ภาษาแมนจู เป็นภาษากลุ่มตังกูสิตใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีผู้พูดทางภาคเหนือของประเทศจีน เป็นภาษาแม่ของชาวแมนจู แต่ปัจจุบัน ชาวแมนจูส่วนมากพูดภาษาจีนกลาง และมีผู้พูดเป็นภาษาแม่และพูดได้บ้างน้อยกว่า 70 คน จากผู้มีเชื้อสายแมนจูรวมเกือบ 10 ล้านคน แม้ภาษาซิเบที่มีผู้พูด 40,000 คน แทบเหมือนกับภาษาแมนจูในทุกด้าน แต่ผู้พูดภาษาซิเบ ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงทางตะวันตกไกล มีเชื้อสายแตกต่างจากชาวแมนจู
ภาษาแมนจูเป็นภาษารูปคำติดต่อ เขียนจากบนลงล่าง คาดว่าพัฒนามาจากภาษาจูร์เชน มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษาจีนจำนวนมาก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรแมนจู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมองโกเลีย โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา
ภาษาแมนจูเขียนด้วยอักษรแมนจูที่พัฒนามาจากอักษรมองโกลซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนในแนวตั้งของอักษรอุยกูร์ในยุคก่อนได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม ภาษาแมนจูมีการเขียนด้วยอักษรโรมัน ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างอักษรแมนจูกับอักษรจูร์เชน
ภาษาแมนจูเป็นภาษาสำคัญในสมัยราชวงศ์ชิง แต่ชาวแมนจูกลับหันมาใช้ภาษาจีนมากขึ้น และเริ่มสูญเสียภาษาของตนเอง และต้องมีการอนุรักษ์ภาษา ใน พ.ศ. 2315 จักพรรดิเฉียนหลงพบว่าข้าราชการชาวแมนจูจำนวนมากไม่เข้าใจภาษาแมนจู จักรพรรดิเจียกิง (พ.ศ. 2325 – 2363) กล่าวเช่นกันว่าข้าราชการไม่เข้าใจและเขียนภาษาแมนจูไม่ได้ เมื่อราว พ.ศ. 2442 – 2443 พบว่าในเฮยหลงเจียงมีชายชาวแมนจูที่อ่านภาษาแมนจูได้เพียง 1% และพูดได้เพียง 0.2% ในราว พ.ศ. 2449 – 2450 ราชวงศ์ชิงได้จัดให้มีการศึกษาภาษาแมนจู และใช้ภาษาแมนจูเป็นคำสั่งทางทหาร
การใช้ภาษาแมนจูในสถานะภาษาราชการในสมัยราชวงศ์ชิงลดลงเรื่อยๆ ในช่วงต้นของราชวงศ์ เอกสารที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองหรือเป็นหัวข้อทางการจะเขียนเป็นภาษาแมนจูไม่ใช้ภาษาจีน บันทึกลักษณะนี้ยังคงเขียนต่อมาจนถึงปีท้ายๆของราชวงศ์ที่สิ้นสุดใน พ.ศ. 2455 เอกสารภาษาแมนจูยังถูกเก็บรักษาในฐานะเอกสารสำคัญสมัยราชวงศ์ชิง ในปัจจุบัน ตัวเขียนภาษาแมนจูยังเห็นได้ในสถาปัตยกรรมของนครต้องห้าม สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์จะเขียนทั้งในภาษาแมนจูและภาษาจีน ภาษานี้ใช้ในการออกคำสั่งทางทหารจนถึง พ.ศ. 2421
นักวิชาการชาวยุโรปในพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ไม่สามารถอ่านภาษาจีนเพราะระบบการเขียนที่ซับซ้อนเลือกที่จะแปลจากภาษาแมนจูหรือใช้รูปแบบที่มีภาษาแมนจูคู่ขนานอยู่ด้วย โดยกล่าวว่าภาษาแมนจูเป็นหน้าต่างในการเข้าไปศึกษาวรรณคดีจีน นักวิชาการด้านจีนชาวรัสเซียได้ศึกษาภาษาแมนจูเช่นกัน หลังจากที่มาจัดตั้งนิกายรัสเซียนออร์ธอดอกซ์ในปักกิ่ง มีการแปลเอกสารจากภาษาแมนจู และทำพจนานุกรมภาษาแมนจู-จีน มีการสอนการแปลภาษาแมนจูในอินกุตส์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 และสอนต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ชาวยุโรปได้ใช้การถอดคำในภาษาจีนด้วยอักษรแมนจู เพื่อช่วยในการออกเสียงภาษาจีนซึ่งนิยมใช้มากกว่าระบบที่ใช้อักษรโรมัน
ในปัจจุบันมีผู้พูดภาษาแมนจูเหลือน้อยมาก โดยในแมนจูเรียไม่มีผู้พูดภาษานี้แล้ว หันมาพูดภาษาจีนกันทั้งสิ้น กลุ่มผู้ใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาแม่เหลืออยู่ในหมู่บ้าน Sanjiazi ในเฮยหลงเจียง และมีผู้พูดภาษานี้อีกเล็กน้อยในตำบลไอฮุย ในเขตปกครองตนเอง Heihe
จริงๆแล้วรูปแบบสมัยใหม่ของภาษานี้คือภาษาซิเบของชาวซิเบที่อาศัยในซินเจียง และอพยพมาอยู่ในจักรวรรดิ Qianlong เมื่อ พ.ศ. 2307 ภาษาซิเบสมัยใหม่ใกล้เคียงกับภาษาแมนจู แม้ว่าจะมีความแตกต่างบ้างในการเขียนและการออกเสียง ภาษาซิเบมีการสอนเป็นภาษาที่สองในวิทยาลัยครูอีลีในเขตปกครองตนเองอีลีคาซัค มณฑลซินเจียง]] มีการออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งคราวด้วยภาษาซิเบ ประมาณสองครั้งต่อสัปดาห์ มีหลายแห่งในประเทศจีนที่สอนภาษาแมนจู หลายโรงเรียนในเฮยหลงเจียงเริ่มมีการสอนวิชาภาษาแมนจูในมหาวิทยาลัยเฮยหลงเจียงมีศูนย์วิจัยภาษาแมนจู และมีความพยายามฟื้นฟูภาษาแมนจู
ภาษาเขียนของภาษาแมนจูจัดเป็นภาษาพยางค์เปิด เพราะมีเสียงตัวสะกดได้เสียงเดียวคือ /n/ ซึ่งคล้ายกับภาษาจีนกลางในปักกิ่ง และภาษาญี่ปุ่น คำดั้งเดิมในภาษาจึงลงท้ายด้วยเสียงสระทั้งหมด ลักษณะเช่นนี้พบได้ในทุกสำเนียง แต่พบมากที่สุดในสำเนียงใต้ที่กลายมาเป็นภาษาเขียน
ระบบสระของภาษาแมนจูมีสระเป็นกลาง (([i] และ [u]) ที่มีอิสระที่จะปรากฏกับสระใดๆก็ได้ สระหน้า [e] จะไม่ปรากฏร่วมกับสระหลัง ([o] และ [a]) สระ [?] จัดเป็นสระหลัง แต่บางครั้งก็ปรากฏร่วมกับสระ [e] ได้ ส่วนในภาษาซิเบจะออกเสียงเป็น [u]
การเปลี่ยนเสียงสระในภาษาแมนจูอธิบายได้ด้วยหลักของอี้จิง โดยสระหน้าเป็นพยางค์หยิน ส่วนสระหลังเป็นพยางค์หยาง ซึ่งเป็นเพราะคำที่ใช้สระหน้ามักเป็นเพศหญิง และคำที่ใช้สระหลังมักเป็นเพศชาย จึงมีคู่ของคำในภาษาที่เมื่อเปลี่ยนสระจะเปลี่ยนเพศของคำด้วย เช่น hehe (ผู้หญิง) และ haha (ผู้ชาย) หรือ eme (แม่) และ ama (พ่อ)
ภาษาแมนจูมีคำยืมจำนวนมากจากภาษาจีน มีสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้แสดงสระของคำยืมจากภาษาจีน และสัญลักษณ์สำหรับพยัญชนะที่ใช้เฉพาะในคำยืมจากภาษาจีน นอกจากนั้นยังมีคำยืมจากภาษามองโกเลียด้วย
คำคุณศัพท์นำหน้าด้วยคำนามที่ขยาย การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา มีการใช้สัญลักณ์การกควบคู่กับปรบท เช่น
สองประโยคต่อไปนี้สามารถรวมเข้าด้วยกันด้วย converb ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการกระทำรองเข้ากับการกระทำหลัก เช่น