ภาษาเขมรถิ่นไทย บ้างเรียก ภาษาเขมรเหนือ หรือ ภาษาเขมรสุรินทร์ เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร พูดโดยชาวเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มหาสารคาม และร้อยเอ็ด รวมทั้งที่อพยพไปสู่ประเทศกัมพูชา
ภาษาเขมรถิ่นไทยต่างจากภาษาเขมรสำเนียงพนมเปญซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐาน ในด้านจำนวนและความต่างของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ ทำให้แยกสำเนียงเขมรถิ่นไทยออกจากสำเนียงอื่น ๆ ได้ง่าย ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยจะเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง แต่ผู้พูดสำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาทำความเข้าใจภาษาเขมรถิ่นไทย ทำให้นักภาษาศาสตร์บางคนแยกภาษาเขมรถิ่นไทยออกเป็นภาษาใหม่ต่างหากจากภาษาเขมร โดยถือเป็นภาษาใกล้เคียงกัน
หน่วยเสียงสระประสมภาษาเขมรถิ่นไทยมี 6 หน่วยเสียง ได้แก่ /i?/, /i??/, /??/, /???/, /u?/ และ /u??/ โดยหน่วยเสียง /???/ จะปรากฏเฉพาะในคำยืมภาษาไทย เช่น /k???k/ 'รองเท้า'
ลำดับคำในภาษาเขมรถิ่นไทยมักจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม ประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่อาจจะมีสลับกันบ้าง เป็น ประธาน-กรรม-กริยา, กรรม-กริยา เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) มีเสียงบางเสียงที่ออกเสียงแตกต่างจากภาษาไทย เป็นเสียงที่ออกนาสิก เพิ่มจากปกติอีก 3 ตัว คือ จ, ญ, ฮ เช่น ตูจ /เล็ก/, เป็ญ /เต็ม/ , จัฮ /แก่/ ตัว ร เมื่อเป็นตัวสะกด ต้องออกเสียงรัวลิ้นด้วย เช่น การ, ตัว ล เมื่อเป็นตัวสะกด ต้องออกเสียงกระดกลิ้น คลายตัว L ในภาษาอังกฤษ เช่น กบาล (หัว),
นักภาษาศาสตร์ได้คิดค้นระบบการเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยด้วยตัวอักษรไทยหลายระบบ ระบบหนึ่งที่เป็นมาตรฐานคือระบบของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
เสียงที่ใช้พูดกันในภาษาเขมรถิ่นไทย ไม่มีเสียงที่ใช้อักษรสูง จึงเลือกใช้พยัญชนะไทยที่เป็น อักษรกลาง และอักษรต่ำเท่านั้นที่ใช้ในการเขียน เสียงพยัญชนะในภาษาเขมรเหนือใช้อักษรไทยเขียนดังตารางต่อไปนี้
เสียงสระที่ไม่มีในภาษาไทย ใช้เครื่องหมาย จุดล่าง " ฺ " จุดบน " ํ " กำกับเพื่อให้ออกเสียงต่างออกไป เช่น ซอฺ /ขาว/, ละออฺ /สวย/, เบฺก /เปิด/, ปเรอฺ /ใช้/, จฺ /ด่า/ กู /วัว/, จู /ชั่ว/