ภาษาเตลูกู (Telugu ??????) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลุกุ
ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกโล ดา คอนติ (Niccol? Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ภาษาเตลูกูมีจุดกำเนิดจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมและอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนกลาง-ใต้ โดยผู้พูดมีจุดกำเนิดมาจากกลุ่มชนที่อยู่ตอนกลางของที่ราบสูงเดกคาน และได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมาก จารึกภาษาเตลูกูมีอายุย้อนหลังไปได้ถึง พ.ศ. 143 พบที่ตำบลกูร์นูล
รากศัพท์ที่แน่นอนของคำว่า "เตลุกู"หรือ "เตลุคุ" ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยทั่วไปอธิบายว่ามาจากคำว่าไตรลิงกะ ในไตรลิงกะ เทศา ในศาสนาฮินดูคำว่า ไตรลิงกะ เทศา หมายถึงดินแดนที่อยู่ระหว่างวิหารของพระศิวะ 3 แห่ง คือ กาละหัตถี ศรีศัยลัม และทรักศรมัม ไตรลิงกะ เทศานี้อยู่ที่แนวชายแดนดั้งเดิมของบริเวณเตลูกู รูปแบบอื่นๆของคำนี้ เช่น เตลุงกะ เตลิงคะ เตลังกนะ และเตนุงกะพบได้เช่นกัน มีคำกล่าวว่าไตรลิงกะในรูปของไตรลิกกอนปรากฏในงานของปโตเลมีในฐานะชื่อของดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำคงคา นักวิชาการอื่นๆเปรียบเทียบไตรลิงคะกับชื่อพื้นเมืองอื่นๆที่กำหนดโดยพลินี เช่น โบลิงเก มักโดคาลิงเก และโมโด กาลิงกัม โดยชื่อหลังนั้นระบุว่าเป็นเกาะในแม่น้ำคงคา A.D. Campbell ได้กล่าวไว้ในบทนำของตำราไวยากรณ์ภาษาเตลูกูของเขาว่าโมโด กาลิงกัมอาจจะอธิบายได้ด้วยการแปลภาษาเตลูกูคำว่าตรีสินงกัมและเปรียบเทียบส่วนแรกของคำ โมโด กับมุดุกะซึ่งเป็นรูปคำที่ใช้ในวรรณคดีภาษาเตลูกู โดยมุดุแปลว่าสาม
Bishop Caldwell อธิบายว่าโมโด กาลิงกัมมาจากภาษาเตลูกู มุดุ กาลิงกัมหมายถึงกาลิงกัสทั้งสามซึ่งเป็นชื่อพ้องกับที่พบในจารึกภาษาสันสกฤต และกาลิงกะปรากฏในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชและเริ่มปรากฏรูปคำว่ากลิงก์ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มาจากอินเดียตอนใต้ในมาเลเซีย K.L. Ranjanam เห็นว่าคำว่ากลิงก์มาจากตะละดิง ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขตอันธระ M.R. Shastri เห็นว่ามาจากคำว่าเตลุงคะที่มาจากภาษาโกณฑี เตลู แปลว่าขาว แล้วทำให้อยู่ในรูปพหูพจน์โดยเดิม –unga ซึ่งอาจจะเป็นการอ้างอิงถึงคนผิวขาว G.J. Sumayaji อธิบายว่า ten- หมายถึงใต้ ในภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม และอาจจะมาจากเตนุงกู หมายถึงผู้คนทางใต้
ชื่อเดิมของแผ่นดินเตลูกูคือเตลิงกะ/เตลิงกะเทศะ ซึ่งดูคล้ายกับว่ามาจากรากศัพท์ เตลิ- และเติม –nga ซึ่งเป็นหน่วยสร้างคำทั่วไปในภาษาตระกูลดราวิเดียน คำว่าเตลิปรากฏในภาษาเตลูกูแปลว่าสว่าง คำว่ากลิงก์อาจจะมีพื้นฐานเดียวกับคำในภาษาเตลูกู กาลูกูตะหมายถึงอยู่รอดและมีชีวิต และความหมายโดยนัยคือความเป็นคน
การค้นพบป้ายจารึกอักษรพราหมีอ่านได้ว่า ทัมภยา ธานัม พบบนหินสบู่เมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าภาษาเตลูกูเป็นที่รู้จักก่อนแนวคิดที่รับรู้กันทั่วไปในรัฐอันธรประเทศ หลักฐานปฐมภูมิคือจารึกภาษาสันสกฤต/ปรากฤตที่พบในบริเวณนั้นซึ่งมีชื่อบุคคลและสถานที่เป็นภาษาเตลูกูแทรกอยู่ในยุคนี้ ซึ่งมีการใช้ภาษาเตลูกูในสมัยที่มีการปกครองของราชวงศ์ศตวหนะ ซึ่งพูดภาษาปรากฤต คำในภาษาเตลูกูปรากฏในบทกวีภาษามหาราษฏรีที่เป็นภาษาปรากฤตที่รวบรวมเมื่อ 457 ปีก่อนพุทธศักราช โดยกษัตริย์ทละในราชวงศ์ศตวหนะ ผู้พูดภาษาเตลูกูอาจจะเป็นกลุ่มคนที่เก่าแก่ที่สุดที่อาศัยในแผ่นดินบริเวณแม่น้ำกฤษณาและโคทาวารี
จารึกชิ้นแรกที่ใช้ภาษาเตลูกูทั้งหมดพบในช่วงที่สองของประวัติศาสตร์เตลูกู จารึกนี้มีอายุราว พ.ศ. 1118 พบที่ตำบลกจปะ กุร์โนล และตำยลใกล้เคียง โดยใช้ภาษาสันสกฤตควบคู่ไปกับภาษาท้องถิ่น ในอีก 50 ปีต่อมา พบจารึกภาษาเตลูกูในอนันตปุรัมและบริเวณใกล้เคียง จารึกภาษาเตลูกูล้วนชิ้นแรกพบที่ชายฝั่งของรัฐอันธรประเทศ อายุราว พ.ศ. 1176 ในช่วงเวลาเดียวกัน กษัตริย์จาลุกยะแห่งเตลังกนะเนิ่มใช้ภาษาเตลูกู โดยภาษาเตลูกูในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมาก และเป็นยุคที่เริ่มมีวรรณคดีภาษาเตลูกู ยุคนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษาศาสตร์ของภาษาพูดด้วย
เป็นยุคที่วรรณกรรมมีความก้าวหน้ามากขึ้น และเริ่มนำคำที่เป็นภาษาพูดเข้าไปใช้ในบทกวี ยุคนี้ยังเป็นยุคที่ศาสนาอิสลามแผ่มาถึงเตลังกนะและเกิดอักษรเตลูกู-กันนาดาขึ้น
ในยุคนี้ ภาษาเตลูกูมีการเปลี่ยนแปลงมาก ภาษาในเตลังกนะเริ่มแตกเป็นสำเนียงต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากบทบาทของศาสนาอิสลามจากการถูกปกครองโดยสุลต่านราชวงศ์ตุกลิกที่ก่อตั้งขึ้นในเดกคานตอนเหนือราวพุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม จักวรรดิวิชัยนครมีความโดดเด่นใน พ.ศ. 1875 จนถึงราว พ.ศ. 2143 ทำให้เกิดยุคทองของวรรณคดีเตลูกูเมื่อถึงพุทธสตวรรษที่ 22 การปกครองของมุสลิมเริ่มขยายตัวลงทางใต้จนเกิดการก่อตั้งราชรัฐไฮเดอราบัดโดยราชวงศ์อาซาฟ ยะห์ ใน พ.ศง 2267 ทำให้ภาษาเตลูกูได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมากในยุคนี้
ยุคนี้เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ การสื่อสารสมัยใหม่ สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปกครองของอังกฤษ เริ่มมีสื่อสมัยใหม่เช่นโทรทัศน์ วิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 มีการกำหนดรูปแบบมาตรฐานของภาษาเพื่อการสอนในโรงเรียน
ภาษาเตลูกูส่วนใหญ่จะใช้พูดในรัฐอานธรประเทศ และรัฐใกล้เคียง เช่น รัฐทมิฬนาฑู พอนดิเชอร์รี รัฐกรณาฏกะ รัฐมหาราษฏระ รัฐโอริสสาและรัฐฉัตติสครห์ นอกจากนี้ยังใช้พูดในบาห์เรน ฟิจิ มาเลเซีย มอริเชียส แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และเป็นภาษาที่ใช้พูดเป็นอันดับสองในอินเดีย รองจากภาษาฮินดี
ภาษาเตลูกูเป็นหนึ่งในภาษาราชการ 22 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศตั้งแต่การสถาปนารัฐเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2496 เป็นภาษาราชการในตำบลยานัมของสหภาพพอนดิเชอร์รี
ในภาษาเตลุกุจะเรียงประโยคจาก กรรตะ ???? (ประธาน), กรรมะ ???? (กรรม) และ กริยะ ????? (กริยา) ภาษาเตลุกุมีการใช้ วิภักถิ ??????? (บุพบท) ด้วย
การต่อคำเช่นนี้ใช้กับคำนามทุกชนิดทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ตารางต่อไปนี้แสดงการกอื่นๆในภาษาเตลุกุ
ตัวอย่างที่แสดงมาทั้งหมดเป็นการเชื่อคำเพียงระดับเดียว ภาษาเตลุกุมีการเชื่อมคำโดยใช้ปัจจัยหลายตัวเชื่อมต่อกับตำเพื่อให้เกิดคำที่ซับซ้อนขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น อาจเติมทั้ง "?????; นินชิ - จาก" และ "??; โล - ใน" เข้ากับคำนามเพื่อหมายถึงภายใน เช่น "???????????; รามุโลนินชิ - จากข้างในของรามะ" หรือตัวอย่างการเชื่อมต่อ 3 ระดับ: "???????????????; v??imad?yal?ninchi - จากในระหว่างพวกเขา"
ภาษาเตลุกุมีสรรพนาม "เรา" 2 คำ คือรวมผู้ฟัง (????; มะนะมุ) กับไม่รวมผู้ฟัง (????; เมมุ) เช่นเดียวกับภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม แต่ลักษณะนี้ไม่พบในภาษากันนาดาสมัยใหม่
ภาษาเตลุกุมีรากศัพท์ที่มาจากภาษาในกลุ่มดราวิเดียนเอง โดยมากเป็นศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไปหรือในชีวิตประจำวัน เช่น ??; ตะละ (หัว), ????; ปุลิ (เสือ), ???; อูรุ (เมือง) อย่างไรก็ตาม ภาษาเตลุกุมีศัพท์จากภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤตปนอยู่มาก อิทธิพลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่กษัตริย์ศตวหนะให้ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาราชการแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะพูดภาษาเตลุกุ
เชื่อกันว่าอักษรเตลุกุได้รับอิทธิพลจากอักษรพราหมีสมัยอโศก และใกล้เยงกับอักษรจาลุกยะที่พ่อค้าจากอินเดียนำไปเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นต้นแบบของอักษรในบริเวณดังกล่าวรวมทั้งอักษรไทย อักษรจามและอักษรบาหลี ความคล้ายคลึงระหว่างอักษรเตลุกุกับอักษรเหล่านี้ยังพบได้ในปัจจุบัน
อักษรเตลุกุเขียนจากซ้ายไปขวา หน่วยย่อยของการเขียนคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบด้วยสระ (อัชชุหรือสวระ) และพยัญชนะ (หัลลุหรือวยันชัน) พยัญชนะที่เรียงกันเป็นกลุ่ม บางตัวมีรูปต่างไปจากเดิม พยัญชนะมีทั้งรูปบริสุทธิ์ที่ไม่มีเสียงสระและรูปที่มีเสียงอะ เมื่อรวมสระกับพยัญชนะ สระจะเป็นเครื่องหมายติดกับพยัญชนะเรียก มาตรัส ซึ่งมีรูปร่างต่างจากสระปกติ
อักษรเตลุกุมีทั้งหมด 60 เครื่องหมาย เป็นสระ 16 ตัว ตัวเปลี่ยนสระ 3 ตัว พยัญชนะ 41 ตัว มีการเว้นช่องว่างระหว่างคำ เมื่อจบประโยคจะจบด้วยเส้นเดี่ยว (ปุรนา วิรมะ) หรือเส้นคู่ (กีรฆา วิรมะ)