ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษาแต้จิ๋ว

ภาษาแต้จิ๋ว (??) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน หมิ่น-หนาน จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของจีน คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดหลากหลาย) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)

ภาษาแต้จิ๋วมีชื่อเรียกในประเทศจีนแตกต่างกันหลายอย่างเดิมนิยมเรียกว่า เตี่ยจิวอ่วย หรือ เฉาซ่านฮว่า (ภาษาจีนกลาง) หมายถึงภาษาพูดถิ่นแต้จิ๋ว ต่อมาเมื่อเมืองซัวเถาเจริญรุ่งเรื่องขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองแทนเมืองแต้จิ๋ว คนต่างถิ่นจึงนิยมเรียกภาษานี้ว่า ซ่านโถวฮว่า หรือ ซัวเถาอ่วย ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึงภาษาพูดถิ่นซัวเถา ต่อมานิยมเรียกว่า เฉาซ่านฮว่า (เตี่ยซัวอ่วย) หมายถึง ภาษาพูดถิ่นแต้จิ๋ว-ซัวเถา เพื่อให้ครอบคลุมท้องถิ่นที่พูดภาษานี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในแวดวงวิชาภาษาศาสตร์และภาษาถิ่นจีนนิยมเรียกว่า เฉาซ่านฟางเอี๋ยน (เตี่ยซัวฮวงงั้ง) หมายถึงภาษาถิ่นแต้จิ๋ว อีกชื่อหนึ่งที่นิยมใช้เป็นภาษาหนังสือเรียกภาษาถิ่นนี้คือ เฉาอี่ว์ (เตี่ยงื่อ) หมายถึงภาษาของจีนแต้จิ๋วหรือภาษาแต้จิ๋วนั่นเอง

มีอีกชื่อหนึ่งที่ชาวจีนแคะใช้เรียกภาษานี้จนเป็นที่รู้จักคือภาษาฮกล่อ (ภาษาแคะว่า ฮอล่อว้า) เนื่องจากคำว่าฮกล่อเป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์แต้จิ๋วที่แพร่หลายอีกชื่อหนึ่ง

ภาษาแต้จิ๋วในปัจจุบัน เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน เมื่อประมาณ คริตศตวรรษ ที่ 9 จนถึง ที่ 15 มีกลุ่มชาว หมิ่น (หมิ่น) ได้อพยพลงใต้จากมณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มาที่ทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ในเขตที่เรียกว่า เฉาซั่น การอพยพดังกล่าวมีสาเหตุมาจากประชากรที่มากขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยน

เนื่องจากภูมิประเทศใหม่ที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากภาษากวางตุ้งและแคะ ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง ภาษาแต้จิ๋วนั้นจะพูดในเขตที่เรียกรวมกันว่า "เฉาซั่น" ซึ่งมีเมืองแต้จิ๋ว (หรือ เฉาโจว ในภาษาจีนกลาง) และซัวเถา (หรือ ซั่นโถว ในภาษาจีนกลาง) เป็นหลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เฉาซั่น" ดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพูดกันในเมืองเจียหยาง เฉาหยาง ผู่หนิง เฉาอัน เร่าผิง ฮุยไหล และ เฉิงไห่

เขตเฉาซั่นเคยเป็นเขตหนึ่งที่มีคนจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นอันมากไปยังเอเซียอาคเนย์ในคริสต์ศตวรรษที่18-20 ซึ่งทำให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาหลักหนึ่งในภาษาที่พูดกันมากในกลุ่ม ชาวจีนอพยพ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง และยังมีในทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา ที่มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไป

อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นภาษาแต้จิ๋วได้ลดความนิยมลงไปมากในหมู่ชาวแต้จิ๋ว เช่น ในสิงคโปร์ เยาวชนที่เดิมพูดแต้จิ๋วได้เปลี่ยนไปพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง และ ฮกเกี้ยนมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมส่วนใหญ่และอิทธิพลของสื่อสารมวลชน แต่โดยรวมแล้วภาษาแต้จิ๋วก็ยังคงเป็นภาษาที่พูดกันในหมู่คนจีนในสิงคโปร์เป็นอันดับสองรองจากภาษาฮกเกี้ยน ถึงแม้ว่าภาษาจีนกลางกำลังเข้ามาแทนที่ภาษาท้องถิ่นเหล่านี้ในฐานะภาษาแม่ในหมู่เยาวชนยุคใหม่ก็ตาม

อักษรละตินตัวเอนหมายถึงอักษรที่นิยมใช้ทับศัพท์แทนเสียง อักษรไทยในวงเล็บคือเสียงอักษรที่ใกล้เคียง

เสียงสระอาจเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ แต่สำหรับเสียงสระ+สะกดกักแสดงด้วยเสียงสั้นเท่านั้น คล้ายวิธีอ่านสระเสียงสั้นในภาษาไทย สระขึ้นจมูกมิได้หมายความว่าสะกดด้วย น แต่เวลาออกเสียงสระให้ปล่อยลมทางจมูกด้วย

เสียงวรรณยุกต์มีสองกลุ่มคือ อิม (? หรือหยิน) กับ เอี๊ยง (? หรือหยาง) กลุ่มละสี่เสียง รวมแปดเสียง เสียงสระ+สะกดกักจะมีเสียงวรรณยุกต์ 4 หรือ 8 เท่านั้น

ภาษาจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยส่วนใหญ่มีภาษาใกล้เคียงกับคนแต้จิ๋วแถบเมืองเตี่ยอังและเถ่งไห้ ซึ่งมีลักษณะเสียงที่นุ่มนวลไม่แข็งกระด้างเช่นถิ่นอื่น อีกทั้งภาษาพูดของชาวแต้จิ๋วในประเทศไทยก็ไม่เหน่อเช่นคนแต้จิ๋วในจีนพูดกัน หากเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานที่เกิดในไทย ก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างกันในเรื่องภาษาพูดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ภาษาแต้จิ๋วจะยึดภาษาเมืองเตี่ยอังเป็นเกณฑ์ ส่วนชาวแต้จิ๋วในไทยรุ่นแรกใช้ภาษาเมืองเถ่งไห้ แต่ทั้งสองภาษานี้คล้ายกันมาก จนแทบไม่มีความแตกต่างกัน จึงอาจถือได้ว่าภาษาจีนแต้จิ๋วในไทยมีความเป็นเอกภาพมากกว่าภาษาแต้จิ๋วในประเทศจีนเสียอีก

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจได้แบ่งโลกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนแผ่นดินใหญ่จึงถูกตัดขาดมานานกว่า 30 ปี ส่งผลให้ชาวจีนในไทยแทบไม่มีโอกาสติดต่อไปมาหาสู่กับญาติพี่น้องได้ ทำให้เกิดวิวัฒนาการทางด้านภาษาของจีนในไทย โดยภาษาจีนในไทยยังคงลักษณะดั้งเดิมก่อนทศวรรษ 1950 แต่อย่างไรก็ตามภาษาจีนในไทยเองก็ได้รับอิทธิพลของภาษาไทยมากขึ้น ทำให้ภาษาแต้จิ๋วในไทยแตกต่างกับภาษาแต้จิ๋วในจีน

ภาษาแต้จิ๋วในไทยยังมีการใช้คำศัพท์เก่า ในขณะที่ภาษาแต้จิ๋วในจีนไม่มีใช้ ไม่ได้ใช้ หรือใช้กันน้อยมากจนแทบหายไปจากการประมวลคำ ภาษาแต้จิ๋วในไทยและจีนมีคำศัพท์ที่ต่างกันมากมายหลายสิบคำ และมีคำหลาย ๆ คำที่ภาษาแต้จิ๋วในไทยมีใช้กัน ขณะที่ภาษาแต้จิ๋วในจีนไม่ใช้ เช่น แขะจั่ง (??) — โรงแรม, เอี่ยฮั้ง (??) — ห้างสรรพสินค้า, เถ่าแก (??) — เจ้าของกิจการ, เถ่าแกเนี้ย (???) — ภรรยาของเจ้าของกิจการ, อาเสี่ย (??) — ลูกคนรวย, อาเสี้ยเนี้ย (???) — ภรรยาของลูกคนรวย, เซ้ง (?)—รับโอนกรรมสิทธิ์, เชียอู่ (??) — อู่ซ่อมรถ, ยัวะ (?)—ร้อน, กาเชีย (??) — ขับรถ ฯลฯ

ภาษาแต้จิ๋วในไทยยังรับเอาเสียงและความหมายจากภาษาอื่นมาใช้ในภาษาของตนเอง เช่น แพทย์—หมอ, แม่ค้า—แมค่า, ตลาด—ตั๊กลั๊ก, วัด—อวก, จักรยานยนต์—มอตอไซ, เครื่องปรับอากาศ—แอ, ลิฟต์—ลิบ, ขวด—ก๊วก, กะปิ—กั้บติ๊, ชมพู่—เจียมผุ ฯลฯ

ภาษาแต้จิ๋วในไทยมีคำใช้ที่ใช้เฉพาะภาษาแต้จิ๋วในไทยเท่านั้น แต่คนแต้จิ๋วในจีนไม่นิยมใช้หรือไม่มีใช้กันอาทิเช่น แปะเจี้ย—เงินกินเปล่าที่แลกกับสิทธิบางประการ, โต่ยจี๊—การบริจาคเงินเพื่อการกุศลด้วยจิตศรัทธา, จ่อซัว—คนรวยมั่งมีเงินทอง (เจ้าสัว), เจี๊ยะฮวงฉู่—บ้านพักตากอากาศต่อมาได้ขยายความเป็นบ้านเดี่ยวหรูหราตามชานเมือง, ซึงกาเกี้ย หรือ ซึงกา—มะนาว, ซึงตู๊—ตู้เย็น, ซัวปา—คนต่างจังหวัดนอกกรุงเทพฯ, ซัวปานั้ง—พวกบ้านนอก, เค้กเกี้ย—แขกอินเดีย—ปากีสถาน, เหลาเกี้ย—ชาวอีสานและชาวลาว


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944