ภาษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (เปอร์เซีย: ?????? Farsi ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน) , ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กริยา
ภาษาเปอร์เซียอยู่ในกลุ่มตะวันตกของภาษากลุ่มอิหร่านในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ในกลุ่มตะวันตกนี้ นอกจากภาษาเปอร์เซียแล้วยังมีภาษาเคิร์ด ภาษามาซันดารานี ภาษาคิเลกิ ภาษาทาเลียสและภาษาบาโลชิ โดยภาษาเปอร์เซียอยู่ในกลุ่มย่อยตะวันตกเฉียงใต้
ในภาษาอังกฤษเรียกชื่อภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษของคำที่มาจากภาษาละติน Persianus < ละติน Persia < กรีก ?????? P?rsis ซึ่งมีต้นกำเนิกจากคำในภาษาเปอร์เซียโบราณ Parsa คำว่าเปอร์เซียมีใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่จะเรียกตนเองว่าปาร์ซี หรือ ฟาร์ซี โดยที่ฟาร์ซีนั้นเป็นรูปที่ถูกทำให้เป็นภาษาอาหรับของคำว่าปาร์ซี เพราะภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/ เมื่อมีผู้พูดภาษาเปอร์เซียอพยพไปตะวันตกจึงมีการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีใช้เรียกภาษาของตนและเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 สมาคมวิชาการทางด้านภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซียได้ประกาศว่าคำว่าภาษาเปอร์เซียนั้นเหมาะสมกว่าฟาร์ซี และนักวิชาการทางด้านภาษาเปอร์เซียบางคนได้ปฏิเสธการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซี
การกำหนดรหัสภาษาในระบบ ISO 639-1 ใช้ "fa" ส่วนในระบบ ISO 639-3 ใช้ "fas" สำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อิหร่านถึงอัฟกานิสถาน ใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีตะวันออกสำหรับภาษาเฉพาะในอัฟกานิสถานและภาษาฟาร์ซีตะวันตกสำหรับภาษาเฉพาะในอิหร่าน ใน Ethnologue จะใช้ภาษาฟาร์ซีตะวันออกหรือ "Dari" กับภาษาฟาร์ซีตะวันตกหรือ "Irani"
ภาษาเปอร์เซียมีพยัญชนะ 23 เสียง สระ 6 เสียง ในอดีต ภาษาเปอร์เซียมีเสียงสระ 8 เสียงคือมีเสียงยาว 5 เสียง (/i?/, /u?/, /??/, /o?/ และ /e?/) และเสียงสั้น 3 เสียง (/?/, /i/ และ /u/)จนเมื่อราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 มีการรวมกันของเสียงสระบางเสียง จึงเหลือเพียง 6 เสียงในปัจจุบัน
ภาษาเปอร์เซียมีการเติมปัจจัยท้ายคำมาก คำอุปสรรคมีใช้น้อย คำกริยาจะแสดงกาลและจุดประสงค์ ผันตามบุคคล บุรุษ และจำนวน คำนามไม่มีการกำหนดเพศ คำสรรพนามจัดให้เป็นเพศกลาง
โครงสร้างประโยคโดยทั่วไปเป็น ประธาน- (วลีบุพบท) -กรรม-กริยา ถ้ากรรมมีการชี้เฉพาะ กรรมจะตามด้วยคำ ra และมาก่อนวลีบุพบท
ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษากลุ่มอิหร่าน อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ในตระกูลภาษาอินดด-ยุโรเปียน ภาษานี้แบ่งออกเป็นสามยุคอย่างชัดเจนคือยุคโบราณ ยุคกลางและยุคใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อิหร่านสามช่วง ยุคโบราณเริ่มตั้งแต่ก่อนราชวงศ์อะแคมินิดจนถึงหลังราชวงศ์อะแคมินิด (ประมาณพ.ศ. 143-243) ยุคกลางเริ่มจากยุคหลังจากสิ้นสุดยุคโบราณจนถึงยุคราชวงศ์ซัสซานิด และยุคหลังจากนั้น ยุคใหม่ เริ่มหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ซัสซานิดจนถึงปัจจุบัน เอกสารภาษาเปอร์เซียที่เก่าที่สุดอยู่ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 57 ปีก่อนพุทธศักราช
ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้ เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด
ในทางตรงกันข้ามกับภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางมีความแตกต่างทั้งทางด้านรุปแบบการเขียนและการพูด รูปแบบทวิพจน์ในภาษาเปอร์เซียโบราณได้หายไป ภาษาเปอร์เซียยุคกลางใช้ปรบทในการบอกหน้าที่ของคำ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อราชวงศ์อะแคสินิดเริ่มตกต่ำ โดยเปลี่ยนแปลงของภาษาน่าจะเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ 9 และใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาเปอร์เซียกลางจึงเริ่มเปลี่ยนมาสู่ภาษาเปอร์เซียใหม่ เอกสารที่เหลือยู่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ ชื่อของภาษาในยุคนี้คือ Parsik ซึ่งกลายเป็นคำว่า "เปอร์เซีย" ในภาษาเปอร์เซียใหม่ เมื่อเขียนด้วยอักษรอาหรับ เมื่อภาษานี้เปลี่ยนมาเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ ภาษายุคกลางนี้จึงเรียกว่าภาษาปะห์ลาวี จุดเปลี่ยนระหว่างภาษายุคกลาง (ปะห์ลาวี เช่นภาษาพาร์เทียน) มาเป็นภาษาเปอร์เซีย (farsi)จึงเป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและการเขียนด้วยอักษรอาหรับ
ประวัติศาสตร์ของภาษาเปอร์เซียใหม่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000 - 1,200 ปี พัฒนาการของภาษานี้แบ่งเป็นยุคต้น ยุคคลาสสิกและยุคใหม่ ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ในปัจจุบันสามารถเข้าใจเอกสารโบราณของภาษาเปอร์เซียได้แม้จะมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์บ้าง
การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของภาษาเปอร์เซียและวรรณกรรม ภาษานี้เป็นภาษากลางของโลกอิสลามฝั่งตะวันออกและอินเดีย เป็นภาษากลางและภาษาทางวัฒนธรรมของราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายราชวงศ์ เช่นซามานิดส์ บูยิดส์ ตาฮิริดส์ จักรวรรดิโมกุล ติมูริดส์ คาชนาวิดส์ เซลจุก ความเรชมิดส์ ซาฟาวิด อัฟชาริดส์ จักรวรรดิออตโตมานและอื่นๆ
ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเดียวในตะวันออกที่มาร์โคโปโลรู้จัก อิทธิพลของภาษาเปอร์เซียต่อภาษาอื่นๆในโลกอิสลามปรากฏชัดมาก หลังจากที่ชาวอาหรับรุกรานเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียได้ปรับปรุงคำศัพท์จากภาษาอาหรับมาใช้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคำมาจากตระกูลภาษาอัลไตอิกระหว่างที่ถูกปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกล
ในช่วง 500 ปีก่อนที่อังกฤษจะเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคม ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สองที่สำคัญในอินเดียทั้งทางด้านการเรียนการสอนและทางวัฒนธรรม ในยุดจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ภาษาอังกฤษจึงเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเปอร์เซีย ??????
=== ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน === ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซียและภาษาฝรั่งเศสได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น
การสร้างคำในภาษาเปอร์เซียจะประกอบด้วยการเติมอุปสรรคปัจจัยเข้าที่รากศัพท์ และมีการสร้างคำแบบรูปคำติดต่อด้วย รวมทั้งการสร้างคำแบบประสมที่รวมคำสองคำเข้าด้วยกัน
ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับน้อย และได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาโบราณในเมโสโปเตเมีย แต่ในภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจากรากศัพท์ภาษาอาหรับมาก โดยรากศัพท์เหล่านี้จะถูกทำให้เป็นเปอร์เซีย คำศัพท์ภาษาอาหรับที่พบในภาษาที่ใช้พูดในประเทศอินเดียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกนั้นจะยืมต่อไปจากภาษาเปอร์เซียอีกต่อหนึ่ง การรวมหน่วยทางภาษาจากภาษามองโกเลียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกเข้าในภาษาเปอร์เซีย เกิดจากการที่ชาวเติร์กเคยมีอำนาจปกครองอิหร่าน คำศัพท์กลุ่มนี้มักเป็นคำศัพท์ทางการเมือง
มีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสและภาษารัสเซียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ในปัจจุบันมีคำยืมจากภาษาอังกฤษในภาษาเปอร์เซียมากยิ่งขึ้น และสมาคมวิชาการเปอร์เซียพยายามบัญญัติศัพท์ภาษาเปอร์เซียขึ้นใช้แทน อย่างไรก็ตาม มีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสมากกว่าภาษาอังกฤษ เพราะผู้พูดภาษาเปอร์เซียจะออกเสียงภาษาฝรั่งเศสได้ง่ายกว่า
นอกจากนี้ ภาษาเปอร์เซียยังมีอิทธิพลต่อคำศัพท์ในภาษาอื่นโดยเฉพาะกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตัวอย่างของภาษาเหล่านี้ได้แก่ ภาษาอูรดู ภาษาฮินดี และกลุ่มภาษาเตอร์กิก เช่น ภาษาตุรกีออตโตมาน ภาษาชะกะไต ภาษาตาตาร์ ภาษาตุรกีภาษาเติร์กเมน ภาษาอาเซอรีภาษาอุซเบก ตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก เช่นภาษาอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย ภาษาอาหรับตระกูลภาษาดราวิเดียน เช่น ภาษาเตลูกู และภาษาบราฮุย ภาษาในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ภาษาอาร์มีเนีย ภาษาจอร์เจีย ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น [[ภาษามาเลย์ และภาษาในทวีปแอฟริกา เช่น ภาษาสวาฮิลี นอกจากนั้น ภาษาเปอร์เซียยังส่งอิทธิพลต่อภาษาในยุโรปตะวันออกผ่านทางภาษาตุรกี เช่น ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย โดยเฉพาะที่ใช้พูดในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา
ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ในอิหร่านและอัฟกานิสถานเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ภาษาทาจิกที่ถือเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเปอร์เซียซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกในเอเชียกลาง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก
ภาษาเปอร์เซียและภาษาดารีเปอร์เซียสมันใหม่ เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงซึ่งมีการออกเสียงที่ต่างไปและเพิ่มอักษรเข้ามา ในขณะที่ภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก หลังจากที่ชาวเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามใช้เวลาถึง 150 ปีที่ชาวเปอร์เซียได้ประยุกต์นำอักษรอาหรับเข้าไปแทนที่อักษรที่เคยใช้อยู่เดิมคืออักษรปะห์ลาวีสำหรับภาษาเปอร์เซียยุคกลางและอักษรอเวสตะที่ใช้สำหรับงานเขียนทางศาสนา อักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาอเวสตะมาก่อน ในอักษรเปอร์เซียสมัยใหม่สระที่ใช้แทนสระเสียงสั้น (a, e, o) จะไม่แสดง แสดงเฉพาะสระเสียงยาว (i, u, ?) ซึ่งจะทำทำให้เกิดความสับสนได้ เช่นเมื่อสะกดว่า "krm" อาจหมายถึง kerm "หนอน", karam "ใจกว้าง", kerem "ครีม" หรือ krom "สี" ผู้อ่านต้องตัดสินใจเอาเองจากบริบท ระบบเครื่องหมายการออกเสียงภาษาอาหรับที่เรียกฮารากัตมีใช้ในภาษาเปอร์เซียด้วย แม้จะออกเสียงต่างจากภาษาอาหรับ เช่น ฎ็อมมะห์ ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง [?] ส่วนภาษาเปอร์เซียใช้แทน [o] แต่การแสดงเครื่องหมายนี้จะไม่ใช้ในการเขียนภาษาเปอร์เซียตามปกติ จะใช้สำหรับการสอนและพจนานุกรมบางเล่ม ตัวอักษรบางตัวจะใช้เฉพาะคำยืมจากภาษาอาหรับ แต่จะออกเสียงแบบภาษาเปอร์เซีย เช่น มีอักษร 4 ตัวแทนเสียง 'z' อักษรแทนเสียง 's' 3 ตัวและแทนเสียง 't' อีก 2 ตัว
อักษรเปอร์เซียมีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรจากภาษาอาหรับ เช่นอลิฟที่มีฮัมซะหฺอยู่ข้างล่าง ( ? ) เปลี่ยนเป็น ( ? ) คำที่เขียนด้วยฮัมซะหฺจะเขียนต่างไป เช่น ????? เป็น ????? และ ? เปลี่ยนเป็น ? หรือ ? อักษรที่เปลี่ยนรูปร่างไป แสดงในตารางข้างล่าง การเขียนตามรูปแบบเดิมในภาษาอาหรับไม่ถือว่าผิดแต่ไม่นิยม
องค์กรนานาชาติสำหรับการจัดมาตรฐานได้เสนอการปริวรรตภาษาเปอร์เซียเป็นอักษรละตินแต่ไม่เป็นที่นิยม อีกรูปแบบหนึ่งมาจากอักษรละตินมาตรฐานสำหรับกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่นำไปใช้ในทาจิกิสถานเมื่อราว พ.ศ. 2463 ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้อักษรซีริลลิกในอีกทศวรรษต่อมา นอกจากนั้นยังมีระบบของ Universal Persian Alphabet ใช้ในหนังสือตำราหรือคู่มือการท่องเที่ยว และ International Persian Alphabet ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย A. Moslehi นักภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ
อักษรซีริลลิกถูกนำมาใช้เขียนภาษาทาจิกในสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก โดยนำมาใช้แทนอักษรละตินที่เริ่มใช้หลังการปฏวัติบอลเชวิกในราว พ.ศ. 2473 หลัง พ.ศ. 2482 การเขียนด้วยอักษรเปอร์เซียในประเทศถูกสั่งห้าม