ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย เป็นรูปแบบใหม่ของภาษาแอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีรีแอก แต่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาอัคคาเดียที่ใช้พูดในจักรวรรดิอัสซีเรีย หรือภาษาแอราเมอิกที่เป็นภาษากลางในจักรวรรดิอัสซีเรีย ในช่วง 257 ปีก่อนพุทธศักราช เริ่มแรกภาษานี้ ใช้พูดนบริเวณทะเลสาบอูร์เมีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่านและซิอิต ตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ปัจจุบันมีผู้พูดกระจายไปทั่วโลก ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก มีผู้พูดราว 200,000 คน ในอิรัก ซีเรีย อิหร่าน อาร์มีเนีย จอร์เจีย และตุรกี เขียนด้วย อักษรซีรีแอก อักษรละติน และอักษรฮีบรู
เป็นภาษาที่สืบเนื่องมาจากภาษาแอราเมอิกที่ใช้พูดโดยชาวยิวและชาวคริสต์ ซึ่งสำเนียงของสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกัน ได้รับอิทธิพลจากภาษาซีรีแอก ซึ่งเป็นสำเนียงของภาษาแอราเมอิกยุคกลางทางตะวันออก ซึ่งกลายเป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในเขตอารยธรรมอิสลาม ชุมชนชาวคริสต์ที่พูดภาษาแอราเมอิกมักใช้สองภาษา คือภาษาซีรีแอกในทางศาสนาและภาษาแอราเมอิกในชีวิตประจำวัน สำเนียงของชาวคริสต์มักเรียก S?ret, Syriac, or S?ry?ya Sw?d?ya, ซึ่งหมายถึง Syriac. ชื่อ Assyrian (?t?r?ya หรือ ?s?r?ya) มาจากนักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ศึกษาภาษานี้ในผู้พูดที่อพยพเข้าไปในจอร์เจีย พวกเขาเรียกภาษานี้ว่า ?????????, Aysorskiy, จากชื่อในภาษาอาร์มีเนีย ?????, Asori. ในช่วงพ.ศ. 2473 ชื่อของภาษานี้ในภาษารัสเซียคือ ???????????, Assiriyskiy, หรือAssyrian ในภาษาอังกฤษ
ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียมีหลายสำเนียง ภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดียอาจจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษานี้ได้ ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ระหว่างสำเนียง Alqosh ทางภาคเหนือของอิรัก และสำเนียงบริเวณอูร์เมียซึ่งกลายเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย การเปรียบเทียบระหว่างสองสำเนียงนี้ยังทำได้จำกัด
สำเนียงอูร์เมียเป็นที่รู้จักเมื่อ พ.ศ. 2379 เมื่อสำเนียงนี้ถูกนำไปใช้ในการตีพิมพ์ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย โดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียน ใน พ.ศ. 2395 มีการแปลไบเบิลเป็นสำเนียงนี้และออกตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอัสซีเรียที่อยู่ในตุรกีถูกบังคับให้ต้องย้ายถิ่นฐาน ส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ในอิรัก ทำให้เกิดสำเนียงใหม่ เรียก Iraqi Koine สำเนียงนี้เป็นการผสมระหว่างหลายสำเนียงโดยมีสำเนียงอูร์เมียเป็นพื้นฐาน
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย