนียงอยุธยาและมีการออกอักขระชัดเจนแบบกรุงเทพรอบในแต่จะเหน่อกว่ากรุงเทพรอบใน ตัวอย่างบุคคลที่พูดสำเนียงถิ่นนี้เช่น สุหฤท สยามวาลา, สุประวัติ ปัทมสูต และ เฉลิม อยู่บำรุง เป็นต้น
สำเนียงสุโขทัยเป็นสำเนียงโบราณสมัยกรุงสุโขทัย ปัจจุบันพบได้ในจังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือตอนล่าง สำเนียงสุโขทัยส่งอิทธิพลต่อสำเนียงในจังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งแต่เดิมคือเมืองในอาณาจักรสุโขทัย สำเนียงในภาคเหนือตอนล่างถูกแยกเป็นสาขาย่อยของสำเนียงสุโขทัยอีกทอดหนึ่ง มีการพูดเหน่อคล้ายสำเนียงในภาคตะวันตก แต่การผันวรรณยุกต์และการใช้ศัพท์ต่างท้องถิ่นกันมาก
การออกเสียงสำเนียงนี้จะค่อนข้างคล้ายภาษาถิ่นเหนือมีคำเมืองปนอยู่มาก มีหกวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาถิ่นเหนือ นิยมออกเสียงไม้เอกเป็นจัตวา แต่การออกอักขระเสียงเหมือนกับสำเนียงอยุธยาแทบทุกอย่างและเสียงจะห้วนกว่าสำเนียงอยุธยาและกรุงเทพ, "ร" และ "ล" จะเข้มงวดน้อยกว่าสำเนียงอยุธยา แต่ไม่ถูกละทิ้งบ่อย ๆ แบบสำเนียงกรุงเทพ, ออกเสียงพยัญชนะตัว "ฉ" กับ "ช", "ถ" กับ "ท", "ผ" กับ "พ" และ "ฝ" กับ "ฟ" แยกออกจากกัน บุคคลที่มีชื่อเสียงที่พูดสำเนียงนี้อย่างเช่น พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ, บุญธรรม ฮวดกระโทก, มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และ กรภพ จันทร์เจริญ เป็นต้น
ในอดีตอาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรอิสระ ก่อนที่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาณาจักรอยุธยาจะผนวกดินแดนรวมกับอาณาจักรสุโขทัย
โดยสำเนียงสุโขทัยเก่ายังคงรักษาอัตลักษณ์เดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง พบในอำเภอที่อยู่ห่างออกไปจากอำเภอเมือง และผู้พูดมักเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่สำเนียงสุโขทัยใหม่คือสำเนียงที่พัฒนาขึ้นมาจากเดิม มักมีสำเนียงและศัพท์จากกรุงเทพผสม มีการจำกัดขอบเขตในส่วนที่มีทางรถไฟเข้าถึงให้เป็นสำเนียงสุโขทัยใหม่ เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการพัฒนาเข้าถึงและรับวัฒนธรรมจากเมืองหลวงกรุงเทพจนเกิดการเปลี่ยนแปลง สำเนียงสุโขทัยยังเป็นที่รู้จักกันน้อยและยังไม่มีพจนานุกรมภาษาถิ่น
สำเนียงเพชรบุรี พบได้ในจังหวัดเพชรบุรี และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาไทยสำเนียงนี้มีความใกล้เคียงกับภาษาถิ่นใต้และได้รับอิทธิพลจากภาษามอญเป็นอย่างมาก
สำเนียงเมืองเพชรที่มีความพูดเร็วคล้ายภาษาถิ่นใต้ มีการลดรูปภาษาให้สั้นและกระชับลง ในขณะที่สำเนียงพูดยังอยู่ในตระกูลภาษาไทยภาคกลาง สำเนียงที่ถูกยกให้เป็นต้นแบบของสำเนียงเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอบ้านลาด การออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาถิ่นใต้เป็นอย่างมากจนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นภาษาถิ่นใต้ แต่ด้วยลักษณะสำนวนคำและคำศัพท์บางคำนำมาจากภาษาใต้และภาษามอญก็ยังคงความเป็นภาษาไทยถิ่นกลางอยู่เทียบเท่ากับภาษาจิ้นที่มีความใกล้เคียงกับภาษาจีนกลางอย่างมาก ในบางถิ่นมีสำเนียงคล้ายภาคตะวันออก
สำเนียงเพชรบุรีหรือสำเนียงประจวบคีรีขันธ์ ถูกจัดลำดับให้เป็นสำเนียงที่เข้าใจยากที่สุดรองจากสำเนียงโคราช
ภาษาไทยสำเนียงโคราช เป็นภาษาไทยกลุ่มหนึ่งที่ใช้พูดกันในจังหวัดนครราชสีมาเกือบทุกอำเภอ ยกเว้น อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน อำเภอบัวใหญ่ เป็นต้น รวมถึงประชากรบางส่วนใช้ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีความใกล้เคียงกับภาษาไทย ที่ออกสำเนียงเหน่อ และมีคำศัพท์ร่วมกับภาษาไทย และรับคำมาใช้จากภาษาถิ่นอีสาน ภาษาลาว และภาษาเขมร
ต้นกำเนิดเชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวไทยโคราชอพยพมาจากอยุธยา และแถบจังหวัดชายทะเลตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดนครนายก เป็นต้น เข้ามาในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง และได้ผสมกลมกลืนกับกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม เกิดเป็นวัฒนธรรมไทโคราช เรียกตนเองว่า ไทโคราช ไทเบิ้ง หรือ ไทเดิ้ง ต่อมาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมร และมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวลาว ชาวไทยอีสานและชาวเขมรเข้ามาทีหลัง ทำให้เกิดการวิวัฒนาการของภาษา โดยมีการยืมคำไทยอีสาน และคำเขมรปะปนเข้ามาใช้ เกิดเป็นคำไทโคราช ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยถิ่นอิสานโดยทั่วไป เพราะยังคงรักษารากศัพท์เดิมไว้คือภาษาไทยกลางนั่นเอง
ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่างๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น